ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มกราคม, 2022

วช.- มทส. เดินหน้าแปรรูปขยะพลาสติกเป็นน้ำมัน ขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน

 วช.ลงพื้นที่ ศูนย์สาธิตการจัดการขยะและของเสียอันตรายแบบครบวงจร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) จ.นครราชสีมา ดูผลสำเร็จการแปรรูปขยะเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง สำหรับใช้เป็นน้ำมันทางเลือก มีศักยภาพใช้แทนน้ำมันเชิงพาณิชย์ได้ โดยใช้ขยะพลาสติกจากขยะมูลฝอยชุมชนเป็นวัตถุดิบ ภายใต้การสนับสนุนทุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยเป็นเทคโนโลยีเพื่อการแข่งขัน แนวโน้มการลงทุนคุ้มค่า แนะทุกภาคส่วนสนับสนุน ใช้ประโยชน์ร่วมกัน ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านชีวมวล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี หัวหน้าโครงการฯ กล่าวว่า ขยะพลาสติกเป็นปัญหาวิกฤติระดับโลก ยากต่อการกำจัด จึงเกิดวิธีการจัดการต่าง ๆ อาทิ การแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้า สร้างนวัตกรรม Upcycling ฯลฯ หากแต่ขยะบางส่วน ยังใช้วิธีการฝังกลบ เผาทำลาย ทิ้งลงแหล่งน้ำธรรมชาติ ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชีวิตความเป็นอยู่ของประชากร การผลิตน้ำมันทางเลือกโดยใช้วัตถุดิบจากขยะพลาสติก มาผ่านกระบวนการไพโรไลซิส ให้ได้คุณภาพเทียบเคียงกับน้ำมันที่ใช้เติมรถยนต์ หรือในเชิงพาณิชย์ จึงเป็นเรื่องที่ต้องศึ

ผลิตภัณฑ์ทรายแมว เพิ่มมูลค่า มันสำปะหลัง สร้างทางรอดให้เกษตรกร รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ

นับเป็นอีกก้าวสำคัญของวงการเกษตรไทย เมื่อนักวิจัย บริษัท เวลตี้ ม็อกกี้ อินโนเวชั่น จำกัด คิดค้นและแปรรูปมันสำปะหลังที่มีราคาตกต่ำ ให้เป็นผลิตภัณฑ์ทรายแมว ที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด จนเข้าตาสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ : รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ระดับดี สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา ประจำปี 2565 ดร.ลัญจกร อมรกิจบำรุง และคณะ เล่าว่า ผลิตภัณฑ์ทรายแมวมีปริมาณการใช้งานทั่วโลกมากกว่า 5 ล้านตันต่อปี และมีมูลค่าทางตลาดสูงถึง 280,000 ล้านบาทต่อปี และมีแนวโน้มที่จะโตมากขึ้น เนื่องจากการเลี้ยงสัตว์เลี้ยงแบบ Pet Humanization ประเทศไทย มีการใช้ผลิตภัณฑ์ทรายแมวในประเทศกว่า 95 เปอร์เซ็นต์ ล้วนเป็นผลิตภัณฑ์ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ทรายแมวที่ทำจากเบนโทไนต์ เต้าหู้ และแป้งข้าวโพด ที่นำเข้าจากประเทศจีนเป็นหลัก และนี้เป็นจุดเริ่มต้นให้นักวิจัย ผลิตทรายแมวจากมันสำปะหลัง ดร.ลัญจกร อมรกิจบำรุง และคณะ เล่าต่อว่า ผลิตภัณฑ์ทรายแมวจากมันสำปะหลัง ใช้เวลาเกือบ 2 ปี​ ในการศึกษาพัฒนากระบวนการ Pregelatinizatio

