ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ครั้งแรก! กับงานสัมมนานานาชาติออนไลน์ "สมาร์ทฟู้ดเชน 2020"



องค์กรด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมอาหารญี่ปุ่น เตรียมจัดสัมมนานานาชาติออนไลน์ “สมาร์ทฟู้ดเชน ประจำปี 2563 (International Smart Food Chain Symposium 2020)” การพัฒนาแพลตฟอร์มเชื่อมโยงข้อมูลระดับโลกที่จะช่วยให้การผลิต กระจายและบริโภคอาหารเกิดประสิทธิภาพสูงสุด     

กลุ่มสมาร์ทฟู้ดเชน (Smart Food Chain Consortium) ซึ่งเป็นโครงการของเทคโนโลยีสำหรับอุตสาหกรรมชีวภาพและการเกษตรที่ชาญฉลาดซึ่งบริหารงานโดยโครงการส่งเสริมนวัตกรรมเชิงยุทธศาสตร์ข้ามกระทรวงหรือ Cross-ministerial Strategic Innovation Promotion Program (SIP) และองค์การวิจัยเกษตรและอาหารแห่งชาติ หรือ National Agriculture and Food Research Organization (NARO) และ Keio Research Institute at SFC ได้ร่วมมือกันจัดการประชุมสัมมนานานาชาติเกี่ยวกับสมาร์ทฟู้ดเชน ประจำปี 2563 โดยปีนี้จัดขึ้นเป็นครั้งแรก และได้รับการสนับสนุนจากสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย เพื่อเผยแพร่ตัวอย่างการใช้งานแพลตฟอร์มสมาร์ทฟู้ดเชนที่ชื่อ WAGRI-dev” สู่นานาประเทศในภูมิภาคเอเชียที่ใกล้ชิดกับประเทศญี่ปุ่น เพื่อกระตุ้นให้ประเทศในภูมิภาคเอเชียเข้าร่วมโครงการนี้ อันจะนำไปสู่ความก้าวหน้าทางการเกษตรแบบสมาร์ทในภูมิภาคเอเชีย โดยแพลตฟอร์มดังกล่าวจะใช้ประโยชน์จากโปรแกรมการสร้างนวัตกรรมเชิงกลยุทธ์ (อุตสาหกรรมสมาร์ทไบโอและเทคโนโลยีพื้นฐานด้านการเกษตร) เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงทางข้อมูลตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตทางการเกษตร ป่าไม้ และการประมง ตลอดจนถึงขั้นตอนการบริโภค กล่าวคือช่วยให้เกิดการเชื่อมโยงข้อมูลตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ไปจนถึงปลายน้ำ


โดยกำหนดจัดสัมมนาในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2563G-Lab, Mita Campus, Keio University ประเทศญี่ปุ่น และที่สำนักงานใหญ่ของ FAO ในกรุงโรม ประเทศไทย เวียดนาม และพื้นที่อื่นๆ อีกทั้งเผยแพร่ข้อมูลพร้อมกันในระดับนานาชาติผ่านอินเทอร์เน็ต ไปยัง 20 ประเทศในเอเชีย (ประเทศสมาชิก Asian Productivity Organization)

 

การจัดงานดังกล่าวประกอบด้วย 1.การบรรยายหลักโดย Dr. Rosa Rolle, Senior Enterprise Development Officer, Team Leader, Food Loss and Waste, Nutrition and Food Systems Division เกี่ยวกับ Smart Food System และคุณโคบายาชิ โนริอากิ ผู้รับผิดชอบอุตสาหกรรมสมาร์ทไบโอและเทคโนโลยีพื้นฐานทางการเกษตรภายใต้ SIP 2.การบรรยายหัวข้อความปลอดภัยทางอาหารและสมาร์ทฟู้ดเชน และหัวข้อการแนะนำความพยายามในการใช้ประโยชน์ในการกระจายเครือข่ายสมาร์ทฟู้ดเชน 3.การอภิปรายเกี่ยวกับความเป็นไปได้และความคาดหวังในการพัฒนาสมาร์ทฟู้ดเชนในระดับนานาชาติ ผลกระทบจากระบบสมาร์ทฟู้ดเชน ไม่เพียงในแง่ของเศรษฐกิจและธุรกิจกระจายสินค้า แต่ยังรวมถึงมาตรการป้องกันโรคระบาดโควิด 19 และประเด็นอื่นๆ เกี่ยวกับความปลอดภัยทางอาหารด้วย โดยผู้บรรยายมาจากตัวแทนผู้จัดงานสัมมนา ตัวแทนนักวิชาการ ผู้บรรยายรับเชิญจากในประเทศญี่ปุ่นและประเทศที่เกี่ยวข้อง ซึ่ง ดร.นภดล คีรีเพ็ชร นักวิจัยอาวุโสจากศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ร่วมเป็นผู้บรรยายในงานครั้งนี้ด้วย

จุดมุ่งหมายหลักของการจัดสัมมนาดังกล่าวเพื่อส่งเสริมการเข้าร่วมแพลตฟอร์มข้อมูล WAGRI-dev” ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนในโลกจะช่วยให้เกิดความเป็นไปได้ที่แต่ละประเทศในภูมิภาคเอเชียที่มีความใกล้ชิดกับการเกษตรแบบสมาร์ทของญี่ปุ่น จะได้ใช้ประโยชน์จากสมาร์ทฟู้ดเชนในการพัฒนาการเกษตรนวัตกรรมใหม่ในประเทศญี่ปุ่นและภูมิภาคเอเชียต่อไป

