ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ ดิน ปุ๋ย พืช วว. ผ่านการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการทดสอบจาก วศ.

 


สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม  (อว.) โดย ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ดิน ปุ๋ยและพืช ได้รับการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการทดสอบจากการตรวจประเมินโดยสำนักบริหารและรับรองห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) ด้วยมาตรฐานการวิเคราะห์ภายใต้ระบบ ISO 17025 : 2017 ในระดับสากล

ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว. กล่าวว่า วว. โดยห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ดิน ปุ๋ยและพืช  ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ ได้รับการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการทดสอบ จากการตรวจประเมินโดย กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) ในฐานะที่มีความพร้อมทางด้านระบบบริหารงานคุณภาพและด้านวิชาการ ภายใต้ระบบ ISO 17025 ซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ซึ่งทาง วว. ได้รับการรับรองในขอบข่ายของความเป็นกรด-ด่าง ของดิน และค่าการนำไฟฟ้าของดิน


ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ดิน ปุ๋ยและพืช  วว. มีหน้าที่รับผิดชอบให้บริการด้านการตรวจวิเคราะห์/ทดสอบตัวอย่างดิน น้ำ พืช ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ ให้แก่หน่วยงานทั้งส่วนราชการ สถาบันการศึกษา อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดเล็ก ผู้ประกอบการชุมชนและบุคคลทั่วไป ด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญของนักวิจัยและนักเคมีวิเคราะห์ โดยจะให้บริการวิเคราะห์ฯ จำนวน 36 รายการ  ดังนี้ 



1. ขนาดปุ๋ย  2.ปริมาณความชื้นและสิ่งที่ระเหยได้ 3.ปริมาณหิน กรวด ทราย 4.พลาสติก แก้ว วัสดุมีคมและโลหะอื่นๆ 5.ค่าความเป็นกรด-ด่าง 6.ค่าการนำไฟฟ้า 7.ค่าอินทรียวัตถุ 8.ไนโตรเจนทั้งหมด 9.ฟอสเฟตทั้งหมด 10.โพแทชทั้งหมด 11.อัตราส่วนของธาตุคาร์บอนต่อธาตุไนโตรเจน 12.การย่อยสลายที่สมบูรณ์ 13.สารหนู 14.ปริมาณเกลือ 15.แคดเมียม 16.ตะกั่ว 17.โครเมียม 18. ปรอท 19.ทองแดง  20.สังกะสี  21.แมงกานีส 22.ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ 23.โพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ 24.แคลเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ 25.แมกนีเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ 26.โซเดียมที่แลกเปลี่ยนได้ 27.ความอิ่มตัวด้วยด่าง  28.ความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวก 29.เหล็กที่แลกเปลี่ยนได้ 30.ทองแดงที่แลกเปลี่ยนได้ 31.แมงกานีสที่แลกเปลี่ยนได้ 32.สังกะสีที่แลกเปลี่ยนได้ 33.จุลินทรีย์ทั้งหมด 34.แบคทีเรียกลุ่มแลคติก 35.แบคทีเรียกลุ่มบาซิลลัส  และ 36.จุลินทรีย์ละลายฟอสฟอรัส


สำหรับวิธีการเก็บตัวอย่างดิน เพื่อส่งมาวิเคราะห์ยังห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ดิน ปุ๋ยและพืช ของ  วว.  มีวิธีการ  ดังนี้ 1.แบ่งพื้นที่เก็บตัวอย่างดิน  2.กรณีพืชรากสั้น เก็บดินแต่ละแปลงย่อย โดยเก็บกระจายที่แปลงๆละ 15 จุด และกรณีพืชรากลึก  ให้เลือกพืช 15-20 ต้นต่อแปลง เก็บรอบทรงพุ่ม  2-4  จุดต่อต้น ดินที่ได้นำมารวมกัน  3.หากมีหญ้าและ/หรือเศษวัสดุคลุมดินให้ถางและกวาดออกให้ได้มากที่สุด  4.ขุดหลุมเป็นรูปตัว ลึกประมาณ  1 หน้าจอบ ใช้จอบเซาะดินที่ขอบหลุมทิ้ง แล้วจึงเก็บดินตัวอย่างใส่ถุงพลาสติก และ 5.คลุกดินทั้งหมดเข้าด้วยกัน  ผึ่งให้แห้งในที่ร่ม โดยมีวิธีการแบ่งคือ เกลี่ยตัวอย่างดินแผ่ให้เป็นรูปวงกลมแล้วแบ่งผ่ากลางออกเป็น 4 ส่วนเท่ากัน เก็บดินมาเพียง 1 ส่วน หนักประมาณ  1 กิโลกรัม ใส่ถุงพลาสติกที่สะอาด เพื่อส่งวิเคราะห์


ผู้สนใจสามารถขอใช้บริการจาก ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ดิน ปุ๋ยและพืช ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ วว. ติดต่อได้ที่ กลุ่มบริการวิเคราะห์/ทดสอบ โทร. 02 577 9018 และส่งตัวอย่างเพื่อการทดสอบ ได้ที่ อาคารศูนย์บริการวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีปุ๋ยอินทรีย์เคมีขั้นสูง วว. เทคโนธานี ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี  โทรศัพท์ 0 2577 9018






ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

นวัตกรรมการผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ส่งเสริมรายได้สู่ชุมชน

  วช. เสริมแกร่ง มรภ.อุตรดิตถ์ ผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 IN 1 จากวัสดุเหลือทิ้ง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นักวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ นำองค์ความรู้ และนวัตกรรมการผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ส่งเสริมรายได้พื้นที่เป้าหมาย สร้างเกษตรกรต้นแบบ จ.อุตรดิตถ์ และ จ.สุรินทร์ กว่า 100 ราย แนะใช้ถ่านดูดซับกลิ่น ความชื้น ยกระดับคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้ อมให้ยั่งยืน โดยการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนั กงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จากปัญหาเศษวัสดุเหลือทิ้ งทางการเกษตร อาทิ เปลือกทุเรียน เหง้ามันสำปะหลัง แกนข้าวโพด ข้อไม้ไผ่ รวมถึงเศษกิ่งไม้ริมทาง ยังไม่ได้ถูกนำมาใช้ให้เกิ ดประโยชน์มากนัก  อีกทั้งการจัดการโดยเผาเศษวัสดุ เหลือทิ้งในที่โล่ง ยังเป็นการปล่อยก๊าซเรื อนกระจกและมลสารเข้าสู่ชั้ นบรรยากาศ องค์ความรู้และนวัตกรรมการผลิ ตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 ด้วยวิธีไพโรไลซิส จึงนับเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ ไขประเด็นปัญหาดังกล่าวได้ ขณะนี้นักวิจัยได้ถ่ายทอดองค์ ความรู้และติดตั้งนวัตกรรมแล้ว ประกอบด้วย เตาผลิตถ่านดูดกลิ่นแบบไพโรไลซิ ส เครื่...

เอ็นไอเอ โหมโรง “นิลมังกร” อัดฉีดผลงานนวัตกรรมเด่นพลิกฟื้นเศรษฐกิจหลังโควิด 19 โค้งสุดท้ายก่อนเฟ้นหาสุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยภายใต้ “นิลมังกรแคมเปญ”

  สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายจำนวน 18 หน่วยงาน ได้แก่ ศูนย์แบรนด์เคยู คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค 14 มหาวิทยาลัย หอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย จัดประกาศผลและมอบรางวัล “ สุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยประจำปี 2564 รอบภูมิภาค ( Thailand INNO BIZ Champion 2021 Regional Round) ภายใต้ “ นิลมังกรแคมเปญ ” ให้กับ 20 ธุรกิจนวัตกรรมจาก 4 ภูมิภาค ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ NIA กล่าวว่า “NIA มีหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุน และสร้างความสามารถการแข่งขันของประเทศด้วยการใช้นวัตกรรม ดังนั้นจึงได้ริเริ่มโครงการสุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยระดับภูมิภาค ภายใต้ “ นิลมังกรแคมเปญ ” ขึ้น เพื่อสร้างตัวอย่างการทำธุรกิจนวัตกรรมในภูมิภาคให้คนในพื้นที่ได้เห็นถึงความสำคัญในการพัฒนานวัตกรรมและได้เรียนรู้กระบวนการสร้างธุรกิจนวัตกรรม ผ่านการสื่อสารในรูปแบบของ Edutainment เพื่อให้เป็นที่น่าสนใจ เข้าถึง และเข้าใจกระบวนการสร้างธุรกิ...

2-4 ธันวาคมนี้ พบกันที่ งานสัตว์น้ำไทย 2024 (Thai Aqua Expo 2024)

สมาคมกุ้งตะวันออกไทย ร่วมกับ พันธมิตรในภาคตะวันออก และภาครัฐ ร่วมจัดงานสัตว์น้ำเศรษฐกิจยิ่งใหญ่ประจำปี 2567 งานสัตว์น้ำไทย 2024 (Thai Aqua Expo 2024) ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-3-4 ธันวาคม 2567 ณ โรงแรมซันไรส์ ลากูน โฮเทลแอนด์กอล์ฟ จ.ฉะเชิงเทรา ภายใต้แนวความคิด “ปรับกลยุทธ์สัตว์น้ำไทย สร้างกำไรทุกภาคส่วน” โดยสมาคมกุ้งตะวันออกไทย ร่วมกับ สมาคม สหกรณ์ ชมรม กลุ่มแปลงใหญ่ ในภาคตะวันออกก รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐ และบริษัทเอกชนผู้ร่วมสนับสนุน ภายใต้มีวัตถุประสงค์ของการจัดงาน เพื่อเผยแพร่ความรู้ นวัตกรรม การส่งต่อข้อมูลเพื่อให้เกษตรกร สามารถวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางการตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศ ถ่ายทอดแนวทางการลดต้นทุนตลอดห่วงโซ่ในอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และกระตุ้นให้มีการส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศมากขึ้น ภายในงานมีการเสวนา และสัมมนาให้ความรู้กับเกษตรกรและผู้ที่สนใจ ตลอดระยะเวลาการจัดงาน ทั้ง 3 วัน รวมถึงมีการจัดแสดงสินค้าของบริษัทและผู้ค้าปัจจัยการผลิตที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยมีพื้นที่จัดแสดงสินค้ามากกว่า 70 บูท และมีบริษัทสนใจเข้าร่วม...