ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

กยท. ลงพื้นที่ให้ความรู้และติดตามสถานการณ์โรคใบร่วงชนิดใหม่แก่พนักงาน กยท. เขตใต้ล่าง พร้อมนำร่องบินโดรน ทดสอบการใช้สารกำจัดเชื้อรายับยั้งโรคใบร่วง


การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ลงพื้นที่ให้ความรู้และติดตามสถานการณ์การระบาดของโรคที่เกิดจากเชื้อรา Pestalotiopsis sp. แก่พนักงาน กยท. เขตภาคใต้ตอนล่าง และเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ นำร่องทดสอบการใช้โดรนพ่นสารกำจัดเชื้อรา ยับยั้งการแพร่กระจายของโรคใบร่วงชนิดใหม่ในพื้นที่ 300 ไร่ พร้อมเร่งประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหารือวิธีการควบคุมการแพร่ระบาดของโรค เตรียมจ่อเสนอบอร์ด กยท. หามาตรการช่วยเหลือเยียวยาเพิ่มเติม ในเดือน พ.ย. นี้

นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท รองผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทยด้านธุรกิจและปฏิบัติการ เปิดเผยถึงสถานการณ์การระบาดของโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อรา Pestalotiopsis sp. ในเขตพื้นที่ปลูกยางพาราภาคใต้ตอนล่างในขณะนี้ว่า หลังจากที่ทาง กยท. ได้รับรายงานการระบาดของโรคใบร่วงชนิดนี้ ในช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมา โดยจังหวัดนราธิวาสซึ่งเป็นพื้นที่ปลูกยางแห่งแรกที่พบการติดเชื้อ คาดว่าเป็นเชื้อชนิดเดียวกับที่เคยเกิดการระบาดในประเทศมาเลเซีย และอินโดนีเซีย และแพร่ระบาดทางลมจนมาถึงพื้นที่ชายแดนของไทยนั้น ล่าสุด กยท. ได้เร่งสั่งการให้มีการสำรวจความเสียหายรวมถึงเก็บตัวอย่างของเชื้อเพื่อหาวิธีการป้องกันและรักษา โดยมอบหมายให้ทางสถาบันวิจัยยาง กยท. ลงพื้นที่อบรมเพื่อสร้างความเข้าใจในพื้นที่ นอกจากนี้ กยท. มองว่าการระบาดของโรคใบร่วงชนิดใหม่นี้ต้องหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหาทางออกร่วมกันต่อไป เนื่องจากเชื้อราชนิดนี้สามารถแพร่ระบาดสู่พืชชนิดอื่นได้ไม่ใช่แค่เฉพาะยางพาราเท่านั้น ในส่วนของ กยท. ได้พยายามควบคุมสถานการณ์ไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดออกไป รวมถึงจะมีการเสนอมาตรการเยียวยาเกษตรกรชาวสวนยางที่สวนเสียหายจากเชื้อราชนิดนี้ ตาม พ..บ. การยางแห่งประเทศไทย 49(5) โดยจะนำเสนอต่อคณะกรรมการ กยท. เพื่อหาระเบียบในการช่วยเหลือเยียวยาเพิ่มเติมภายในเดือนพฤศจิกายนนี้

