ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก เมษายน, 2021

วช. เปิดตัว “ข้าวอัลตร้าซาวด์” เครื่องมือแพทย์ทำจากข้าวเจ้า รายแรกของโลก

  นักวิจัยมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง คิดค้นนวัตกรรมข้าวอัลตร้าซาวด์ เจลข้าวสำหรับช่วยตรวจอวัยวะภายในร่างกายด้วยเครื่องอัลตร้าซาวด์ เพิ่มมูลค่าให้กับข้าวไทย ล่าสุดคว้ารางวัลการวิจัยแห่งชาติ รางวัลผลงานสิ่งประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2564 ระดับดี สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) นายแพทย์สิทธิพร บุณยนิตย์   ประเทศไทยเป็นผู้นำเข้าเครื่องมือแพทย์ที่มีมูลค่าสูงที่สุดในอาเซียน อุปกรณ์การแพทย์ที่นำเข้าส่วนใหญ่เป็นประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้ง ซึ่งรวมถึงเจลอัลตร้าซาวด์ ที่แพทย์นำมาใช้ตรวจในช่องท้อง ปัญหานี้เอง นักวิจัยจึงได้คิดค้นเจลข้าวสำหรับช่วยตรวจอวัยวะภายในร่างกายด้วยเครื่องอัลตร้าซาวด์ จนเป็นผลสำเร็จ วช. ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จึงได้มอบรางวัลการวิจัยแห่งชาติ : รางวัลผลงานสิ่งประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2564 ระดับดี สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ แก่ผลงานสิ่งประดิษฐ์ “ข้าวอัลตร้าซาวด์” เจลข้าวสำหรับช่วยตรวจอวัยวะภายในร่างกายด้วยเครื่องอัลตร้าซาวด์ แก่ นายแพทย์สิทธิพร บุณยนิตย์ และคณะ แห่งมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง นายแพทย์สิทธิพร บุณยนิตย์ เปิดเผยว่า ข้าวอ

จับกระแสแซลมอน หรือ “ปลาส้ม แม็คโคร” ชื่อเรียกไอเท็มท็อปฮิต ในโซเชียลของคนรักสุขภาพ

  ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19   กระแสคนรักสุขภาพกลายเป็นเทรนด์ยอดฮิตในโซเชียลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  โดยเฉพาะในช่วงที่กลับมาเวิร์คฟอร์มโฮม ทำงานที่บ้านกันอีกครั้งหนึ่ง  จากการสำรวจความนิยมสินค้าในสาขาต่างๆ ของ แม็คโคร พบว่า  อาหารเพื่อสุขภาพได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอาหารทะเลสดอย่าง ปลาแซลมอน  เป็นที่ต้องการจากลูกค้าในทุกสาขาทั่วประเทศ และได้รับการกล่าวถึงในโลกโซเชียลเป็นอันดับต้นๆ ภายใต้ชื่อเรียกว่า “ปลาส้ม แม็คโคร” ในช่วงที่ผ่านมา แม็คโคร นำเข้าแซลมอนเป็นอันดับหนึ่งในตลาดค้าปลีกของไทย โดยมาจากแหล่งผลิตชั้นนำที่ปลอดภัย อาทิ  นอร์เวย์ ออสเตรเลีย ชิลี  นอกจากนี้ยังมีความหลากหลายของรูปแบบการขายมากที่สุดแห่งหนึ่ง นั่นคือ มีการแล่ชิ้นขนาดเล็ก-ขนาดใหญ่ หรือขายทั้งตัวขนาด 4-6 กิโลกรัมต่อตัว  ตามรูปแบบความต้องการของลูกค้าและผู้ประกอบการร้านอาหาร  และยังมีความโดดเด่นในเรื่อง ความสด ใหม่ สะอาด ปลอดภัย จากความสม่ำเสมอในการนำเข้าตรงจากแหล่งผลิตชั้นนำสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ด้วยกระบวนการขนส่งที่ควบคุมอุณหภูมิเคร่งครัด ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางภายใต้เทคโนโลยีที่ล้ำสมัย เพื่อ

สยามคูโบต้า เดินหน้าสนับสนุน 5 โรงพยาบาลสนาม พร้อมเคียงข้างคนไทยให้ก้าวผ่านวิกฤตโควิด-19 ระลอกใหม่ไปด้วยกัน

