ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

วว. โชว์ผลสำเร็จ Circular Economy ตามนโยบาย BCG Model
จากโครงการนำวัสดุเหลือใช้ในอุตสาหกรรมเกษตรฯ สร้างมูลค่าทางธุรกิจกว่า 1 ลบ.ต่อเดือน
นายประยงค์ เยื่อแม้นพงศ์ (ที่2 จากซ้าย) และนายสายันต์ ตันพานิช (ที่ 2 จากขวา)

เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) คือ แนวคิดการนำทรัพยากรที่ถูกใช้แล้วกลับมาแปรรูปและนำกลับมาใช้ใหม่ เน้นการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อแก้ไขปัญหาการใช้ทรัพยากรเกินความจำเป็น จากการขยายตัวของประชากรโลกและปัญหาการจัดการขยะ
    สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ขับเคลื่อนเทคโนโลยีและนวัตกรรม มุ่งดำเนินงานภายใต้หลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) สร้างมูลค่าเพิ่ม value added และ value creation เป็นฟันเฟืองสำคัญในการวิจัยพัฒนา ต่อยอด คัดเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสม สร้างรายได้แก่ชุมชน ผู้ประกอบการและประเทศ ผ่านการเพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิต สู่การนำไปใช้ประโยชน์ทั้งในเชิงสังคมและเชิงพาณิชย์


โดยทั่วไปการนำวัสดุเหลือใช้ในอุตสาหกรรมเกษตรมาทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจนั้น มี 4 รูปแบบ ดังนี้ 1.) อาหารสัตว์  เช่น การใช้ฟางข้าวและเปลือกสับปะรดเป็นอาหารปศุสัตว์ 2.) เชื้อเพลิง เช่น การใช้แกลบ ชานอ้อยและเศษวัสดุต่างๆ เป็นเชื้อเพลิงในโรงสี  โรงงานน้ำตาล และโรงงานอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษ 3.) ปุ๋ยอินทรีย์  เช่น การไถกลบเศษพืชลงดินและการใช้น้ำกากส่าเป็นปุ๋ยในนาข้าว และ 4.) วัตถุดิบในการผลิต   เช่น การนำมาใช้เลี้ยงเชื้อราเพื่อผลิตเอนไซม์  การนำฟางข้าวมาใช้ในการเพาะเห็ด
นายสายันต์  ตันพานิช  รองผู้ว่าการกลุ่มวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ  วว. กล่าวว่า วว.ให้ความสำคัญในการดำเนินงานบริหารจัดการ Circular Economy ที่เป็นรูปธรรมและสามารถนำไปใช้ได้จริง โดย โครงการการนำวัสดุเหลือใช้ในอุตสาหกรรมเกษตรมาทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ (Waste Utilization)  ที่ วว. นำลงไปปฏิบัติและบูรณาการกับหน่วยงานพันธมิตรและกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี เป็นตัวอย่างความสำเร็จของ วว. ในการดำเนินงานด้านนี้ ในเชิงพื้นที่ เนื่องจากจังหวัดกาญจนบุรีเป็นแหล่งปลูกอ้อยที่เป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศและมีปริมาณของวัสดุเหลือทิ้งในกระบวนการผลิตจากโรงงานอ้อยจำนวนมาก ในรูปแบบการถ่ายทอดองค์ความรู้ ฝึกอบรมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 
ทั้งนี้ มีรายงานการผลิตอ้อยของประเทศไทย ประจำปีการผลิต 2560/61 ว่า ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกอ้อยทั้งหมด 11,542,550 ไร่ เพิ่มขึ้นจากปีการผลิต 2559/60 จำนวน 554,061 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ปลูกอ้อยภาคเหนือ 2,719,424 ไร่ ภาคกลาง 3,118,925 ไร่  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5,044,952 ไร่ และภาคตะวันออก 659,249 ไร่ โดยจังหวัดที่มีพื้นที่ปลูกอ้อยมากที่สุด 3 จังหวัดแรก ได้แก่ นครสวรรค์ 798,745 ไร่ กำแพงเพชร 798,077 ไร่ และ กาญจนบุรี 753,424 ไร่ (อ้างอิงข้อมูล : สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กระทรวงอุตสาหกรรม)
จากการดำเนินงานโครงการฯ ของ วว. ได้นำวัสดุเหลือทิ้งจากโรงงานอ้อย คือ กากหม้อกรอง ซึ่งมีปริมาณ 3 แสนตัน/ปี   (คิดเป็น 5% ของอ้อยสดในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรีที่มีกว่า 6 ล้านตัน/ปี)  นำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการพัฒนาเป็นปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการจัดการและกำจัดในส่วนของโรงงาน อีกทั้งยังเป็นประโยชน์กับเกษตรกรได้อีกด้วย
สายการผลิตโรงปุ๋ยเยื่อแม้นพงศ์
สต๊อคปุ๋ยอินทรีย์

