ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

โครงการอบรมเกษตรกร “เรื่องการจัดการธาตุอาหารและการใช้ปุ๋ยในนาข้าว” หวังเพิ่มผลผลิตให้มีปริมาณและคุณภาพสูงขึ้น


บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ผู้ผลิตและจำหน่ายปุ๋ยเคมีรายใหญ่ ตราหัววัว-คันไถ ร่วมกับ บริษัท โรงสีศรีแสงดาว (จำกัด) จัดอบรมให้ความรู้กับเกษตรกรเรื่องการจัดการธาตุอาหารและการใช้ปุ๋ยในนาข้าว หวังเกษตรกรนำความรู้ไปพัฒนาการปลูกข้าวให้ได้ผลผลิตสูงขึ้นสนองนโยบายภาครัฐผลักดันการส่งออกข้าวไทยให้เป็นที่หนึ่งในตลาดโลก



นายวัชระ ปิงสุทธิวงศ์ เจ้าหน้าที่บริหารและผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ประธานเปิดโครงการอบรมเกษตรกร กล่าวว่า นโยบายรัฐบาลมีนโยบายพัฒนาข้าวไทยให้มีคุณภาพและปริมาณที่สูงขึ้น รวมทั้งผลักดันการส่งออกให้เป็นที่หนึ่งในตลาดโลก อีกทั้งยังจะเป็นผู้ผลิตอาหารปลอดภัยให้เป็นที่ยอมรับของประเทศต่างๆ บริษัทเล็งเห็นว่าการที่ประเทศไทยจะไปถึงเป้าหมายดังกล่าวได้ เกษตรกรจะต้องมีองค์ความรู้ใหม่ๆ ในเรื่องการจัดการดิน น้ำ การใช้นวัตกรรมด้านการเกษตร ประสบการณ์และภูมิปัญญาจากเกษตรกร รวมทั้งปัจจัยการผลิตทางการเกษตร เพื่อปรับแต่งพืชผลตามที่ต้องการ เช่นเร่งการเจริญเติบโตของใบและต้น รวมทั้งการออกดอกและผลผลิต ดังนั้น จึงได้จัดโครงการอบรมเกษตรกรขึ้น โดยร่วมมือกับภาครัฐ มหาวิทยาลัย ภาคเอกชน และเกษตรกร ซึ่งโครงการอบรมเกษตรกรเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมของบริษัทฯ ที่จัดขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำหรับในครั้งนี้ เป็นเรื่องการจัดการธาตุอาหารและการใช้ปุ๋ยในนาข้าว โดยร่วมมือกับ บริษัท โรงสีศรีแสงดาว จำกัด ทั้งนี้มี รศ.ดร.สุมิตรา ภู่วโรดม นักวิจัยอาวุโส ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มาบรรยายเรื่องการจัดการธาตุอาหารและการใช้ปุ๋ยในนาข้าว และนายสินสมุทร ศรีแสนปาง ผู้จัดการ บริษัท โรงสีศรีแสงดาว จำกัด ร่วมเสวนาเรื่องเทคโนโลยีและนวัตกรรมการปลูกข้าว พร้อมทั้งพาเกษตรกรเยี่ยมชมแปลงปลูกข้าวสาธิต ซึ่งบริษัทฯ ได้ร่วมสนับสนุนปัจจัยการผลิตคือ ปุ๋ยเคมีสูตร 20-8-20 เพื่อใช้ในการวิจัยและทดลองเพื่อเพิ่มผลผลิตให้มีคุณภาพและปริมาณที่สูงขึ้น


