ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กันยายน, 2020

แม็คโคร ปลื้ม! ดันยอดรับซื้อปลากะพง ช่วยเกษตรกรระบายผลผลิตได้กว่า 300 ตัน หนุนสุดแรง เพิ่มวาไรตี้แล่หั่นชิ้น ชูเป็นไอเท็มเด็ด พร้อมจัดโปรโมชั่น-โรดโชว์ กระตุ้นการบริโภค

บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน)  ปลื้ม! สามเดือนช่วยเกษตรกรรับซื้อปลากะพงล้นตลาดได้กว่า 300 ตัน หลังมาถูกทาง เพิ่มวาไรตี้การขาย แบบยกทั้งตัว-แล่หั่นชิ้น เน้นคุณภาพ มาตรฐานอาหารปลอดภัย ชูเป็นไอเท็มเด็ด พร้อมจัดโปรโมชั่น กิจกรรมโรดโชว์ กระตุ้นผู้ประกอบการร้านอาหาร ผู้บริโภค ทุกภาคทั่วไทย  นางศิริพร เดชสิงห์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานการสื่อสารองค์กร บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า  “ที่ผ่านมาเนื่องจากสถานการณ์โควิดทำให้ความต้องการซื้อปลากะพงจากภัตตาคารร้านอาหารและนักท่องเที่ยวรวมทั้งผู้บริโภคทั่วไปลดต่ำลง ส่งผลให้ปลากะพงระบายไม่ทัน มีเหลืออยู่ในกระชังจำนวนมาก และปลาก็โตไปถึงจนถึงตัวละ 5 - 6 กิโลกรัมหรือใหญ่กว่านั้นแล้ว แม็คโครจึงได้บูรณาการความช่วยเหลือกับกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ในการรับซื้อและระบายผลผลิตออกสู่ตลาด ผ่านแม็คโครทุกสาขาทั่วประเทศ ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมจนถึงปัจจุบัน รวมแล้วสามารถช่วยซื้อปลากะพงจากเกษตรกรได้ถึง 300 ตันในระยะเวลา 3 เดือน” “ปกติแล้วปลากะพงที่กลุ่มลูกค้าภัตตาคาร ร้านอาหาร ต้องการใช้จะเป็นขนาด 800 กรัม -1 กิโลกรัม แต่ผลผลิตที่แม็คโครรับซื้อช่

วช.สาธิตการใช้ชีวภัณฑ์แบคทีเรีย (B-ปาล์ม 1) ช่วยเกษตรกรชาวสวนปาล์มกำจัดโรคโคนเน่าในต้นปาล์มน้ำมัน ที่จังหวัดสุราษฏร์ธานี

  (คลิป) กาโนเดอร์มา เชื้อราก่อโรคลำต้นเน่าสวนปาล์มน้ำมันจัดการได้ ด้วยสารชีวภัณฑ์บาซิลลัส B-ปาล์ม 1 เอาอยู่! เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดย ศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ จัดการอบรมสวนปาล์มน้ำมันเพื่อควบคุมโรคลำต้นเน่า โดยชีววิธี ให้เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน ณ อำเภอพุนพิน และอำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฏร์ธานี ดร.กลอยใจ สำเร็จวาณิชย์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ วช. เปิดเผยว่า ศูนย์วิจัยฯ ได้นำองค์ความรู้จากงานวิจัย ด้วยชีววิธีช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อน จากโรคศัตรูพืช ในการนำแมลงตัวดี ตัวห้ำ  ตัวเบียน และเชื้อจุลินทรีย์ ให้กับเกษตรกรที่ทำนาข้าว ไร่มันสำปะหลัง สวนส้มโอ สวนมะพร้าว ฯลฯ ทั่วภูมิภาคในประเทศ ที่ได้รับความเดือดร้อนจากแมลงศัตรูพืชตัวร้ายที่ทำลายพืชผักของเกษตรกร ในครั้งนี้ วช.ได้รับการร้องขอจากเกษตรกรชาวสวนปาล์ม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของเชื้อกาโนเดอร์มา ( Ganoderma spp.) หรือโรคโคนเน่า ในต้นปาล์มน้ำมัน ซึ่งชาวสวนปาล์มในเขตจังหวัดภาคใต้ในหลายจังหวัดตั้งแต่จังหวัดชุมพร นครศรีธรรมราช กระบี่ สุุราษฎร์ธา