ชป.ย้ำทุกภาคส่วนร่วมใจประหยัดน้ำต้านภัยแล้ง

  วันนี้ (18 ม.ค. 65) ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำ ผ่านระบบ Video Conference ไปยังสำนักงานชลประทานที่ 1-17 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมอุตุนิยมวิทยา กรมทรัพยากรน้ำ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักการระบายน้ำ (กทม.) และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) โดยมี นายประยูร เย็นใจ ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมชลประทาน (ด้านจัดสรรน้ำ) และผู้เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมเพื่อติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำ แหล่งน้ำ และแม่น้ำสายหลักต่าง ๆ สำหรับเป็นข้อมูลในการบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องและเหมาะสมกับสถานการณ์ในแต่ละพื้นที่ ณ ห้องประชุมศูนย์ปฏิบัติการอัจฉริยะ (SWOC) กรมชลประทาน ถนนสามเสน กรุงเทพฯ ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน ในฐานะโฆษกกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ปัจจุบัน (18 ม.ค.65) อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำรวมกันทั้งสิ้น 55,998 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 74 ของความจุอ่างฯรวมกัน มีน้ำใช้การได้ 32,068 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการใช้น้ำไปแล้วประมาณ 8,987 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็

ชป.ชวนแกล้งข้าว ทำนา“เปียกสลับแห้ง”ช่วยประหยัดน้ำ เพิ่มผลผลิต ทางรอดภัยแล้ง

  โครงการชลประทานเชียงใหม่ ต่อยอดงานวิจัยการทำนาแบบเปียกสลับแห้ง แกล้งข้าว ชวนชาวนาเปลี่ยนวิธีการทำนา หวังลดต้นทุนการผลิต และช่วยประหยัดน้ำจากการทำนาได้มากกว่าร้อยละ 30 - 40 ทั้งยังเพิ่มผลผลิตและเพิ่มรายได้ให้กับชาวนา ช่วยเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ในช่วงฤดูแล้งปี 2565 ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำต่างๆ มีอยู่ในเกณฑ์จำกัด โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือ และลุ่มน้ำเจ้าพระยา จำเป็นต้องวางแผนการใช้น้ำอย่างเคร่งครัด ควบคู่ไปกับการรณรงค์ให้มีการใช้น้ำอย่างประหยัดในทุกภาคส่วน โดยเฉพาะน้ำเพื่อการเกษตรที่มีสัดส่วนการใช้น้ำค่อนข้างมาก เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาการขาดแคลนน้ำ จึงได้วางแผนบริหารจัดการน้ำในอ่างเก็บน้ำต่างๆ ที่มีปริมาณน้ำในอ่างฯไม่ถึงร้อยละ 30 ของความจุอ่างฯ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งนี้ กรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์ว่าในช่วงปลายปี 2564 - ต้นปี 2565 อาจจะเกิดภัยแล้งได้ในบางพื้นที่ กรมชลประทาน ได้รณรงค์ให้พี่น้องเกษตรกรและทุกภาคส่วนร่วมกันใช้น้ำที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเพียงพอต่อการอุปโภคบริโภคตลอดฤดูแล้งนี้ไปจนถึงต้นฤดูฝนปีหน้า

ครั้งแรกของโลก​ “โซล่าเซลล์เพอรอฟสไกต์”แบบหลายชั้น ควบคุมได้​ ฝีมือนักวิจัย​ม.มหิดล​ คว้ารางวัลการวิจัยแห่งชาติ​2565

มหิดลยืนหนึ่ง! ผลิต “โซล่าเซลล์เพอรอฟสไกต์”แบบหลายชั้น ควบคุมได้ ครั้งแรกของโลก เตรียมรับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ในงานวันนักประดิษฐ์ 2565 ปัจจุบันการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ สังคม และประชากรที่เพิ่มขึ้น ทำให้เกิดความต้องการพลังงาน จากการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด สภาพแวดล้อมทั่วโลกจึงเริ่มเสื่อมถอย การพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานสะอาดขนาดใหญ่ ให้มีความปลอดภัย เหมาะสม และยั่งยืนสำหรับอนาคต จะสามารถช่วยแก้ปัญหาวิกฤติทางพลังงานได้ รศ.ดร.พงศกร กาญจนบุษย์ นักวิจัยสาขาวิชาวัสดุศาสตร์และนวัตกรรมวัสดุ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ที่ผ่านมาเซลล์แสงอาทิตย์ที่นิยมนำมาใช้สำหรับพัฒนาเทคโนโลยีด้านพลังงานแสงอาทิตย์ ได้แก่ เซลล์แสงอาทิตย์ประเภทผลึกซิลิกอน (c-Si) และประเภทฟิล์มบางจากวัสดุเชิงประกอบทองแดงอินเดียมแกลเลียมซีลีไนด์ (CIGS) ซึ่งยังคงประสบปัญหาด้านต้นทุนและปริมาณพลังงาน ทั่วโลกจึงมุ่งศึกษาการพัฒนาเซลล์แสงอาทิตย์จากวัสดุเชิงประกอบเพอรอฟสไกต์ (perovskite) ที่มีต้นทุนการผลิตต่ำใกล้เคียงกับการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ประเภทสารประกอบอินทรีย์ โดยให้ประสิทธิภาพสูง เทีย