รศ.ดร.สุมิตรา ภู่วโรดม นักวิจัยอาวุโส ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า ปัญหาที่เกษตรกรปลูกข้าวแล้วได้ผลผลิตน้อย ส่วนหนึ่งมาจากปัญหาด้านการจัดการธาตุอาหาร การจัดการแปลง และการใช้ปุ๋ยให้ถูกต้องเหมาะสม โดยปกติเกษตรกรมักจะเผาตอซังข้าวก่อนการเตรียมดินปลูก ทำให้สูญเสียธาตุอาหารในดินที่เป็นประโยชน์ไปกับการเผา จึงอยากให้เปลี่ยนเป็นวิธีการไถกลบฟางข้าวแล้วทิ้งไว้ประมาณ 2 เดือน จากนั้นปลูกปอเทืองแล้วไถกลบอีกรอบ เพื่อเป็นปุ๋ยพืชสด และเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ในดิน อีกทั้งแนะนำให้ใส่หินร็อคฟอสเฟต (0-3-0) อัตราไร่ละ 10 กิโลกรัม ร่วมกับการใส่ปูนโดโลไมท์ อัตราไร่ละ 25 กิโลกรัม เพื่อช่วยปรับสภาพดินก่อนการปลูก สำหรับวิธีการปลูก แนะนำให้เปลี่ยนวิธีใหม่ จากเดิมที่เกษตรกรนิยมปลูกข้าวแบบวิธีหว่าน โดยใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวอัตราไร่ละ 25-35 กิโลกรัม มาเป็นวิธีการปลูกข้าวแบบนาหยอด ที่ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวเพียงอัตราไร่ละ 4 กิโลกรัม ระยะปลูก 30x15 เซนติเมตร เป็นการประหยัดต้นทุนด้านเมล็ดพันธุ์ โดยต้นข้าวที่ได้จากวิธีการปลูกแบบหยอดจะขึ้นเป็นแถว มีระยะห่างที่เหมาะสม อากาศถ่ายเทสะดวก ทำให้การจัดการ ดูแลรักษาง่าย ได้รับธาตุอาหารเพียงพอ ส่งผลให้เจริญเติบโตเร็ว แตกกอดี ต้นข้าวมีความสม่ำเสมอกันทั้งแปลง มีจำนวนรวงเยอะ น้ำหนักเมล็ดดี สภาพต้นแข็งแรง ลดการเกิดโรค และทนต่อสภาพแล้งได้ดีกว่าวิธีปลูกข้าวแบบวิธีการหว่าน 


การใส่ปุ๋ยเคมี จะเป็นการใส่ปุ๋ยเคมีตามเป้าหมายของผลผลิต เพิ่มปริมาณปุ๋ยเคมีตามเป้าผลผลิตที่ต้องการ ซึ่งจะแนะนำให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 20-8-20 ทุกระยะการเจริญเติบโต ตลอดทั้งฤดูปลูก แบ่งการใส่ปุ๋ยออกเป็น 2-3 ครั้ง โดยจะใส่ปุ๋ยเคมี เมื่อฝนตกหรือสภาพดินมีความชื้น โดยการใส่ปุ๋ยทุกระยะอัตรารวมกัน จะต้องเท่ากับ 40-50 กิโลกรัมต่อไร่ สำหรับเป้าหมายผลผลิตข้าว 500 กิโลกรัมต่อไร่ รวมทั้งการใช้ธาตุอาหารเสริม คือ ธาตุสังกะสี และโบรอน เพื่อเพิ่มศักยภาพผลผลิต  ถ้าเกษตรกรทำตามขั้นตอนดังกล่าว จะได้ข้าวลำต้นใหญ่ แตกกอดี และมีจำนวนต้นถึง 40-60 ต้นต่อกอ และที่สำคัญ คือ ห้ามตัดใบข้าวเพื่อกระตุ้นให้ข้าวแตกกอ เพราะจะทำให้ได้จำนวนรวงข้าวลดลง ทำให้ผลผลิตลดลง ส่วนการเก็บเกี่ยวผลผลิต ควรเก็บเกี่ยวเมื่อเมล็ดข้าวระยะสุกแก่ มีความชื้นเหมาะสม เลือกใช้รถเกี่ยวที่มีการล้างทำความสะอาดรถและถังบรรจุ ก่อนการเก็บเกี่ยวเพื่อป้องกันปัญหาวัชพืช และพันธุ์ปน หากเกษตรกรปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวนี้ จะสามารถประหยัดเมล็ดพันธุ์ข้าวเทียบกับวิธีเดิมได้ถึง 6-9 เท่า สภาพดินจะมีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะสมกับการปลูกข้าว อีกทั้งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยเคมีได้อย่างคุ้มค่า ลดต้นทุนค่าสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช ได้ผลผลิต และคุณภาพข้าวเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว ข้าวไทยก็จะมีศักยภาพแข่งขันกับตลาดโลกได้ 


