ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

วว. ขับเคลื่อน Total Solutions for SMEs ในงาน Pro Pak Asia 2020 เปิดกิจกรรม “Brand DNA Season 6” พัฒนาผู้ประกอบการ ค้นหาอัตลักษณ์แท้จริงของแบรนด์ เสริมแกร่งการแข่งขันในตลาดโลก

 


สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)  ขับเคลื่อน Total  Solutions  for  SMEs  เปิดกิจกรรม “Brand  DNA  Season 6” ในงาน PRO PAK  ASIA  2020  ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมไบเทค บางนา มุ่งพัฒนาผู้ประกอบการค้นหาอัตลักษณ์ที่แท้จริงของแบรนด์ ปูทางต่อยอดสู่การออกแบบบรรจุภัณฑ์ทั้งกราฟิกดีไซน์ การเลือกใช้ประเภทวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมกับสินค้าให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก พร้อมจัดสัมมนา “กุญแจสู่ความสำเร็จในการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากวัตถุดิบสู่ท้องตลาด” มุ่งเผยแพร่ความรู้ ข้อมูลแบบบูรณาการ ซึ่ง วว. พร้อมสนับสนุน SMEs ในด้านการพัฒนาสินค้า ส่วนผสม การบรรจุภัณฑ์ สู่การจำหน่ายในตลาดอย่างแท้จริง โชว์นิทรรศการ ผลงานวิจัยพัฒนา บริการอุตสาหกรรม “Total  Solution : Innovation  for  healthy  life  and  beauty” เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจ เสริมศักยภาพผู้ประกอบการให้เข้มแข็ง


ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว. กล่าวในโอกาสเป็นประธานเปิดกิจกรรม “Brand  DNA  Season 6” ว่า  วว. มีพันธกิจหลักคือสนับสนุนผู้ประกอบการ OTOP SMEs จากประสบการณ์ในการดำเนินงานที่ผ่านมาพบว่า ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพ เก่ง ไม่แพ้ชาติใดในโลก ดังนั้นเพื่อให้ความคิดเป็นรูปธรรม วว. จึงได้ออกแบบหลักสูตร “ค้นหา BRAND DNA กำหนดทิศทางของแบรนด์และองค์กรด้วย DNA” ค้นหาอัตลักษณ์ที่แท้จริงของแบรนด์ หรือ Brand DNA” ปูทางต่อยอดสู่การออกแบบบรรจุภัณฑ์ทั้งกราฟิกดีไซน์และการเลือกใช้ประเภทวัสดุบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมกับสินค้า โดยจะมีผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาบรรจุภัณฑ์และการตลาดมาแบ่งปันความรู้ โดยมีจุดมุ่งหมายคือ เพื่อให้ได้ตัวตนที่แท้จริงก่อนที่จะเข้าสู่ขั้นตอนการออกแบบตราสินค้าหรือแบรนด์และบรรจุภัณฑ์ ตลอดจนแนวคิดในการปรับปรุงบรรจุภัณฑ์ให้มีภาพลักษณ์เป็นที่ยอมรับและสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก



ทั้งนี้ วว. จัดกิจกรรม “Brand  DNA” มาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 5 ปีแล้ว โดยเฉพาะรูปแบบ Road show  4 ภาค ซึ่งผู้ประกอบการให้การตอบรับเข้าร่วมกิจกรรมจำนวนมาก ด้วยภารกิจของ วว. ที่ต้องการพัฒนาผู้ประกอบการในประเทศไทย ซึ่งไม่กระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลเท่านั้น จึงได้ขยายการอบรมไปทั้ง 4 ภูมิภาค คือ ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคใต้ และภาคกลาง ซึ่งมีมากกว่า 500 บริษัท ที่ร่วมส่งผลิตภัณฑ์เข้าร่วมโครงการ โดยทาง วว. ได้คัดสรรผู้ประกอบการกว่า 50 ราย เพื่อเข้าอบรมแบบเข้มข้นในการค้นหา DNA ของผลิตภัณฑ์ และในการจัดกิจกรรมครั้งที่ 6  วว. เริ่มเปิดรับสมัครผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการแล้ว โดยผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและเข้าเยี่ยมชมตัวอย่างผลงาน “Brand  DNA” ได้ที่บูธนิทรรศการแสดงผลงานของ วว.  ในงาน PRO PAK  ASIA  2020  ณ  Hall 103  ไบเทค บางนา ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 21- 23 ตุลาคม 2563

