ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เอ็นไอเอ โหมโรง “นิลมังกร” อัดฉีดผลงานนวัตกรรมเด่นพลิกฟื้นเศรษฐกิจหลังโควิด 19 โค้งสุดท้ายก่อนเฟ้นหาสุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยภายใต้ “นิลมังกรแคมเปญ”

 


สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายจำนวน 18 หน่วยงาน ได้แก่ ศูนย์แบรนด์เคยู คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค 14 มหาวิทยาลัย หอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย จัดประกาศผลและมอบรางวัล สุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยประจำปี 2564 รอบภูมิภาค (Thailand INNO BIZ Champion 2021 Regional Round) ภายใต้ นิลมังกรแคมเปญ ให้กับ 20 ธุรกิจนวัตกรรมจาก 4 ภูมิภาค


ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ NIA กล่าวว่า “NIA มีหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุน และสร้างความสามารถการแข่งขันของประเทศด้วยการใช้นวัตกรรม ดังนั้นจึงได้ริเริ่มโครงการสุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยระดับภูมิภาค ภายใต้ นิลมังกรแคมเปญ ขึ้น เพื่อสร้างตัวอย่างการทำธุรกิจนวัตกรรมในภูมิภาคให้คนในพื้นที่ได้เห็นถึงความสำคัญในการพัฒนานวัตกรรมและได้เรียนรู้กระบวนการสร้างธุรกิจนวัตกรรม ผ่านการสื่อสารในรูปแบบของ Edutainment เพื่อให้เป็นที่น่าสนใจ เข้าถึง และเข้าใจกระบวนการสร้างธุรกิจนวัตกรรมได้ง่ายขึ้น รวมถึงเป็นพื้นที่ที่ให้สตาร์ทอัพและเอสเอ็มอีในพื้นที่ได้แสดงศักยภาพด้านนวัตกรรมอย่างเต็มที่ โดยหวังว่าหลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการทั้งหมดในโครงการ ธุรกิจที่ผ่านการคัดเลือกเข้ารอบสุดท้ายซึ่งเป็นตัวแทนของพื้นที่แต่ละจังหวัด จะมีอัตราการเติบโตทางธุรกิจ อย่างน้อย 3 เท่า หรือ ประมาณการมูลค่าเพิ่ม 360 ล้านบาท จาก 12 ทีมสุดท้าย และมีแบรนด์สินค้าและบริการนวัตกรรมเป็นที่รู้จักทั้งในประเทศและต่างประเทศ อีกทั้งยังจะเป็นตัวแทนในการสร้างแบรนด์ให้กับพื้นที่และจังหวัดให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น


ผลงาน “DryDye นวัตกรรมย้อมผ้าไม่ใช่น้ำ” จากบริษัท แซดเอส อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด

สำหรับผลการคัดเลือกโครงการสุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยรอบภูมิภาค ได้แก่ ผลงาน น้ำพริกส็อก by Chef May” จากบริษัท พัทธนันท์ คอนซัลติ้ง จำกัด ผู้ชนะเลิศจากภาคเหนือ น้ำพริกส็อก หรือ น้ำพริกมะเขือเทศย่าง ซึ่งเป็นน้ำพริกโบราณทางภาคเหนือ ผลิตจากมะเขือเทศที่ผ่านกระบวนการย่างด้วยเทคนิคการให้ความร้อนโดยใช้รังสีอินฟราเรด ซึ่งให้ความร้อนสูงในระยะเวลาอันสั้น เพื่อให้มะเขือเทศสุกเท่ากันหมดทั้งลูกโดยที่ผิวไม่ไหม้ นำมาผัดกับส่วนผสมแล้วถูกทำให้เย็นในทันที ก่อนนำมาทำให้เข้มข้น (Concentration) และฆ่าเชื้อเพื่อให้อยู่ในรูปแบบของซอสเข้มข้น (Paste) ผลิตภัณฑ์สามารถรับประทานเป็นน้ำพริกได้ทันที หรือนำมาเป็นส่วนผสมของเมนูต้มซุปหรือผัด เพื่อเพิ่มรสชาติของอาหารให้อร่อยยิ่งขึ้น

