ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ครั้งแรกของโลก! การวิจัยพัฒนาเพาะเนื้อเยื่อ “มะพร้าวน้ำหอมพันธุ์ก้นจีบ” โดย เอ็นซี โคโคนัท จับมือ มหาวิทยาลัยนเรศวร ประกาศความสำเร็จพร้อมเดินหน้าการพัฒนามะพร้าวน้ำหอมเพื่ออุตสาหกรรม

 

บริษัทเอ็นซี โคโคนัท โดยคุณณรงค์ศักดิ์ ชื่นสุมน จับมือกับ ผศ.ดร.พีระศักดิ์ ฉายประสาท จากคณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ม.นเรศวร ร่วมทำโครงการ COCONUT Tissue Culture 

บริษัท เอ็นซี  โคโคนัท จำกัด หนึ่งในผู้ส่งออกมะพร้าวน้ำหอมรายใหญ่เป็นอันดับต้นๆ ของประเทศ จับมือกับ คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมทำโครงการ COCONUT Tissue Culture หรือการพัฒนาขยายพันธุ์มะพร้าวน้ำหอม “พันธุ์ก้นจีบ” ด้วยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ สำเร็จเป็นที่แรกของโลก 


การแถลงข่าวความสำเร็จของโครงการฯ

นายณรงค์ศักดิ์ ชื่นสุชน กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็นซี โคโคนัท จำกัด กล่าวว่า ปัจจุบัน จ.ราชบุรี มีการส่งออกมะพร้าวน้ำหอมพันธุ์ก้นจีบที่ได้รับการขึ้นทะเบียน GI หรือสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ มีหลายอำเภอที่ปลูกมะพร้าวน้ำหอมพันธุ์ก้นจีบ เช่น อ.ดำเนินสะดวก อ.บางแพ อ.วัดเพลง อ.โพธาราม อ.ปากท่อ และ อ.บ้านโป่ง มีพื้นที่รวมในการเพาะปลูกกว่า 100,000 ไร่ มูลค่าการส่งออกนับเป็น 10,000 ล้านบาทต่อปี มะพร้าวน้ำหอมพันธุ์ก้นจีบถือได้ว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีปริมาณความต้องการของตลาดโลกสูงมาก อย่างเช่น ประเทศจีน ประเทศแถบยุโรป อเมริกา และประเทศแถบเอเชีย เป็นต้น ต่างก็ชื่นชอบในรสชาติของมะพร้าวน้ำหอมของประเทศไทยที่มีรสชาติหวานแบบธรรมชาติ และมีกลิ่นหอมซึ่งเป็นอัตลักษณ์เฉพาะตัวของมะพร้าวน้ำหอมพันธุ์ก้นจีบของประเทศไทยและในพื้นที่เพาะปลูกของ จ.ราชบุรี ขณะที่ปัจจุบันความต้องการของเกษตรกรมีเพิ่มมากขึ้นที่หันมาปลูกมะพร้าวน้ำหอมทำให้สายพันธุ์แท้ของมะพร้าวน้ำหอมพันธุ์ก้นจีบมีการกลายพันธุ์ ถ้าเกษตรกรนำไปเพาะปลูกกว่าจะเห็นผลผลิตก็จะเสียเวลาในการรอคอยไป 2-3 ปี ซึ่งอาจสร้างความเสียหายกับเกษตรกรได้ บริษัท NC COCONUT ในฐานะผู้ที่มีประสบการณ์ความเชี่ยวชาญด้านมะพร้าวน้ำหอมจึงเห็นความสำคัญในเรื่องของ “พันธุ์” ของมะพร้าวจึงได้ร่วมมือกับ ผศ.ดร.พีระศักดิ์ ฉายประสาท คณบดี คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร ในการร่วมกันวิจัยพัฒนาครั้งนี้ซึ่งใช้ระยะเวลาถึง 2 ปี จนได้กล้าพันธุ์มะพร้าวน้ำหอมพันธุ์ก้นจีบที่ตรงตามแม่พันธุ์ที่ให้ผลผลิตลูกดก จำนวนทะลายเยอะ คงความอัตลักษณ์ในรสชาติและกลิ่นหอมเฉพาะตัวของมะพร้าวน้ำหอมพันธุ์ก้นจีบนี้

