ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

นาโนเทค สวทช. พัฒนา “ชุดตรวจเพื่อการคัดกรองเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่แบบรวดเร็ว” ปูทางสร้างองค์ความรู้ รับมือโรคระบาดใหม่ในอนาคต


นักวิจัยนาโนเทค สวทช. พัฒนาชุดตรวจคัดกรองเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ (NanoFlu) ตัวช่วยตรวจคัดกรองไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ และบี รู้ผลใน 5 นาที เตรียมเดินหน้าทดสอบทางคลินิก ก่อนต่อยอดใช้จริง ลดการพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ พร้อมปูทางเทคโนโลยีแพลตฟอร์มสำหรับชุดตรวจคัดกรองเชื้ออื่นๆ รวมถึงเชื้อโคโรนาไวรัส

ภญ.ดร.ณัฐปภัสร วิริยะชัยพร นักวิจัยจากทีมวิจัยวัสดุตอบสนองระดับนาโน กลุ่มวิจัยวัสดุตอบสนองและเซนเซอร์ระดับนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า โครงการวิจัยนี้เริ่มจากปัญหาในการคัดกรองโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ซึ่งผู้ป่วยมักจะมีอาการทางคลินิกที่คล้ายคลึงกัน เช่น เป็นไข้ ไอ มีน้ำมูก ดังนั้นนอกจากการแยกอาการทางคลินิกและประวัติการสัมผัสโรคแล้ว จึงยังต้องอาศัยการยืนยันผลด้วยวิธีมาตรฐาน ได้แก่ การเพาะเชื้อ และการใช้วิธีเพิ่มจำนวนของสารพันธุกรรมของเชื้อเป้าหมาย อย่างไรก็ตามข้อจำกัดของวิธีดังกล่าวนั้นจำเป็นต้องอาศัยอุปกรณ์/เครื่องมือ และห้องปฏิบัติการจำเพาะ และอาศัยความชำนาญในการทดสอบ การตรวจคัดกรองเบื้องต้นซึ่งต้องอาศัยความรวดเร็วจึงมักใช้การตรวจด้วยชุดตรวจแบบรวดเร็วในการทดสอบ


สำหรับชุดตรวจหาเชื้อไข้หวัดใหญ่นี้ โดยส่วนใหญ่แล้ว เรายังต้องอาศัยชุดตรวจที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งมักจะมีราคาสูง และหลากหลายเทคโนโลยี ดังนั้น หากเราสามารถพัฒนาเทคโนโลยีในการพัฒนาชุดตรวจไข้หวัดใหญ่ขึ้นมาได้ก็จะสามารถลดปัญหาในการตรวจคัดกรองการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ซึ่งมักพบการระบาดแบบฤดูกาลในทุกปี และช่วยลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศอีกด้วย” ภญ.ดร.ณัฐปภัสร กล่าว



ชุดตรวจสำหรับตรวจหาเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ (NanoFlu Rapid Test)” จึงถูกพัฒนาขึ้น เพื่อการตรวจคัดกรองการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดเอและชนิดบี แบบรวดเร็วด้วยตาเปล่า และไม่ต้องอาศัยเครื่องมือในการอ่านและแปลผล โดยสามารถตรวจได้ทั้งสองเชื้อในครั้งเดียวกัน ด้วยหลักการของการตรวจหาแอนติเจนของเชื้อไวรัสอย่างจำเพาะ ร่วมกับเทคนิคการแยกเชื้อเป้าหมายด้วยหลักโครมาโตกราฟีชนิดการไหลในแนวราบ เพื่อให้สะดวกต่อการใช้งานในการคัดกรองและติดตามการติดเชื้อ ทั้งในการระบาดแบบฤดูกาล (seasonal episode)  และการระบาดใหญ่ (pandemics) 


ทีมวิจัยจากนาโนเทคเดินหน้าโครงการในช่วงปีพ.ศ. 2560 ตั้งแต่การคัดเลือกองค์ประกอบ และโมเลกุลชีวภาพที่เหมาะสมในการจับกับเป้าหมาย, การปรับสภาพองค์ประกอบของชุดตรวจ รวมถึงการผลิตและใช้อนุภาคนาโนติดฉลากด้วยโมเลกุลชีวภาพในการให้สัญญาณ ซึ่งอนุภาคนาโนนี้ สร้างความแตกต่างให้กับชุดตรวจที่นาโนเทคพัฒนาขึ้น

