ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

รมว.อว.ชื่นชม "โครงการธนาคารปูม้า" ชาวบ้านได้ใช้ประโยชน์งานวิจัย


รมว.อว.เยี่ยมชมผลสำเร็จโครงการธนาคารปูม้า “คืนปูม้าสู่ทะเลไทย” ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชและสุราษฎร์ธานี ชื่นชมนำองค์ความรู้และงานวิจัยให้ชาวบ้านใช้ประโยชน์ ได้มีส่วนร่วมในงานวิจัย และแลกเปลี่ยนภูมิปัญญาท้องถิ่น


ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ลงพื้นที่เพื่อตรวจเยี่ยมความก้าวหน้าโครงการธนาคารปูม้า “คืนปูม้าสู่ทะเลไทย” ณ ศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าบ้านในถุ้ง อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2563 โดยมี ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ทำหน้าที่ ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และคณะผู้บริหารจาก วช. พร้อมด้วยนักวิจัยในโครงการ ให้การต้อนรับ และนำบรรยายสรุปพร้อมเยี่ยมชมโครงการ พร้อมกันนี้ รมว.อว.ยังได้ตรวจเยี่ยมศูนย์วิจัยชุมชน เครือข่ายวิจัยภูมิภาคภาคใต้ ที่ได้รับการสนับสนุนจาก วช.

ภายหลังเยี่ยมชมโครงการ รมว.อว.กล่าวชื่นชม วช. และ ม.วลัยลักษณ์ ที่มีส่วนสำคัญในการสนับสนุนและพัฒนาโครงการธนาคารปูม้าชุมชน โดยเฉพาะที่ จ.นครศรีธรรมราช ที่นับว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก และในโอกาสหน้าจะขอไปตรวจเยี่ยมที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และหลังรับฟังรายงานได้แง่คิด 2 ประการ

ประการแรก ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ กล่าวว่า อว.ติดต่อชาวบ้านและประชาชน ด้วยการนำ “องค์ความรู้” และ “งานวิจัย” มาให้แทนการให้สิ่งของ มีนักวิจัยทำงานให้ชาวบ้านได้รับประโยชน์ และต่อมาพัฒนาให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการวิจัย และแลกเปลี่ยนภูมิปัญญาท้องถิ่น เปรียบได้กับการช่วยคนด้วยการสอนให้ตกปลาหรือปลูกข้าว แทนการแจกปลาหรือแจกข้าว อันจะส่งผลให้เกิดการสร้าง “วัฒนธรรมวิจัย” ให้แก่ชุมชนและประชาชน ประชาชนสามารถทำวิจัย มีความชอบในการทำวิจัย และเชี่ยวชาญในการทำวิจัยแบบง่าย ๆ อย่างไม่เป็นทางการ เกิดความสุขใจในการทำวิจัย เพราะ ทำแล้วเห็นผลที่จับต้องได้จริง

บังมุ แกนนำจากศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าบ้านในถุ้ง

ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ

ประการที่สองกระทรวง อว. มีความเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานภายในกระทรวง รมว.อว.จึงขอให้ทุกหน่วยงานภายใต้ อว. มีความสามัคคี ช่วยเหลือ และชื่นชมในผลงานของหน่วยงานอื่น ๆ การศึกษางานซึ่งกันและกันของหน่วยงานต่าง ๆ ใน อว. จะมีประโยชน์มาก ตัวอย่างเช่น งานพัฒนาผ้าพื้นถิ่นที่หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ ( บพท.) สนับสนุน มรภ.นครศรีธรรมราช กับ งานธนาคารปูม้าชุมชน ของ วช. ทั้ง บพท. และ วช. สามารถศึกษางานของกันและกันและหาแนวทางการเชื่อมโยงเพื่อพัฒนาการทำงานต่อไปได้

