ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

สทน. ประยุกต์องค์ความรู้ด้านนิวเคลียร์ 
เปิดตัว 2 ผลิตภัณฑ์ใหม่ ยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรไทย


สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ ( องค์การมหาชน ) หรือ สทน. ประยุกต์องค์ความรู้ด้านนิวเคลียร์ นำมาวิจัย พัฒนา และคิดค้น 2 ผลิตภัณฑ์ใหม่สำหรับเกษตรกรไทย เปิดตัวด้วย “ไมโครไคโตซาน” ใช้สำหรับเป็นฮอร์โมนเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ช่วยปรับสภาพดิน สร้างภูมิต้านทานโรคให้กับพืช ใช้เคลือบเมล็ดพันธุ์เพื่อยืดอายุการเก็บผลผลิต และ “พอลิเมอร์ดูดซึมน้ำสูง” สำหรับใช้เก็บกัก อุ้มน้ำ รักษาความชุ่มชื้นให้กับดิน ซึ่งการใช้ทั้ง 2 ผลิตภัณฑ์ นอกจากจะช่วยลดต้นทุนทางการเกษตรแล้ว ยังสามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย 

ดร.หาญณรงค์ ฉ่ำทรัพย์

ดร.หาญณรงค์ ฉ่ำทรัพย์ รองผู้อำนวยการ (บริหาร) สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน ) เปิดเผยว่า สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน ) หรือ สทน. เป็นสถาบันชั้นนำ ในการวิจัยที่ใช้นิวเคลียร์แก้ไขปัญหาของประเทศ หนึ่งในหน้าที่ที่สำคัญคือ การวิจัยเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ และการประยุกต์ใช้ ซึ่งปัจจุบันพบว่าประเทศไทยมีการทำเกษตรเป็นจำนวนมาก คิดเป็นร้อยละ 10 ของ GDP ภาคการเกษตร โดยมีพื้นที่สำหรับการเกษตรประมาณ 138 ล้านไร่ โดยแบ่งออกเป็นข้าว 70 ล้านไร่ ยาง 20 ล้านไร่ มันสำปะหลัง 9 ล้านไร่ และอื่นๆอีก 39 ล้านไร่ หนึ่งในปัญหาที่พบคือ ผลผลิตไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ทำให้เกษตรกรต้องรับภาระต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นจากการหาวิธีป้องกัน และดูแลพืชผลทางการเกษตร ซึ่งในอนาคตเกษตรกรต้องรับความเสี่ยงที่สูงมากขึ้น สทน. โดยกลุ่มพัฒนาธุรกิจนิวเคลียร์ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีด้านนิวเคลียร์กับภาคการเกษตร จึงได้คิดค้นและพัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับช่วยเหลือเกษตรกร ได้แก่ “ไมโครไคโตซาน” สำหรับใช้เพิ่มผลผลิตทางการเกษตร และ “พอลิเมอร์ดูดซึมน้ำสูง” สำหรับใช้เก็บกัก อุ้มน้ำ รักษาความชุ่มชื้นให้กับดินที่ใช้ปลูกพืช

พอลิเมอร์ดูดซึมน้ำสูง เพื่อการเพาะปลูกพืช

สทน. มีเทคโนโลยี และองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติเป็นจำนวนมาก การเปิดตัวผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์สร้างขึ้นมาสำหรับช่วยเกษตรกร เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรไทยให้ดีขึ้น ถือเป็นอีกหนึ่งความภูมิใจของ สทน. ผลิตภัณฑ์ทั้ง 2 ตัวนี้ ผ่านกระบวนการคิดค้น และวิจัย โดยนักวิจัยและพัฒนาของ โครงการ กลุ่มพัฒนาธุรกิจนิวเคลียร์ มาเป็นอย่างดี สทน. มีความคาดหวังเป็นอย่างสูง ว่าจะสามารถสร้างการรับรู้ และการยอมรับจากเกษตรกรและประชาชนทั่วไป ให้มีความรู้ความเข้าใจและนำผลิตภัณฑ์ทั้งสองนี้มาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการประกอบอาชีพของเกษตรกรไทย” ดร.หาญณรงค์ กล่าว   