ด้าน นายสินสมุทร ศรีแสนปาง ผู้จัดการ บริษัท โรงสีศรีแสงดาว จำกัด ผู้ส่งเสริมและรับซื้อผลผลิตข้าว ทั้งยังเป็นผู้ส่งเสริมการปลูกข้าวแบบนาหยอด และพัฒนาความรู้ด้านเทคโนโลยีการเกษตรให้กับเกษตรกร ด้านนวัตกรรมเครื่องจักรกลการเกษตร กล่าวว่า ทางบริษัทฯ ได้ริเริ่มดำเนินโครงการ “ศรีแสงดาวหมู่บ้านนาหยอด ทำน้อย ได้มาก” เพื่อต้องการเพิ่มศักยภาพผลผลิต และคุณภาพของข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 จึงได้จัดทำโครงการแปลงทดลอง และแปลงสาธิตการผลิตข้าว เพื่อส่งเสริมแนวทางให้กับเกษตรกรในพื้นที่ โดยได้ใช้ข้าวพันธุ์ ขาวดอกมะลิ 105 ชั้นพันธุ์ขยาย อัตราการใช้เมล็ดพันธุ์ 900 กรัม ต่อไร่ (โดยทั่วไปเกษตรกรจะใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวอัตรา 20-35 กิโลกรัมต่อไร่) เพื่อทดสอบประสิทธิการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิต รวมถึงการใช้เทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่ในการจัดการแปลงผลิตข้าว ได้แก่ เทคโนโลยีการปรับระดับที่นาด้วยระบบเลเซอร์ (Laser Land Leveling) เทคโนโลยีการหยอดข้าวด้วยระบบ GPS (ครั้งแรกในประเทศไทย) และการใช้โดรนหว่านปุ๋ยเคมี และฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรค และแมลง ประกอบกับการจัดการด้านธาตุอาหารพืช การใช้ปุ๋ยเคมีอย่างถูกต้องเหมาะสม ตรงตามความต้องการของพืช และการจัดการโครงสร้างและความอุดมสมบูรณ์ดิน  ทำให้ได้ผลผลิตข้าวที่มีคุณภาพ และผลผลิตเพิ่มมากขึ้น


นางสังวร พลอาสา ประธานกลุ่มจีไอ กู่กาสิงห์ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวหอมมะลิทุ่งกุลา บ้านกู่กาสิงห์ ต.กู่กาสิงห์ อ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด เล่าว่า ทำนามาตั้งแต่บรรพบุรุษ มีวิธีการปลูกแบบทำตามๆ กัน ใครว่าปุ๋ยไหนดีก็ใส่ตามกัน และให้ปุ๋ยเหมือนเดิมทุกครั้ง ปลูกกันแบบบ้านๆ พึ่งแต่ฟ้าฝน ไม่มีเทคโนโลยีใดมาช่วยเลย ผลผลิตที่ได้คือไร่ละ 300 กิโลกรัม ราคาขายค่อนข้างดีก็พออยู่ได้ พอมาปีที่แล้ว ได้เข้าร่วมโครงการอบรมเกษตรกร การจัดการธาตุอาหาร และการใช้ปุ๋ยในนาข้าว ความคิดและวิธีการปลูกข้าวแบบเดิมๆ ก็เปลี่ยนไป จึงได้เริ่มเปลี่ยนวิธีการปลูกตั้งแต่ขั้นตอนเตรียมดิน การบริหารจัดการ การใส่ปุ๋ยอย่างถูกต้อง  รวมไปถึงการเก็บเกี่ยว อย่างเช่นวิธีการปลูกข้าว แบบเดิมๆ จะปลูกช่วงเดือน เม.ย.-พ.ค. ก็จะเปลี่ยนมาเป็นกลางเดือน มิ.ย.- ต้นเดือน ก.ค. เพราะปลูกแบบเดิมมักเจอฝนทิ้งช่วงข้าวมักตาย จากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง การเตรียมดิน ต้องเปลี่ยนความคิดอย่าเผาตอซัง และการใส่ปุ๋ยตรงตามสูตร และอัตราส่วนที่ถูกต้อง ทำให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นจริง ๆ

สำหรับเกษตรกร และผู้ที่สนใจในผลิตภัณฑ์ปุ๋ย ตราหัววัว - คันไถ และอื่นๆ ของบริษัท ไทยเซ็นทรัลเคมี จำกัด (มหาชน) รวมถึงโครงการอบรมต่างๆ  สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 02-639-8888 หรือติดตามข่าวสารของบริษัทผ่านทางเพจเฟซบุ้ก : ปุ๋ยเต็มสูตร ตรา หัววัว-คันไถ




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

นวัตกรรมการผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ส่งเสริมรายได้สู่ชุมชน