นายกฤษดา สังข์สิงห์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง การยางแห่งประเทศไทย กล่าวว่า เมื่อวันที่ 13 – 14 พฤศจิกายน 2562 กยท. โดยสถาบันวิจัยยาง ได้จัดโครงการอบรมแนวทางการสำรวจและติดตามสถานการณ์การระบาดของโรคที่เกิดจากเชื้อรา Pestalotiopsis sp. เพื่อเร่งสร้างความเข้าใจถึงที่มาของโรค การแพร่ระบาด และวิธีป้องกันในเบื้องต้น แก่พนักงานของ กยท. ในพื้นที่เขตภาคใต้ตอนล่าง และเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ที่มีรายงานการระบาดของโรค เพื่อถ่ายทอดความรู้สู่เกษตรกรชาวสวนยางในพื้นที่ต่อไปได้ ซึ่งขณะนี้ โรคใบร่วงชนิดใหม่ในยางพาราที่คาดว่าเกิดจากเชื้อรา Pestalotiopsis sp. เป็นหลักและอาจมีเชื้อราชนิดอื่นร่วมด้วย พบการแพร่ระบาดในสวนยางพาราประมาณ 400,000 ไร่ หรือประมาณ 40 % ของพื้นที่ปลูกยางในจังหวัดนราธิวาสทำให้ผลผลิตยางลดลงกว่า 30%  อย่างไรก็ตามขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลวิธีการป้องกันกำจัดเชื้อราชนิดนี้ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เนื่องจากเป็นโรคใหม่ กยท. โดยสถาบันวิจัยยาง ได้เร่งดำเนินการทดลอง ศึกษาวิจัยและหาทางป้องกันอย่างเต็มที่ เบื้องต้นจึงแนะนำเกษตรกรชาวสวนยางให้ใส่ปุ๋ยบำรุงต้นยางอย่างสม่ำเสมอเพื่อสร้างความสมบูรณ์ให้แก่ต้นยาง และหากพบต้นยางมีอาการของโรคให้แจ้งเจ้าหน้าที่ของ กยท.เพื่อเข้าตรวจสอบ หากพบว่าติดเชื้อราชนิดนี้ให้ใช้สารกำจัดเชื้อรา เช่น เบโนมีล, โพรปิเนป, แมนโคเซป, คลอโรธาโลนิล, เฮกซาโคนาโซล หรือ ไทโอฟาเนต-เมธิล ฉีดพ่นทรงพุ่มให้ทั่วทั้งแปลงโดยเครื่องฉีดพ่นแรงดันสูง นายกฤษดา กล่าว 


จากนั้น วันที่ 15 พฤศจิกายน 2562 เวลา 9.00 น. โดยประมาณ คณะผู้บริหารของ กยท. ได้ลงพื้นที่สวนยางพาราของ นายสุวิทย์ วัลลิโก เกษตรกรชาวสวนยางในตำบลฆอเลาะ อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส เพื่อทำการทดสอบการพ่นสารเคมีผ่านทางเครื่องอากาศยานไร้คนขับ หรือโดรน ซึ่งสามารถบรรจุสารเคมีขนาด 10 ลิตร โดยผสมสารกำจัดเชื้อรา โปรปิโคนาโซล + ไดฟีโนโคนาโซล ผสมกับน้ำและสารจับใบ บินพ่นยอดยางในพื้นที่เป้าหมายจำนวน 300 ไร่ ภายใน 1 สัปดาห์ จากนั้นจะพ่นซ้ำให้ครบ 3 ครั้ง และจะติดตามผลต่อไป
                                                                                        



ด้าน  นายสุวิทย์ วัลลิโก เปิดเผยว่าสวนยางของตนเองเริ่มมีอาการใบร่วง โดยสังเกตเห็นว่าใบยางแก่จะเกิดจุดสีน้ำตาลที่ใบและเริ่มทิ้งใบ และร่วงมากขึ้นเมื่อฝนตก ตนจึงแจ้งไปยัง กยท. สาขาสุไหงโก-ลกเพื่อเข้ามาตรวจสอบจึงทราบว่าเกิดจากเชื้อราชนิดนี้ เบื้องต้นทาง กยท. ได้เข้ามาให้คำแนะนำการดูแลสวนยางรวมถึงนำโดรนเข้ามาสาธิตการพ่นสารกำจัดเชื้อราดังกล่าว ถือเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรและสร้างความมั่นใจต่ออาชีพการทำสวนยางต่อไป


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

นวัตกรรมการผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ส่งเสริมรายได้สู่ชุมชน

  วช. เสริมแกร่ง มรภ.อุตรดิตถ์ ผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 IN 1 จากวัสดุเหลือทิ้ง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นักวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ นำองค์ความรู้ และนวัตกรรมการผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ส่งเสริมรายได้พื้นที่เป้าหมาย สร้างเกษตรกรต้นแบบ จ.อุตรดิตถ์ และ จ.สุรินทร์ กว่า 100 ราย แนะใช้ถ่านดูดซับกลิ่น ความชื้น ยกระดับคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้ อมให้ยั่งยืน โดยการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนั กงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จากปัญหาเศษวัสดุเหลือทิ้ งทางการเกษตร อาทิ เปลือกทุเรียน เหง้ามันสำปะหลัง แกนข้าวโพด ข้อไม้ไผ่ รวมถึงเศษกิ่งไม้ริมทาง ยังไม่ได้ถูกนำมาใช้ให้เกิ ดประโยชน์มากนัก  อีกทั้งการจัดการโดยเผาเศษวัสดุ เหลือทิ้งในที่โล่ง ยังเป็นการปล่อยก๊าซเรื อนกระจกและมลสารเข้าสู่ชั้ นบรรยากาศ องค์ความรู้และนวัตกรรมการผลิ ตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 ด้วยวิธีไพโรไลซิส จึงนับเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ ไขประเด็นปัญหาดังกล่าวได้ ขณะนี้นักวิจัยได้ถ่ายทอดองค์ ความรู้และติดตั้งนวัตกรรมแล้ว ประกอบด้วย เตาผลิตถ่านดูดกลิ่นแบบไพโรไลซิ ส เครื่...