นอกจากนี้ ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ กล่าวอีกว่า ความสำเร็จของการทำงานในจังหวัด เกิดจากการสนับสนุนของผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นสำคัญ ขอให้จังหวัดมั่นใจได้ว่าทุกหน่วยงานภายใต้ อว. จะสนับสนุนการพัฒนาจังหวัดอย่างเต็มที่ ตามนโยบายขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันของนายกรัฐมนตรี ซึ่งแต่งตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันระดับจังหวัด และกระทรวง อว. จะสนับสนุน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ในฐานะแม่ข่ายของกลุ่มมหาวิทยาลัยภาคใต้ตอนบน โดยในอนาคตจะผลักดันให้มีอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคเกิดขึ้นในพื้นที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และ จ.นครศรีธรรมราชต่อไป


พร้อมกันนี้ รมว.อว.ได้ตอบคำถามประชาชนถึงนโยบายหรือแนวทางในการทำงานร่วมกับชุมชนว่า การทำงานร่วมกับชุมชนนั้นทำให้บุคลากรในกระทรวงเข้าใจตนเองมากขึ้นว่า การทำงานในห้องเรียนหรือห้องปฏิบัติการวิจัยเพียงอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอ ดังนั้น อาจารย์และนักวิจัยต้องทำงานร่วมกับชุมชนมากขึ้น นำ วทน. มาพัฒนาชุมชนอย่างต่อเนื่องตามความต้องการของชุมชน และ อว.ยังมีแนวทางวิจัยให้ชุมชนพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็งขึ้นได้ผ่าน “ชุมชนวิจัย”

"กล่าวคือ พัฒนาให้ชาวบ้านสามารถผสมผสานภูมิปัญญาดั่งเดิมกับองค์ความรู้สมัยใหม่ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลายเป็น “นักวิจัยสมัครเล่น” ที่สร้างผลงานตอบโจทย์ปัญหาในชุมชน สร้างนวัตกรรมที่ใช้ได้จริง ตัวอย่างเช่น ธนาคารปูม้าชุมชน ที่ชาวบ้านรับถ่ายทอดองค์รวมรู้ วทน. ผสานกับภูมิปัญญาชาวบ้าน ได้เป็นธนาคารปูม้า สร้างผลกระทบเชิงบวกแก่ชุมชน จับปูม้าได้มากขึ้น สร้างรายได้มากขึ้น รักษาสิ่งแวดล้อม เกิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชน เป็นตัวอย่างให้คณะทูตต่างประเทศมาเยี่ยมชม เกิดเป็นความภูมิใจ และความสุขใจในชุมชน" รมว.อว.กล่าว

(คลิป) รมว.อว. เยี่ยมชมการดำเนินงานธนาคารปูม้าศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าบ้านในถุ้ง
พร้อมการสาธิตนวัตกรรมใหม่ "เครื่องเขี่ยไข่ปูม้า" จาก ม.วลัยลักษณ์

สำหรับโครงการธนาคารปูม้าเพื่อ “คืนปูม้าสู่ทะเลไทย” เป็นโครงการที่ขับเคลื่อน โดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อมุ่งยกระดับเศรษฐกิจฐานราก สร้างรายได้ให้ชุมชน ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2561 ให้ขยายผลสำเร็จของธนาคารปูม้าที่มีอยู่ไปสู่ชุมชนอื่น ๆ อย่างเหมาะสมกับบริบทพื้นที่และสภาวะชุมชน จำนวน 500 แห่ง

ส่วนศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าบ้านในถุ้ง อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นพื้นที่ดำเนินโครงการฯ ที่ วช.ให้การสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม และเป็นพื้นที่ดำเนินโครงการ “การถ่ายทอดและขยายผลธนาคารปูม้าเพื่อคืนปูม้าสู่ทะเลไทยและต่อยอดงานวิจัยเพื่อยกระดับการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนตามแนวทาง BCG Economy ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช และสุราษฎร์ธานี” โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อมรศักดิ์ สวัสดี จากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นหัวหน้าโครงการ

แวะชิมเมนูปูม้าจากธนาคารปูม้าในเขตภาคใต้ที่นำมาร่วมสาธิตภายในงานครั้งนี้อย่างหลากหลายเมนู

ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ทำหน้าที่ ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ได้รับมอบหมายจากคณะรัฐมนตรีให้เป็นหน่วยงานบูรณาการหลัก ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย กรมประมง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ธนาคารออมสิน บริษัทประชารัฐสามัคคี บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด และ กระทรวงพาณิชย์ องค์ความรู้จากผลการวิจัยและนวัตกรรมมาต่อยอด หรือวิจัยเพิ่มเติม ขยายผลสำเร็จของธนาคารปูม้าที่มีอยู่ไปสู่ชุมชนอื่น ๆ อย่างเหมาะสมกับบริบทพื้นที่และสภาวะชุมชน



วช. จึงได้ร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายความร่วมมือ และมหาวิทยาลัยในพื้นที่ ดำเนินการโครงการขยายผลธนาคารปูม้าเพื่อ "คืนปูม้าสู่ทะเลไทย" ตามมติคณะรัฐมนตรี ในภาพรวมของประเทศ เพื่อเพิ่มจำนวนธนาคารปูม้าในพื้นที่ชายฝั่งให้ได้ตามเป้าหมาย พร้อมทั้งขับเคลื่อนและบูรณาการให้เกิดการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มทรัพยากรปูม้าในท้องทะเลไทยและการเป็นผู้นำด้านการส่งออก รวมทั้งขับเคลื่อนและบูรณาการความร่วมมือในการสร้างมูลค่าเพิ่มจากผลผลิตธนาคารปูม้า และกำหนดวิธีการหรือมาตรการการใช้ประโยชน์จากทรัพยากร การอนุรักษ์ การฟื้นฟู ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง


"ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา วช. กรมประมง และหน่วยงานความร่วมมือ ได้มีการขยายผลธนาคารปูม้าไปแล้ว จำนวน 543 แห่ง ครอบคลุมในพื้นที่ชุมชนชายฝั่ง 20 จังหวัด ของประเทศไทย จากการดำเนินงานที่ผ่านมา โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดนครศรธรรมราช ร่วมกับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และกรมประมง ดำเนินการจัดตั้งธนาคารปูม้าทั้งหมด จำนวน 41 แห่ง ใน 6 อำเภอชายฝั่งทะเล ได้แก่ อ.เมือง 6 แห่ง อ.ขนอม 6 แห่ง  อ.ท่าศาลา 12 แห่ง  อ.ปากพนัง 4 แห่ง อ.สิชล 4 แห่ง และ อ.หัวไทร 9 แห่ง ภายใต้ โครงการ “การถ่ายทอดและขยายผลธนาคารปูม้าเพื่อคืนปูม้าสู่ทะเลไทยและต่อยอดงานวิจัยเพื่อยกระดับการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนตามแนวทาง BCG Economy ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช และสุราษฎร์ธานี” ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ระบุ



 





 



 



 








 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

นวัตกรรมการผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ส่งเสริมรายได้สู่ชุมชน

  วช. เสริมแกร่ง มรภ.อุตรดิตถ์ ผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 IN 1 จากวัสดุเหลือทิ้ง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นักวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ นำองค์ความรู้ และนวัตกรรมการผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ส่งเสริมรายได้พื้นที่เป้าหมาย สร้างเกษตรกรต้นแบบ จ.อุตรดิตถ์ และ จ.สุรินทร์ กว่า 100 ราย แนะใช้ถ่านดูดซับกลิ่น ความชื้น ยกระดับคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้ อมให้ยั่งยืน โดยการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนั กงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จากปัญหาเศษวัสดุเหลือทิ้ งทางการเกษตร อาทิ เปลือกทุเรียน เหง้ามันสำปะหลัง แกนข้าวโพด ข้อไม้ไผ่ รวมถึงเศษกิ่งไม้ริมทาง ยังไม่ได้ถูกนำมาใช้ให้เกิ ดประโยชน์มากนัก  อีกทั้งการจัดการโดยเผาเศษวัสดุ เหลือทิ้งในที่โล่ง ยังเป็นการปล่อยก๊าซเรื อนกระจกและมลสารเข้าสู่ชั้ นบรรยากาศ องค์ความรู้และนวัตกรรมการผลิ ตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 ด้วยวิธีไพโรไลซิส จึงนับเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ ไขประเด็นปัญหาดังกล่าวได้ ขณะนี้นักวิจัยได้ถ่ายทอดองค์ ความรู้และติดตั้งนวัตกรรมแล้ว ประกอบด้วย เตาผลิตถ่านดูดกลิ่นแบบไพโรไลซิ ส เครื่...

