ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

กอ.รมน. ผนึก วช. มุ่งสร้างตำบลต้นแบบ 15 จังหวัด ผ่านปราชญ์เพื่อความมั่นคง และเครือข่ายภาคประ ชาชน ด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม

 


กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมเดินหน้าสร้างความเข้มแข็งกลุ่มมวลชน ปราชญ์เพื่อความมั่นคงและภาคประชาชน โดยมุ่งเน้นการยกระดับคุณภาพชีวิต เสริมสร้างอาชีพและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม อันสอดคล้องตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 


วันนี้ (30 มีนาคม 2564) เวลา 09.00 น. ที่ ชลพฤกษ์ รีสอร์ท จังหวัดนครนายก พลเอกวรเกียรติ รัตนานนท์ เลขาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร และดร. วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานเปิดกิจกรรมเสริมสร้างปราชญ์เพื่อความมั่นคงและเครือข่ายภาคจังหวัดเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน พร้อมเยี่ยมชมผลงานผลิตภัณฑ์การเกษตร จากเครือข่ายภาคประชาชนในหลายจังหวัด กิจกรรมนี้จัดขึ้นเพื่อบูรณาการความร่วมมือระหว่างภาคความมั่นคง และภาคการวิจัย ในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ปราชญ์เพื่อความมั่นคง และเครือข่ายภาคจังหวัด ซึ่งเป็นฐานสำคัญของประเทศในการร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาและการแก้ไขปัญหาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมถึงการเสริมสร้างความรู้ด้านความมั่นคงของชาติ การพัฒนาปราชญ์ พัฒนาชุมชนต้นแบบ นำสู่ตำบลมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ระหว่างวันที่ 29 มีนาคม – 1 เมษายน 2564


สำหรับการดำเนินงาน ศปป.1 กอ.รมน. ได้คัดกรององค์ความรู้ที่พร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาในพื้นที่ 61 ชุมชน ใน 21 จังหวัด และ วช. ได้คัดกรององค์ความรู้ที่พร้อมถ่ายทอดขยายผลและสอดคล้องกับบริบทความต้องการของพื้นที่เป้าหมาย จำนวน 11 องค์ความรู้/เทคโนโลยี  ซึ่งในระยะที่ 1 ปีงบประมาณ 2562 วช. ได้สนับสนุนงานวิจัยและนวัตกรรมในการเพิ่มศักยภาพชุมชนให้มีความเข้มแข็งตามโจทย์ความต้องการของพื้นที่ชุมชน ซึ่งเป้าหมายของ กอ.รมน. จำนวน 231 ชุมชน ซึ่งชุมชนได้กำหนดความต้องการไว้ 5 เทคโนโลยี 



ปีงบประมาณ 2563 เป็นการดำเนินงานระยะที่ 2 ระยะนี้ได้เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน จนสามารถพึ่งพาตนเองได้ และตั้งเป้าให้เป็นชุมชนต้นแบบนำวิจัยและนวัตกรรมมาปรับวิถีชีวิตเป็นชุมชนเข้มแข็ง ในปีงบประมาณ 2564 นี้ วช. และ ศปป.1 กอ.รมน. ได้มีเป้าหมายสร้างตำบลมั่นคง มั่งคั่ง ต้นแบบ ใน 15 จังหวัด โดยดำเนินการตามนโยบายบูรณาการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานของทั้งสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ความมั่นคง (สยย.) กอ.รมน. ร่วมด้วย ศปป.1 กอ.รมน. และ ศปป. 4 กอ.รมน ซึ่งได้กำหนดพื้นที่เป้าหมายระดับตำบล ให้สอดคล้องกับการนำงานวิจัยและนวัตกรรม ไปช่วยในการยกระดับศักยภาพความเข้มแข็งของชุมชนและตามความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง ตลอดจนสามารถประเมินผลสัมฤทธิ์ได้







โดยการส่งมอบงานวิจัยและนวัตกรรม ผ่านศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 4 (ศปป.4) ในการขยายผลเทคโนโลยี เรื่อง “เครื่องวัดข้อมูลฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศด้วยระบบเซ็นเซอร์เชื่อมต่อข้อมูลด้วยระบบสถาปัตยกรรมเน็ตเวิร์คอัจฉริยะ” ในพื้นที่ทำงานของ กอ.รมน. จังหวัด ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ทั้ง 4 ภาค ในปี 2563 และในปี 2564 มีแผนขยายผลนวัตกรรมเรื่อง “ถังหมักประสิทธิภาพสูงเพื่อการจัดการขยะอินทรีย์ในระดับชุมชน” โดยขยายผลเทคโนโลยีในพื้นที่ดูแลของ ศปป.4 กอ.รมน. ให้ครอบคลุมทั้ง 4 ภาค ใน 22 พื้นที่ 14 จังหวัด และศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 5 (ศปป.5) กอ.รมน. ในการขยายผลการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม เรื่อง เสื้อเกราะกันกระสุนน้ำหนักเบาที่ผ่านมาตรฐานสากลระดับ NIJ III (NIJ 3) ในพื้นที่การดูแลของ กอ.รมน. ภาค 4ส่วนหน้า (3 จังหวัดชายแดนภาคใต้) และกองทัพภาคที่ 4


















ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

นวัตกรรมการผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ส่งเสริมรายได้สู่ชุมชน

  วช. เสริมแกร่ง มรภ.อุตรดิตถ์ ผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 IN 1 จากวัสดุเหลือทิ้ง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นักวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ นำองค์ความรู้ และนวัตกรรมการผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ส่งเสริมรายได้พื้นที่เป้าหมาย สร้างเกษตรกรต้นแบบ จ.อุตรดิตถ์ และ จ.สุรินทร์ กว่า 100 ราย แนะใช้ถ่านดูดซับกลิ่น ความชื้น ยกระดับคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้ อมให้ยั่งยืน โดยการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนั กงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จากปัญหาเศษวัสดุเหลือทิ้ งทางการเกษตร อาทิ เปลือกทุเรียน เหง้ามันสำปะหลัง แกนข้าวโพด ข้อไม้ไผ่ รวมถึงเศษกิ่งไม้ริมทาง ยังไม่ได้ถูกนำมาใช้ให้เกิ ดประโยชน์มากนัก  อีกทั้งการจัดการโดยเผาเศษวัสดุ เหลือทิ้งในที่โล่ง ยังเป็นการปล่อยก๊าซเรื อนกระจกและมลสารเข้าสู่ชั้ นบรรยากาศ องค์ความรู้และนวัตกรรมการผลิ ตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 ด้วยวิธีไพโรไลซิส จึงนับเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ ไขประเด็นปัญหาดังกล่าวได้ ขณะนี้นักวิจัยได้ถ่ายทอดองค์ ความรู้และติดตั้งนวัตกรรมแล้ว ประกอบด้วย เตาผลิตถ่านดูดกลิ่นแบบไพโรไลซิ ส เครื่...

เอ็นไอเอ โหมโรง “นิลมังกร” อัดฉีดผลงานนวัตกรรมเด่นพลิกฟื้นเศรษฐกิจหลังโควิด 19 โค้งสุดท้ายก่อนเฟ้นหาสุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยภายใต้ “นิลมังกรแคมเปญ”

  สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายจำนวน 18 หน่วยงาน ได้แก่ ศูนย์แบรนด์เคยู คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค 14 มหาวิทยาลัย หอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย จัดประกาศผลและมอบรางวัล “ สุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยประจำปี 2564 รอบภูมิภาค ( Thailand INNO BIZ Champion 2021 Regional Round) ภายใต้ “ นิลมังกรแคมเปญ ” ให้กับ 20 ธุรกิจนวัตกรรมจาก 4 ภูมิภาค ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ NIA กล่าวว่า “NIA มีหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุน และสร้างความสามารถการแข่งขันของประเทศด้วยการใช้นวัตกรรม ดังนั้นจึงได้ริเริ่มโครงการสุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยระดับภูมิภาค ภายใต้ “ นิลมังกรแคมเปญ ” ขึ้น เพื่อสร้างตัวอย่างการทำธุรกิจนวัตกรรมในภูมิภาคให้คนในพื้นที่ได้เห็นถึงความสำคัญในการพัฒนานวัตกรรมและได้เรียนรู้กระบวนการสร้างธุรกิจนวัตกรรม ผ่านการสื่อสารในรูปแบบของ Edutainment เพื่อให้เป็นที่น่าสนใจ เข้าถึง และเข้าใจกระบวนการสร้างธุรกิ...

2-4 ธันวาคมนี้ พบกันที่ งานสัตว์น้ำไทย 2024 (Thai Aqua Expo 2024)

สมาคมกุ้งตะวันออกไทย ร่วมกับ พันธมิตรในภาคตะวันออก และภาครัฐ ร่วมจัดงานสัตว์น้ำเศรษฐกิจยิ่งใหญ่ประจำปี 2567 งานสัตว์น้ำไทย 2024 (Thai Aqua Expo 2024) ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-3-4 ธันวาคม 2567 ณ โรงแรมซันไรส์ ลากูน โฮเทลแอนด์กอล์ฟ จ.ฉะเชิงเทรา ภายใต้แนวความคิด “ปรับกลยุทธ์สัตว์น้ำไทย สร้างกำไรทุกภาคส่วน” โดยสมาคมกุ้งตะวันออกไทย ร่วมกับ สมาคม สหกรณ์ ชมรม กลุ่มแปลงใหญ่ ในภาคตะวันออกก รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐ และบริษัทเอกชนผู้ร่วมสนับสนุน ภายใต้มีวัตถุประสงค์ของการจัดงาน เพื่อเผยแพร่ความรู้ นวัตกรรม การส่งต่อข้อมูลเพื่อให้เกษตรกร สามารถวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางการตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศ ถ่ายทอดแนวทางการลดต้นทุนตลอดห่วงโซ่ในอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และกระตุ้นให้มีการส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศมากขึ้น ภายในงานมีการเสวนา และสัมมนาให้ความรู้กับเกษตรกรและผู้ที่สนใจ ตลอดระยะเวลาการจัดงาน ทั้ง 3 วัน รวมถึงมีการจัดแสดงสินค้าของบริษัทและผู้ค้าปัจจัยการผลิตที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยมีพื้นที่จัดแสดงสินค้ามากกว่า 70 บูท และมีบริษัทสนใจเข้าร่วม...