ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มกราคม, 2021

สานต่อโครงการ BETAGRO #recover19 เครือเบทาโกรหนุนวิจัย “วัคซีนโควิด-19” ร่วมสร้างชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืนแก่สังคมไทย

  กรุงเทพฯ : เมื่อวันที่ 26 ม.ค. 64 เครือเบทาโกร ผู้นำอุตสาหกรรมอาหารคุณภาพชั้นนำของประเทศไทยเดินหน้าสานต่อโครงการ ‘ BETAGRO #recover19’ สมทบทุนบริจาค 10,000,000 บาท มอบให้แก่โครงการร่วมพัฒนาวัคซีนโควิด- 19 หวังร่วมสร้างชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืนแก่สังคมไทย นายวสิษฐ แต้ไพสิฐพงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ เครือเบทาโกร นำคณะผู้บริหารร่วมมอบเงินจำนวน 10,000,000 บาท ภายใต้โครงการ ‘ BETAGRO #recover19’ สนับสนุนโครงการร่วมพัฒนาวัคซีนโควิด- 19 ซึ่งเป็นโครงการที่ร่วมมือกันระหว่างสภากาชาดไทย คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมูลนิธิคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ โดยมี นายขรรค์ ประจวบเหมาะ ผู้อำนวยการสำนักงานจัดหารายได้ สภากาชาดไทย พร้อมด้วย ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ผู้อำนวยการพัฒนาวัคซีนโควิด- 19 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นางจันทร์ประภา วิชิตชลชัย รองผู้อำนวยการสำนักงานจัดหารายได้ สภากาชาดไทย และ นายชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์   ผู้อำนวยการสำนักงานการคลัง สภากาชาดไทย ร่วมรับมอบ ณ สภากาชาดไทย นายวสิษฐ แต้ไพสิฐพงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ เค

ตู้รับซื้อขยะ “บินบิน” สุดยอดนวัตกรรมเปลี่ยนขยะเป็นเงิน ได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2564

ปัญหาขยะของประเทศไทย ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนเป็นวาระระดับชาติ นักประดิษฐ์จึงได้คิดค้น ผลงานประดิษฐ์ที่เป็นตู้รับซื้อขยะ และแอปพลิเคชันสะสมแต้ม ที่เป็นนวัตกรรมจากการนำเทคโนโลยีมาสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการทิ้งขยะ จนเป็นผลสำเร็จ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จึงได้มอบรางวัลการวิจัยแห่งชาติ : รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2564 ระดับประกาศเกียรติคุณ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ แก่ผลงานสิ่งประดิษฐ์ “บินบิน : ตู้รับซื้อขยะ และแอปพลิเคชันสะสมแต้ม” แก่ ดร.ปวิตรา เลี่ยมรักษ์ และคณะ แห่งคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล ดร.ปวิตรา เลี่ยมรักษ์ เปิดเผยถึงแนวคิดผลงานสิ่งประดิษฐ์ว่า การจัดการสิ่งแวดล้อม ต้องเริ่มต้นจากการคัด แยกขยะในตอนที่เราจะทิ้ง ต้องทิ้งขยะแต่ละประเภทให้ถูกที่ การรับซื้อหรือการจัดการขยะจึงต้องมีการคัดแยก ที่ชัดเจน เพื่อนำไปรีไซเคิลได้ง่ายขึ้น จึงสร้างสรรค์ ผลงานสิ่งประดิษฐ์ “บินบิน : ตู้รับซื้อขยะ และแอปพลิเคชันสะสมแต้ม” ที่มีจุดเด่นในการการนำเท

SUN แรงไม่หยุด ทุ่มงบ 125 ล้าน ซื้อที่ดิน 1,007 ไร่ รองรับการปลูกวัตถุดิบ

  SUN ผู้ผลิตและส่งออกข้ าวโพดหวานรายใหญ่ ภายใต้แบรนด์ "KC" ทุ่มงบ 125 ล้านบาท ซื้อที่ดิน 1,007 ไร่ ลุยพัฒนาโครงการขยายพื้นที่ เพาะปลูก  นายองอาจ กิตติคุณชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซันสวีท จำกัด (มหาชน) หรือ SUN เปิดเผยว่า แม้ทั่วโลกจะเผชิญกับสถานการณ์ ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 แต่ความต้องการด้ านอาหารของตลาดโลกยังคงเพิ่มสู งขึ้น ส่งผลให้ยอดคำสั่งซื้ อและยอดการส่งออกของบริษัทเพิ่ มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยบริษัทฯ พิจารณาแล้วเห็นว่า การมีพื้นที่รองรับสำหรั บเพาะปลูกวัตถุดิบข้ าวโพดหวานและพืชผลทางการเกษตรอื่ น ๆ ป้อนให้โรงงาน เป็นแนวทางหนึ่งซึ่งจะช่วยส่ งเสริมการดำเนินธุรกิจด้ านเกษตรให้มีความมั่นคง และวัตถุดิบมีความสม่ำเสมอ  ตามมติกรรมการบริษัทฯ ให้ดำเนินการซื้อที่ดินจาก นายยศเมธา จันทรวิโรจน์ 224 แปลง เนื้อที่ 1,007 ไร่ 1 งาน 19 ตารางวา เป็นจำนวน 125,000,000 บาท (หนึ่งร้อยยี่สิบห้าล้านบาท) พื้นที่ตั้งอยู่ ในตำบลทุ่งปี้ อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ ห่างจากโรงงานประมาณ 15 กิโลเมตร และอยู่ใกล้กับศูนย์การเรียนรู้ KC Farm ถือเป็นการลงทุนต่อเนื่องเพื่อเพิ่มความมั่นคงทางวัตถุดิบ และขย