“...Packaging จะไม่ใช่แค่เพียง Packaging อีกต่อไป หากคุณเข้าใจ DNA ของผลิตภัณฑ์ เมื่อเข้าใจผลิตภัณฑ์อย่างถ่องแท้ถึงคุณสมบัติ จะสามารถถ่ายทอด DNA ออกมาทาง Package ได้เป็นอย่างดี…” ผู้ว่าการ วว. กล่าว



ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต กล่าวต่อว่า การสนับสนุนผู้ประกอบภายใต้กิจกรรม “Brand  DNA” นั้น วว. จะให้การสนับสนุนทั้งผู้ประกอบการที่มีประสบการณ์และผู้ประกอบการหน้าใหม่ที่มีไอเดียดีๆ รวมถึง Start-up ที่มีความคิด มีไอเดีย แต่ยังไม่มีช่องทาง ไม่มีอุปกรณ์ในการเริ่มต้นผลิตสินค้า ในส่วนนี้ วว. พร้อมเสมอที่จะสนับสนุนนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้าไปช่วย วว. มีความพร้อมทั้งเทคโนโลยี บุคลากร  โครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งเครื่องมือพร้อมใช้ที่จะช่วยสนับสนุนให้ผู้ประกอบการหน้าใหม่สามารถผลิตสินค้าและทำสินค้าให้ได้คุณภาพมาตรฐาน เพื่อทำความฝันของผู้ประกอบการให้กลายเป็นความจริง มีความเข้มแข็งในการประกอบธุรกิจ

“... วว. มีประสบการณ์สูงในการทำงานทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีงานวิจัยที่พร้อมใช้ ซึ่งสามารถเข้าไปช่วยขับเคลื่อนและสร้างความได้เปรียบให้กับผู้ประกอบการ ให้มีความเข้มแข็ง ต่อยอดความคิดให้เกิดเป็นนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อนำไปสู่การผลิตในเชิงพาณิชย์อย่างแท้จริงต่อไป...” ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต กล่าว 


โอกาสเดียวกันนี้ ผู้ว่าการ วว. ยังได้เป็นประธานเปิดการสัมมนาเรื่อง “กุญแจสู่ความสำเร็จในการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากวัตถุดิบสู่ท้องตลาด” ณ ห้อง GH 201 ไบเทค บางนา  ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม แบบบูรณาการ หรือ Total Solutions for SMEs ที่ วว. สามารถให้การสนับสนุนมาใช้ในการยกระดับคุณภาพวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ และกระบวนการผลิตให้ได้มาตรฐานสากล อันจะนำไปสู่การขยายตลาดใหม่ๆ ทั้งในและต่างประเทศ  รวมทั้งพัฒนาขีดความสามารถและสร้างความตระหนักให้กับผู้ประกอบการไทยในการแข่งขันด้วยคุณภาพมาตรฐาน และการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองความต้องการของตลาด เสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน


ในการสัมมนาครั้งนี้  วว. นำองค์ความรู้ที่ผ่านการวิจัยและพัฒนา  การนำไปใช้จริง บรรยายร่วมแบ่งปันประสบการณ์ ถ่ายทอดความรู้ในครั้งนี้ ประกอบด้วยเนื้อหามุ่งตอบโจทย์ให้กับผู้ประกอบการที่ต้องการหาความรู้และความเข้าใจในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตัวเองในการเข้าสู่ตลาด ไม่ว่าจะเป็นการหาวัตถุดิบ  การแปรรูป  การตรวจสอบบรรจุภัณฑ์และการควบคุมคุณภาพ ดังนี้  1. การเลือกใช้สารทดแทนจากธรรมชาติ เพื่อสุขภาพและความงาม โดย  ดร.สมกมล  อินทวงศ์  นักวิจัย วว. 2.นวัตกรรมและเทคโนโลยีการแปรรูปอาหารและเครื่องดื่ม   โดย  ดร.กฤตลักษณ์  ปะสะกวี   นักวิจัย วว. 3.การประเมินอายุการเก็บผลิตภัณฑ์อาหารและการทดสอบบรรจุภัณฑ์อาหาร  โดย  ดร.รัชนีวรรณ กุลจันทร์  ผอ.ห้องปฏิบัติการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ วว. และคุณนันทนีย์ ไชยมังคลายนต์ นักวิจัย วว.  และ 3.การเลือกใช้สารออกฤทธิ์จากธรรมชาติเพื่อสุขภาพและความงาม  โดย  ดร.ดวงกมล  เจริญวงศ์  นักวิจัยอาวุโส  วว. ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการเข้าร่วมการสัมมนามากกว่า 200 ท่าน

