ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เผยโฉมศรีสะเกษ 2 มะเขือเทศสีดาพันธุ์ใหม่ให้วิตามินซีสูง
กรมวิชาการเกษตร ปรับปรุงพันธุ์มะเขือเทศสีดารับประทานผลสด ชี้จุดขายพันธุ์ใหม่ให้วิตามินซีสูงโดนใจสายสุขภาพ แถมผลผลิตยังสูงกว่าพันธุ์การค้าและพันธุ์ของเกษตรกร รสเปรี้ยวนำเหมาะสำหรับทำส้มตำ
นางสาวเสริมสุข สลักเพ็ชร์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร  เปิดเผยว่า มะเขือเทศสีดาเป็นมะเขือเทศที่มีสีแดงอมชมพู มีน้ำมาก เนื้อหนาและแน่น น้ำหนักเฉลี่ย 40 กรัม ผลมะเขือเทศสีดาปลูกและผลิตได้ตลอดปีในทุกภาคของประเทศไทย   โดยมีแหล่งปลูกที่สำคัญได้แก่ จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ นครพนม สระบุรี และนครราชสีมา สำหรับพันธุ์การค้าของมะเขือเทศสีดาที่เกษตรกรปลูกกันแพร่หลายในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ลูกผสมที่เกิดจากการปรับปรุงพันธุ์ของบริษัทเมล็ดพันธุ์ต่าง ๆ แต่เนื่องจากการผลิตเมล็ดพันธุ์ลูกผสมมีกระบวนการที่ซับซ้อนและเป็นผลประโยชน์ทางการค้า  ทำให้เมล็ดพันธุ์มะเขือเทศสีดาลูกผสมมีราคาสูงกว่าเมล็ดพันธุ์ผสมเปิดถึง 7.5 เท่า หรือสูงกว่า 600 บาท/ไร่ 

ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ  กรมวิชาการเกษตร ได้ผสมพันธุ์และคัดพันธุ์มะเขือเทศสีดาสำหรับปลูกในฤดูฝนโดยสามารถคัดเลือกได้พันธุ์ ศก.1 ศก.4  ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ติดผลเร็ว ผลมีสีชมพู และพันธุ์ศก.19 มีความทนทานต่อโรคเหี่ยวเขียว  แต่เนื่องจากพันธุ์ดังกล่าวเป็นพันธุ์ที่พัฒนามานานแล้ว  ประกอบกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป รวมถึงการผสมตัวเองในกลุ่มพันธุ์เดิมมานาน ทำให้ศักยภาพการผลิตลดลง พันธุ์อ่อนแอต่อสภาพแวดล้อม โรคและแมลง ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษจึงได้พัฒนาและปรับปรุงพันธุ์มะเขือเทศสีดาพันธุ์ผสมเปิดขึ้นมาใหม่ เพื่อให้ได้พันธุ์ที่มีผลผลิตและวิตามันซีสูง มีความสม่ำเสมอของสายพันธุ์ เกษตรกรสามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ใช้เอง ช่วยลดต้นทุนด้านเมล็ดพันธุ์ของเกษตรกร เป็นการเพิ่มรายได้ที่ยั่งยืนให้เกษตรกรอีกทางหนึ่ง

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร  กล่าวว่า  การปรับปรุงพันธุ์มะเขือเทศสีดารับประทานผลสดเริ่มดำเนินการตามขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์ในปี 2555–2558 ได้ทำการรวบรวม คัดเลือกพันธุ์  ปี 2559–2560 ปลูกเปรียบเทียบผลผลิต ปลูกเปรียบเทียบและทดสอบพันธุ์กับพันธุ์ลูกผสมการค้า ทดสอบพันธุ์ในไร่เกษตรกรตามแหล่งปลูกต่างๆ  วิเคราะห์ปริมาณวิตามินซี และการประเมินความพึงพอใจของเกษตรกรผู้ปลูกและผู้บริโภคมะเขือเทศสีดา จนได้มะเขือเทศสีดารับประทานผลสดพันธุ์ใหม่ใช้ชื่อว่า “พันธุ์ศรีสะเกษ 2”ผ่านการพิจารณาเป็นพันธุ์แนะนำของกรมวิชาการเกษตรเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม  2562



มะเขือเทศสีดาพันธุ์ศรีสะเกษ 2 มีลักษณะเด่น คือ ให้ผลผลิตเฉลี่ยสูงถึง 6.62 ตัน/ไร่ สูงกว่าพันธุ์การค้าลูกผสมและพันธุ์ของเกษตรกร มีปริมาณวิตามินซีสูงถึง 43.3 mg/100g ปริมาณกรดที่ไทเทรตได้สูงถึงร้อยละ 0.93 ซึ่งทำให้มีรสเปรี้ยวนับว่าเป็นข้อดีเด่นเนื่องจากการใช้ประโยชน์ของมะเขือเทศสีดาจะเน้นหนักไปในด้านของการใช้ปรุงรสอาหารให้มีความเปรี้ยว เช่น ส้มตำ ซึ่งจากการประเมินความพึงพอใจของเกษตรกรผู้ปลูกและผู้บริโภคมะเขือเทศสีดาในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ พบว่าเกษตรกรที่มีความพอใจมะเขือเทศสีดาพันธุ์ศรีสะเกษ 2 สูงถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ปัจจุบันศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษมีเมล็ดพันธุ์คัดมะเขือเทศสีดาศรีสะเกษ 2 จำนวน 3 กิโลกรัม ซึ่งสามารถนำไปปลูกเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์หลักได้พื้นที่ประมาณ 30 ไร่  
เกษตรกรที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ  โทรศัพท์ 0-4551-4581






ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

นวัตกรรมการผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ส่งเสริมรายได้สู่ชุมชน

  วช. เสริมแกร่ง มรภ.อุตรดิตถ์ ผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 IN 1 จากวัสดุเหลือทิ้ง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นักวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ นำองค์ความรู้ และนวัตกรรมการผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ส่งเสริมรายได้พื้นที่เป้าหมาย สร้างเกษตรกรต้นแบบ จ.อุตรดิตถ์ และ จ.สุรินทร์ กว่า 100 ราย แนะใช้ถ่านดูดซับกลิ่น ความชื้น ยกระดับคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้ อมให้ยั่งยืน โดยการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนั กงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จากปัญหาเศษวัสดุเหลือทิ้ งทางการเกษตร อาทิ เปลือกทุเรียน เหง้ามันสำปะหลัง แกนข้าวโพด ข้อไม้ไผ่ รวมถึงเศษกิ่งไม้ริมทาง ยังไม่ได้ถูกนำมาใช้ให้เกิ ดประโยชน์มากนัก  อีกทั้งการจัดการโดยเผาเศษวัสดุ เหลือทิ้งในที่โล่ง ยังเป็นการปล่อยก๊าซเรื อนกระจกและมลสารเข้าสู่ชั้ นบรรยากาศ องค์ความรู้และนวัตกรรมการผลิ ตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 ด้วยวิธีไพโรไลซิส จึงนับเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ ไขประเด็นปัญหาดังกล่าวได้ ขณะนี้นักวิจัยได้ถ่ายทอดองค์ ความรู้และติดตั้งนวัตกรรมแล้ว ประกอบด้วย เตาผลิตถ่านดูดกลิ่นแบบไพโรไลซิ ส เครื่...

เอ็นไอเอ โหมโรง “นิลมังกร” อัดฉีดผลงานนวัตกรรมเด่นพลิกฟื้นเศรษฐกิจหลังโควิด 19 โค้งสุดท้ายก่อนเฟ้นหาสุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยภายใต้ “นิลมังกรแคมเปญ”

  สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายจำนวน 18 หน่วยงาน ได้แก่ ศูนย์แบรนด์เคยู คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค 14 มหาวิทยาลัย หอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย จัดประกาศผลและมอบรางวัล “ สุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยประจำปี 2564 รอบภูมิภาค ( Thailand INNO BIZ Champion 2021 Regional Round) ภายใต้ “ นิลมังกรแคมเปญ ” ให้กับ 20 ธุรกิจนวัตกรรมจาก 4 ภูมิภาค ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ NIA กล่าวว่า “NIA มีหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุน และสร้างความสามารถการแข่งขันของประเทศด้วยการใช้นวัตกรรม ดังนั้นจึงได้ริเริ่มโครงการสุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยระดับภูมิภาค ภายใต้ “ นิลมังกรแคมเปญ ” ขึ้น เพื่อสร้างตัวอย่างการทำธุรกิจนวัตกรรมในภูมิภาคให้คนในพื้นที่ได้เห็นถึงความสำคัญในการพัฒนานวัตกรรมและได้เรียนรู้กระบวนการสร้างธุรกิจนวัตกรรม ผ่านการสื่อสารในรูปแบบของ Edutainment เพื่อให้เป็นที่น่าสนใจ เข้าถึง และเข้าใจกระบวนการสร้างธุรกิ...

2-4 ธันวาคมนี้ พบกันที่ งานสัตว์น้ำไทย 2024 (Thai Aqua Expo 2024)

สมาคมกุ้งตะวันออกไทย ร่วมกับ พันธมิตรในภาคตะวันออก และภาครัฐ ร่วมจัดงานสัตว์น้ำเศรษฐกิจยิ่งใหญ่ประจำปี 2567 งานสัตว์น้ำไทย 2024 (Thai Aqua Expo 2024) ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-3-4 ธันวาคม 2567 ณ โรงแรมซันไรส์ ลากูน โฮเทลแอนด์กอล์ฟ จ.ฉะเชิงเทรา ภายใต้แนวความคิด “ปรับกลยุทธ์สัตว์น้ำไทย สร้างกำไรทุกภาคส่วน” โดยสมาคมกุ้งตะวันออกไทย ร่วมกับ สมาคม สหกรณ์ ชมรม กลุ่มแปลงใหญ่ ในภาคตะวันออกก รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐ และบริษัทเอกชนผู้ร่วมสนับสนุน ภายใต้มีวัตถุประสงค์ของการจัดงาน เพื่อเผยแพร่ความรู้ นวัตกรรม การส่งต่อข้อมูลเพื่อให้เกษตรกร สามารถวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางการตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศ ถ่ายทอดแนวทางการลดต้นทุนตลอดห่วงโซ่ในอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และกระตุ้นให้มีการส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศมากขึ้น ภายในงานมีการเสวนา และสัมมนาให้ความรู้กับเกษตรกรและผู้ที่สนใจ ตลอดระยะเวลาการจัดงาน ทั้ง 3 วัน รวมถึงมีการจัดแสดงสินค้าของบริษัทและผู้ค้าปัจจัยการผลิตที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยมีพื้นที่จัดแสดงสินค้ามากกว่า 70 บูท และมีบริษัทสนใจเข้าร่วม...