ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

อภัยภูเบศร ร่วมมือ สวก. เสริมแกร่งงานวิจัยสมุนไพรไทย หวังเป็นโมเดลต่อยอดภูมิปัญญาสู่นวัตกรรมใหม่ใช้ได้จริง พลิกฟื้นเศรษฐกิจของประเทศ

 


เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2563 สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก.ร่วมกับ มูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ลงนามความร่วมมือ ด้านการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร เพื่อผลักดันงานวิจัยให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างแท้จริงต่อประเทศชาติและประชาชน

 


ดร. สุวิทย์ ชัยเกียรติยศ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร กล่าวว่า “สวก. เป็นหน่วยงานบริหารจัดการทุนวิจัยด้านการเกษตรของประเทศ ได้รับมอบหมายให้บริหารจัดการโครงการวิจัยภายใต้แผนงานวิจัยมุ่งเป้าตอบสนองความต้องการในการพัฒนาประเทศ คลัสเตอร์สมุนไพรไทย ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2557– ปัจจุบัน เป็นจำนวนทั้งสิ้น 239 โครงการ คิดเป็นงบประมาณกว่า 456.5 ล้านบาท โดยมีเป้าหมายเพื่อวิจัยและพัฒนาต่อยอดสมุนไพรไทยในด้านการรักษาและพัฒนาผลิตภัณฑ์อื่นๆ รวมทั้งการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจที่มีความเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมและภาคเศรษฐกิจต่างๆ ตลอดจนขับเคลื่อนงานอย่างเป็นระบบครบวงจร ทำให้เกิดความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งผลการวิจัยที่ได้ต้องมีเป้าหมายผลผลิตและผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง โดยในการจัดทำบันทึกความร่วมมือกับอภัยภูเบศรในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อบูรณาการการทำงานร่วมกันในด้านการอนุรักษ์ การวิจัยและพัฒนาสมุนไพร ผลิตภัณฑ์สมุนไพร และยาแผนไทยให้ครบวงจร และนำเอาองค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยมาสู่การใช้หรือการปฏิบัติจริงซึ่งเป็นนโยบายของรัฐบาล ให้สามารถต่อยอดผลงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์ทั้งในเชิงสาธารณะ เชิงนโยบาย และเชิงพาณิชย์ ตลอดจนถ่ายทอดเทคโนโลยีและส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนของประเทศต่อไป ผ่านกิจกรรมสนับสนุนงานวิจัยเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์สมุนไพรของมูลนิธิฯ ให้ได้มาตรฐานสากล เป็นที่ยอมรับในวงกว้าง รวมถึงพัฒนาโจทย์วิจัยร่วมกันระหว่าง สวก. และมูลนิธิฯ ในการพัฒนานวัตกรรมหรือรูปแบบผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อตอบโจทย์ของตลาดและผู้บริโภค รวมถึงดำเนินการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาบุคลากรด้านการเกษตร ผ่านกิจกรรมความร่วมมือกันในการจัดฝึกอบรม



เพื่อยกระดับการพัฒนาสมุนไพรไทย เช่น หลักสูตร การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานสมุนไพรไทยในการรักษาโรคอุบัติใหม่/ข้อกำหนดของตำรับมาตรฐานยาสมุนไพรไทย ให้แก่นักวิจัย เพื่อร่วมกันพัฒนางานวิจัยต่อไปในอนาคต รวมถึงหลักสูตร การพัฒนาและการแปรรูปวัสดุเหลือทิ้งจากพืชสมุนไพรไทย เพื่อสร้างรายได้ให้แก่กลุ่มเกษตรกร/องค์ความรู้ให้กับชุมชน อีกทั้งยังมีแนวทางในการดำเนินงานร่วมกันในด้านการรวบรวมทรัพยากรพันธุกรรมพืช (Germplasm) และร่วมแบ่งปันข้อมูลด้านภูมิปัญญาสมุนไพร/งานวิจัยสมุนไพร เพื่อเป็นองค์ความรู้และฐานข้อมูลสำหรับผู้ที่สนใจสืบค้นข้อมูลได้ ผ่านความร่วมมือกับมูลนิธิและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยความร่วมมือระหว่าง สวก. กับ มูลนิธิฯ ที่ผ่านมานั้น สวก. ได้ดำเนินการให้การอนุญาตให้ใช้สิทธิผลงานวิจัยแก่มูลนิธิฯ ไปแล้ว 3 โครงการ อยู่ในระหว่างพิจารณาในคณะอนุกรรมการฯ เพื่ออนุญาตให้ใช้สิทธิผลงานวิจัยจำนวน 2 โครงการ รวมถึง สวก. ได้ดำเนินการส่งมอบผลงานวิจัยกลุ่มเรื่องสมุนไพรไทย ที่เป็นเชิงสาธารณะให้แก่มูลนิธิฯ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์อีก 15 โครงการ” ผู้อำนวยการ สวก. กล่าว