มะพร้าวน้ำหอมพันธุ์ก้นจีบ GI จังหวัดราชบุรี
ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI)

ผศ.ดร.พีระศักดิ์ ฉายประสาท คณบดี คณะเกษตรศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวว่า การวิจัยเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อครั้งนี้เป็นการขยายพันธุ์มะพร้าวน้ำหอมพันธุ์ก้นจีบในสภาพปลอดเชื้อ ด้วยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการขยายพันธุ์ในอนาคต เริ่มต้นจากการคัดเลือกต้นพันธุ์มะพร้าวน้ำหอมที่ดี ได้แก่ น้ำและเนื้อมีรสชาติหวาน หอม จำนวนทะลายสูง จำนวนผลต่อทะลายพอเหมาะ ให้ผลสม่ำเสมอ ฯลฯ เมื่อได้ต้นพันธุ์แล้วนำตัวอย่างพืช (Explant) ของต้นดังกล่าวไปทำการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพื่อให้ได้ต้นพันธุ์มะพร้าวน้ำหอมในปริมาณมาก มีลักษณะตรงตามต้นพันธุ์ และปลอดโรค ให้ผลดก เป็นการส่งเสริมและสร้างรายได้ให้เกษตรกร

ผศ.ดร.พีระศักดิ์ ฉายประสาท โชว์ต้นกล้าจากเทคนิคเพาะเนื้อเยื่อมะพร้าวน้ำหอมพันธุ์ก้นจีบ จ.ราชบุรี

หลักการที่สำคัญของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อของมะพร้าวน้ำหอม

ใช้เทคนิคปลอดเชื้อตัดเอาชิ้นส่วนของพืช (Explant) ที่ผ่านการฟอกฆ่าเชื้อแล้วมาเลี้ยงในขวดแก้วที่บรรจุ  

   อาหารวิทยาศาสตร์ซึ่งผ่านการนึ่งฆ่าเชื้อมาเรียบร้อยแล้ว

เมื่อเซลล์จากชิ้นส่วนต่างๆ ของมะพร้าวที่นำมาเลี้ยงได้รับแร่ธาตุ วิตามินสารควบคุมการเจริญเติบโต

    และน้ำตาล จากอาหารวิทยาศาสตร์ที่ใช้เลี้ยงในสภาพปลอดเชื้อ จะมีการเจริญเติบโตเป็นต้นโดยตรง

    หรือเกิดเป็นกลุ่มของเซลล์ที่เรียกว่าแคลลัส

เลี้ยงแคลลัสในสภาพที่มีแสง แคลลัสเหล่านี้จะเปลี่ยนแปลงไปเป็นโซมาติกเอ็มบริโอและเกิดยอดใหม่ที่

    มีสีเขียว ชักนำให้เกิดยอดและราก

- เมื่อต้นกล้ามียอดและรากที่สมบูรณ์จึงนำออกปลูก อนุบาลในโรงเรือน และนำออกปลูกในแปลงปลูก

   ต่อไป

ประโยชน์ในการขยายพันธุ์มะพร้าวน้ำหอมด้วยเนื้อเยื่อ

1.ได้ต้นแม่พันธุ์ที่เป็นพันธุ์ก้นจีบแท้ 100% ที่ให้ผลผลิตที่มีคุณภาพตามต้นแม่พันธุ์ เช่น มีผลดก รสชาติหอมหวาน คงอัตลักษณ์มะพร้าวน้ำหอมพันธุ์ก้นจีบ

2.ลดอัตราความเสี่ยงของเกษตรกรในเรื่องพันธุ์ที่ไม่แท้ ไม่ต้องเสียเวลาในการรอคอยหลังจากปลูกเป็นเวลา 2-3 ปี

3.มะพร้าวที่เพาะพันธุ์ทางธรรมชาติมีอัตราการงอกของต้นพันธุ์ร้อยละ 50-55 

4.ตอบสนองความต้องการของเกษตรกรที่มีความต้องการเพาะปลูกแม่พันธุ์มะพร้าวน้ำหอมพันธุ์ก้นจีบที่มีปริมาณมากในท้องตลาด

