ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กุมภาพันธ์, 2020
สยามคูโบต้า เปิดศูนย์เรียนรู้ชุมชนพลังเกษตรสร้างสุขสยามคูโบต้า-ตอนิมิตร “ ชุมชนต้นแบบ” ด้านการเกษตรอย่างยั่งยืนแห่งแรกของภาคเหนือ สยามคูโบต้า ร่วมกับ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวบ้านตอนิมิตร เปิดศูนย์เรียนรู้ชุมชนพลังเกษตรสร้างสุขสยามคูโบต้า-ตอนิมิตร แห่งแรกในภาคเหนือ ถือเป็น“ชุมชนต้นแบบ” ด้านการเกษตรอย่างยั่งยืนด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเครื่องจักรกลการเกษตรที่ทันสมัย โชว์จุดเด่นผู้นำผลิตเมล็ดพันธุ์พืช ชูระบบ KUBOTA (Agri) Solutions ช่วยลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ นางกานต์เปรมปรีด์ ชิตานนท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ นายศรัทธา ศรีทิพงศ์ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดแพร่ นายสมศักดิ์ มาอุทธรณ์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด เปิดเผยว่า สยามคูโบต้า มีความมุ่งมั่นที่จะช่วยพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรไทย จึงได้ดำเนินนโยบายเพื่อตอบแทนสังคมที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goals (SDGs) ของสหประชาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านความมั่นคงทางอาหาร ด้านการศึกษา ด้านสิ่งแวดล้อม
เอสซีจี แพคเกจจิ้ง ร่วมกับ ม.เกษตรศาสตร์ พัฒนา “ กระดาษคู่ดิน ” ยกระดับคุณภาพผลผลิตพืชเมืองหนาว ด้วยกระดาษคลุมแปลงเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เอสซีจี แพคเกจจิ้ง ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิจัยและพัฒนา “ กระดาษคู่ดิน ” เพื่อใช้ในการทำเกษตรกรรม โดยต่อยอดจากการใช้คลุมพื้นดินรอบโคนต้นยูคาลิปตัสป่าปลูก ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในธุรกิจของเอสซีจี แพคเกจจิ้ง เนื่องจากกระดาษคู่ดินมีคุณสมบัติพิเศษ สามารถคลุมป้องกันวัชพืชที่แย่งธาตุอาหารจากดิน รวมถึงสามารถควบคุมอุณหภูมิและความชื้นของผิวดินให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม ส่งผลให้ต้นกล้ายูคาลิปตัสแข็งแรงและเจริญเติบโตได้ดี การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้ จึงประโยชน์สำหรับการทำเกษตรกรรมอื่น ๆ ที่ต้องการเกษตรประณีต รวมถึงต้องการลดการใช้สารเคมี อาทิ การปลูกผักและผลไม้เมืองหนาวในประเทศไทย ซึ่งต้องการการดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ ทั้งเรื่องวัชพืช อุณหภูมิ สภาพแวดล้อม และการควบคุมการใช้สารเคมีในระบบการทำการเกษตรแบบอินทรีย์ที่กำลังได้รับความนิยม  เกษตรกรปลูกสตรอว์เบอร์รี ที่ ต.โป่งแยง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ กระดาษคู่ดิน จากเอสซีจี แพคเกจจิ้ง มีการนำไปท
สวนป๋วย เปิดโครงการ "ธรรมศาสตร์ทำนา สวนหลังคาลอยฟ้า" ชูเกษตรกรรมสร้างสรรค์ อาหารมั่นคงและปลอดภัย อุทยานการเรียนรู้ ป๋วย 100 ปี หรือ สวนป๋วย เนินเขากลางกรุง ผืนเกษตรชุ่มน้ำ แหล่งเรียนรู้การเพาะปลูกปลอดสาร และประชาธิปไตย บนพื้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เปิดให้บริการแล้ว พร้อมเดินหน้าพัฒนาองค์ความรู้ ชูเกษตรกรรมสร้างสรรค์ อาหารมั่นคงและปลอดภัย เปิดโครงการ “ธรรมศาสตร์ทำนา และปลูกผัก บนหลังคาลอยฟ้า” ครั้งที่ 1 