ด้าน นพ.เปรม ชินวันทนานนท์ ประธานกรรมการบริหาร มูลนิธิฯ อภัยภูเบศร กล่าวว่า “ความร่วมมือระหว่าง สวก. และ มูลนิธิ รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร จะเป็นโมเดลในการนำภูมิปัญญาไทยไปสู่งานวิจัยสมัยใหม่ และเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติใช้จริงอย่างกว้างขวางได้ เช่น งานวิจัยที่อภัยภูเบศรร่วมทำด้วย และพบว่ามีประโยชน์มากในผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ป่วยเบาหวานก็คือ งานวิจัยมะระขี้นก สามารถช่วยคุมระดับน้ำตาลได้ในผู้ที่เริ่มเสี่ยงเป็นเบาหวาน หรือ Pre DM และกำลังอยู่ในระหว่างการนำขึ้นทะเบียน และยังมีงานวิจัยสมุนไพรไทยอีกหลายชนิดที่ทำร่วมกัน สำหรับความร่วมมือที่ ความหวังต่อไปคือการยกระดับภูมิปัญญาสมุนไพร ให้มีงานวิจัยสมัยใหม่มารองรับ และตรงความต้องการของตลาด โดยมีการวางแผนทำงานร่วมกันคือ การศึกษาตำรับยาประจำเดือนจะหมด เป็นตำรับยาสมุนไพรพื้นบ้านที่ผ่านการใช้ในโรงพยาบาลแล้วพบว่า ช่วยลดอาการร้อนวูบวาบ และปรับอารมณ์ได้ดี โดยไม่มีผลต่อรังไข่ของหนูทดลอง ซึ่งเป็นประโยชน์ในสตรีที่เข้าสู่ภาวะหมดประจำเดือน และกำลังของทุนวิจัยในคนต่อไป 




อีกงานคือ วิจัยแร้งคอคำ ซึ่งมีผลิตภัณฑ์แล้วในต่างประเทศ โดยจะทำการศึกษาเรื่องการชะลอความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก ซึ่งจะทำการศึกษาตั้งแต่การปลูก จนถึงการสกัด และการทดสอบฤทธิ์ยา และเชื่อว่า หากเราสามารถเพิ่มการวิจัยรองรับได้ จะช่วยให้ตลาดสมุนไพรของไทยมีความเข้มแข็ง และยกระดับเศรษฐกิจภายในประเทศได้ ความร่วมมือที่ทำร่วมกับ สวก. ในครั้งนี้ เชื่อว่าจะได้ช่วยให้งานวิจัยสมบูรณ์ขึ้น โดยเราจะนำพืชสมุนไพรที่ทาง สวก. ได้ศึกษาแล้ว มาปลูก ขยายพันธุ์ และส่งต่อแก่ภาคเกษตรกร รวมถึงผู้ประกอบการที่สนใจ และนำไปสู่การสร้างมูลค่าให้กับสมุนไพรไทยได้ในอนาคต”






ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

นวัตกรรมการผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ส่งเสริมรายได้สู่ชุมชน