ดร.ปรารถนา คิ้วสุวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์ กลุ่มวิจัยและพัฒนานิวเคลียร์ กล่าวถึง ผลิตภัณฑ์ “ไมโครไคโตซาน” ว่า ผลิตจากสารตั้งต้นจำพวก เปลือกกุ้ง กระดองปู แกนปลาหมึก โดยนำมาฉายรังสี เพื่อให้ตัวผลิตภัณฑ์มีขนาดเล็กลงในระดับไมโคร ซึ่งเมื่อนำไปใช้กับพืชชนิดต่างๆ จะเกิดการดูดซึมได้ดียิ่งขึ้น ส่งผลให้ส่วนต่างๆของพืชเติบโตแข็งแรง ให้ผลผลิตที่มากกว่า ช่วยให้เกษตรกรมีรายได้มากยิ่งขึ้น และช่วยให้ต้นทุนปุ๋ยลดลง สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ หรือนำกลับมาใช้ใหม่ก็ได้ มี 2 รูปแบบ คือ แบบผง และแบบแผ่น มีประโยชน์มหาศาลในทางการเกษตร เช่น ใช้เคลือบเมล็ดพันธุ์ ใช้ป้องกันแมลง ใช้ร่วมกับปุ๋ยทั่วไปได้ มีคุณสมบัติในการปรับสภาพดิน ต่อต้านโรคของพืช และยืดอายุการจัดเก็บผลผลิต 

ดร.พิริยาธร สุวรรณมาลา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานิวเคลียร์ กล่าวถึง ผลิตภัณฑ์ “พอลิเมอร์ดูดซึมน้ำสูง” สำหรับช่วยเก็บน้ำไว้ให้ต้นไม้ หรือพืช สำหรับเกษตรกรว่า ผลิตภัณฑ์นี้ผลิตมาจากแป้งมันสำปะหลัง โดยนำมาผ่านการฉายรังสี เพื่อปรับคุณสมบัติให้ไม่ละลายน้ำ แต่บวมน้ำได้ดี มีจุดเด่นที่สามารถประหยัดน้ำได้นาน 7-14 วัน สามารถย่อยสลายได้ภายใน 1-2 ปี จึงเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความปลอดภัยต่อผู้ใช้ ส่วนวิธีการใช้นั้นเพียงนำไปแช่น้ำไว้ 24 ชั่วโมง เพื่อให้กลายเป็นวุ้น จากนั้นนำไปฝัง ณ จุดที่มีรากฝอย หรือคลุกกับดิน เพียงเท่านี้ ก็สามารถช่วยให้ต้นไม้เจริญเติบโตได้เป็นอย่างดี เหมาะสำหรับเกษตรกร หรือคนที่ชอบปลูกต้นไม้แต่ไม่ค่อยมีเวลา หรือ ต้องเดินทางบ่อย หรือสถานที่ที่ขาดแคลนน้ำ ไม่สามารถรดน้ำต้นไม้ได้บ่อย ๆ   


ทั้งนี้ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน ) ยังคงมุ่งมั่นในการนำเทคโนโลยี และองค์ความรู้ด้านนิวเคลียร์ มาสรรค์สร้างผลิตภัณฑ์ ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศไทยในด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่องต่อไป โดยผู้ที่สนใจผลิตภัณฑ์ของ สทน. สามารถเข้าไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมผ่านเว็บไซต์ www.tint.or.th และเพจเฟซบุ๊ค https://www.facebook.com/thai.nuclear นอกจากนี้หากต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ “ไมโครไคโตซาน” สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คุณจันทราวดี โทร. 061-412-7340, คุณมงคล โทร. 085-487-4009 และ “พอลิเมอร์ดูดซึมน้ำสูง” สอบถามได้ที่ คุณมงคล โทร. 085-487-4009 และสามารถสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ผ่านทาง LINE@ ไมโครไคโตซาน โดย สทน. (สแกน QR code ตามรูปด้านล่าง)















ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

นวัตกรรมการผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ส่งเสริมรายได้สู่ชุมชน

