ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ก้าวใหม่! สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนบ้านซ่อง ปรับระบบจัดการหนี้ค้างชำระปลูกฝังอุดมการณ์สร้างความเข้มแข็งได้อย่างยั่งยืน


การขาดความเข้าใจในบทบาทและความรู้เรื่องสหกรณ์ ขาดการบริหารจัดการสหกรณ์ที่ดี การปล่อยและติดตามสินเชื่อที่หละหลวม ส่งผลให้การดำเนินงานของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนบ้านซ่อง จำกัด มีหนี้ค้างอยู่เป็นจำนวนมากในอดีต แต่หลังจากการสร้างความเข้าใจกับสมาชิก ปรับระบบการบริหารจัดการ การสร้างอาชีพเสริม และส่งเสริมการออมอย่างจริงจัง ส่งผลให้สหกรณ์เติบโตอย่างมั่นคงเป็นลำดับ และเกิดผลสำเร็จจนได้รับคัดเลือกเป็นสหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติในวันนี้

ได้รับรางวัลสหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2563

นางกัญญา บุญรอด ผู้จัดการสหกรณ์เครดิตยูเนียนบ้านซ่อง จำกัด จังหวัดเพชรบุรี เปิดเผยว่าในอดีตที่ผ่านมา สมาชิกของสหกรณ์ขาดความเข้าใจในบทบาทและหน้าที่ของตนเอง การบริหารจัดการสหกรณ์ และหลักเกณฑ์ในการปล่อยและติดตามสินเชื่อก็หละหลวม ส่งผลให้การดำเนินงานของสหกรณ์เครดิตยูเนียน บ้านซ่อง จำกัด มีสมาชิกประมาณ 70 ราย ที่ขาดการผ่อนชำระ และไม่มีการติดต่อกับสหกรณ์มาเป็นเวลานาน จึงมีหนี้ค้างอยู่เป็นจำนวนมากประมาณ 5 - 6 ล้านบาท ทางคณะกรรมการและฝ่ายจัดการจึงได้เริ่มวางแนวทางแก้ไขปัญหาหนี้สินอย่างจริงจังตั้งแต่ปี 2543 โดยได้ร่วมกันลงพื้นที่เพื่อพบปะพูดคุยกับสมาชิกที่มีหนี้ค้างทุกราย และพบว่าปัญหานั้นเกิดจากสาเหตุใหญ่ ๆ คือ บางรายมีเงินแต่ก็ไม่ยอมมาชำระหนี้ หลาย ๆ คน ขาดความสัมพันธ์กับสหกรณ์ มองสหกรณ์เป็นเพียงแค่แหล่งเงินกู้แทนที่จะรู้ว่าตนเองเป็นเจ้าของสหกรณ์ จึงไม่ยอมชำระหนี้ และยังมีอีกหลายคนที่ขาดทุนจากการประกอบอาชีพเกษตรกรรมและไม่สามารถชำระหนี้ได้ จริง ๆ  ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นภาพสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาที่สหกรณ์ต้องเร่งแก้ไขและช่วยเหลือ



ปัญหาเงินกู้กับ NPL (Non-Performing Loan : สินเชื่อที่ค้างชำระเงินต้น) เป็นของคู่กัน แต่เมื่อเกิดปัญหาขึ้นมาต้องลงไปแก้ไขอย่างจริงจังและต่อเนื่อง โดยสหกรณ์ฯ เริ่มใช้วิธีการควบคุมสัดส่วนของหนี้คงค้างไม่ให้เกิน 5 % ของวงเงินกู้ที่ปล่อยออกไปทั้งหมด ส่วนปัญหาหนี้ที่ขาดการผ่อนชำระ ฝ่ายจัดการและกรรมการได้ลงพื้นที่คุยกับสมาชิกที่มีปัญหาทุกรายเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสมาชิกกับสหกรณ์ ชี้แจง ทำความเข้าใจให้เห็นถึงความสำคัญของสหกรณ์ว่าเป็นของสมาชิกทุกคน เป็นบ้านอีกหลังหนึ่งของสมาชิก ชี้แจงให้รู้ถึงสิทธิและหน้าที่  ผลประโยชน์ที่สมาชิกจะได้จากสหกรณ์ และผลเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหากสมาชิกไม่เอาใจใส่



ในส่วนของสมาชิกที่ประสบปัญหาไม่สามารถชำระหนี้ได้จริง ๆ เนื่องจากขาดทุนจากการประกอบอาชีพ หรือมีรายได้ไม่พอชำระหนี้ สหกรณ์จะช่วยเหลือปรับโครงสร้างหนี้ของสมาชิก เพื่อขยายระยะเวลาการชำระหนี้ แต่เนื่องจากสมาชิกสหกรณ์มาจากหลากหลายอาชีพ เช่น เกษตรกรรม รับจ้าง ค้าขาย และส่วนใหญ่ขาดความรู้เรื่องการออม การบริหารจัดการเงิน จึงต้องไปช่วยวางแผนการเงินและแผนการชำระหนี้ให้แก่สมาชิกแต่ละราย ตั้งแต่การคำนวณรายรับ รายจ่าย การเก็บออม การชำระหนี้ ซึ่งตนและคณะกรรมการใช้เวลาถึง 3 ปี จนสามารถทำความเข้าใจกับสมาชิกกลุ่มนี้ได้เกือบทั้งหมดและทำให้กลับมาชำระหนี้ได้เหมือนเดิม สำหรับสมาชิกรายใหม่ ๆ ที่มาขอสินเชื่อ เจ้าหน้าที่สหกรณ์ที่รับเรื่องจะเป็นผู้ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องการขอสินเชื่อ การออม การจัดการหนี้ และวินัยทางการเงิน และในวันเดียวกันนั้น สมาชิกผู้กู้จะต้องเข้าไปคุยกับคณะกรรมการเพื่อสร้างความคุ้นเคยและให้ความรู้เกี่ยวกับสหกรณ์  