เอ็นไอเอ โหมโรง “นิลมังกร” อัดฉีดผลงานนวัตกรรมเด่นพลิกฟื้นเศรษฐกิจหลังโควิด 19 โค้งสุดท้ายก่อนเฟ้นหาสุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยภายใต้ “นิลมังกรแคมเปญ”

  สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายจำนวน 18 หน่วยงาน ได้แก่ ศูนย์แบรนด์เคยู คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค 14 มหาวิทยาลัย หอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย จัดประกาศผลและมอบรางวัล “ สุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยประจำปี 2564 รอบภูมิภาค ( Thailand INNO BIZ Champion 2021 Regional Round) ภายใต้ “ นิลมังกรแคมเปญ ” ให้กับ 20 ธุรกิจนวัตกรรมจาก 4 ภูมิภาค ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ NIA กล่าวว่า “NIA มีหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุน และสร้างความสามารถการแข่งขันของประเทศด้วยการใช้นวัตกรรม ดังนั้นจึงได้ริเริ่มโครงการสุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยระดับภูมิภาค ภายใต้ “ นิลมังกรแคมเปญ ” ขึ้น เพื่อสร้างตัวอย่างการทำธุรกิจนวัตกรรมในภูมิภาคให้คนในพื้นที่ได้เห็นถึงความสำคัญในการพัฒนานวัตกรรมและได้เรียนรู้กระบวนการสร้างธุรกิจนวัตกรรม ผ่านการสื่อสารในรูปแบบของ Edutainment เพื่อให้เป็นที่น่าสนใจ เข้าถึง และเข้าใจกระบวนการสร้างธุรกิ...

2-4 ธันวาคมนี้ พบกันที่ งานสัตว์น้ำไทย 2024 (Thai Aqua Expo 2024)

สมาคมกุ้งตะวันออกไทย ร่วมกับ พันธมิตรในภาคตะวันออก และภาครัฐ ร่วมจัดงานสัตว์น้ำเศรษฐกิจยิ่งใหญ่ประจำปี 2567 งานสัตว์น้ำไทย 2024 (Thai Aqua Expo 2024) ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-3-4 ธันวาคม 2567 ณ โรงแรมซันไรส์ ลากูน โฮเทลแอนด์กอล์ฟ จ.ฉะเชิงเทรา ภายใต้แนวความคิด “ปรับกลยุทธ์สัตว์น้ำไทย สร้างกำไรทุกภาคส่วน” โดยสมาคมกุ้งตะวันออกไทย ร่วมกับ สมาคม สหกรณ์ ชมรม กลุ่มแปลงใหญ่ ในภาคตะวันออกก รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐ และบริษัทเอกชนผู้ร่วมสนับสนุน ภายใต้มีวัตถุประสงค์ของการจัดงาน เพื่อเผยแพร่ความรู้ นวัตกรรม การส่งต่อข้อมูลเพื่อให้เกษตรกร สามารถวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางการตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศ ถ่ายทอดแนวทางการลดต้นทุนตลอดห่วงโซ่ในอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และกระตุ้นให้มีการส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศมากขึ้น ภายในงานมีการเสวนา และสัมมนาให้ความรู้กับเกษตรกรและผู้ที่สนใจ ตลอดระยะเวลาการจัดงาน ทั้ง 3 วัน รวมถึงมีการจัดแสดงสินค้าของบริษัทและผู้ค้าปัจจัยการผลิตที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยมีพื้นที่จัดแสดงสินค้ามากกว่า 70 บูท และมีบริษัทสนใจเข้าร่วม...