5.ส่งเสริมภาคการส่งออกมะพร้าวน้ำหอมให้มีการเติบโตมากขึ้นกว่าเดิม

6.สร้างผลิตผลของมะพร้าวน้ำหอมพันธุ์ก้นจีบได้ตรงตามสายพันธุ์และได้คุณภาพด้านรสชาติที่ตรงตามความต้องการผู้บริโภคทั่วโลก

“ความสำเร็จในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมะพร้าวน้ำหอมพันธุ์ก้นจีบเป็นครั้งแรกของประเทศไทยและครั้งแรกของโลก เนื่องจากว่ามะพร้าวน้ำหอมก้นจีบเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้ GI พิกัดทางภูมิศาสตร์ และก็ประเทศไทยมีพันธุ์ก้นจีบต่างประเทศไม่ใช่พันธุ์ก้นจีบ ซึ่งพันธุ์ก้นจีบเป็นพันธุ์ที่จังหวัดราชบุรีได้ยื่นขอจดทะเบียน GI พิกัดภูมิศาสตร์ มีลักษณะเฉพาะ มีความหอมและหวาน และก็ลักษณะที่ปลูกได้ดีในจังหวัดราชบุรี มีคุณภาพดีและเป็นพันธุ์ใช้สำหรับการส่งออก ปัจจุบันเราจะเพาะได้ 1 ลูกได้ 1 ต้น แต่ถ้าเกิดเราสามารถทำ 1 ลูกให้มีจำนวนมากขึ้น 1 : 1000 มันก็จะได้ทำให้ขยายพันธุ์มะพร้าวน้ำหอมได้มากขึ้น เหตุที่ต้องทำเพราะว่าประเทศที่ต้องการสินค้าตัวนี้ อย่างจีนหรือต่างประเทศก็ตาม ต้องการสูง ตอนนี้เราไม่มีมะพร้าวน้ำหอมที่มีคุณภาพดีทั้งหอมและหวาน ที่จะถูกต้องตรงสายพันธุ์ที่จะใช้ในการผลิต ดังนั้นพันธุ์เพาะเนื้อเยื่อจึงสามารถตอบโจทย์ทั้งในเชิงคุณภาพตรงตามคุณสมบัติคงอัตลักษณ์เดิมเอาไว้ได้ ช่วยลดต้นทุนและเวลา สามารถเพิ่มปริมาณได้ตามความต้องการของตลาดต่อไป”  ผศ.ดร.พีระศักดิ์ ฉายประสาท กล่าวเพิ่มเติม



และนอกจากนี้ในงานแถลงข่าว บริษัท เอ็นซี โคโคนัท จำกัด ได้เปิดตัวสินค้าใหม่เป็นนวัตกรรมสำหรับการดื่มน้ำมะพร้าวน้ำหอมจากลูกได้ง่ายขึ้น COCO BUCKET ไม่เฉาะ แค่เพียงเจาะ ก็ได้ความสด” ถือได้ว่าเป็นการเปิดหรือเฉาะลูกมะพร้าวที่ไม่ต้องพึ่งพามีดอีกต่อไป ทำให้ทุกๆ คนดื่มน้ำมะพร้าวแบบลูกสดๆ ได้ง่ายสะดวกสบายรับฤดูร้อนที่จะมาถึงในเร็ววันนี้



















ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

นวัตกรรมการผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ส่งเสริมรายได้สู่ชุมชน

  วช. เสริมแกร่ง มรภ.อุตรดิตถ์ ผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 IN 1 จากวัสดุเหลือทิ้ง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นักวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ นำองค์ความรู้ และนวัตกรรมการผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ส่งเสริมรายได้พื้นที่เป้าหมาย สร้างเกษตรกรต้นแบบ จ.อุตรดิตถ์ และ จ.สุรินทร์ กว่า 100 ราย แนะใช้ถ่านดูดซับกลิ่น ความชื้น ยกระดับคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้ อมให้ยั่งยืน โดยการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนั กงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จากปัญหาเศษวัสดุเหลือทิ้ งทางการเกษตร อาทิ เปลือกทุเรียน เหง้ามันสำปะหลัง แกนข้าวโพด ข้อไม้ไผ่ รวมถึงเศษกิ่งไม้ริมทาง ยังไม่ได้ถูกนำมาใช้ให้เกิ ดประโยชน์มากนัก  อีกทั้งการจัดการโดยเผาเศษวัสดุ เหลือทิ้งในที่โล่ง ยังเป็นการปล่อยก๊าซเรื อนกระจกและมลสารเข้าสู่ชั้ นบรรยากาศ องค์ความรู้และนวัตกรรมการผลิ ตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 ด้วยวิธีไพโรไลซิส จึงนับเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ ไขประเด็นปัญหาดังกล่าวได้ ขณะนี้นักวิจัยได้ถ่ายทอดองค์ ความรู้และติดตั้งนวัตกรรมแล้ว ประกอบด้วย เตาผลิตถ่านดูดกลิ่นแบบไพโรไลซิ ส เครื่...