ผลงาน “DryDye นวัตกรรมย้อมผ้าไม่ใช่น้ำ จากบริษัท แซดเอส อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ผู้ชนะเลิศจากภาคกลาง ปกติเสื้อผ้าที่พวกเราใส่กันทุกคนนั้นใช้น้ำในการผลิตอย่างมหาศาล แค่มองไปในตู้เสื้อผ้าของคุณ คุณใช้น้ำไปแล้วกี่ลิตร เสื้อผ้าที่ผลิตจาก Drydye นั้นใช้ก๊าซ CO2 มาย้อมแทนน้ำที่ช่วยประหยัดน้ำได้ถึง 25 ลิตร ต่อเสื้อ 1 ตัวในการย้อม ซึ่งการใช้ก๊าซ CO2 ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากมีถังเก็บกักก๊าซไม่ให้ปล่อยเป็นของเสียในชั้นบรรยากาศ และยังสามารถนำก๊าซ CO2 กลับมาย้อมซ้ำได้ เพราะมีถังสำหรับเก็บกักก๊าซ เมื่อต้องการใช้งานจะใช้แรงดันสูงมาเปลี่ยนก๊าซ CO2 ให้อยู่ในรูปแบบ Supercritical Fluid หลังจากใช้งานเสร็จก็จะกลายเป็นสถานะก๊าซเช่นเดิม นอกจากก๊าซ CO2 ที่สามารถนำกลับมาใช้งานซ้ำได้แล้ว ผงสี Pure Dyes ก็ยังสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้อีก ผ้าที่ผ่านการย้อมสีด้วยก๊าซ CO2 จะใช้พลังงานในการย้อมน้อยกว่า 50% เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้น้ำ และยังช่วยลดการใช้สารเคมีที่ทำให้เกิดการทำลายสิ่งแวดล้อมอีกด้วย 

ผลงาน “Flamex” นวัตกรรมสเปรย์ดับเพลิง จาก บริษัท นาซ่าไฟร์โปรดัคส์ จำกัด

ผลงาน “เคยนิคะ” ซอสกะปิสำเร็จรูป จากห้างหุ้นส่วนจำกัด เคยนิคะ

ผลงาน “Flamex” นวัตกรรมสเปรย์ดับเพลิง จาก บริษัท นาซ่าไฟร์โปรดัคส์ จำกัด ผู้ ชนะเลิศจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ FLAMEX ผลิตภัณฑ์ดับเพลิงชนิดสเปรย์ สำหรับครัวเรือน รถยนต์โรงแรม ด้วยการพัฒนาสูตรน้ำยาดับเพลิง ให้มีความสามารถในการดับเพลิงประเภท A (เชื้อเพลิงแห้งทั่วไป), B (น้ำมันเชื้อเพลิง), C (กระแสไฟฟ้า) และ K (น้ำมันทำอาหาร) บรรจุในกระป๋องอะลูมิเนียมชิ้นเดียว ที่สามารถทนแรงดันได้ถึง 20 bar และมีหัวฉีดชนิดพิเศษ ซึ่งสามารถฉีดได้ไกลสูงสุด 4 เมตร ในระยะเวลาฉีด 25 วินาที ผลิตภัณฑ์มีขนาด 450 มิลลิลิตร เหมาะสำหรับการใช้งานในครัวเรือน หรือติดตั้งไว้ในยานพาหนะและโรงแรม และผลงาน เคยนิคะซอสกะปิสำเร็จรูป จากห้างหุ้นส่วนจำกัด เคยนิคะ ผู้ชนะเลิศจากภาคใต้ เคยนิคะ เป็นซอสกะปิสำเร็จรูป เป็นการนำกะปิซึ่งเป็นอัตลักษณ์ของคนใต้มาผ่านกระบวนการ  การย่อยสลายโดยเอนไซม์ย่อยโปรตีนและไขมันจากกุ้งเคย ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีและจุลินทรีย์ในกระบวนการหมักโดยธรรมชาติ ช่วยทำให้เกิดกลิ่นหอมและรสชาติกลมกล่อมเป็นเอกลักษณ์ของซอสกะปิ และภายใต้อุณหภูมิและเวลาการหมักที่เหมาะสมเกิดปฏิกิริยาเมลลาร์ด (Maillard reaction) ทำให้ซอสกระปิมีสีสวยน่ารับประทาน  ทำให้ได้กะปิที่พร้อมใช้งานในรูปแบบซอส เหมือนกับซอสมะเขือเทศและซอสพริก แก้ปัญหาการใช้งานกะปิในรูปแบบเก่าที่ใช้งานยุ่งยากและต้องมีขั้นตอนการเตรียมและการชั่งตวงที่ยุ่งยากไม่เหมาะกับในยุคสมัยปัจจุบัน และยังลดปัญหาการปนเปื้อนจากการผลิตกะปิในปัจจุบัน จึงเหมาะกับการนำไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการใช้กะปิเป็นตัวชูรสอาหารให้กลมกล่อม และมีเสน่ห์ทำให้ทานอาหารได้อร่อยขึ้น แต่เนื่องด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยน ไป ซอสกะปิเคยนิคะ คือ ผู้ช่วยที่ตอบโจทย์ ของคนยุคใหม่

