ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

วว. พันธมิตร ลงพื้นที่วิเคราะห์ความต้องการของชุมชนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม สร้างโอกาสให้เกษตรกร ต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยองค์ความรู้วิทยาศาสตร์

ดร.รจนา ตั้งกุลบริบูรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมกรรมเกษตรสร้างสรรค์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ในฐานะผู้แทน วว. เป็นประธานเปิดโครงการอบรมสัมมนาการวิเคราะห์ความต้องการของชุมชนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมภาคเหนือ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนการถ่ายทอดเทคโนโลยีพร้อมใช้สู่ชุมชนและขยายผลไปยังพื้นที่อื่นๆอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อที่จะสร้างเป็นแหล่งเรียนรู้การสร้างนวัตกรรมต้นแบบ สร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง สร้างงาน สร้างเงิน สร้างคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ และลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ส่งผลต่อการเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศที่สูงขึ้น เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2563 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่



ในโอกาสนี้ วว. นำ 15 นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีข้าว ปุ๋ย พลังงาน ระบบการควบคุมอัตโนมัติและเครื่องจักรแปรรูปอาหาร รวมทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ผลงานวิจัยและพัฒนาของ วว. จัดแสดงนิทรรศการพร้อมโชว์สาธิตการทำงาน อาทิ การเพิ่มคุณภาพผลผลิตส้มเกลี้ยง   ชาเลือดมังกร เครื่องสลัดน้ำมัน  เครื่องบดแป้งกล้วย 



การยืดอายุไข่เค็ม โดยการฆ่าเชื้อดินจอมปลวก ช่วยลดการเกิดเชื้อราบนเปลือกไข่เค็ม


เครื่องหยอดข้าวนาน้ำตม ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ของการทำนาแบบยั่งยืน ลดต้นทุน ลดแรงงาน ลดขั้นตอน และเป็นภูมิปัญหาท้องถิ่นของชาวนาไทย

เครื่องสไลด์กล้วย ช่วยลดเวลาในการสไลด์และทอดกล้วย  เตากระจายความร้อนได้สม่ำเสมอ กำลังการผลิต 50 กิโลกรัมต่อชั่วโมง



เครื่องคัดแยกขนาดเมล็ดกาแฟ ลดเวลา ลดการใช้แรงงาน กำลังการผลิต 100 กิโลกรัมต่อชั่วโมง


เครื่องทำแท่งเพาะชำจากมูลไส้เดือน ช่วยลดต้นทุนการผลิต ลดแรงงาน มีกำลังการผลิต 10 ชิ้นต่อชั่วโมง หรือวันละ 80 ชิ้น

เตาเผาถ่านกัมมันต์ มีคุณภาพสูง ขี้เถ้าน้อย ปลอดภัยต่อผู้บริโภค

โดมอบพลังงานแสงอาทิตย์ ช่วยลดต้นทุนการผลิต ประหยัดพลังงานและเพิ่มประสิทธิภาพทางการตลาดให้กับเกษตรกร

ระบบให้น้ำในโรงเรือนเพาะปลูกอัตโนมัติ ช่วยทุ่นแรง มีชุดพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อจ่ายไฟให้ระบบ ปรับใช้กับพืชหมุนเวียนชิดอื่นๆได้



เพื่อเชื่อมโยงผลงานวิจัยดังกล่าวในการแลกเปลี่ยนความรู้และความต้องการนวัตกรรมในชุมชนระหว่างนักวิจัย วว.และกลุ่มเป้าหมายคือ พี่น้องเกษตรกร ผู้นำชุมชน วิสาหกิจชุมชน ที่เข้าร่วมกิจกรรม ผ่านเครือข่ายความร่วมมือและพันธมิตร จากการดำเนินงานโครงการ 1 ตำบล 1 นวัตกรรมเกษตร โครงการยกระดับโอทอปในพื้นที่ 10 จังหวัดยากจน โครงการคูปองวิทย์เพื่อโอทอป เป็นต้น เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยแก้ปัญหาของชุมชนของไทยให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และจะส่งเสริมให้ประเทศไทยยังคงเป็นฐานการผลิตสำคัญของผลิตผลเกษตรของโลกต่อไป 


"...วว. ให้ความสำคัญในการนำเทคโนโลยีพร้อมใช้ถ่ายทอดสู่ชุมชน โดยมุ่งหวังเพื่อสร้างโอกาสให้เกษตรกรได้เข้าถึงบริการทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทั้งบริการวิเคราะห์/ทดสอบ สอบเทียบ การต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และสร้างนวัตกรรมด้านต่างๆ ..." ดร.รจนา ตั้งกุลบริบูรณ์ กล่าว








ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

นวัตกรรมการผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ส่งเสริมรายได้สู่ชุมชน