ด้านของการให้ความรู้ สหกรณ์มีการจัดทำหลักสูตรการฝึกอบรมเพื่อให้ความรู้แก่กรรมการ และฝ่ายจัดการในด้านต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น แนวทางการบริหารจัดการสหกรณ์ การควบคุม และดูแลสินเชื่อ ในส่วนของสมาชิก จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับสหกรณ์ในด้านต่าง ๆ อุดมการณ์ หลักการ และวิธีการสหกรณ์ สิทธิ หน้าที่ และสวัสดิการพื้นฐานที่จะได้รับ เช่น สวัสดิการคุ้มครองเงินกู้สำหรับสมาชิกที่กู้เงินไม่เกิน 500,000 บาท  คือเมื่อสมาชิกมากู้เงินและเสียชีวิตก่อนที่จะชำระหมด เงินคงค้างที่เหลือสหกรณ์จะเป็นผู้ชำระแทน สวัสดิการเงินสมทบ สวัสดิการเยี่ยมไข้ สวัสดิการเงินเดือนให้ผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกกรุ่นแรกของสหกรณ์ฯ ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นว่าสหกรณ์จะดูแลสมาชิกไปจนตลอดชีวิต เพราะสหกรณ์เป็นของสมาชิกทุกคน ทำให้สมาชิกเกิดความรักในองค์กร และรู้สึกร่วมในความเป็นเจ้าของสหกรณ์

ในส่วนของการส่งเสริมอาชีพ สหกรณ์ได้มีการจัดสินเชื่อ ส่งเสริมอาชีพเพิ่มรายได้ (โครงการเงินกู้พิเศษ) เพื่อให้สมาชิกนำไปเลี้ยงโคขุนเป็นอาชีพเสริม มีผู้เข้าร่วมโครงการ 270 ราย จากปี 2547 ที่เคยเลี้ยงเป็นอาชีพเสริม ปัจจุบันสามารถสร้างรายได้ให้เกษตรกรสมาชิกได้ถึง 5000-10,000 บาท/ตัว /5 เดือน จากจำนวนโคขุนที่กำหนดให้เกษตรกรเลี้ยงรายละ 7 ตัว ปัจจุบันเกษตรกรมีจำนวนวัวเฉลี่ยรายละ 25 ตัว มากไปจนถึง 130 ตัว และได้กลายเป็นอาชีพหลักของเกษตรกรกลุ่มนี้ไปแล้ว นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้มีการปลูกอินทผลัม และผลักดันตลาดออนไลน์ "บ้านซ่องพลาซ่า" เพื่อเป็นช่องทางในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ และเพิ่มช่องทางในการทำการตลาดสินค้าของสมาชิกที่มีหลากหลาย ผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย พร้อมทั้งสามารถปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิตอล


นางกัญญา กล่าวว่า จากการอบรม ให้ความรู้อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ทัศนคติของสมาชิกที่มีต่อสหกรณ์เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง จากที่ไม่ค่อยสนใจการดำเนินงานของสหกรณ์  แต่วันนี้สมาชิกกลับมาให้ความสำคัญ และมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของสหกรณ์ค่อนข้างมาก ส่งผลให้สหกรณ์เติบโตขึ้นเป็นลำดับ จากในปี 2543 มีสมาชิกเพียง 500 คน  ทรัพย์สิน 11 ล้านบาท มีเงินฝากแค่หลักแสนบาท ปัจจุบันสหกรณ์มีสมาชิกถึง 4,416 คน มีทรัพย์สิน 427 ล้านบาท และเงินฝากถึง 253 ล้านบาท จนถึงวันนี้ เชื่อว่าสมาชิกส่วนใหญ่เห็นความสำคัญกับสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนบ้านซ่องเป็นอันดับแรก ๆ มิใช่สถาบันการเงินชุมชนอันดับท้าย ๆ เช่นในอดีต  ซึ่งทั้งหมดนี้ เกิดจากความร่วมมือร่วมแรงของสมาชิกและบุคลากรทุกฝ่ายที่มีความรัก ความเข้าใจในองค์กร และเข้าถึงอุดมการณ์ของสหกรณ์อย่างแท้จริง











ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

นวัตกรรมการผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ส่งเสริมรายได้สู่ชุมชน

