ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มีนาคม, 2022

NIA เชิญชวนส่งผลงานเข้าร่วมการประกวด "รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติประจำปี 2565" เพื่อเฟ้นหาสุดยอดนวัตกรชิงรางวัลทรงเกียรติสูงสุดแห่งวงการนวัตกรรมไทย

  สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA จัดกิจกรรมเปิดตัวการประกวด “รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติประจำปี 2565” ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 18 เพื่อเป็นเวทีเชิดชูเกียรติคนไทยที่สร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรมที่มีความโดดเด่นและก่อประโยชน์ต่อประเทศในหลากหลายมิติทั้งเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ยังเป็นการสร้างให้เกิดความภาคภูมิใจในศักยภาพของคนไทยและเผยแพร่ต้นแบบการพัฒนานวัตกรรมด้านต่าง ๆ สู่สาธารณชนในวงกว้าง รวมถึงกระตุ้นให้เกิดความตื่นตัวด้านนวัตกรรมในทุกภาคส่วนของสังคม เพื่อผลักดันประเทศไทยสู่การเป็นชาติแห่งนวัตกรรม โดยรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ แบ่งเป็น 5 ด้าน ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการ ด้านสื่อและการสื่อสาร และด้านองค์กรนวัตกรรมดีเด่น ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA เปิดเผยว่า “รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติถือเป็นรางวัลนวัตกรรมอันทรงเกียรติสูงสุดของวงการนวัตกรรมไทย ซึ่งจัดขึ้นเพื่อประกาศเกียรติคุณและเชิดชูเกียรติแก่คนไทยที่สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมที่มีความโดดเด่นและก่อประโย

(ชมคลิป)​ภาพยนตร์เรื่องแรกของ ส.ป.ก. "แผ่นดินทอง เพื่อผองไทย"

  การปฏิรูปที่ดินนั้นหากเราได้ศึกษาประวัติความเป็นมา เราจะพบว่า...การปฏิรูปที่ดิน เป็นกลยุทธ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง ในการปกครองประเทศซึ่งได้ถูกนำมาใช้ตั้งแต่สมัยโบราณ เป็นการจัดสรรระบบการถือครองกรรมสิทธิ์ในที่ดินแบบประนีประนอม และมิได้มีการดำเนินการอย่างจริงจังมากนัก ดังนั้น วิธีการปฏิรูปที่ดิน จึงเป็นแต่เพียงมาตรการที่ช่วยเหลือผ่อนปรนความกดดัน ทางการเมือง และช่วยให้ผู้ปกครองประเทศ ได้รับการสนับสนุนแนวคิดเกี่ยวกับการปฏิรูปที่ดินในประเทศไทย โดยปรากฏหลักฐานตั้งแต่ หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2476 นายปรีดี พนมยงค์ ได้เสนอแนวคิด ในการจัดระบบการถือครองที่ดิน โดยให้รัฐบาลซื้อที่ดินจากประชาชน ที่ต้องการขาย แล้วนำมาพัฒนาทำคูทำคันนา จัดทำเป็นที่ดินประกอบ การเกษตรของรัฐ เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนา และมีการใช้วิชาการสมัยใหม่ จากนั้นให้ราษฎร มาเป็นลูกจ้าง ประกอบการเกษตร ของรัฐบาล แต่แนวคิดนี้ถูกคัดค้านเป็นอย่างมาก ต่อมา มีการเรียกร้องให้รัฐบาล แก้ไขปัญหาที่ทำกินจากบุคคลหลายกลุ่ม มีทั้งข้าราชการ นักการเมือง ชาวไร่ ชาวนา ดร.ไชยยงค์ ชูชาติ ซึ่งเป็นรองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน ได้ศึกษาปัญหาการถือคร

สยามคูโบต้า รุกขยาย “ฟาร์มสร้างประสบการณ์เกษตรสมัยใหม่” แห่งแรกใน จ.มหาสารคาม ภายใต้ชื่อ ณ นา ฟาร์ม นำองค์ความรู้ โซลูชั่น และเทคโนโลยีการเกษตร สู่พี่น้องภาคอีสาน ยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สู่รายได้ที่ยั่งยืนของเกษตรกรไทย

บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด เดินหน้าขยาย “ฟาร์มสร้างประสบการณ์เกษตรสมัยใหม่ โดยผู้แทนจำหน่ายสยามคูโบต้า” เปิดแห่งแรกใน จ.มหาสารคาม ภายใต้ชื่อ ณ นา ฟาร์ม สนับสนุนผู้แทนจำหน่าย คูโบต้า มหาสารคาม ยก “คูโบต้า ฟาร์ม” ต้นแบบ มาเนรมิตเป็นฟาร์มสร้างประสบการณ์เกษตรสมัยใหม่ในระดับจังหวัด เพื่อนำองค์ความรู้ และโซลูชั่น พร้อมเทคโนโลยีการเกษตร สู่การยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ตลอดจนมีรายได้ที่ยั่งยืน ชูจุดเด่นด้วย 6โซน ตั้งเป้าขยายฟาร์มสร้างประสบการณ์เกษตรสมัยใหม่ให้ครบ 40 แห่งทั่วประเทศในอีก 5 ปีข้างหน้า นางวราภรณ์ โอสถาพันธุ์ กรรมการ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวว่า หลังจากสยามคูโบต้าได้เปิดคูโบต้า ฟาร์มอย่างเป็นทางการ เมื่อเดือนสิงหาคม 2563 เพื่อเป็น Innovative Farming Experience Center ฟาร์มสร้างประสบการณ์การเกษตรสมัยใหม่ของคูโบต้าในภูมิภาคอาเซียน ที่ออกแบบภายใต้แนวคิด End to End Solutions จากต้นน้ำถึงปลายน้ำ โดยนำเอาองค์ความรู้ KUBOTA (Agri) Solutions หรือนวัตกรรมเกษตรครบวงจร เอกลักษณ์เฉพาะของคูโบต้ามาประยุกต์ใช้จริง ให้เกษตรกร หรือผู้สนใจ ได้เรียนร

สภาเกษตรกรจังหวัดตราด ดัน “ขยะเป็นศูนย์” พื้นที่ผักเกษตรอินทรีย์

 นายภาสกร  เขียวขจี อายุ 55ปี อาชีพเกษตรกร ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านเกษตรตราด จ.ตราด และเจ้าของ “บ้านไร่เขียวขจี ภาสกรฟาร์ม” กล่าวว่า พื้นที่ทำการเกษตร“บ้านไร่เขียวขจี ภาสกรฟาร์ม” เป็นสวนผสมด้วยระบบอินทรีย์ และรับรองพื้นที่ทั้งหมดแล้วโดยกรมวิชาการเกษตร ประมาณ 130 ไร่เศษ เป็นพื้นที่น้ำ 30 ไร่ เลี้ยงปลาตะเพียน ยี่สก  , ปลูกผัก 15 ไร่ ประมาณ 30 ชนิด  เป็นระบบน้ำหยด , นาข้าว 20 ไร่ ปลูกพันธุ์หอมมะลิ 105 จำหน่ายและบริโภค  , ปาล์มน้ำมันส่งโรงงาน/หมากดิบส่งตลาดต่างประเทศ 10 ไร่   , มะพร้าว/กล้วย พันธุ์มะลิอ่อง 10 ไร่เศษ  ,  มะละกอฮอลแลนด์ 5-10 ไร่ ส่งตลาดและห้างสรรพสินค้า เป็นต้น  ผลผลิตหลักของกลุ่มฯคือผักสลัด เช่น ฟิลย์เล่ไอซ์เบิร์ก  เรดปัตตาเวีย  เรดโอ๊ค  เรดคอรัล  กรีนโอ๊ค  บัตเตอร์เฮด   คอส  เบบี้คอส เป็นต้น นำส่งยังโรงพยาบาลในจังหวัดตราดและจันทบุรี เพื่อจัดทำเมนูสุขภาพสำหรับผู้ป่วย รวมทั้งตามคำสั่งซื้อจากห้างสรรพสินค้า  ปัญหาหลักคือจะมีเศษผักที่ไม่สวย หัก แต่ยังสามารถบริโภคได้ ทางกลุ่มฯแยกจำหน่ายกับทำปุ๋ยหมักไว้ใช้หมุนเวียนในพื้นที่  แต่ก็มองว่าน่าจะต่อยอดได้ไหม  จึงได้หารือกับสภาเกษต