“น้ำพริกส็อก” ผลงานธุรกิจนวัตกรรมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศของภาคเหนือ โดย เชฟเมย์ - พัทธนันท์ ธงทอง

“น้ำพริกส็อก” ผลงานธุรกิจนวัตกรรมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศของภาคเหนือ โดย เชฟเมย์ - พัทธนันท์ ธงทอง รองแชมป์จากรายการ Top Chef Thailand Season 1 และเจ้าของเหรียญเงินในการแข่งขันเชฟระดับโลกปี 2014 ซึ่งเปิดใจภายหลังได้รับรางวัลว่า รางวัลที่ได้ถือเป็นความภูมิใจและเป็นเสมือนเครื่องการันตีว่าธุรกิจนี้ได้พัฒนามาถูกทางแล้ว และกำลังจะก้าวสูงขึ้นต่อไปเรื่อยๆ ซึ่งสิ่งที่จะยากขึ้นก็คือ การค้นหานวัตกรรมที่จะนำมาสอดแทรกและทำให้ผลิตภัณฑ์มีจุดเด่นเหนือกว่าคู่แข่ง รางวัลที่ได้นี้จึงเป็นทั้งกำลังใจและแรงผลักดันไปสู่เป้าหมาย ซึ่งก็คือการทำให้อาหารไทยเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก

นวัตกรรม “ทรายแมวจากมันสำปะหลัง” จากแบรนด์ Hide&Seek

เช่นเดียวกับ คุณอภินันท์ มหาศักดิ์สวัสดิ์ เจ้าของธุรกิจนวัตกรรม “ทรายแมวจากมันสำปะหลัง” แบรนด์ Hide&Seek หนึ่งในผู้เข้าร่วมโครงการที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่งของภาคกลาง ที่กล่าวว่า มีความดีใจมากที่ได้มาเข้าร่วมโครงการและได้รับรางวัล ซึ่งรางวัลนี้จะเป็นแรงผลักดันให้เกิดการพัฒนาธุรกิจด้วยนวัตกรรมต่อไป โดยทางบริษัทตั้งเป้าที่จะพัฒนาธุรกิจทั้งในไลน์ผลิตภัณฑ์เดิมและคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ พร้อมขยายฐานลูกค้าออกไปในต่างประเทศ ซึ่งนวัตกรรมในการนำมันสำปะหลังมาผลิตเป็นทรายแมว 100% นี้ นับเป็นผลงานการผลิตโดยฝีมือคนไทยตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ และยังเป็นผู้ผลิตเจ้าแรกในไทย ซึ่งนอกจากจะมีส่วนช่วยในการเพิ่มมูลค่าของมันสำปะหลังแล้ว ยังเป็นผลิตภัณฑ์นวัตกรรมที่ช่วยลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม และมีความปลอดภัยสูงในการใช้งานด้วย โดยทรายแมวจากมันสำปะหลังนี้สามารถใช้ได้กับแมวทุกวัย เก็บกลิ่นได้ดีเยี่ยม มีคุณสมบัติจับตัวไว ไม่เป็นโคลน และสามารถทิ้งลงชักโครกได้



ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง รองผู้อำนวยการด้านระบบนวัตกรรม NIA ได้กล่าวเสริมถึง โครงการสุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทย ที่จัดขึ้นในครั้งนี้ว่า มีวัตถุประสงค์ในการค้นหา บ่มเพาะธุรกิจ และสร้างแบรนด์ธุรกิจนวัตกรรมของผู้ประกอบการระดับภูมิภาคในประเทศไทย ให้สามารถเติบโตทางธุรกิจ และมีแบรนด์สินค้าหรือบริการนวัตกรรมเป็นที่รู้จักและยอมรับทั้งระดับประเทศและนานาชาติ ซึ่งในปีนี้มีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการกว่า 300 ธุรกิจนวัตกรรมทั่วประเทศ แบ่งเป็นภาคเหนือ 69 ธุรกิจ จาก 10 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 92 ธุรกิจ จาก 7 จังหวัด ภาคกลาง 79 ธุรกิจ จาก 12 จังหวัด และภาคใต้ 55 ธุรกิจ จาก 13 จังหวัด รวม 41 จังหวัดทั่วประเทศ และสามารถจัดกลุ่มธุรกิจได้จำนวน 10 ประเภทธุรกิจ/อุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร อุตสาหกรรมบริการ และ อุตสาหกรรมสุขภาพและการแพทย์ เป็นต้น โดยมีวิทยากรระดับประเทศมาให้ความรู้ในด้านการวางแผนธุรกิจนวัตกรรม การสร้างแบรนด์สินค้าและบริการนวัตกรรม การสื่อสารและการเล่าเรื่องสินค้าและบริการนวัตกรรมให้น่าสนใจ ซึ่งผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมจะได้เรียนรู้ และนำเสนอเรื่องราวธุรกิจนวัตกรรมของตนเองต่อกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ที่จะทำการคัดเลือกธุรกิจนวัตกรรมที่มีความพร้อมและมีโอกาสเติบโตทางธุรกิจได้อย่างน้อย 300 เปอร์เซ็นต์ จาก 300 ธุรกิจ สู่ 5 ธุรกิจนวัตกรรมของแต่ละภูมิภาค ที่เปรียบเสมือนเป็น ม้านิลมังกร ของแต่ละภูมิภาค ซึ่งในขั้นตอนต่อไปทาง NIA จะทำการคัดเลือกให้เหลือเพียง 12 ธุรกิจที่จะก้าวเข้าสู่รอบต่อไป ในการเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อชิงความเป็นธุรกิจนวัตกรรมรางวัล “นิลมังกร” รายแรกของไทย พร้อมเงินรางวัล 2 ล้านบาท