“... หจก.โรงปุ๋ยเยื่อแม้นพงศ์ ผู้ประกอบการในอำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี  เป็น Success Case อีกแห่งหนึ่ง ที่เป็นความสำเร็จของ  วว. ในการนำ วทน. เข้าไปเสริมศักยภาพ พัฒนาสูตรปุ๋ยอินทรีย์จากกากหม้อกรองโรงงานน้ำตาล จนสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้แก่ธุรกิจกว่า 1 ล้านบาทต่อเดือน จากกำลังการผลิต 1,000 ตันต่อวัน  นับเป็นผลสำเร็จที่เป็นรูปธรรมในการดำเนินงานด้าน Circular Economy  ของ วว. ที่สอดคล้องกับนโยบายระบบเศรษฐกิจใหม่ของรัฐบาล BCG Model (การบูรณาการการพัฒนาเศรษฐกิจใน 3 มิติไปพร้อมกัน ได้แก่ B - Bio Economy หรือเศรษฐกิจชีวภาพ C - Circular Economy หรือเศรษฐกิจหมุนเวียน และ G - Green Economy หรือเศรษฐกิจสีเขียว) ช่วยยกระดับเศรษฐกิจของจังหวัด ช่วยลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้สามารถนำโมเดลนี้ไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่อื่นๆ ในโรงงานน้ำตาลได้ อาทิ จังหวัดสุพรรณบุรี กำแพงเพชร อุดรธานี นครสวรรค์ และสามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆได้เช่นกัน อาทิ โรงงานสับปะรดกระป๋อง ซึ่งมีวัสดุเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิต เช่น เปลือก และใบ ที่สามารถนำ วทน. เข้าไปเพิ่มมูลค่าได้ ทั้งนี้ วว. จะคัดเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับการประกอบการนั้นๆ เพื่อให้มีมูลค่าเพิ่มจากวัสดุเหลือทิ้งได้สูงที่สุด..” นายสายันต์ ตันพานิช  กล่าว
อย่างไรก็ตาม ในความสำเร็จของ หจก.โรงปุ๋ยเยื่อแม้นพงศ์นั้น เส้นทางการดำเนินธุรกิจแรกเริ่มของผู้ประกอบการรายนี้ ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ แต่ได้ผ่านการลองผิดลองถูก ผนวกกับความตั้งใจจริงในการประกอบอาชีพ เปิดใจรับความรู้ใหม่ๆ แล้วนำมาพัฒนาปรับปรุงให้การประกอบธุรกิจมีความมั่นคงยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการเข้ารับการอบรมหลักสูตรการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จาก วว. ในปี พ.. 2542 ได้ส่งผลให้ผู้ประกอบการรายนี้ประสบผลสำเร็จในการประกอบธุรกิจโรงงานผลิตและจำหน่ายปุ๋ยอินทรีย์อย่างเต็มรูปแบบ ก้าวข้ามจากธุรกิจเล็กๆ ที่มีลูกน้องเพียง 2 คน สู่ธุรกิจที่มีมูลค่าผลประกอบการกว่า 200 ล้านบาท และมีลูกน้องกว่า 100 ชีวิต ที่เป็นกำลังสำคัญในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จำหน่ายทั่วทุกภูมิภาคของประเทศในปัจจุบัน 

