ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

กลุ่มมิตรผล เผยดัชนีความสุขชาวไร่อ้อยในโครงการทำตามพ่อ ปลูก เพ(ร)าะ สุข สูงถึง 80% มุ่งสานต่อทุกมิติของความสุขให้เกษตรกรไทยพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน


“อาชีพเกษตรกรเป็นอาชีพที่สามารถประสบความสำเร็จและมีความสุขได้ไม่แพ้อาชีพอื่น” คำกล่าวจากเกษตรกรรายหนึ่งที่สามารถสร้างรายได้เลี้ยงตนเองและครอบครัวได้ตลอดทั้งปี จากการเข้าร่วมโครงการ “ทำตามพ่อ ปลูก เพ(ร)าะ สุข” กับกลุ่มมิตรผล ตลอด 3 ปีที่ผ่านมา ด้วยหลักปรัชญา “ร่วมอยู่ ร่วมเจริญ” ที่กลุ่มมิตรผลยึดถือเป็นแนวปฏิบัติเพื่อดูแลชุมชนและชาวไร่อ้อยมานานกว่า 63 ปี พร้อมความมุ่งมั่นที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรไทยให้สามารถเติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน จึงเกิดเป็นโครงการ “ทำตามพ่อ ปลูก เพ(ร)าะ สุข” ซึ่งเริ่มต้นเมื่อปี 2560 โดยน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ พร้อมเชิญชวนให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยแบ่งพื้นที่มาทำเกษตรทฤษฎีใหม่ควบคู่กับการทำไร่อ้อยในพื้นที่ของตัวเอง เพื่อวางรากฐานการพึ่งพาตนเองและสร้างความสุขที่ยั่งยืน จวบจนวันนี้เมล็ดพันธุ์แห่งความยั่งยืนที่ร่วมกันปลูกได้ผลิดอกออกผลเป็นผลลัพธ์แห่งความสุขที่มีตัวเลขดัชนีความสุขในครัวเรือนสูงถึง 80% สะท้อนถึงความสุขที่สัมผัสได้จริงจากการพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนของชาวไร่อ้อยและชุมชน


ผลลัพธ์แห่งความสุขนี้มาจากการเก็บข้อมูลเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ และทำวิจัยประเมินผลโครงการฯ ร่วมกับคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น แปรผลเป็นตัวเลขดัชนีความสุขในครัวเรือนในภาพรวมที่สูงถึง 80% โดยมีคะแนนความสุขในด้านจิตใจสูงที่สุด ตามด้วยความสุขในด้านสุขภาวะ ด้านสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านเศรษฐกิจตามลำดับ ดัชนีตัวเลขเหล่านี้จึงสะท้อนถึงความสุขของพี่น้องเกษตรกรที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการฯ ตลอดจนความเข้าใจในหลักเศรษฐกิจพอเพียง การทำเกษตรทฤษฎีใหม่ควบคู่กับการทำไร่อ้อย การนำองค์ความรู้จากปราชญ์ผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ เช่น การจัดสรรที่ดิน การทำพิมพ์เขียว การจัดการทรัพยากรดินและน้ำ การทำบัญชีฟาร์ม มาปรับใช้กับพื้นที่ของตนเองอย่างเหมาะสม ทำให้สามารถสร้างรายได้ตลอดทั้งปีจากกิจกรรมการเกษตรที่หลากหลาย เกิดเป็นความสุขบนความพอเพียง อีกทั้งยังสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้และความสุขให้กับเพื่อนเกษตรกรในชุมชนได้อีกด้วย