  วช. เสริมแกร่ง มรภ.อุตรดิตถ์ ผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 IN 1 จากวัสดุเหลือทิ้ง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นักวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ นำองค์ความรู้ และนวัตกรรมการผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ส่งเสริมรายได้พื้นที่เป้าหมาย สร้างเกษตรกรต้นแบบ จ.อุตรดิตถ์ และ จ.สุรินทร์ กว่า 100 ราย แนะใช้ถ่านดูดซับกลิ่น ความชื้น ยกระดับคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้ อมให้ยั่งยืน โดยการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนั กงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จากปัญหาเศษวัสดุเหลือทิ้ งทางการเกษตร อาทิ เปลือกทุเรียน เหง้ามันสำปะหลัง แกนข้าวโพด ข้อไม้ไผ่ รวมถึงเศษกิ่งไม้ริมทาง ยังไม่ได้ถูกนำมาใช้ให้เกิ ดประโยชน์มากนัก  อีกทั้งการจัดการโดยเผาเศษวัสดุ เหลือทิ้งในที่โล่ง ยังเป็นการปล่อยก๊าซเรื อนกระจกและมลสารเข้าสู่ชั้ นบรรยากาศ องค์ความรู้และนวัตกรรมการผลิ ตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 ด้วยวิธีไพโรไลซิส จึงนับเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ ไขประเด็นปัญหาดังกล่าวได้ ขณะนี้นักวิจัยได้ถ่ายทอดองค์ ความรู้และติดตั้งนวัตกรรมแล้ว ประกอบด้วย เตาผลิตถ่านดูดกลิ่นแบบไพโรไลซิ ส เครื่...

เอ็นไอเอ โหมโรง “นิลมังกร” อัดฉีดผลงานนวัตกรรมเด่นพลิกฟื้นเศรษฐกิจหลังโควิด 19 โค้งสุดท้ายก่อนเฟ้นหาสุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยภายใต้ “นิลมังกรแคมเปญ”

  สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายจำนวน 18 หน่วยงาน ได้แก่ ศูนย์แบรนด์เคยู คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค 14 มหาวิทยาลัย หอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย จัดประกาศผลและมอบรางวัล “ สุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยประจำปี 2564 รอบภูมิภาค ( Thailand INNO BIZ Champion 2021 Regional Round) ภายใต้ “ นิลมังกรแคมเปญ ” ให้กับ 20 ธุรกิจนวัตกรรมจาก 4 ภูมิภาค ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ NIA กล่าวว่า “NIA มีหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุน และสร้างความสามารถการแข่งขันของประเทศด้วยการใช้นวัตกรรม ดังนั้นจึงได้ริเริ่มโครงการสุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยระดับภูมิภาค ภายใต้ “ นิลมังกรแคมเปญ ” ขึ้น เพื่อสร้างตัวอย่างการทำธุรกิจนวัตกรรมในภูมิภาคให้คนในพื้นที่ได้เห็นถึงความสำคัญในการพัฒนานวัตกรรมและได้เรียนรู้กระบวนการสร้างธุรกิจนวัตกรรม ผ่านการสื่อสารในรูปแบบของ Edutainment เพื่อให้เป็นที่น่าสนใจ เข้าถึง และเข้าใจกระบวนการสร้างธุรกิ...

2-4 ธันวาคมนี้ พบกันที่ งานสัตว์น้ำไทย 2024 (Thai Aqua Expo 2024)

สมาคมกุ้งตะวันออกไทย ร่วมกับ พันธมิตรในภาคตะวันออก และภาครัฐ ร่วมจัดงานสัตว์น้ำเศรษฐกิจยิ่งใหญ่ประจำปี 2567 งานสัตว์น้ำไทย 2024 (Thai Aqua Expo 2024) ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-3-4 ธันวาคม 2567 ณ โรงแรมซันไรส์ ลากูน โฮเทลแอนด์กอล์ฟ จ.ฉะเชิงเทรา ภายใต้แนวความคิด “ปรับกลยุทธ์สัตว์น้ำไทย สร้างกำไรทุกภาคส่วน” โดยสมาคมกุ้งตะวันออกไทย ร่วมกับ สมาคม สหกรณ์ ชมรม กลุ่มแปลงใหญ่ ในภาคตะวันออกก รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐ และบริษัทเอกชนผู้ร่วมสนับสนุน ภายใต้มีวัตถุประสงค์ของการจัดงาน เพื่อเผยแพร่ความรู้ นวัตกรรม การส่งต่อข้อมูลเพื่อให้เกษตรกร สามารถวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางการตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศ ถ่ายทอดแนวทางการลดต้นทุนตลอดห่วงโซ่ในอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และกระตุ้นให้มีการส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศมากขึ้น ภายในงานมีการเสวนา และสัมมนาให้ความรู้กับเกษตรกรและผู้ที่สนใจ ตลอดระยะเวลาการจัดงาน ทั้ง 3 วัน รวมถึงมีการจัดแสดงสินค้าของบริษัทและผู้ค้าปัจจัยการผลิตที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยมีพื้นที่จัดแสดงสินค้ามากกว่า 70 บูท และมีบริษัทสนใจเข้าร่วม...