NIA กระทรวง อว. จับมือ 18 ภาคีเครือข่าย ร่วมกันจัดการแข่งขันสุดยอดธุรกิจนวัตกรรม ภายใต้แพลตฟอร์มใหม่ “นิลมังกร” เดินหน้าปั้นเอสเอ็มอี/ สตาร์ทอัพหน้าใหม่จากภูมิภาค สู่ธุรกิจระดับประเทศ

  สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม หรือ อว. ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายจำนวน 18 หน่วยงาน ได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดย ศูนย์แบรนด์เคยู ( BrandKU) คณะบริหารธุรกิจ อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค จำนวน 14 มหาวิทยาลัย หอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีความเข้มแข็งของเครือข่ายทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในระดับประเทศ เปิดตัว “โครงการประกวดสุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยระดับภูมิภาค ( Thailand InnoBIZ Champion)” ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมจากแพลตฟอร์มใหม่ “นิลมังกร” โดยการปั้นเอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพหน้าใหม่ใส่ใจนวัตกรรมจากภูมิภาคสู่ธุรกิจระดับประเทศ  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง เลขานุการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิจัย และนวัตกรรม กล่าวว่า “หนึ่งในภารกิจของ อว. คือ การมุ่งเน้นขับเคลื่อนประเทศให้เปลี่ยนแปลงไปสู่ประเทศที่พัฒนาแล้วด้วยการผลักดันให้เกิดการพัฒนาศักยภาพของคน และการนำเอาองค์ความรู้แบบบูรณาการศาสตร์ ผนวกกับงานวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาประย

เจียไต๋ – สยามคูโบต้า จับมือร่วมพัฒนาโมเดลนวัตกรรมและโซลูชั่นยกระดับการปลูกพืชผักครบวงจร

  บริษัท เจียไต๋ จำกัด และ บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วยการดำเนินการยกระดับองค์ความรู้ และนวัตกรรมการเพาะปลูกพืชผักอย่างมั่นคง เพื่อส่งเสริมศักยภาพการเพาะปลูกของไทย สร้างประโยชน์แก่เกษตรกร และธุรกิจภาคเกษตรด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีในการปลูกพืชผักอย่างครบวงจร ด้วยวิสัยทัศน์ที่สอดคล้องกันของสององค์กรที่มีความมุ่งมั่นในการยกระดับวงการเกษตรกรรมของไทยให้มีศักยภาพทัดเทียมนานาชาติ และส่งเสริมเกษตรกรไทย ตลอดจนผู้บริโภคให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน บริษัท เจียไต๋ จำกัด และ บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด จึงผนึกกำลังเพื่อสร้างนวัตกรรมในการเพาะปลูก ควบคู่ไปกับการใช้เครื่องจักรกลและนวัตกรรมการเกษตร สร้างปรากฏการณ์ใหม่ให้กับวงการเกษตรของไทย ภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือฉบับนี้ เจียไต๋ พร้อมสนับสนุนองค์ความรู้ในการเพาะปลูกพืชผักตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ อาทิ การใช้เมล็ดพันธุ์คุณภาพ วัสดุอุปกรณ์ในการเกษตร ตลอดจนการวางแผนระบบต่างๆ เพื่อการเพาะปลูกที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงการบริหารจัดการหลังการเก็บเกี่ยว ( post-harvest management) ต

กยท. เผยโฉมพันธุ์ยางพาราใหม่ RRIT 3904 ลูกผสมพันธุ์ไทย ปลูกง่าย โตไว น้ำยางเยอะ ต้านทานโรค

  การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เปิดตัวยางพาราไทยพันธุ์ใหม่ RRIT 3904 (สถาบันวิจัยยาง 3904) ยางพาราพันธุ์ดีตามคำแนะนำ เป็นลูกผสมระหว่าง RRII 203 และ PB 235 ลักษณะเด่น ปลูกง่าย โตไว ให้ผลผลิตน้ำยางสูง ต้านทานต่อโรคทางใบ ดร.กฤษดา สังข์สิงห์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง การยางแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า กยท. โดยสถาบันวิจัยยาง ได้คิดค้นและพัฒนาพันธุ์ยางพาราใหม่ตามกระบวนการขั้นตอนของการปรับปรุงพันธุ์อย่างต่อเนื่อง และประสบผลสำเร็จได้ยางพาราพันธุ์ RRIT 3904 เข้าสู่คำแนะนำพันธุ์ยาง พร้อมขยายส่งมอบสู่เกษตรกร โดยยางพันธุ์นี้ปลูกง่าย เจริญเติบโตดี รวมถึงให้ผลผลิตสูง เฉลี่ย 400 กิโลกรัม ต่อไร่ต่อปี ซึ่งสูงกว่าพันธุ์ยาง RRIM 600 ถึง 2 เท่าตัว โดยพันธุ์ RRIT 3904 นี้ ได้จากการผสมระหว่างพันธุ์ RRII 203 และ PB 235 นอกจากมีความโดดเด่นด้านผลผลิตน้ำยางแล้ว ยังเด่นด้านการเจริญเติบโต ลำต้นตรงแตกกิ่งน้อย ทำให้ได้ปริมาณเนื้อไม้มากเมื่อตัดโค่น ใบเขียวเข้ม ค่อนข้างต้านทานต่อโรคทางใบ เช่น โรคราแป้ง โรคไฟทอปธอร่า เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีรายงานจากประเทศมาเลเซียว่ายางพันธุ์ PB 235 ซึ่งเป็นพ่อของยางพันธุ์นี้ได้รับผลกระทบ