เดิมทีผมทำอาชีพขายยาเส้นและรับจ้างส่งปุ๋ยทั่วไป จากนั้นเห็นว่าธุรกิจขายปุ๋ยมีรายได้ดี ก็เลยลองผิดลองถูกผลิตปุ๋ยจำหน่ายเอง โดยใช้วัตถุดิบจากมูลสัตว์ แต่สุดท้ายด้วยเราขาดความรู้และหลักวิชาการที่ถูกต้อง ทำให้ธุรกิจลุ่มๆดอนๆ จนกระทั่งได้มาพบคุณสุนทร ดุริยะประพันธ์ และทีมนักวิจัยจาก วว. ได้มาแนะนำโครงการและชวนเข้ารับการอบรมผลิตปุ๋ยอินทรีย์โดยใช้วัตถุดิบจากของเหลือทิ้งทางการเกษตร ในตอนนั้นจะใช้วัสดุเหลือทิ้งจากโรงงานเยื่อกระดาษและโรงงานน้ำตาลมาเป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตปุ๋ย จากวันนั้นถึงวันนี้เป็นเวลากว่า 20 ปีแล้ว ที่ผมและ วว.ได้ทำงานร่วมกัน   ปัจจุบันโรงงานเราจะใช้วัตถุดิบจากโรงงานน้ำตาลคือ กากจากหม้อกรอง เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่ง วว.ได้ช่วยพัฒนาสูตร ให้คำชี้แนะ ช่วยส่งเสริมสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งโรงงานเราผ่านการรับรองมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์จากกรมวิชาการเกษตร ทำให้ธุรกิจได้รับความเชื่อมั่นจากลูกค้าและมีความมั่นคง” นายประยงค์ เยื่อแม้นพงศ์ หุ้นส่วนผู้จัดการ หจก.โรงปุ๋ยเยื่อแม้นพงศ์ กล่าว
เครื่องดักจับฝุ่น
ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยอินทรีย์ของ หจก.โรงปุ๋ยเยื่อแม้นพงศ์ ได้รับการตอบรับและมีกลุ่มลูกค้าที่เหนียวแน่น แม้นว่าผู้ประกอบการรายนี้จะไม่มีพนักงานขายโดยตรง แต่ผลประกอบการมีความมั่นคง ด้วยกลุ่มลูกค้ามีความเชื่อมั่นในคุณภาพปุ๋ย ที่ให้ผลผลิตต่อไร่ค่อนข้างสูง ช่วยปรับสภาพดิน สามารถใช้ได้กับพืชเกษตรทุกชนิด โดยมีอัตราการใช้ปุ๋ยประมาณ 50 กิโลกรัมต่อไร่ รวมทั้งมีหน่วยงานภาครัฐคือ วว. ร่วมเป็นหุ้นส่วนความสำเร็จ (Partner for your Success) จึงเป็นสูตรสำเร็จหนึ่งในการดำเนินธุรกิจของวงการเกษตร ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เข้ามาช่วยขับเคลื่อนการดำเนินธุรกิจ
ผมพร้อมให้คำชี้แนะแก่ผู้สนใจที่ต้องการเข้ามาทำธุรกิจนี้ ที่สำคัญคือท่านต้องมีความตั้งใจจริง ต้องอึด อดทน ตอนที่ผมร่วมทำกับ วว.ในช่วงแรกๆ นั้น ผมกินนอนอยู่ที่โรงงานเลย แต่เมื่อผ่านจุดนั้นมาได้เราก็จะภาคภูมิใจครับ ในอนาคตเราจะขยายธุรกิจให้ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการเกษตรมากขึ้น อีกประเภท  คือ ปุ๋ยอินทรีย์เคมี เป็นต้น โดยมี วว.เป็นพี่เลี้ยงให้คำชี้แนะและก้าวไปพร้อมๆกัน  นายประยงค์ เยื่อแม้นพงศ์ กล่าวถึงเคล็ดลับความสำเร็จและเป้าหมายอนาคตของธุรกิจ

ความสำเร็จในการดำเนินงานด้าน Circular Economy ดังกล่าวข้างต้นของ วว. ถือเป็นตัวอย่างที่เห็นผลเด่นชัดในแง่การนำ วทน. เข้าไปช่วยเพิ่มมูลค่าของเหลือทิ้งในภาคชุมชน ผู้ประกอบการ และในระดับอุตสาหกรรม ทั้งนี้ วว. มีผลดำเนินงานขอบข่ายนี้ในแขนงอุตสาหกรรมอื่นๆ ซึ่งจะนำมาบอกเล่าในวงกว้างในโอกาสต่อไป เพื่อร่วมผลักดันนโยบาย BCG Model ให้สำเร็จ เป็นรูปธรรมและยั่งยืน
ผู้สนใจรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีปุ๋ยอินทรีย์หรือขอรับคำแนะนำปรึกษาด้าน Circular Economy จาก วว. สามารถติดต่อได้ที่ โทร. 0-2577-9000, 0-2577-9300 โทรสาร 0-2577-9009 E-mail :tistr@tistr Line@tistr  และติดต่อ หจก.โรงปุ๋ยเยื่อแม้นพงศ์ ได้ที่ โทร.034-552553 และ 034-552633

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

นวัตกรรมการผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ส่งเสริมรายได้สู่ชุมชน