นายชริพันธ์ สุขยิ่ง เกษตรกรรุ่นใหม่จากไร่สุขยิ่ง จังหวัดสุพรรณบุรี หนึ่งในผู้เข้าร่วมโครงการฯ กล่าวว่า “ก่อนหน้านี้เคยทำงานในเมืองเหมือนคนหนุ่มสาวทั่วไป แต่เนื่องจากคุณพ่อมีปัญหาด้านสุขภาพจึงทำให้คิดที่จะกลับมาช่วยครอบครัวดูแลไร่อ้อย พร้อมกับได้ริเริ่มปลูกผักปลอดสารโดยแบ่งพื้นที่ไร่อ้อยของคุณพ่อประมาณ 5 ไร่ มาทำเกษตรทฤษฎีใหม่ และได้เข้าร่วมเป็นหนึ่งในเกษตรกรรุ่นใหม่ที่ทั้งลงมือปฏิบัติ และต่อมายกระดับเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ในโครงการ ‘ทำตามพ่อ ปลูก เพ(ร)าะ สุข’ กับกลุ่มมิตรผล โดยได้รับการถ่ายทอดแนวคิดและแนวปฏิบัติในการทำเกษตรทฤษฎีใหม่เพิ่มเติมจากการอบรม ทำให้สามารถวางแผนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีผลผลิตปลอดสารไว้บริโภคในครัวเรือน สมาชิกในครอบครัวสุขภาพดีขึ้น นอกเหนือจากการทำไร่อ้อยซึ่งเป็นรายได้หลักรายปีแล้ว ยังได้ต่อยอดสร้างรายได้เพิ่มจากผลผลิตผักปลอดสารด้วยการแปรรูป เช่น สลัดโรลปลอดสาร มะเขือเทศปลอดสาร และน้ำเก๊กฮวยปลอดสาร เป็นต้น อีกทั้งยังมีความสุขจากการได้แบ่งปันความรู้ให้กับเพื่อนๆ เกษตรกรในชุมชนด้วยกัน เกิดเป็นการรวมกลุ่มเกษตรกรรุ่นใหม่ในจังหวัดสุพรรณบุรีที่ถ่ายทอดการทำเกษตรแบบยั่งยืนให้กับคนในชุมชน ส่วนแผนการในอนาคต ก็ต้องการจะส่งต่อความสุขด้วยการเปิดไร่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้หรือเปิดร้านอาหารที่ใช้วัตถุดิบปลอดสารจากไร่ เพื่อส่งต่อสุขภาพดีให้กับผู้อื่นต่อไป”

ด้าน นางพรทิพย์ ทองหล่อ เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการฯ จากจังหวัดสิงห์บุรี กล่าวว่า “แต่เดิมเคยประกอบอาชีพในโรงงานอุตสาหกรรม ก่อนจะหันมาทำนาและได้เปลี่ยนมาเป็นเกษตรกรชาวไร่อ้อย ซึ่งมีรายได้หลักประจำเป็นรายปี แต่เมื่อได้ลองแบ่งพื้นที่ส่วนหนึ่งไว้ทำสวนเกษตรผสมผสานตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยความคิดแรกที่อยากจะมีวัตถุดิบปลอดสารเพื่อสุขภาพไว้บริโภคในครัวเรือน ทำให้มุ่งมั่นพัฒนาการทำเกษตรผสมผสาน ทั้งปลูกพืชผักสวนครัว พืชสมุนไพร และเลี้ยงสัตว์หลากหลายชนิด อีกทั้งยังได้รับองค์ความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับเกษตรกรในชุมชนผ่านการเข้าร่วมเป็นหนึ่งในวิทยากรโครงการ ‘ทำตามพ่อ ปลูก เพ(ร)าะ สุข’  เช่น การปรับปรุงดิน การทำปุ๋ยหมัก ทำให้วันนี้ไร่แห่งนี้กลายเป็นแหล่งผลิตสมุนไพรไทยปลอดสารคุณภาพดี เช่น ตะไคร้ ที่ถูกนำไปแปรรูปเป็นหลากหลายผลิตภัณฑ์ อาทิ ชาตะไคร้ ลูกประคบสมุนไพร เป็นต้น ช่วยสร้างรายได้เสริมเพิ่มขึ้น”

