โชว์กล้วยพันธุ์ใหม่
ให้ผลผลิตสูง คุณค่าทางโภชนาการชนะเลิศ!
กรมวิชาการเกษตร
คลอดกล้วยน้ำว้าพันธุ์ใหม่ “สุโขทัย 1” ผลกลมป้อม
ใหญ่ยาว เนื้อทั้งสุกและดิบสีครีมอ่อน เนื้อละเอียดเหนียว รสชาติหวานไม่อมเปรี้ยว
ให้ผลผลิตสูง 1 เครือมี 9 หวี น้ำหนักเครือกว่า
16 กิโลกรัม ทึ่งคุณค่าทางโภชนาการ วิตามินบี 3 และโพแทสเซียมสูงแซงพันธุ์การค้า
ดร.เสริมสุข สลักเพ็ชร์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร
นางสาวเสริมสุข สลักเพ็ชร์
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า
ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกกล้วยประมาณ 481,639
ไร่
ในจำนวนนี้มีพื้นที่ปลูกกล้วยน้ำว้ามากที่สุดจำนวน 328,456 ไร่ กล้วยไข่จำนวน 63,233 ไร่ กล้วยหอมจำนวน 62,525 ไร่ และกล้วยอื่นๆ จำนวนประมาณ 27,425 โดยพื้นที่ปลูกกล้วยน้ำว้าจะปลูกมากที่สุดในเขตภาคเหนือ อย่างไรก็ตาม
ที่ผ่านมาในประเทศไทยแต่ยังขาดกล้วยน้ำว้าพันธุ์ดี และขาดข้อมูลของพันธุ์ ดังนั้น ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย กรมวิชาการเกษตร
จึงได้ศึกษาหาสายต้นหรือพันธุ์กล้วยน้ำว้าที่ดีมีคุณภาพ
เพื่อปรับปรุงพันธุ์ให้ได้สายพันธุ์ใหม่ที่มีลักษณะดีเด่น
ให้ผลผลิตสูงมีคุณภาพ และมีคุณค่าทางโภชนาการสูงกว่าพันธุ์การค้า
เป็นที่ยอมรับของเกษตรกรและผู้บริโภค เพื่อเป็นพันธุ์ทางเลือกสร้างรายได้เพิ่มให้แก่เกษตรกร
ระหว่างปี
2547 -2554 ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย
ได้คัดเลือกสายต้นหรือพันธุ์กล้วยน้ำว้าจากแปลงรวบรวมและอนุรักษ์พันธุกรรมกล้วยของศูนย์ฯ โดยใช้เกณฑ์การคัดเลือกคือ ให้ผลผลิตสูง
มีจำนวนหวีต่อเครือไม่ต่ำกว่า 7 หวี เนื้อแน่น
สีเนื้อขาวนวลถึงเหลือง รสชาติหวาน คุณภาพการบริโภคดี ผู้บริโภคยอมรับสูง โดยสามารถคัดเลือกไว้
7 สายต้น นำไปปลูกเปรียบเทียบสายต้น
และคัดเลือกสายต้นที่ดีเด่นไว้ 2 สายต้น ปี 2558-2560
นำไปปลูกทดสอบที่ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเลย
และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเพชรบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่มีสภาพภูมิประเทศและสภาพภูมิอากาศที่แตกต่างกัน
พบว่า กล้วยน้ำว้าสายต้น สท.55-4 เจริญเติบโตได้เร็ว
ต้นแข็งแรง ผลผลิตเฉลี่ยน้ำหนักเครือและจำนวนหวีต่อเครือสูงสุดทั้ง 3 สถานที่ผลิต ที่สำคัญยังมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ซึ่งคุณสมบัติทั้งหมดตรงกับวัตถุประสงค์ในการปรับปรุงพันธุ์
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า
ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย เป็นหน่วยงานในการพัฒนาพันธุ์กล้วยน้ำว้าสายต้น สท.55-4 ดังนั้นจึงได้ตั้งชื่อกล้วยน้ำว้าพันธุ์ใหม่นี้ว่า “กล้วยน้ำว้าสุโขทัย
1” ซึ่งมีลักษณะเด่น
คือ ให้ผลผลิตสูง น้ำหนักเครือ 16.1 กิโลกรัม
สูงกว่ากล้วยน้ำว้ามะลิอ่องซึ่งเป็นพันธุ์การค้าที่ให้ผลผลิต 13.7 กิโลกรัม จำนวน 9 หวี/เครือ สูงกว่ากล้วยน้ำว้ามะลิอ่องซึ่งให้จำนวนหวี
8 หวี/เครือ ให้คุณค่าทางโภชนาการ ได้แก่ วิตามินบี 3 และโพแทสเซียม สูงกว่าพันธุ์การค้า นอกจากนี้ กล้วยน้ำว้าพันธุ์สุโขทัย 1 ยังลักษณะผลค่อนข้างป้อมกลม ผลค่อนข้างใหญ่กว้าง 3.8 เซนติเมตร และยาว 14
เซนติเมตรซึ่งใหญ่กว่าพันธุ์การค้า เนื้อผลทั้งดิบและสุกมีสีครีมอ่อน
เนื้อละเอียดเหนียว และมีรสชาติหวานไม่ปนเปรี้ยว
ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัยมีแปลงแม่พันธุ์กล้วยน้ำว้า
“พันธุ์สุโขทัย 1” พร้อมขุดแยกหน่อได้ปีละ
2,000 - 3,000 หน่อ ใช้ปลูกในพื้นที่ประมาณ 20-30 ไร่ โดยในปี 2562 ที่ผ่านมาสามารถขุดแยกหน่อได้ประมาณ 2,000 หน่อ
ใช้ปลูกในพื้นที่ 20 ไร่ เกษตรกรที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย กรมวิชาการเกษตร โทรศัพท์ 0-5567-9085-6
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น