วช. โชว์รางวัลวิจัยดีเด่นแห่งชาติ 2565 สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ สืบแหล่งกำเนิดน้ำเสีย ลด“มลพิษทางน้ำ”อย่างยั่งยืน

  นักวิจัย สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ พัฒนาเทคโนโลยีกลุ่มจุลินทรีย์ ระบุแหล่งกำเนิดน้ำเสียในประเทศไทย (Microbial Source Tracking) แก้ปัญหามลพิษและโรคทางน้ำ ฟื้นฟูและจัดการคุณภาพแหล่งน้ำธรรมชาติ เป็นที่ยอมรับระดับนานาชาติ ร่วมมือกับการประปาฯ กรมปศุสัตว์ กรมควบคุมมลพิษ ใช้ประโยชน์งานวิจัย สอดรับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เร็วนี้ ๆ เตรียมรับรางวัลผลงานวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ปี 2565 ในงานวันนักประดิษฐ์แห่งชาติ ประจำปี 2564 - 2565 ที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา ปัจจุบัน แหล่งน้ำธรรมชาติ ได้แก่ น้ำฝน น้ำแม่น้ำ ลำคลอง น้ำใต้ดินและน้ำทะเล เกิดความเสื่อมโทรมเป็นอย่างมาก ผลมาจากการปล่อยมลพิษจากแหล่งกำเนิดต่าง ๆ ทั้งแบบที่ทราบจุดแน่นอน และแบบไม่ทราบจุดแน่นอน เช่น การรั่วไหลของท่อรวบรวมน้ำเสียใต้ดิน น้ำฝนที่ชะพาสิ่งสกปรกลงสู่ดินและแหล่งน้ำ ตลอดจนสิ่งปฏิกูลจากสัตว์ป่าและนกน้ำ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม มลพิษทางน้ำแบบไม่ทราบแหล่งกำเนิดแน่ชัด กลับมีปริมาณที่หลากหลายและส่งผลกระทบต่อภาวะมลพิษที่ลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติได้มากกว่า ซึ่งยังคงไม่มีระบบบริหารจัดการ หรือระบบติดตาม ตรวจสอบ ที่เป็นรูปธรรม ทำให้ประเทศไทยสูญเสี

วช.ดันวิจัยสู่ SMEs ผุดผลิตภัณฑ์จากขิง บุกตลาดสุขภาพ

  วันนี้ (11 มกราคม 2565) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) นำโดย ดร.จันทรวิภา ธนะโสภณ ผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักประสานงานชุดโครงการการพั ฒนาผลิตภัณฑ์ Innovative House ลงพื้นที่ บริษัท สุธัมบดี จำกัด อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ สนับสนุนงานวิจัย ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลล้านนา 2 โครงการ  เพื่อนำองค์ความรู้งานวิจั ยมายกระดับวัตถุดิบท้องถิ่นให้ เติบโตในเชิงอุตสาหกรรม เกิดผลิตภัณฑ์ที่ดี มีคุณภาพ ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค อันเป็นการเพิ่มมูลค่าให้สินค้ าทางการเกษตรของ อ.เขาค้อ ให้เกิดความมั่นคงทางอาชี พและรายได้ในพื้นที่ ดร.จันทรวิภา ธนะโสภณ ผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักประสานงานชุดโครงการการพั ฒนาผลิตภัณฑ์ Innovative House วช. กล่าวว่า ผลงานวิจัยภายใต้การสนับสนุนจาก วช.,สวทช.และ สกสว. ล้วนมีการนำไปต่อยอดแล้วในระดั บอุตสาหกรรม  ทั้งนี้เพื่อเป็นการยกระดั บและเพิ่มศักยภาพให้กับผู้ ประกอบการ (SMEs) เกิดผลพวงหลายอย่าง อาทิ ด้านการจัดการปัญหาและเพิ่มมู ลค่าผลิตผลทางการเกษตรที่พ้นฤดู กาลเก็บเกี่ยวหรือมีราคาต่ำ โดยการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่มี คุณภาพสูง ลดการนำเข