จากผลลัพธ์แห่งความสุขในภาพรวมที่สูงถึง 80% นี้ ประกอบด้วยค่าผลลัพธ์แห่งความสุขด้านจิตใจที่สูงถึง 84% ซึ่งเป็นผลมาจากการทำเกษตรที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและความเข้าใจในการใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ขณะเดียวกันเมื่อเกษตรกรได้รับประทานอาหารที่ปลอดภัย ทำให้มีสุขภาพแข็งแรง ไร้โรคภัย จึงเกิดเป็นผลลัพธ์แห่งความสุขด้านสุขภาวะที่ 80% ต่อมาเมื่อมีผลผลิตเหลือจากการบริโภค จึงได้แบ่งปันอาหารในชุมชน รวมถึงแลกเปลี่ยนความรู้เกษตรทฤษฎีใหม่ ก่อเกิดความสัมพันธ์อันดีในชุมชน เป็นที่มาของผลลัพธ์แห่งความสุขด้านสังคมที่ 77% นอกจากนี้ การทำเกษตรทฤษฎีใหม่ยังส่งผลให้เกษตรกรทำเกษตรได้อย่างหลากหลาย ระบบนิเวศเกิดความสมดุล ประกอบกับการส่งเสริมวิถีการทำเกษตรอินทรีย์จากโครงการฯ จึงส่งผลเป็นผลลัพธ์แห่งความสุขด้านสิ่งแวดล้อม 76% และเมื่อสามารถผลิตอาหารได้เอง ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจัดหาสารบำรุงพืช บำรุงดิน เกษตรกรสามารถลดค่าใช้จ่าย และมีรายได้เสริมจากกิจกรรมเกษตรทฤษฎีใหม่ นอกเหนือจากการปลูกอ้อย สะท้อนเป็นผลลัพธ์แห่งความสุขด้านเศรษฐกิจที่ 74% ตามลำดับ

“กลุ่มมิตรผลรู้สึกภูมิใจที่ความตั้งใจของเราในการช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งต่อความสุขให้กับพี่น้องเกษตรกรชาวไทยได้สร้างผลลัพธ์แห่งความสุขที่เป็นรูปธรรมภายใต้แนวคิด ‘ร่วมอยู่ ร่วมเจริญ’ ตัวเลขดัชนีความสุขในครัวเรือนของเกษตรกรนี้ยังสะท้อนให้เห็นว่าพี่น้องชาวไร่อ้อยและชุมชนในโครงการฯ สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน และเกิดเป็นความสุขในทุกมิติตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” นางสาวกรรณิกา ว่องกุศลกิจ ผู้อำนวยการด้านพัฒนาชุมชนเพื่อความยั่งยืน กล่าวทิ้งท้าย 
 กว่า 3 ปี ของการร่วมสร้างแรงบันดาลใจและพัฒนาคุณภาพชีวิตพี่น้องเกษตรกร ผ่านโครงการ ทำตามพ่อ ปลูก เพ(ร)าะ สุข กลุ่มมิตรผลได้ถ่ายทอดแนวคิดการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ควบคู่กับการทำไร่อ้อย ร่วมกับปราชญ์ในชุมชนซึ่งเปรียบเสมือนคุณครูผู้จุดประกายและให้ความรู้ ปัจจุบัน มีเกษตรกรชาวไร่อ้อยกว่า 8,000 ราย และศูนย์ปลูก เพ(ร)าะ สุขกว่า 100 แห่ง ร่วมกันปลูกเพ(ร)าะเมล็ดพันธุ์ที่เติบโตเป็นผลลัพธ์แห่งความสุข 5 ด้าน ที่สัมผัสได้จริง ต่อจากนี้โครงการฯ จะยังคงเดินหน้าสร้างความสุขที่ยั่งยืนต่อไปผ่านการส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มเกษตรกรและยกระดับมาตรฐานการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและราคาผลผลิตให้กับเกษตรกร พร้อมขยายผลและถ่ายทอดองค์ความรู้การทำเกษตรทฤษฎีใหม่ให้กับชาวไร่อ้อยในกลุ่มมิตรผลทั้งหมดกว่า 40,000 ราย เพื่อส่งต่อความสุขที่ยั่งยืนให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยทุกคนสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างเข้มแข็งต่อไป

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

นวัตกรรมการผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ส่งเสริมรายได้สู่ชุมชน

  วช. เสริมแกร่ง มรภ.อุตรดิตถ์ ผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 IN 1 จากวัสดุเหลือทิ้ง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นักวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ นำองค์ความรู้ และนวัตกรรมการผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ส่งเสริมรายได้พื้นที่เป้าหมาย สร้างเกษตรกรต้นแบบ จ.อุตรดิตถ์ และ จ.สุรินทร์ กว่า 100 ราย แนะใช้ถ่านดูดซับกลิ่น ความชื้น ยกระดับคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้ อมให้ยั่งยืน โดยการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนั กงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จากปัญหาเศษวัสดุเหลือทิ้ งทางการเกษตร อาทิ เปลือกทุเรียน เหง้ามันสำปะหลัง แกนข้าวโพด ข้อไม้ไผ่ รวมถึงเศษกิ่งไม้ริมทาง ยังไม่ได้ถูกนำมาใช้ให้เกิ ดประโยชน์มากนัก  อีกทั้งการจัดการโดยเผาเศษวัสดุ เหลือทิ้งในที่โล่ง ยังเป็นการปล่อยก๊าซเรื อนกระจกและมลสารเข้าสู่ชั้ นบรรยากาศ องค์ความรู้และนวัตกรรมการผลิ ตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 ด้วยวิธีไพโรไลซิส จึงนับเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ ไขประเด็นปัญหาดังกล่าวได้ ขณะนี้นักวิจัยได้ถ่ายทอดองค์ ความรู้และติดตั้งนวัตกรรมแล้ว ประกอบด้วย เตาผลิตถ่านดูดกลิ่นแบบไพโรไลซิ ส เครื่...