 การขับเคลื่อน Total Solutions for SMEs ของ วว. ในงาน  PRO PAK  ASIA  2020 หรือ งานแสดงสินค้าอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีด้านกระบวนการผลิต การแปรรูปและบรรจุภัณฑ์ แห่งภูมิภาคเอเชีย  ครั้งที่ 28  ซึ่งบริษัทอินฟอร์ม่าฯ จัดขึ้น ระหว่างวันที่  20-23 ตุลาคม  2563  เวลา 09.00-18.00 น.  ณ  Hall 103-104   ศูนย์แสดงนิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา  นั้น  นอกจากการจัดกิจกรรมดังกล่าวแล้ว  วว. ยังนำผลงานวิจัยพัฒนา บริการอุตสาหกรรม ร่วมจัดแสดงนิทรรศการ  ณ  Hall 103   ใน Theme  “Total  Solution : Innovation  for  healthy  life  and  beauty”  เพื่อร่วมขับเคลื่อน สร้างโอกาสทางธุรกิจ เสริมศักยภาพผู้ประกอบการ โดยเฉพาะ SMEs ให้เข้มแข็งยิ่งขึ้นด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ผ่านการนำเสนอผลงานโดยศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมของ วว. ด้านอาหารสุขภาพ (โรงงานบริการนวัตกรรมอาหาร)  ผลิตภัณฑ์สมุนไพร (เวชสำอาง & ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร) ความหลากหลายทางชีวภาพ (จุลินทรีย์ & สาหร่าย) ศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา ศูนย์การบรรจุหีบห่อไทย (ผลงาน Brand DNA/การวิจัยทดสอบบรรจุภัณฑ์) และสำนักรับรองระบบคุณภาพ พร้อมทั้งการให้คำแนะนำปรึกษาด้านการให้บริการอย่างครบวงจร


ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต กล่าวในตอนท้ายว่า นอกจากจะมีการจัดสัมมนาเพื่อเสริมสร้างศักยภาพของผู้ประกอบการในครั้งนี้แล้ว ในปี พ.ศ. 2565 นับเป็นโอกาสอันดีที่ประเทศไทย โดย วว. ได้รับเลือกจาก International Association of Packaging Research Institute (IAPRI) ให้เป็นเจ้าภาพหลักจัดการประชุมวิชาการนานาชาติ “23rd IAPRI World Conference on Packaging 2022” ระหว่างวันที่ 12-16 มิถุนายน 2565 กิจกรรมประกอบด้วย การนำเสนอผลงานวิจัยนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์จากนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านบรรจุภัณฑ์จากทั่วโลก ซึ่งจะเป็นเวทีสำคัญในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ด้านบรรจุภัณฑ์ ตลอดจนสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนางานวิจัยกับหน่วยงานที่มีชื่อเสียงในต่างประเทศ อีกทั้งยังเป็นการช่วยเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ประเทศไทยให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง  วว. ขอเชิญชวนนักวิชาการด้านบรรจุภัณฑ์ทุกท่านเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการประชุมวิชาการดังกล่าว

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม และขอรับบริการด้านบรรจุภัณฑ์จาก วว. ได้ที่ ศูนย์การบรรจุหีบห่อไทย ซึ่งเป็น ศูนย์กลางเทคโนโลยีด้านบรรจุภัณฑ์แห่งชาติ ที่มีความพร้อมด้านเทคโนโลยีด้านบรรจุภัณฑ์ และงานบริการวิเคราะห์ทดสอบด้านบรรจุภัณฑ์อย่างครบวงจร เพื่อรองรับความต้องการของทุกภาคส่วน  เลขที่ 196  ถ.พหลโยธิน  เขตจตุจักร  กรุงเทพฯ  10900  โทร 2579 1121 ต่อ 3101, 3208, 081 702 8377   E-mail  : TPC-tistr@tistr.or.th   





 











ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

นวัตกรรมการผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ส่งเสริมรายได้สู่ชุมชน