“กบจำศีล” เบื้องหลัง OptiBreath® แพคเกจจิ้งมหัศจรรย์ยืดอายุผักผลไม้ ตอบโจทย์สิ่งแวดล้อม

  ใครจะคิดว่าแค่ “ถุง” จะช่วยยืดอายุความสดใหม่ของมะพร้าวบนชั้นวางสินค้าได้นานถึง 60 วัน นอกจาก ลดการเน่าเสียของขยะ (Food Waste) นั่นหมายถึง “โอกาส” ของผลไม้ไทยในการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้น วันนี้เราอาจจะเริ่มคุ้นหน้าคุ้นตากับถุงยืดอายุผักผลไม้ สินค้าประเภทบรรจุภัณฑ์น้องใหม่บนชั้นวาง ตามซุปเปอร์มาร์เก็ต หรือบนตลาดสินค้าออนไลน์ OptiBreath ® เป็นหนึ่งในนวัตกรรมจาก SCGP ที่มุ่งพัฒนานวัตกรรมเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ใ ห้ผู้บริโภค รวมถึงเจ้าของแบรนด์มีส่วนร่วม ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และลดการใช้ทรัพยากรตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนไปด้วยกัน   ตามแนวทาง ESG 4 Plus เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ได้แก่ “1.มุ่ง Net Zero  2.Go Green 3.Lean เหลื่อมล้ำ 4.ย้ำร่วมมือ Plus เป็นธรรม โปร่งใส” บรรจุภัณฑ์ Go Green ยืดอายุได้ สวยงามด้วย    เบื้องหลังของถุงยืดอายุผักผลไม้ OptiBreath® คุณชญานิษฐ์ วงศ์ประดิษฐ์ นักวิจัยด้านเทคโนโลยี บรรจุภัณฑ์ SCGP บอกว่ามาจากโจทย์ที่ คุณณรงค์ศักดิ์ ชื่นสุชน เจ้าของสวนมะพร้าวที่อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี ต้องการยืดอายุมะพร้าวเจีย

พัฒนาแพลตฟอร์ม NQI มุ่งส่งเสริมศักยภาพ พัฒนาเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูง

  กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม  (อว.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) โดย ศูนย์ทดสอบมาตรฐานระบบขนส่งทางราง (ศทร.) ร่วมกับ China Railway Construction Cooperation International Limited (CRCCI) และ Southwest Jiaotong University (SWJTU) หารือกำหนดกรอบการจัดทำความร่วมมือ 3 ฝ่าย ในการส่งเสริมศักยภาพและพัฒนาเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงของประเทศไทย เพื่อรองรับโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน  ภายใต้สัญญา 3-3 และ 3-5 พร้อมพัฒนาแพลตฟอร์ม NQI ที่สามารถใช้ร่วมกันได้ในระดับนานาชาติ สนับสนุนการเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟ 3 ฝ่าย ประเทศไทย-ลาว-จีน โดยเมื่อเร็วๆ นี้   ดร.อาณัติ    หาทรัพย์ ผู้อำนวยการศูนย์ทดสอบมาตรฐานระบบขนส่งทางราง  วว. พร้อมด้วย นายภณสินธุ์  ไพทีกุล ผู้อำนวยการ ห้องปฏิบัติการทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีขนส่งทางรางและยานยนต์ขนส่ง ศทร. วว. และคณะนักวิชาการ  ร่วมประชุมทางไกลผ่านระบบ Video Conference กับคณะผู้แทน China Railway Construction Cooperation International Limited (CRCCI) ซึ่งเป็นบริษัทก่อสร้างและวิศวกรรมชั้นนำของโลกจากสาธารณรัฐประชาชนจีน  นำโดย