  วช. เสริมแกร่ง มรภ.อุตรดิตถ์ ผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 IN 1 จากวัสดุเหลือทิ้ง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นักวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ นำองค์ความรู้ และนวัตกรรมการผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ส่งเสริมรายได้พื้นที่เป้าหมาย สร้างเกษตรกรต้นแบบ จ.อุตรดิตถ์ และ จ.สุรินทร์ กว่า 100 ราย แนะใช้ถ่านดูดซับกลิ่น ความชื้น ยกระดับคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้ อมให้ยั่งยืน โดยการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนั กงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จากปัญหาเศษวัสดุเหลือทิ้ งทางการเกษตร อาทิ เปลือกทุเรียน เหง้ามันสำปะหลัง แกนข้าวโพด ข้อไม้ไผ่ รวมถึงเศษกิ่งไม้ริมทาง ยังไม่ได้ถูกนำมาใช้ให้เกิ ดประโยชน์มากนัก  อีกทั้งการจัดการโดยเผาเศษวัสดุ เหลือทิ้งในที่โล่ง ยังเป็นการปล่อยก๊าซเรื อนกระจกและมลสารเข้าสู่ชั้ นบรรยากาศ องค์ความรู้และนวัตกรรมการผลิ ตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 ด้วยวิธีไพโรไลซิส จึงนับเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ ไขประเด็นปัญหาดังกล่าวได้ ขณะนี้นักวิจัยได้ถ่ายทอดองค์ ความรู้และติดตั้งนวัตกรรมแล้ว ประกอบด้วย เตาผลิตถ่านดูดกลิ่นแบบไพโรไลซิ ส เครื่...

เอ็นไอเอ โหมโรง “นิลมังกร” อัดฉีดผลงานนวัตกรรมเด่นพลิกฟื้นเศรษฐกิจหลังโควิด 19 โค้งสุดท้ายก่อนเฟ้นหาสุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยภายใต้ “นิลมังกรแคมเปญ”

  สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายจำนวน 18 หน่วยงาน ได้แก่ ศูนย์แบรนด์เคยู คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค 14 มหาวิทยาลัย หอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย จัดประกาศผลและมอบรางวัล “ สุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยประจำปี 2564 รอบภูมิภาค ( Thailand INNO BIZ Champion 2021 Regional Round) ภายใต้ “ นิลมังกรแคมเปญ ” ให้กับ 20 ธุรกิจนวัตกรรมจาก 4 ภูมิภาค ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ NIA กล่าวว่า “NIA มีหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุน และสร้างความสามารถการแข่งขันของประเทศด้วยการใช้นวัตกรรม ดังนั้นจึงได้ริเริ่มโครงการสุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยระดับภูมิภาค ภายใต้ “ นิลมังกรแคมเปญ ” ขึ้น เพื่อสร้างตัวอย่างการทำธุรกิจนวัตกรรมในภูมิภาคให้คนในพื้นที่ได้เห็นถึงความสำคัญในการพัฒนานวัตกรรมและได้เรียนรู้กระบวนการสร้างธุรกิจนวัตกรรม ผ่านการสื่อสารในรูปแบบของ Edutainment เพื่อให้เป็นที่น่าสนใจ เข้าถึง และเข้าใจกระบวนการสร้างธุรกิ...

2-4 ธันวาคมนี้ พบกันที่ งานสัตว์น้ำไทย 2024 (Thai Aqua Expo 2024)

สมาคมกุ้งตะวันออกไทย ร่วมกับ พันธมิตรในภาคตะวันออก และภาครัฐ ร่วมจัดงานสัตว์น้ำเศรษฐกิจยิ่งใหญ่ประจำปี 2567 งานสัตว์น้ำไทย 2024 (Thai Aqua Expo 2024) ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-3-4 ธันวาคม 2567 ณ โรงแรมซันไรส์ ลากูน โฮเทลแอนด์กอล์ฟ จ.ฉะเชิงเทรา ภายใต้แนวความคิด “ปรับกลยุทธ์สัตว์น้ำไทย สร้างกำไรทุกภาคส่วน” โดยสมาคมกุ้งตะวันออกไทย ร่วมกับ สมาคม สหกรณ์ ชมรม กลุ่มแปลงใหญ่ ในภาคตะวันออกก รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐ และบริษัทเอกชนผู้ร่วมสนับสนุน ภายใต้มีวัตถุประสงค์ของการจัดงาน เพื่อเผยแพร่ความรู้ นวัตกรรม การส่งต่อข้อมูลเพื่อให้เกษตรกร สามารถวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางการตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศ ถ่ายทอดแนวทางการลดต้นทุนตลอดห่วงโซ่ในอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และกระตุ้นให้มีการส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศมากขึ้น ภายในงานมีการเสวนา และสัมมนาให้ความรู้กับเกษตรกรและผู้ที่สนใจ ตลอดระยะเวลาการจัดงาน ทั้ง 3 วัน รวมถึงมีการจัดแสดงสินค้าของบริษัทและผู้ค้าปัจจัยการผลิตที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยมีพื้นที่จัดแสดงสินค้ามากกว่า 70 บูท และมีบริษัทสนใจเข้าร่วม...