  โรงพยาบาลหัวหิน นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รับมอบ   บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด เคียงข้างสังคมไทยสู้วิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด- 19) ระลอกใหม่ มอบเงินบริจาค 1.5 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนการจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์และสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็น สำหรับดูแลผู้ป่วยโควิด- 19 ให้แก่โรงพยาบาลสนาม 5 แห่ง ภายใต้โครงการ KUBOTA On Your Side ปีที่ 2 พร้อมส่งมอบกำลังใจให้คนไทยทั่วประเทศก้าวผ่านวิกฤตการณ์ครั้งนี้ไปด้วยกัน นางวราภรณ์ โอสถาพันธุ์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด นางวราภรณ์ โอสถาพันธุ์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด นางวราภรณ์ โอสถาพันธุ์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด เปิดเผยว่า การแพร่ระบาดของโรคโควิด- 19 ระลอกใหม่ในประเทศไทยขณะนี้ อยู่ในสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วง เนื่องจากพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นต่อวันจำนวนมาก และมีอัตราการแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วน สยามคูโบต้าจึงดำเนินการให้ความ

พบครั้งแรก! “กุ้งเต้นคงเสมา” กุ้งเต้นชนิดใหม่ของโลกในบริเวณ ม.เกษตรศาสตร์

  พบ “ กุ้งเต้น” ( amphipod) ชนิดใหม่ของโลก ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์                                         และยังไม่มีรายงานในบริเวณอื่นในโลก ทีมนักวิจัยภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์   ได้ค้นพบ   “กุ้งเต้น” ชนิดใหม่ของโลก บริเวณหน้าอาคารจักรพันธ์เพ็ญศิริและสระน้ำโรงอาหารกลาง (บาร์ใหม่) ภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์   และยังไม่มีรายงานในบริเวณอื่นในโลก  กุ้งเต้นคงเสมา ( Floresorchestia kongsemae ) ชนิดใหม่ของโลก เป็นสัตว์ในซับไฟลัม ครัสเตเชียน คือกลุ่มเดียวกับกุ้ง ปู แต่มีขนาดเล็กกว่า  ลำตัวแบนข้าง มีขาเดิน 7 คู่ ต่างจากกุ้งที่เรารู้จักกันที่มีขาเดิน 5 คู่ โดยปกติจะพบอาศัยในทะเลและน้ำจืด กุ้งเต้นที่พบอยู่ในวงศ์ Talitridae เป็นกลุ่มที่วิวัฒนาการปรับตัวให้มาอาศัยอยู่บนบกได้ แต่ยังมีลักษณะความเป็นสัตว์น้ำอยู่ คือหายใจด้วยเหงือก จึงมักพบอาศัยอยู่ในบริเวณที่ชื้นแฉะที่มีการรบกวนของหน้าดินน้อย โดยปกติ กุ้งเต้น จะกินซากใบไม้ที่อยู่ริมฝั่งและสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร การกัดกินอาหารของกุ้งเต้นดังกล่าว จะช่วยเร่งกระบวนการย่อยสลายโดยแบคทีเรียและช่วยหมุนเวียนสารอาหาร น

“วัสดุดูดซับจากยางพารานาโนเทคโนโลยีสำหรับขจัดน้ำมันปนเปื้อน” ใช้น้ำยางธรรมชาติเป็นวัตถุดิบหลัก ดูดซับน้ำมันได้ 5-18 เท่า ใช้ซ้ำได้อย่างน้อย 5 ครั้ง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