วว. แนะส่งเสริมปลูกเลี้ยง “สุคนธรส” เป็นพืชเศรษฐกิจใหม่ สร้างอาชีพ สร้างรายได้มั่นคง ลดผลกระทบจากโควิด-19 ในระยะยาว

  กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) แนะส่งเสริมปลูกเลี้ยง “สุคนธรส” หรือเสาวรสยักษ์ ให้เป็นพืชเศรษฐกิจชนิดใหม่ ด้วยมีคุณสมบัติเป็นไม้ผลขนาดใหญ่ นำมาแปรรูปได้ตลอดทั้งต้น มีสรรพคุณด้านสมุนไพรหลากหลาย หวังสร้างอาชีพ สร้างรายได้ที่มั่นคง ช่วยลดผลกระทบทางเศรษฐกิจที่ประชาชนได้รับจากสถานการณ์โควิด-19 ในระยะยาว พร้อมเผยความสำเร็จในการปรับปรุงพันธุ์โดยวิธีการฉายรังสี จำนวน 5 สายพันธุ์ มีลักษณะเด่น คือ ผลใหญ่ ทรงรี เปลือกผลบาง เนื้อหุ้มเมล็ดหนา กลิ่นหอม รวมทั้ง ลำต้น ใบ มีความแข็งแรง เจริญเติบโตเร็ว ทนต่อโรคและแมลง  ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว. กล่าวว่า จากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจทั้งในระดับประเทศและระดับครัวเรือน อย่างไรก็ตามในวิกฤตดังกล่าวก็มีโอกาสให้กับทุกคนที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจให้การดำเนินชีวิตก้าวต่อไปได้ในระยะยาว แนวทางหนึ่งซึ่ง วว. มีความพร้อมและความเชี่ยวชาญในการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เข้าไปสนับสนุนส่งเสริมภาคเกษตรกรรม ในด้านเกษตรอินทรีย์ วิจัยและส่ง

ปั้นจังหวัดร้อยเอ็ดสู่ “เมืองต้นแบบปลอดการเผา” สยามคูโบต้า ผนึกกำลังมุ่งพัฒนาภาคเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน

  สยามคูโบต้า ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จังหวัดร้อยเอ็ด ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือภายใต้โครงการเกษตรปลอดการเผา ( Zero Burn) ในจังหวัดร้อยเอ็ด   สร้างโมเดล “ร้อยเอ็ด เมืองต้นแบบปลอดการเผา” มุ่งแก้ไขปัญหามลพิษจากฝุ่นละอองในภาคการเกษตร รวมถึงส่งเสริมระบบบริหารจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ภายใต้องค์ความรู้ KUBOTA (Agri) Solutions เกษตรครบวงจร สานต่อการพัฒนาภาคเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน นางวราภรณ์ โอสถาพันธุ์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด เปิดเผยว่า “ประเทศไทยต้องเผชิญกับสถานการณ์ “ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5” โดยกว่า 50% เกิดจากการเผาในที่โล่ง ซึ่งรวมถึงการเผาในพื้นที่ทางการเกษตร ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและการดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชน สยามคูโบต้าในฐานะผู้นำด้านเครื่องจักรกลการเกษตรในภูมิภาคอาเซียน ได้เล็งเห็นความสำคัญในการแก้ปัญหาดังกล่าว จึงดำเนินโครงการเกษตรปลอดการเผา ( Zero Burn) เพื่อพัฒนาภาคเกษตรกรรมได้อย่างยั่งยืน” ในปีพ.ศ. 2562 สยามคูโบต้า เกิดแนวคิดในการจัดตั้ง “โครงการเกษตรปลอดการเผา ( Zero Burn)” โดยร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ส่งเสริม

อว. สรุป ทั่วโลกฉีดวัคซีนไปแล้ว 42.2 ล้านโดส เพิ่มขึ้นวันละ 2.43 ล้าน คนอเมริกันได้รับแล้วมากที่สุด 14.3 ล้านโดส ในขณะที่คนอิสราเอลหนึ่งในสี่คนฉีดวัคซีนแล้ว

  เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2564 ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) รายงานผลการประมวลข้อมูลเกี่ยวกับการใช้วัคซีนโควิด- 19 ว่า “ขณะนี้ได้มีการฉีดวัคซีนไปแล้ว 42.2 ล้านโดส ใน 51 ประเทศทั่วโลก เพิ่มขึ้นวันละ 2.43 ล้าน คนอเมริกันได้รับแล้วมากที่สุด 14.3   ล้านโดส ในขณะที่คนอิสราเอลหนึ่งในสี่คนฉีดวัคซีนแล้ว" ตามที่ได้มีการพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคโควิด- 19 อย่างรวดเร็วมาก และเริ่มมีการใช้วัคซีนในประชากรตั้งแต่ในเดือนธันวาคม 2563 เป็นต้นมา ในขณะนี้ 51 ประเทศได้เริ่มฉีดวัคซีนแล้ว รวมกันประมาณ 42.2 ล้านโดส จากหลายบริษัทผู้ผลิต สถิติสำคัญเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโรคโควิด- 19 ณ วันที่ 18 มกราคม 2564 มีดังนี้   จำนวนที่ฉีดแล้ว (โดส)  : 42.0 ล้านโดส จำนวนประเทศ : 51 อัตราการฉีด (โดสต่อวัน) : 2.43 ล้านโดสต่อวัน ยอดการจองวัคซีนทั่วโลก (โดส) : 8,330 ล้านโดส   ประเทศสหรัฐอเมริกา   เริ่มฉีด : 14 ธันวาคม 2563   ฉีดแล้ว (โดส) : 14.3 ล้านโดส   คนที่ฉีดครบ 2 เข็มแล้ว : 1.8 ล้านคน   อัตราการฉีด (โดสต่อวัน)