  วช. เสริมแกร่ง มรภ.อุตรดิตถ์ ผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 IN 1 จากวัสดุเหลือทิ้ง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นักวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ นำองค์ความรู้ และนวัตกรรมการผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ส่งเสริมรายได้พื้นที่เป้าหมาย สร้างเกษตรกรต้นแบบ จ.อุตรดิตถ์ และ จ.สุรินทร์ กว่า 100 ราย แนะใช้ถ่านดูดซับกลิ่น ความชื้น ยกระดับคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้ อมให้ยั่งยืน โดยการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนั กงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จากปัญหาเศษวัสดุเหลือทิ้ งทางการเกษตร อาทิ เปลือกทุเรียน เหง้ามันสำปะหลัง แกนข้าวโพด ข้อไม้ไผ่ รวมถึงเศษกิ่งไม้ริมทาง ยังไม่ได้ถูกนำมาใช้ให้เกิ ดประโยชน์มากนัก  อีกทั้งการจัดการโดยเผาเศษวัสดุ เหลือทิ้งในที่โล่ง ยังเป็นการปล่อยก๊าซเรื อนกระจกและมลสารเข้าสู่ชั้ นบรรยากาศ องค์ความรู้และนวัตกรรมการผลิ ตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 ด้วยวิธีไพโรไลซิส จึงนับเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ ไขประเด็นปัญหาดังกล่าวได้ ขณะนี้นักวิจัยได้ถ่ายทอดองค์ ความรู้และติดตั้งนวัตกรรมแล้ว ประกอบด้วย เตาผลิตถ่านดูดกลิ่นแบบไพโรไลซิ ส เครื่...

เอ็นไอเอ โหมโรง “นิลมังกร” อัดฉีดผลงานนวัตกรรมเด่นพลิกฟื้นเศรษฐกิจหลังโควิด 19 โค้งสุดท้ายก่อนเฟ้นหาสุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยภายใต้ “นิลมังกรแคมเปญ”

  สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายจำนวน 18 หน่วยงาน ได้แก่ ศูนย์แบรนด์เคยู คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค 14 มหาวิทยาลัย หอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย จัดประกาศผลและมอบรางวัล “ สุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยประจำปี 2564 รอบภูมิภาค ( Thailand INNO BIZ Champion 2021 Regional Round) ภายใต้ “ นิลมังกรแคมเปญ ” ให้กับ 20 ธุรกิจนวัตกรรมจาก 4 ภูมิภาค ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ NIA กล่าวว่า “NIA มีหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุน และสร้างความสามารถการแข่งขันของประเทศด้วยการใช้นวัตกรรม ดังนั้นจึงได้ริเริ่มโครงการสุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยระดับภูมิภาค ภายใต้ “ นิลมังกรแคมเปญ ” ขึ้น เพื่อสร้างตัวอย่างการทำธุรกิจนวัตกรรมในภูมิภาคให้คนในพื้นที่ได้เห็นถึงความสำคัญในการพัฒนานวัตกรรมและได้เรียนรู้กระบวนการสร้างธุรกิจนวัตกรรม ผ่านการสื่อสารในรูปแบบของ Edutainment เพื่อให้เป็นที่น่าสนใจ เข้าถึง และเข้าใจกระบวนการสร้างธุรกิ...

2-4 ธันวาคมนี้ พบกันที่ งานสัตว์น้ำไทย 2024 (Thai Aqua Expo 2024)

สมาคมกุ้งตะวันออกไทย ร่วมกับ พันธมิตรในภาคตะวันออก และภาครัฐ ร่วมจัดงานสัตว์น้ำเศรษฐกิจยิ่งใหญ่ประจำปี 2567 งานสัตว์น้ำไทย 2024 (Thai Aqua Expo 2024) ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-3-4 ธันวาคม 2567 ณ โรงแรมซันไรส์ ลากูน โฮเทลแอนด์กอล์ฟ จ.ฉะเชิงเทรา ภายใต้แนวความคิด “ปรับกลยุทธ์สัตว์น้ำไทย สร้างกำไรทุกภาคส่วน” โดยสมาคมกุ้งตะวันออกไทย ร่วมกับ สมาคม สหกรณ์ ชมรม กลุ่มแปลงใหญ่ ในภาคตะวันออกก รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐ และบริษัทเอกชนผู้ร่วมสนับสนุน ภายใต้มีวัตถุประสงค์ของการจัดงาน เพื่อเผยแพร่ความรู้ นวัตกรรม การส่งต่อข้อมูลเพื่อให้เกษตรกร สามารถวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางการตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศ ถ่ายทอดแนวทางการลดต้นทุนตลอดห่วงโซ่ในอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และกระตุ้นให้มีการส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศมากขึ้น ภายในงานมีการเสวนา และสัมมนาให้ความรู้กับเกษตรกรและผู้ที่สนใจ ตลอดระยะเวลาการจัดงาน ทั้ง 3 วัน รวมถึงมีการจัดแสดงสินค้าของบริษัทและผู้ค้าปัจจัยการผลิตที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยมีพื้นที่จัดแสดงสินค้ามากกว่า 70 บูท และมีบริษัทสนใจเข้าร่วม...