นาโนเทคโนโลยีส่งผลต่อประสิทธิภาพของชุดตรวจ โดยทำให้มีความจำเพาะ ความไว ในการแสดงผลดี โดยการทดสอบทางคลินิก เฟสที่ 1 ร่วมกับโรงพยาบาลรามาธิบดี พบว่า ความไวและความจำเพาะในการตรวจคัดกรองเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ และชนิดบี ด้วยชุดตรวจนี้เทียบกับวิธีทางอณูวิทยา อยู่ที่ 95-100% และ 90-100% ตามลำดับ  


จุดเด่นของชุดตรวจสำหรับตรวจหาเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่นี้ ภญ.ดร. ณัฐปภัสร ชี้ว่า เป็นการตรวจคัดกรองได้ในขั้นตอนเดียว ตั้งแต่การตรวจหาเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ว่ามีหรือไม่ และเป็นเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ หรือชนิดบี ด้วยแพลตฟอร์มที่ง่าย ที่สามารถแปลผลได้เลย ไม่ต้องอาศัยเครื่องมือในการแปลผล โดยหากทดสอบด้วยวิธีทางอณูวิทยาจะต้องใช้เครื่องมือในการเพิ่มจำนวนสารพันธุกรรม และใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง ในขณะที่ชุดตรวจนี้ ใช้เวลา 5-10 นาที โดยปัจจุบันได้ยื่นจดทรัพย์สินทางปัญญาในประเทศไทยแล้ว จำนวน 3 ฉบับ

ขั้นตอนต่อไปของโครงการวิจัยนี้คือ การทดสอบประสิทธิภาพทางคลินิกในเฟสที่ 2 และพร้อมกันนี้ ก็ต่อยอดสู่การตรวจคัดกรองโรคกลุ่มอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ รวมถึงคัดกรองไวรัสอื่นๆ อาทิ โคโรนาไวรัส ที่เป็นสาเหตุของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยการพัฒนาชุดตรวจหาเชื้อในกลุ่มโคโรนาไวรัสแบบรวดเร็วเพื่อการคัดกรองเบื้องต้นนี้ เป็นความร่วมมือระหว่างศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) กับศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ในการออกแบบและสังเคราะห์แอนติเจนและนาโนบอดี รวมถึงหารือร่วมกับโรงพยาบาลรามาธิบดีเพื่อพัฒนาวิธีการสำหรับเก็บตัวอย่าง




นักวิจัยนาโนเทคกล่าวว่า นอกจากจะช่วยลดการนำเข้าชุดตรวจจากต่างประเทศ ยังเป็นองค์ความรู้ของไทยที่ทางภาครัฐและเอกชนสนใจที่จะร่วมวิจัยและพัฒนาต่อยอดจากองค์ความรู้ไปสู่การใช้จริง รวมถึงจะสามารถเป็นเทคโนโลยีแพลตฟอร์มที่ต่อยอดพัฒนาชุดตรวจคัดกรองต่างๆ รองรับการเกิดโรคระบาดใหม่ได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องเริ่มจากศูนย์










ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

นวัตกรรมการผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ส่งเสริมรายได้สู่ชุมชน

  วช. เสริมแกร่ง มรภ.อุตรดิตถ์ ผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 IN 1 จากวัสดุเหลือทิ้ง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นักวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ นำองค์ความรู้ และนวัตกรรมการผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ส่งเสริมรายได้พื้นที่เป้าหมาย สร้างเกษตรกรต้นแบบ จ.อุตรดิตถ์ และ จ.สุรินทร์ กว่า 100 ราย แนะใช้ถ่านดูดซับกลิ่น ความชื้น ยกระดับคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้ อมให้ยั่งยืน โดยการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนั กงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จากปัญหาเศษวัสดุเหลือทิ้ งทางการเกษตร อาทิ เปลือกทุเรียน เหง้ามันสำปะหลัง แกนข้าวโพด ข้อไม้ไผ่ รวมถึงเศษกิ่งไม้ริมทาง ยังไม่ได้ถูกนำมาใช้ให้เกิ ดประโยชน์มากนัก  อีกทั้งการจัดการโดยเผาเศษวัสดุ เหลือทิ้งในที่โล่ง ยังเป็นการปล่อยก๊าซเรื อนกระจกและมลสารเข้าสู่ชั้ นบรรยากาศ องค์ความรู้และนวัตกรรมการผลิ ตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 ด้วยวิธีไพโรไลซิส จึงนับเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ ไขประเด็นปัญหาดังกล่าวได้ ขณะนี้นักวิจัยได้ถ่ายทอดองค์ ความรู้และติดตั้งนวัตกรรมแล้ว ประกอบด้วย เตาผลิตถ่านดูดกลิ่นแบบไพโรไลซิ ส เครื่...