  วช. เสริมแกร่ง มรภ.อุตรดิตถ์ ผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 IN 1 จากวัสดุเหลือทิ้ง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นักวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ นำองค์ความรู้ และนวัตกรรมการผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ส่งเสริมรายได้พื้นที่เป้าหมาย สร้างเกษตรกรต้นแบบ จ.อุตรดิตถ์ และ จ.สุรินทร์ กว่า 100 ราย แนะใช้ถ่านดูดซับกลิ่น ความชื้น ยกระดับคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้ อมให้ยั่งยืน โดยการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนั กงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จากปัญหาเศษวัสดุเหลือทิ้ งทางการเกษตร อาทิ เปลือกทุเรียน เหง้ามันสำปะหลัง แกนข้าวโพด ข้อไม้ไผ่ รวมถึงเศษกิ่งไม้ริมทาง ยังไม่ได้ถูกนำมาใช้ให้เกิ ดประโยชน์มากนัก  อีกทั้งการจัดการโดยเผาเศษวัสดุ เหลือทิ้งในที่โล่ง ยังเป็นการปล่อยก๊าซเรื อนกระจกและมลสารเข้าสู่ชั้ นบรรยากาศ องค์ความรู้และนวัตกรรมการผลิ ตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 ด้วยวิธีไพโรไลซิส จึงนับเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ ไขประเด็นปัญหาดังกล่าวได้ ขณะนี้นักวิจัยได้ถ่ายทอดองค์ ความรู้และติดตั้งนวัตกรรมแล้ว ประกอบด้วย เตาผลิตถ่านดูดกลิ่นแบบไพโรไลซิ ส เครื่...

เอ็นไอเอ โหมโรง “นิลมังกร” อัดฉีดผลงานนวัตกรรมเด่นพลิกฟื้นเศรษฐกิจหลังโควิด 19 โค้งสุดท้ายก่อนเฟ้นหาสุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยภายใต้ “นิลมังกรแคมเปญ”

  สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายจำนวน 18 หน่วยงาน ได้แก่ ศูนย์แบรนด์เคยู คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค 14 มหาวิทยาลัย หอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย จัดประกาศผลและมอบรางวัล “ สุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยประจำปี 2564 รอบภูมิภาค ( Thailand INNO BIZ Champion 2021 Regional Round) ภายใต้ “ นิลมังกรแคมเปญ ” ให้กับ 20 ธุรกิจนวัตกรรมจาก 4 ภูมิภาค ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ NIA กล่าวว่า “NIA มีหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุน และสร้างความสามารถการแข่งขันของประเทศด้วยการใช้นวัตกรรม ดังนั้นจึงได้ริเริ่มโครงการสุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยระดับภูมิภาค ภายใต้ “ นิลมังกรแคมเปญ ” ขึ้น เพื่อสร้างตัวอย่างการทำธุรกิจนวัตกรรมในภูมิภาคให้คนในพื้นที่ได้เห็นถึงความสำคัญในการพัฒนานวัตกรรมและได้เรียนรู้กระบวนการสร้างธุรกิจนวัตกรรม ผ่านการสื่อสารในรูปแบบของ Edutainment เพื่อให้เป็นที่น่าสนใจ เข้าถึง และเข้าใจกระบวนการสร้างธุรกิ...

2-4 ธันวาคมนี้ พบกันที่ งานสัตว์น้ำไทย 2024 (Thai Aqua Expo 2024)

สมาคมกุ้งตะวันออกไทย ร่วมกับ พันธมิตรในภาคตะวันออก และภาครัฐ ร่วมจัดงานสัตว์น้ำเศรษฐกิจยิ่งใหญ่ประจำปี 2567 งานสัตว์น้ำไทย 2024 (Thai Aqua Expo 2024) ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-3-4 ธันวาคม 2567 ณ โรงแรมซันไรส์ ลากูน โฮเทลแอนด์กอล์ฟ จ.ฉะเชิงเทรา ภายใต้แนวความคิด “ปรับกลยุทธ์สัตว์น้ำไทย สร้างกำไรทุกภาคส่วน” โดยสมาคมกุ้งตะวันออกไทย ร่วมกับ สมาคม สหกรณ์ ชมรม กลุ่มแปลงใหญ่ ในภาคตะวันออกก รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐ และบริษัทเอกชนผู้ร่วมสนับสนุน ภายใต้มีวัตถุประสงค์ของการจัดงาน เพื่อเผยแพร่ความรู้ นวัตกรรม การส่งต่อข้อมูลเพื่อให้เกษตรกร สามารถวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางการตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศ ถ่ายทอดแนวทางการลดต้นทุนตลอดห่วงโซ่ในอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และกระตุ้นให้มีการส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศมากขึ้น ภายในงานมีการเสวนา และสัมมนาให้ความรู้กับเกษตรกรและผู้ที่สนใจ ตลอดระยะเวลาการจัดงาน ทั้ง 3 วัน รวมถึงมีการจัดแสดงสินค้าของบริษัทและผู้ค้าปัจจัยการผลิตที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยมีพื้นที่จัดแสดงสินค้ามากกว่า 70 บูท และมีบริษัทสนใจเข้าร่วม...