  วช. เสริมแกร่ง มรภ.อุตรดิตถ์ ผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 IN 1 จากวัสดุเหลือทิ้ง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นักวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ นำองค์ความรู้ และนวัตกรรมการผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ส่งเสริมรายได้พื้นที่เป้าหมาย สร้างเกษตรกรต้นแบบ จ.อุตรดิตถ์ และ จ.สุรินทร์ กว่า 100 ราย แนะใช้ถ่านดูดซับกลิ่น ความชื้น ยกระดับคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้ อมให้ยั่งยืน โดยการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนั กงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จากปัญหาเศษวัสดุเหลือทิ้ งทางการเกษตร อาทิ เปลือกทุเรียน เหง้ามันสำปะหลัง แกนข้าวโพด ข้อไม้ไผ่ รวมถึงเศษกิ่งไม้ริมทาง ยังไม่ได้ถูกนำมาใช้ให้เกิ ดประโยชน์มากนัก  อีกทั้งการจัดการโดยเผาเศษวัสดุ เหลือทิ้งในที่โล่ง ยังเป็นการปล่อยก๊าซเรื อนกระจกและมลสารเข้าสู่ชั้ นบรรยากาศ องค์ความรู้และนวัตกรรมการผลิ ตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 ด้วยวิธีไพโรไลซิส จึงนับเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ ไขประเด็นปัญหาดังกล่าวได้ ขณะนี้นักวิจัยได้ถ่ายทอดองค์ ความรู้และติดตั้งนวัตกรรมแล้ว ประกอบด้วย เตาผลิตถ่านดูดกลิ่นแบบไพโรไลซิ ส เครื่...

เอ็นไอเอ โหมโรง “นิลมังกร” อัดฉีดผลงานนวัตกรรมเด่นพลิกฟื้นเศรษฐกิจหลังโควิด 19 โค้งสุดท้ายก่อนเฟ้นหาสุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยภายใต้ “นิลมังกรแคมเปญ”

  สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายจำนวน 18 หน่วยงาน ได้แก่ ศูนย์แบรนด์เคยู คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค 14 มหาวิทยาลัย หอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย จัดประกาศผลและมอบรางวัล “ สุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยประจำปี 2564 รอบภูมิภาค ( Thailand INNO BIZ Champion 2021 Regional Round) ภายใต้ “ นิลมังกรแคมเปญ ” ให้กับ 20 ธุรกิจนวัตกรรมจาก 4 ภูมิภาค ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ NIA กล่าวว่า “NIA มีหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุน และสร้างความสามารถการแข่งขันของประเทศด้วยการใช้นวัตกรรม ดังนั้นจึงได้ริเริ่มโครงการสุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยระดับภูมิภาค ภายใต้ “ นิลมังกรแคมเปญ ” ขึ้น เพื่อสร้างตัวอย่างการทำธุรกิจนวัตกรรมในภูมิภาคให้คนในพื้นที่ได้เห็นถึงความสำคัญในการพัฒนานวัตกรรมและได้เรียนรู้กระบวนการสร้างธุรกิจนวัตกรรม ผ่านการสื่อสารในรูปแบบของ Edutainment เพื่อให้เป็นที่น่าสนใจ เข้าถึง และเข้าใจกระบวนการสร้างธุรกิ...

2-4 ธันวาคมนี้ พบกันที่ งานสัตว์น้ำไทย 2024 (Thai Aqua Expo 2024)

สมาคมกุ้งตะวันออกไทย ร่วมกับ พันธมิตรในภาคตะวันออก และภาครัฐ ร่วมจัดงานสัตว์น้ำเศรษฐกิจยิ่งใหญ่ประจำปี 2567 งานสัตว์น้ำไทย 2024 (Thai Aqua Expo 2024) ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-3-4 ธันวาคม 2567 ณ โรงแรมซันไรส์ ลากูน โฮเทลแอนด์กอล์ฟ จ.ฉะเชิงเทรา ภายใต้แนวความคิด “ปรับกลยุทธ์สัตว์น้ำไทย สร้างกำไรทุกภาคส่วน” โดยสมาคมกุ้งตะวันออกไทย ร่วมกับ สมาคม สหกรณ์ ชมรม กลุ่มแปลงใหญ่ ในภาคตะวันออกก รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐ และบริษัทเอกชนผู้ร่วมสนับสนุน ภายใต้มีวัตถุประสงค์ของการจัดงาน เพื่อเผยแพร่ความรู้ นวัตกรรม การส่งต่อข้อมูลเพื่อให้เกษตรกร สามารถวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางการตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศ ถ่ายทอดแนวทางการลดต้นทุนตลอดห่วงโซ่ในอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และกระตุ้นให้มีการส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศมากขึ้น ภายในงานมีการเสวนา และสัมมนาให้ความรู้กับเกษตรกรและผู้ที่สนใจ ตลอดระยะเวลาการจัดงาน ทั้ง 3 วัน รวมถึงมีการจัดแสดงสินค้าของบริษัทและผู้ค้าปัจจัยการผลิตที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยมีพื้นที่จัดแสดงสินค้ามากกว่า 70 บูท และมีบริษัทสนใจเข้าร่วม...