บนสวนผักไร้สารเคมีลอยฟ้าใหญ่ที่สุดในเอเชียและอันดับ 2 ของโลก รองจากมหานครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา สวนป๋วย ที่มีความพิเศษออกแบบเป็นตึกรูปตัว H และระบบการจัดการน้ำ  โครงการ “ธรรมศาสตร์ทำนา และปลูกผัก บนหลังคาลอยฟ้า” หรือ “ Thammasart Urban Rooftop Organic Farm ” เป็นความร่วมมือระหว่าง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ สำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ( สสส. ) เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เกษตรอินทรีย์อย่างถูกต้องและสามารถปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งเป็นกุศโลบายในการสร้างความตระหนักให้เกิดขึ้นในสังคมไทยในการให้ควา
เสริมแกร่ง ! “สหกรณ์ไทย” กรมส่งเสริมสหกรณ์ วาง 4 แนวทาง สร้างความเข้มแข็งให้ขบวนการสหกรณ์  เนื่องในวันสหกรณ์แห่งชาติ ประจำปี 2563 กรมส่งเสริมสหกรณ์ ร่วมกับขบวนการสหกรณ์ทั่วประเทศ จัดพิธีน้อมรำลึกพระกรุณาธิคุณ พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ พระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทย โดยในส่วนกลาง สันนิบาติสหกรณ์แห่งประเทศไทย และขบวนการสหกรณ์ไทยและเครือข่าย และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมกันจัดพิธีวางพานพุ่ม เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ “พระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทย” ณ บริเวณลานพระรูปพระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทย สันนิบาติสหกรณ์แห่งประเทศไทย โดยมี นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เปิดเผยถึงทิศทางการดำเนินงานของกรมส่งเสริมสหกรณ์ ในปี 2563  เพื่อการสร้างความเข้มแข็งให้กับขบวนการสหกรณ์ ว่า กรม ฯ ได้วางแนวทางการกำกับดูแลสหกรณ์ไว้ 4 เรื่อง หลัก ๆ คือ 1) การบริหารจัดการภายในของสหกรณ์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสาเหตุที่ทำให้สหกรณ์เกิดความบกพร่องและมีปัญหา กรมฯ จะเข้าไปส่งเสริมให้เกิดระบบบริหารจัดการ ระบบควบคุมภายใน  โด
สทน. ประยุกต์องค์ความรู้ด้านนิวเคลียร์   เปิดตัว 2 ผลิตภัณฑ์ใหม่ ยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรไทย สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ ( องค์การมหาชน ) หรือ สทน. ประยุกต์องค์ความรู้ด้านนิวเคลียร์ นำมาวิจัย พัฒนา และคิดค้น 2 ผลิตภัณฑ์ใหม่สำหรับเกษตรกรไทย เปิดตัวด้วย “ไมโครไคโตซาน” ใช้สำหรับเป็นฮอร์โมนเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ช่วยปรับสภาพดิน สร้างภูมิต้านทานโรคให้กับพืช ใช้เคลือบเมล็ดพันธุ์เพื่อยืดอายุการเก็บผลผลิต และ “พอลิเมอร์ดูดซึมน้ำสูง” สำหรับใช้เก็บกัก อุ้มน้ำ รักษาความชุ่มชื้นให้กับดิน ซึ่งการใช้ทั้ง 2 ผลิตภัณฑ์ นอกจากจะช่วยลดต้นทุนทางการเกษตรแล้ว ยังสามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย  ดร.หาญณรงค์ ฉ่ำทรัพย์ ดร.หาญณรงค์ ฉ่ำทรัพย์ รองผู้อำนวยการ (บริหาร) สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน ) เปิดเผยว่า สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน ) หรือ สทน. เป็นสถาบันชั้นนำ ในการวิจัยที่ใช้นิวเคลียร์แก้ไขปัญหาของประเทศ หนึ่งในหน้าที่ที่สำคัญคือ การวิจัยเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ และการประยุกต์ใช้ ซึ่งปัจจุบั