  วช. เสริมแกร่ง มรภ.อุตรดิตถ์ ผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 IN 1 จากวัสดุเหลือทิ้ง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นักวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ นำองค์ความรู้ และนวัตกรรมการผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ส่งเสริมรายได้พื้นที่เป้าหมาย สร้างเกษตรกรต้นแบบ จ.อุตรดิตถ์ และ จ.สุรินทร์ กว่า 100 ราย แนะใช้ถ่านดูดซับกลิ่น ความชื้น ยกระดับคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้ อมให้ยั่งยืน โดยการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนั กงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จากปัญหาเศษวัสดุเหลือทิ้ งทางการเกษตร อาทิ เปลือกทุเรียน เหง้ามันสำปะหลัง แกนข้าวโพด ข้อไม้ไผ่ รวมถึงเศษกิ่งไม้ริมทาง ยังไม่ได้ถูกนำมาใช้ให้เกิ ดประโยชน์มากนัก  อีกทั้งการจัดการโดยเผาเศษวัสดุ เหลือทิ้งในที่โล่ง ยังเป็นการปล่อยก๊าซเรื อนกระจกและมลสารเข้าสู่ชั้ นบรรยากาศ องค์ความรู้และนวัตกรรมการผลิ ตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 ด้วยวิธีไพโรไลซิส จึงนับเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ ไขประเด็นปัญหาดังกล่าวได้ ขณะนี้นักวิจัยได้ถ่ายทอดองค์ ความรู้และติดตั้งนวัตกรรมแล้ว ประกอบด้วย เตาผลิตถ่านดูดกลิ่นแบบไพโรไลซิ ส เครื่...

เอ็นไอเอ โหมโรง “นิลมังกร” อัดฉีดผลงานนวัตกรรมเด่นพลิกฟื้นเศรษฐกิจหลังโควิด 19 โค้งสุดท้ายก่อนเฟ้นหาสุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยภายใต้ “นิลมังกรแคมเปญ”

  สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายจำนวน 18 หน่วยงาน ได้แก่ ศูนย์แบรนด์เคยู คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค 14 มหาวิทยาลัย หอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย จัดประกาศผลและมอบรางวัล “ สุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยประจำปี 2564 รอบภูมิภาค ( Thailand INNO BIZ Champion 2021 Regional Round) ภายใต้ “ นิลมังกรแคมเปญ ” ให้กับ 20 ธุรกิจนวัตกรรมจาก 4 ภูมิภาค ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ NIA กล่าวว่า “NIA มีหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุน และสร้างความสามารถการแข่งขันของประเทศด้วยการใช้นวัตกรรม ดังนั้นจึงได้ริเริ่มโครงการสุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยระดับภูมิภาค ภายใต้ “ นิลมังกรแคมเปญ ” ขึ้น เพื่อสร้างตัวอย่างการทำธุรกิจนวัตกรรมในภูมิภาคให้คนในพื้นที่ได้เห็นถึงความสำคัญในการพัฒนานวัตกรรมและได้เรียนรู้กระบวนการสร้างธุรกิจนวัตกรรม ผ่านการสื่อสารในรูปแบบของ Edutainment เพื่อให้เป็นที่น่าสนใจ เข้าถึง และเข้าใจกระบวนการสร้างธุรกิ...

2-4 ธันวาคมนี้ พบกันที่ งานสัตว์น้ำไทย 2024 (Thai Aqua Expo 2024)

สมาคมกุ้งตะวันออกไทย ร่วมกับ พันธมิตรในภาคตะวันออก และภาครัฐ ร่วมจัดงานสัตว์น้ำเศรษฐกิจยิ่งใหญ่ประจำปี 2567 งานสัตว์น้ำไทย 2024 (Thai Aqua Expo 2024) ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-3-4 ธันวาคม 2567 ณ โรงแรมซันไรส์ ลากูน โฮเทลแอนด์กอล์ฟ จ.ฉะเชิงเทรา ภายใต้แนวความคิด “ปรับกลยุทธ์สัตว์น้ำไทย สร้างกำไรทุกภาคส่วน” โดยสมาคมกุ้งตะวันออกไทย ร่วมกับ สมาคม สหกรณ์ ชมรม กลุ่มแปลงใหญ่ ในภาคตะวันออกก รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐ และบริษัทเอกชนผู้ร่วมสนับสนุน ภายใต้มีวัตถุประสงค์ของการจัดงาน เพื่อเผยแพร่ความรู้ นวัตกรรม การส่งต่อข้อมูลเพื่อให้เกษตรกร สามารถวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางการตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศ ถ่ายทอดแนวทางการลดต้นทุนตลอดห่วงโซ่ในอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และกระตุ้นให้มีการส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศมากขึ้น ภายในงานมีการเสวนา และสัมมนาให้ความรู้กับเกษตรกรและผู้ที่สนใจ ตลอดระยะเวลาการจัดงาน ทั้ง 3 วัน รวมถึงมีการจัดแสดงสินค้าของบริษัทและผู้ค้าปัจจัยการผลิตที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยมีพื้นที่จัดแสดงสินค้ามากกว่า 70 บูท และมีบริษัทสนใจเข้าร่วม...