เอ็นไอเอ โหมโรง “นิลมังกร” อัดฉีดผลงานนวัตกรรมเด่นพลิกฟื้นเศรษฐกิจหลังโควิด 19 โค้งสุดท้ายก่อนเฟ้นหาสุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยภายใต้ “นิลมังกรแคมเปญ”

  สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายจำนวน 18 หน่วยงาน ได้แก่ ศูนย์แบรนด์เคยู คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค 14 มหาวิทยาลัย หอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย จัดประกาศผลและมอบรางวัล “ สุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยประจำปี 2564 รอบภูมิภาค ( Thailand INNO BIZ Champion 2021 Regional Round) ภายใต้ “ นิลมังกรแคมเปญ ” ให้กับ 20 ธุรกิจนวัตกรรมจาก 4 ภูมิภาค ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ NIA กล่าวว่า “NIA มีหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุน และสร้างความสามารถการแข่งขันของประเทศด้วยการใช้นวัตกรรม ดังนั้นจึงได้ริเริ่มโครงการสุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยระดับภูมิภาค ภายใต้ “ นิลมังกรแคมเปญ ” ขึ้น เพื่อสร้างตัวอย่างการทำธุรกิจนวัตกรรมในภูมิภาคให้คนในพื้นที่ได้เห็นถึงความสำคัญในการพัฒนานวัตกรรมและได้เรียนรู้กระบวนการสร้างธุรกิจนวัตกรรม ผ่านการสื่อสารในรูปแบบของ Edutainment เพื่อให้เป็นที่น่าสนใจ เข้าถึง และเข้าใจกระบวนการสร้างธุรกิ...

2-4 ธันวาคมนี้ พบกันที่ งานสัตว์น้ำไทย 2024 (Thai Aqua Expo 2024)

สมาคมกุ้งตะวันออกไทย ร่วมกับ พันธมิตรในภาคตะวันออก และภาครัฐ ร่วมจัดงานสัตว์น้ำเศรษฐกิจยิ่งใหญ่ประจำปี 2567 งานสัตว์น้ำไทย 2024 (Thai Aqua Expo 2024) ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-3-4 ธันวาคม 2567 ณ โรงแรมซันไรส์ ลากูน โฮเทลแอนด์กอล์ฟ จ.ฉะเชิงเทรา ภายใต้แนวความคิด “ปรับกลยุทธ์สัตว์น้ำไทย สร้างกำไรทุกภาคส่วน” โดยสมาคมกุ้งตะวันออกไทย ร่วมกับ สมาคม สหกรณ์ ชมรม กลุ่มแปลงใหญ่ ในภาคตะวันออกก รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐ และบริษัทเอกชนผู้ร่วมสนับสนุน ภายใต้มีวัตถุประสงค์ของการจัดงาน เพื่อเผยแพร่ความรู้ นวัตกรรม การส่งต่อข้อมูลเพื่อให้เกษตรกร สามารถวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางการตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศ ถ่ายทอดแนวทางการลดต้นทุนตลอดห่วงโซ่ในอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และกระตุ้นให้มีการส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศมากขึ้น ภายในงานมีการเสวนา และสัมมนาให้ความรู้กับเกษตรกรและผู้ที่สนใจ ตลอดระยะเวลาการจัดงาน ทั้ง 3 วัน รวมถึงมีการจัดแสดงสินค้าของบริษัทและผู้ค้าปัจจัยการผลิตที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยมีพื้นที่จัดแสดงสินค้ามากกว่า 70 บูท และมีบริษัทสนใจเข้าร่วม...