  วว. โชว์ผลงานวิจัยพัฒนา “วัสดุดูดซับจากยางพารานาโนเทคโนโลยีสำหรับขจัดน้ำมันปนเปื้อน” ใช้น้ำยางธรรมชาติเป็นวัตถุดิบหลัก ดูดซับน้ำมันได้ 5-18 เท่า  ใช้ซ้ำได้อย่างน้อย 5 ครั้ง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)  ประสบผลสำเร็จวิจัยและพัฒนา “วัสดุดูดซับจากยางพารานาโนเทคโนโลยีสำหรับการขจัดน้ำมันปนเปื้อน”  โดยใช้น้ำยางธรรมชาติเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต  ผลิตภัณฑ์อยู่ในรูปแบบโฟมยาง  2   แบบ มีประสิทธิภาพสามารถดูดซับน้ำมันได้ 5-18 เท่าของน้ำหนักโฟมยาง  ใช้ซ้ำได้อย่างน้อย 5 ครั้งด้วยการบีบอัดทางกล  มีน้ำหนักเบา ใช้งานง่าย เคลื่อนย้ายสะดวก เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทั้งการขจัดน้ำมันปนเปื้อนบนผิวน้ำเช่น ทะเล แม่น้ำ โรงงานอุตสาหกรรม ศ. (วิจัย) ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว. กล่าวว่า ปัญหาน้ำมันรั่วไหลทางทะเลเป็นปัญหามลภาวะที่สำคัญเนื่องจากเกิดขึ้นบ่อยครั้งในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลกระทบอย่างเฉียบพลันและระยะยาวต่อสุขภาพของ มนุษย์ สัตว์ สิ่งแวดล้อม รวมถึงร

ศึกษาหลักธรรมผ่านงานวิจัยจนคว้ารางวัล “ศ.ดร.วัชระ งามจิตรเจริญ” แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาปรัชญา ประจำปี 2564

  ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) พร้อมด้วย ศ.ดร.วัชระ งามจิตรเจริญ นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาปรัชญา ประจำปี 2564 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จัดกิจกรรมแถลงข่าว NRCT TALK “ เปิดบ้านงานวิจัยและนวัตกรรม By NRCT (In-House): 1 ในนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2564 ( ครั้งที่ 5)” เชิดชูเกียรตินักวิจัยไทยที่มีผลงานโดดเด่น สร้างคุณูปการให้วิชาการและประเทศชาติ  ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เปิดกิจกรรมแถลงข่าว NRCT TALK “ เปิดบ้านงานวิจัยและนวัตกรรม By NRCT (In-House): 1 ในนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2564 ” ครั้งที่ 5 เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมการสร้างแรงจูงใจของนักประดิษฐ์ และนักวิจัยในอันที่จะพัฒนานวัตกรรมทางความคิด และภูมิปัญญาที่เป็นประโยชน์ สร้างความก้าวหน้าในศาสตร์แขนงต่างๆ ซึ่งในวันนี้ วช. ได้มีการเปิดตัว 1 นักวิจัยผู้ที่ได้รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2564 จากจำนวน 7 ท่าน ใน 5 สาขา ได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร.วัชระ งามจิตรเจริญ แห่งคณะศิลปศาสตร์ มห

เครื่องคงสภาพรำข้าวด้วยระบบอินฟราเรดร่วมกับถังไซโคลน ช่วยเพิ่มมูลค่ารำข้าว ให้กับวิสาหกิจชุมชน

  นักวิจัย คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร คิดค้น “เครื่องคงสภาพรำข้าวด้วยระบบอินฟราเรดร่วมกับถังไซโคลน” สำหรับวิสาหกิจชุมชนและโรงสีข้าวขนาดเล็ก เป็นผลสำเร็จช่วยให้ผู้บริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ ที่บริโภคข้าวเป็นอาหาร อุดมสมบูรณ์ด้วยวิตามิน เอ ดี และ เค จนได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ระดับดีในปีนี้ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เห็นถึงประโยชน์ของเครื่องคงสภาพรำข้าวด้วยระบบอินฟราเรดร่วมกับถังไซโคลนสำหรับวิสาหกิจชุมชนและโรงสีข้าวขนาดเล็ก ที่สามารถนำไปช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับรำข้าวและสามารถนำไปต่อยอดใช้งานได้จริงกับผู้ประกอบการระดับวิสาหกิจชุมชนและโรงสีข้าวขนาดเล็กในอนาคตได้ จึงมอบรางวัลการวิจัยแห่งชาติ : รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2564 ระดับดี สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา แก่ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ขนิษฐา และคณะ แห่งคณะเกษตรศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งจะมีพิธีมอบรางวัลการวิจัยแห่งชาติในงานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2564 ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 – 30 พฤษภาคม 2564 ณ ศูนย์นิทรรศก