รมว.อว.ชื่นชม "โครงการธนาคารปูม้า" ชาวบ้านได้ใช้ประโยชน์งานวิจัย

รมว.อว.เยี่ยมชมผลสำเร็จโครงการธนาคารปูม้า “คืนปูม้าสู่ทะเลไทย” ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชและสุราษฎร์ธานี ชื่นชมนำองค์ความรู้และงานวิจัยให้ชาวบ้านใช้ประโยชน์ ได้มีส่วนร่วมในงานวิจัย และแลกเปลี่ยนภูมิปัญญาท้องถิ่น ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ลงพื้นที่เพื่อตรวจเยี่ยมความก้าวหน้าโครงการธนาคารปูม้า “คืนปูม้าสู่ทะเลไทย” ณ ศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าบ้านในถุ้ง อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2563 โดยมี ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ทำหน้าที่ ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และคณะผู้บริหารจาก วช. พร้อมด้วยนักวิจัยในโครงการ ให้การต้อนรับ และนำบรรยายสรุปพร้อมเยี่ยมชมโครงการ พร้อมกันนี้ รมว.อว.ยังได้ตรวจเยี่ยมศูนย์วิจัยชุมชน เครือข่ายวิจัยภูมิภาคภาคใต้ ที่ได้รับการสนับสนุนจาก วช. ภายหลังเยี่ยมชมโครงการ รมว.อว.กล่าวชื่นชม วช. และ ม.วลัยลักษณ์ ที่มีส่วนสำคัญในการสนับสนุนและพัฒนาโครงการธนาคารปูม้าชุมชน โดยเฉพาะที่ จ.นครศรีธรรมราช ที่นับว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่า

วช. จัดอบรมการผลิตผักไฮโดรโพนิกส์ให้ปลอดภัย จากโรครากเน่า และใบจุดที่เกาะสมุย

 เมื่อ เร็วๆ นี้ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพื ชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ จัดการอบรมการผลิตผักไฮโดรโพนิ กส์ปลอดภัย ให้กับอาจารย์และนักศึกษา วิทยาลัยอาชีวศึกษาภาวนาโพธิคุณ และเกษตรกรชาวสวนในเทศบาลเกาะสมุ ย ที่วิทยาลัยอาขีวศึกษาภาวนาโพธิ คุณ อำเภอสมุย จังหวัดสุราษฏร์ธานี วช. ได้ร่วมกับศูนย์วิจัยควบคุมศั ตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ ภาคใต้ มหาวิทยาลับสงขลานครินทร์ จังหวัดสงขลา โดย ดร. กลอยใจ  สำเร็จวาณิชย์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยควบคุมศั ตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ วช. และ รศ.ดร.อัจฉรา  เพ็งหนู ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยควบคุมศั ตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ ภาคใต้ ร่วมเป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ ความรู้จากการวิจัย ในการกำจัดศัตรูพืชโดยชีววิธี ในการใช้ชีวภัณฑ์ B-Veggie ในการควบคุมโรคของผักไฮโดรโพนิ กส์ ที่ปลูกในดินและในโรงเรื อนเพาะชำที่ไร้ดิน เนื่องจากชาวสวนมีปัญหาที่เกิ ดจากการปลูกผักคือ โรคเน่า โรคใบจุด และศัตรูพืชในผัก การควบคุมศัตรูผักโดยชีววิธี เป็นการใช้สื่งมีชีวิตหรือจุลิ นทรีย์มายับยั้งหรือทำลายเชื้ อโรคหรือแมลง เพื่อไม่ให้สร้างความเสียหายต่ อพืช เรียกจุลินทรีย์เหล่านี้ว