สแกนคิวอาร์โค้ดเพื่อร่วมงานได้ที่นี่


ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนร่วมงานได้ที่เว็บไซต์ https://www.wagri.world/symposium/


 

 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

นวัตกรรมการผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ส่งเสริมรายได้สู่ชุมชน

  วช. เสริมแกร่ง มรภ.อุตรดิตถ์ ผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 IN 1 จากวัสดุเหลือทิ้ง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นักวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ นำองค์ความรู้ และนวัตกรรมการผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ส่งเสริมรายได้พื้นที่เป้าหมาย สร้างเกษตรกรต้นแบบ จ.อุตรดิตถ์ และ จ.สุรินทร์ กว่า 100 ราย แนะใช้ถ่านดูดซับกลิ่น ความชื้น ยกระดับคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้ อมให้ยั่งยืน โดยการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนั กงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จากปัญหาเศษวัสดุเหลือทิ้ งทางการเกษตร อาทิ เปลือกทุเรียน เหง้ามันสำปะหลัง แกนข้าวโพด ข้อไม้ไผ่ รวมถึงเศษกิ่งไม้ริมทาง ยังไม่ได้ถูกนำมาใช้ให้เกิ ดประโยชน์มากนัก  อีกทั้งการจัดการโดยเผาเศษวัสดุ เหลือทิ้งในที่โล่ง ยังเป็นการปล่อยก๊าซเรื อนกระจกและมลสารเข้าสู่ชั้ นบรรยากาศ องค์ความรู้และนวัตกรรมการผลิ ตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 ด้วยวิธีไพโรไลซิส จึงนับเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ ไขประเด็นปัญหาดังกล่าวได้ ขณะนี้นักวิจัยได้ถ่ายทอดองค์ ความรู้และติดตั้งนวัตกรรมแล้ว ประกอบด้วย เตาผลิตถ่านดูดกลิ่นแบบไพโรไลซิ ส เครื่...

เอ็นไอเอ โหมโรง “นิลมังกร” อัดฉีดผลงานนวัตกรรมเด่นพลิกฟื้นเศรษฐกิจหลังโควิด 19 โค้งสุดท้ายก่อนเฟ้นหาสุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยภายใต้ “นิลมังกรแคมเปญ”

  สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายจำนวน 18 หน่วยงาน ได้แก่ ศูนย์แบรนด์เคยู คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค 14 มหาวิทยาลัย หอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย จัดประกาศผลและมอบรางวัล “ สุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยประจำปี 2564 รอบภูมิภาค ( Thailand INNO BIZ Champion 2021 Regional Round) ภายใต้ “ นิลมังกรแคมเปญ ” ให้กับ 20 ธุรกิจนวัตกรรมจาก 4 ภูมิภาค ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ NIA กล่าวว่า “NIA มีหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุน และสร้างความสามารถการแข่งขันของประเทศด้วยการใช้นวัตกรรม ดังนั้นจึงได้ริเริ่มโครงการสุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยระดับภูมิภาค ภายใต้ “ นิลมังกรแคมเปญ ” ขึ้น เพื่อสร้างตัวอย่างการทำธุรกิจนวัตกรรมในภูมิภาคให้คนในพื้นที่ได้เห็นถึงความสำคัญในการพัฒนานวัตกรรมและได้เรียนรู้กระบวนการสร้างธุรกิจนวัตกรรม ผ่านการสื่อสารในรูปแบบของ Edutainment เพื่อให้เป็นที่น่าสนใจ เข้าถึง และเข้าใจกระบวนการสร้างธุรกิ...

2-4 ธันวาคมนี้ พบกันที่ งานสัตว์น้ำไทย 2024 (Thai Aqua Expo 2024)

สมาคมกุ้งตะวันออกไทย ร่วมกับ พันธมิตรในภาคตะวันออก และภาครัฐ ร่วมจัดงานสัตว์น้ำเศรษฐกิจยิ่งใหญ่ประจำปี 2567 งานสัตว์น้ำไทย 2024 (Thai Aqua Expo 2024) ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-3-4 ธันวาคม 2567 ณ โรงแรมซันไรส์ ลากูน โฮเทลแอนด์กอล์ฟ จ.ฉะเชิงเทรา ภายใต้แนวความคิด “ปรับกลยุทธ์สัตว์น้ำไทย สร้างกำไรทุกภาคส่วน” โดยสมาคมกุ้งตะวันออกไทย ร่วมกับ สมาคม สหกรณ์ ชมรม กลุ่มแปลงใหญ่ ในภาคตะวันออกก รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐ และบริษัทเอกชนผู้ร่วมสนับสนุน ภายใต้มีวัตถุประสงค์ของการจัดงาน เพื่อเผยแพร่ความรู้ นวัตกรรม การส่งต่อข้อมูลเพื่อให้เกษตรกร สามารถวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางการตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศ ถ่ายทอดแนวทางการลดต้นทุนตลอดห่วงโซ่ในอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และกระตุ้นให้มีการส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศมากขึ้น ภายในงานมีการเสวนา และสัมมนาให้ความรู้กับเกษตรกรและผู้ที่สนใจ ตลอดระยะเวลาการจัดงาน ทั้ง 3 วัน รวมถึงมีการจัดแสดงสินค้าของบริษัทและผู้ค้าปัจจัยการผลิตที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยมีพื้นที่จัดแสดงสินค้ามากกว่า 70 บูท และมีบริษัทสนใจเข้าร่วม...