ติดตามอัพเดตความเคลื่อนไหวได้ที่เฟซบุ๊คเพจ Thailand InnoBiz Champion







 




















ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

นวัตกรรมการผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ส่งเสริมรายได้สู่ชุมชน

  วช. เสริมแกร่ง มรภ.อุตรดิตถ์ ผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 IN 1 จากวัสดุเหลือทิ้ง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นักวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ นำองค์ความรู้ และนวัตกรรมการผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ส่งเสริมรายได้พื้นที่เป้าหมาย สร้างเกษตรกรต้นแบบ จ.อุตรดิตถ์ และ จ.สุรินทร์ กว่า 100 ราย แนะใช้ถ่านดูดซับกลิ่น ความชื้น ยกระดับคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้ อมให้ยั่งยืน โดยการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนั กงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จากปัญหาเศษวัสดุเหลือทิ้ งทางการเกษตร อาทิ เปลือกทุเรียน เหง้ามันสำปะหลัง แกนข้าวโพด ข้อไม้ไผ่ รวมถึงเศษกิ่งไม้ริมทาง ยังไม่ได้ถูกนำมาใช้ให้เกิ ดประโยชน์มากนัก  อีกทั้งการจัดการโดยเผาเศษวัสดุ เหลือทิ้งในที่โล่ง ยังเป็นการปล่อยก๊าซเรื อนกระจกและมลสารเข้าสู่ชั้ นบรรยากาศ องค์ความรู้และนวัตกรรมการผลิ ตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 ด้วยวิธีไพโรไลซิส จึงนับเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ ไขประเด็นปัญหาดังกล่าวได้ ขณะนี้นักวิจัยได้ถ่ายทอดองค์ ความรู้และติดตั้งนวัตกรรมแล้ว ประกอบด้วย เตาผลิตถ่านดูดกลิ่นแบบไพโรไลซิ ส เครื่องบดถ่าน

งานมหกรรมในหลวงรักเรา​ "ภูมิพลังแผ่นดิน"พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯชวนเที่ยว​งาน 3-6​ ธันวาคมนี้

  พลอากาศเอก เสนาะ  พรรณพิกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์ เกษตรเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เปิดเผยว่า “การจัดงานมหกรรมในหลวงรักเรา “ภูมิพลังแผ่นดิน” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 3 – 6 ธันวาคม 2564 นี้เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิ คุณพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิ เบศร    มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และเผยแพร่พระราชกรณียกิจด้ านการพัฒนาทรัพยากรดิน เพื่อการเกษตร พระองค์ท่านทรงตระหนักถึงปั ญหาและความเสื่อมโทรมของดิน ไม่ว่าจะเป็นดินเปรี้ยว ดินเค็ม   ทำอย่างไรถึงจะคืนความอุ ดมสมบูรณ์สู่ “ผืนดิน” อันเป็นพื้นฐานสำคั ญในการทำการเกษตรเพื่อสร้ างความมั่นคงด้านคลังอาหาร จึงเห็นได้ว่าโครงการพระราชดำริ ที่เกี่ยวกับการเกษตรกว่า 4,000 โครงการ ล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับการพั ฒนา ปรับปรุงดิน และด้านการเกษตร ด้วยพระปรี ชาสามารถและสายพระเนตรอั นยาวไกลของพระองค์ทำให้ราษฎรได้ มีความอยู่ดี กินดี มากยิ่งขึ้น” ด้าน นายอร่าม  แก้วนิล ผู้อำนวยการสำนักนวั ตกรรมเกษตรเศรษฐกิจพอเพียง กล่าวเพิ่มเติมถึงนิ ทรรศการภายในงานว่า “ขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนเข้ ามาร่วมเรียนรู้ นิทรรศการผู้น้ อมนำหลักปรัชญ