  วช. เสริมแกร่ง มรภ.อุตรดิตถ์ ผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 IN 1 จากวัสดุเหลือทิ้ง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นักวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ นำองค์ความรู้ และนวัตกรรมการผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ส่งเสริมรายได้พื้นที่เป้าหมาย สร้างเกษตรกรต้นแบบ จ.อุตรดิตถ์ และ จ.สุรินทร์ กว่า 100 ราย แนะใช้ถ่านดูดซับกลิ่น ความชื้น ยกระดับคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้ อมให้ยั่งยืน โดยการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนั กงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จากปัญหาเศษวัสดุเหลือทิ้ งทางการเกษตร อาทิ เปลือกทุเรียน เหง้ามันสำปะหลัง แกนข้าวโพด ข้อไม้ไผ่ รวมถึงเศษกิ่งไม้ริมทาง ยังไม่ได้ถูกนำมาใช้ให้เกิ ดประโยชน์มากนัก  อีกทั้งการจัดการโดยเผาเศษวัสดุ เหลือทิ้งในที่โล่ง ยังเป็นการปล่อยก๊าซเรื อนกระจกและมลสารเข้าสู่ชั้ นบรรยากาศ องค์ความรู้และนวัตกรรมการผลิ ตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 ด้วยวิธีไพโรไลซิส จึงนับเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ ไขประเด็นปัญหาดังกล่าวได้ ขณะนี้นักวิจัยได้ถ่ายทอดองค์ ความรู้และติดตั้งนวัตกรรมแล้ว ประกอบด้วย เตาผลิตถ่านดูดกลิ่นแบบไพโรไลซิ ส เครื่...

เอ็นไอเอ โหมโรง “นิลมังกร” อัดฉีดผลงานนวัตกรรมเด่นพลิกฟื้นเศรษฐกิจหลังโควิด 19 โค้งสุดท้ายก่อนเฟ้นหาสุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยภายใต้ “นิลมังกรแคมเปญ”

  สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายจำนวน 18 หน่วยงาน ได้แก่ ศูนย์แบรนด์เคยู คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค 14 มหาวิทยาลัย หอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย จัดประกาศผลและมอบรางวัล “ สุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยประจำปี 2564 รอบภูมิภาค ( Thailand INNO BIZ Champion 2021 Regional Round) ภายใต้ “ นิลมังกรแคมเปญ ” ให้กับ 20 ธุรกิจนวัตกรรมจาก 4 ภูมิภาค ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ NIA กล่าวว่า “NIA มีหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุน และสร้างความสามารถการแข่งขันของประเทศด้วยการใช้นวัตกรรม ดังนั้นจึงได้ริเริ่มโครงการสุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยระดับภูมิภาค ภายใต้ “ นิลมังกรแคมเปญ ” ขึ้น เพื่อสร้างตัวอย่างการทำธุรกิจนวัตกรรมในภูมิภาคให้คนในพื้นที่ได้เห็นถึงความสำคัญในการพัฒนานวัตกรรมและได้เรียนรู้กระบวนการสร้างธุรกิจนวัตกรรม ผ่านการสื่อสารในรูปแบบของ Edutainment เพื่อให้เป็นที่น่าสนใจ เข้าถึง และเข้าใจกระบวนการสร้างธุรกิ...

2-4 ธันวาคมนี้ พบกันที่ งานสัตว์น้ำไทย 2024 (Thai Aqua Expo 2024)

สมาคมกุ้งตะวันออกไทย ร่วมกับ พันธมิตรในภาคตะวันออก และภาครัฐ ร่วมจัดงานสัตว์น้ำเศรษฐกิจยิ่งใหญ่ประจำปี 2567 งานสัตว์น้ำไทย 2024 (Thai Aqua Expo 2024) ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-3-4 ธันวาคม 2567 ณ โรงแรมซันไรส์ ลากูน โฮเทลแอนด์กอล์ฟ จ.ฉะเชิงเทรา ภายใต้แนวความคิด “ปรับกลยุทธ์สัตว์น้ำไทย สร้างกำไรทุกภาคส่วน” โดยสมาคมกุ้งตะวันออกไทย ร่วมกับ สมาคม สหกรณ์ ชมรม กลุ่มแปลงใหญ่ ในภาคตะวันออกก รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐ และบริษัทเอกชนผู้ร่วมสนับสนุน ภายใต้มีวัตถุประสงค์ของการจัดงาน เพื่อเผยแพร่ความรู้ นวัตกรรม การส่งต่อข้อมูลเพื่อให้เกษตรกร สามารถวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางการตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศ ถ่ายทอดแนวทางการลดต้นทุนตลอดห่วงโซ่ในอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และกระตุ้นให้มีการส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศมากขึ้น ภายในงานมีการเสวนา และสัมมนาให้ความรู้กับเกษตรกรและผู้ที่สนใจ ตลอดระยะเวลาการจัดงาน ทั้ง 3 วัน รวมถึงมีการจัดแสดงสินค้าของบริษัทและผู้ค้าปัจจัยการผลิตที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยมีพื้นที่จัดแสดงสินค้ามากกว่า 70 บูท และมีบริษัทสนใจเข้าร่วม...