เอ็นไอเอ โหมโรง “นิลมังกร” อัดฉีดผลงานนวัตกรรมเด่นพลิกฟื้นเศรษฐกิจหลังโควิด 19 โค้งสุดท้ายก่อนเฟ้นหาสุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยภายใต้ “นิลมังกรแคมเปญ”

  สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายจำนวน 18 หน่วยงาน ได้แก่ ศูนย์แบรนด์เคยู คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค 14 มหาวิทยาลัย หอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย จัดประกาศผลและมอบรางวัล “ สุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยประจำปี 2564 รอบภูมิภาค ( Thailand INNO BIZ Champion 2021 Regional Round) ภายใต้ “ นิลมังกรแคมเปญ ” ให้กับ 20 ธุรกิจนวัตกรรมจาก 4 ภูมิภาค ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ NIA กล่าวว่า “NIA มีหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุน และสร้างความสามารถการแข่งขันของประเทศด้วยการใช้นวัตกรรม ดังนั้นจึงได้ริเริ่มโครงการสุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยระดับภูมิภาค ภายใต้ “ นิลมังกรแคมเปญ ” ขึ้น เพื่อสร้างตัวอย่างการทำธุรกิจนวัตกรรมในภูมิภาคให้คนในพื้นที่ได้เห็นถึงความสำคัญในการพัฒนานวัตกรรมและได้เรียนรู้กระบวนการสร้างธุรกิจนวัตกรรม ผ่านการสื่อสารในรูปแบบของ Edutainment เพื่อให้เป็นที่น่าสนใจ เข้าถึง และเข้าใจกระบวนการสร้างธุรกิ...

2-4 ธันวาคมนี้ พบกันที่ งานสัตว์น้ำไทย 2024 (Thai Aqua Expo 2024)

สมาคมกุ้งตะวันออกไทย ร่วมกับ พันธมิตรในภาคตะวันออก และภาครัฐ ร่วมจัดงานสัตว์น้ำเศรษฐกิจยิ่งใหญ่ประจำปี 2567 งานสัตว์น้ำไทย 2024 (Thai Aqua Expo 2024) ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-3-4 ธันวาคม 2567 ณ โรงแรมซันไรส์ ลากูน โฮเทลแอนด์กอล์ฟ จ.ฉะเชิงเทรา ภายใต้แนวความคิด “ปรับกลยุทธ์สัตว์น้ำไทย สร้างกำไรทุกภาคส่วน” โดยสมาคมกุ้งตะวันออกไทย ร่วมกับ สมาคม สหกรณ์ ชมรม กลุ่มแปลงใหญ่ ในภาคตะวันออกก รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐ และบริษัทเอกชนผู้ร่วมสนับสนุน ภายใต้มีวัตถุประสงค์ของการจัดงาน เพื่อเผยแพร่ความรู้ นวัตกรรม การส่งต่อข้อมูลเพื่อให้เกษตรกร สามารถวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางการตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศ ถ่ายทอดแนวทางการลดต้นทุนตลอดห่วงโซ่ในอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และกระตุ้นให้มีการส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศมากขึ้น ภายในงานมีการเสวนา และสัมมนาให้ความรู้กับเกษตรกรและผู้ที่สนใจ ตลอดระยะเวลาการจัดงาน ทั้ง 3 วัน รวมถึงมีการจัดแสดงสินค้าของบริษัทและผู้ค้าปัจจัยการผลิตที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยมีพื้นที่จัดแสดงสินค้ามากกว่า 70 บูท และมีบริษัทสนใจเข้าร่วม...