เอ็นไอเอ โหมโรง “นิลมังกร” อัดฉีดผลงานนวัตกรรมเด่นพลิกฟื้นเศรษฐกิจหลังโควิด 19 โค้งสุดท้ายก่อนเฟ้นหาสุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยภายใต้ “นิลมังกรแคมเปญ”

  สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายจำนวน 18 หน่วยงาน ได้แก่ ศูนย์แบรนด์เคยู คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค 14 มหาวิทยาลัย หอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย จัดประกาศผลและมอบรางวัล “ สุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยประจำปี 2564 รอบภูมิภาค ( Thailand INNO BIZ Champion 2021 Regional Round) ภายใต้ “ นิลมังกรแคมเปญ ” ให้กับ 20 ธุรกิจนวัตกรรมจาก 4 ภูมิภาค ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ NIA กล่าวว่า “NIA มีหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุน และสร้างความสามารถการแข่งขันของประเทศด้วยการใช้นวัตกรรม ดังนั้นจึงได้ริเริ่มโครงการสุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยระดับภูมิภาค ภายใต้ “ นิลมังกรแคมเปญ ” ขึ้น เพื่อสร้างตัวอย่างการทำธุรกิจนวัตกรรมในภูมิภาคให้คนในพื้นที่ได้เห็นถึงความสำคัญในการพัฒนานวัตกรรมและได้เรียนรู้กระบวนการสร้างธุรกิจนวัตกรรม ผ่านการสื่อสารในรูปแบบของ Edutainment เพื่อให้เป็นที่น่าสนใจ เข้าถึง และเข้าใจกระบวนการสร้างธุรกิ...

2-4 ธันวาคมนี้ พบกันที่ งานสัตว์น้ำไทย 2024 (Thai Aqua Expo 2024)

สมาคมกุ้งตะวันออกไทย ร่วมกับ พันธมิตรในภาคตะวันออก และภาครัฐ ร่วมจัดงานสัตว์น้ำเศรษฐกิจยิ่งใหญ่ประจำปี 2567 งานสัตว์น้ำไทย 2024 (Thai Aqua Expo 2024) ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-3-4 ธันวาคม 2567 ณ โรงแรมซันไรส์ ลากูน โฮเทลแอนด์กอล์ฟ จ.ฉะเชิงเทรา ภายใต้แนวความคิด “ปรับกลยุทธ์สัตว์น้ำไทย สร้างกำไรทุกภาคส่วน” โดยสมาคมกุ้งตะวันออกไทย ร่วมกับ สมาคม สหกรณ์ ชมรม กลุ่มแปลงใหญ่ ในภาคตะวันออกก รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐ และบริษัทเอกชนผู้ร่วมสนับสนุน ภายใต้มีวัตถุประสงค์ของการจัดงาน เพื่อเผยแพร่ความรู้ นวัตกรรม การส่งต่อข้อมูลเพื่อให้เกษตรกร สามารถวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางการตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศ ถ่ายทอดแนวทางการลดต้นทุนตลอดห่วงโซ่ในอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และกระตุ้นให้มีการส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศมากขึ้น ภายในงานมีการเสวนา และสัมมนาให้ความรู้กับเกษตรกรและผู้ที่สนใจ ตลอดระยะเวลาการจัดงาน ทั้ง 3 วัน รวมถึงมีการจัดแสดงสินค้าของบริษัทและผู้ค้าปัจจัยการผลิตที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยมีพื้นที่จัดแสดงสินค้ามากกว่า 70 บูท และมีบริษัทสนใจเข้าร่วม...