เอ็นไอเอ โหมโรง “นิลมังกร” อัดฉีดผลงานนวัตกรรมเด่นพลิกฟื้นเศรษฐกิจหลังโควิด 19 โค้งสุดท้ายก่อนเฟ้นหาสุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยภายใต้ “นิลมังกรแคมเปญ”

  สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายจำนวน 18 หน่วยงาน ได้แก่ ศูนย์แบรนด์เคยู คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค 14 มหาวิทยาลัย หอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย จัดประกาศผลและมอบรางวัล “ สุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยประจำปี 2564 รอบภูมิภาค ( Thailand INNO BIZ Champion 2021 Regional Round) ภายใต้ “ นิลมังกรแคมเปญ ” ให้กับ 20 ธุรกิจนวัตกรรมจาก 4 ภูมิภาค ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ NIA กล่าวว่า “NIA มีหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุน และสร้างความสามารถการแข่งขันของประเทศด้วยการใช้นวัตกรรม ดังนั้นจึงได้ริเริ่มโครงการสุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยระดับภูมิภาค ภายใต้ “ นิลมังกรแคมเปญ ” ขึ้น เพื่อสร้างตัวอย่างการทำธุรกิจนวัตกรรมในภูมิภาคให้คนในพื้นที่ได้เห็นถึงความสำคัญในการพัฒนานวัตกรรมและได้เรียนรู้กระบวนการสร้างธุรกิจนวัตกรรม ผ่านการสื่อสารในรูปแบบของ Edutainment เพื่อให้เป็นที่น่าสนใจ เข้าถึง และเข้าใจกระบวนการสร้างธุรกิ...

2-4 ธันวาคมนี้ พบกันที่ งานสัตว์น้ำไทย 2024 (Thai Aqua Expo 2024)

สมาคมกุ้งตะวันออกไทย ร่วมกับ พันธมิตรในภาคตะวันออก และภาครัฐ ร่วมจัดงานสัตว์น้ำเศรษฐกิจยิ่งใหญ่ประจำปี 2567 งานสัตว์น้ำไทย 2024 (Thai Aqua Expo 2024) ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-3-4 ธันวาคม 2567 ณ โรงแรมซันไรส์ ลากูน โฮเทลแอนด์กอล์ฟ จ.ฉะเชิงเทรา ภายใต้แนวความคิด “ปรับกลยุทธ์สัตว์น้ำไทย สร้างกำไรทุกภาคส่วน” โดยสมาคมกุ้งตะวันออกไทย ร่วมกับ สมาคม สหกรณ์ ชมรม กลุ่มแปลงใหญ่ ในภาคตะวันออกก รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐ และบริษัทเอกชนผู้ร่วมสนับสนุน ภายใต้มีวัตถุประสงค์ของการจัดงาน เพื่อเผยแพร่ความรู้ นวัตกรรม การส่งต่อข้อมูลเพื่อให้เกษตรกร สามารถวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางการตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศ ถ่ายทอดแนวทางการลดต้นทุนตลอดห่วงโซ่ในอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และกระตุ้นให้มีการส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศมากขึ้น ภายในงานมีการเสวนา และสัมมนาให้ความรู้กับเกษตรกรและผู้ที่สนใจ ตลอดระยะเวลาการจัดงาน ทั้ง 3 วัน รวมถึงมีการจัดแสดงสินค้าของบริษัทและผู้ค้าปัจจัยการผลิตที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยมีพื้นที่จัดแสดงสินค้ามากกว่า 70 บูท และมีบริษัทสนใจเข้าร่วม...