โลกกำลังก้าวไปข้างหน้าด้วยวิ
โทรทัศน์ ก็ถือเป็นอีกหนึ่งสื่อที่ทำให้ ผู้ชมสามารถรับชมและรับฟังข้อมู ลข่าวสาร ความรู้ และความบันเทิงได้กับผู้ชมทุ กเพศทุกวัย และในปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนรู ปแบบให้สามารถรับชมได้ ทางออนไลน์ ผ่านทางเว็บไซต์ บนจอมือถือ บนแท็บเลต และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์อื่น ๆ ทำให้ผู้ชมสามารถรั บชมรายการโทรทัศน์ได้สะดวก รวดเร็ว และตรงกับความต้องการของแต่ ละคนมากขึ้น แต่เคยสงสัยไหมว่าผู้พิ การทางสายตา ดูโทรทัศน์อย่างไร เมื่อผู้พิการทางสายตารั บชมรายการโทรทัศน์ จะเข้าใจเรื่องราวและเนื้อหาได้ หรือไม่ เพราะโทรทัศน์เป็นสื่อที่เล่ าเรื่องด้วยภาพ และความสงสัยนี้ ทำให้อาจารย์กุลภัสสร์ กาญจนภรางกูร สาขาเทคโนโลยีการโทรทัศน์และวิ ทยุกระจายเสียง คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธั ญบุรี นำเสนอผลงาน “ผลิตเสียงบรรยายภาพในคลิปวีดิ โอหนังสั้น เพื่อผู้พิการทางสายตา” ขึ้น จนได้รับรางวัลเหรี ยญทองจากการประกวดสิ่งประดิษฐ์ ระดับนานาชาติ งาน “The 5th China (Shanghai) International Invention & Innovation Expo” ณ นครเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน ในรูปแบบออนไลน์ เมื่อวันที่ 15 – 17 เมษายน 2564 ที่ผ่านมา โดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นผู้คัดเลือกผลงานวิจัยเข้ าร่วมในการประกวดในครั้งนี้
อาจารย์กุลภัสสร์ เปิดเผยว่า สื่อเสียงบรรยายภาพ Audio Description (AD) คือ สื่อชนิดหนึ่ง มีขึ้นเพื่อผู้พิการทางสายตาให้สามารถเข้ าใจเนื้อหาของสื่อที่ต้องการั บชมได้มากยิ่งขึ้น ลักษณะของเสียงบรรยายภาพ คือการบรรยายด้วยเสียงในช่วงที่ ไม่มีการพูดคุย ไม่มีการสนทนา ซึ่งเป็นช่องว่างของวีดีโอนั้น ๆ ผู้พิการทางสายตาจะไม่สามารถรั บรู้ได้ว่าในระหว่างนั้นเกิ ดเหตุการณ์อะไรบ้าง เสียงบรรยายภาพจะมีหน้าที่ทำให้ ผู้พิการทางสายตารับรู้ว่าเหตุ การณ์ในฉากนั้นดำเนินไปอย่ างไรตัวละครกำลังทำอะไร ทำให้ผู้พิการทางสายตาเข้ าใจในเนื้อหาสาระของเรื่อง
การศึกษาจะเริ่มจากการนำคลิปวี ดิโอหนังสั้น มาตรวจดูเพื่อหาช่องว่างระหว่ างบทสนทนาของตัวละครหรือเสี ยงบรรยาย เพื่อให้ได้ระยะเวลาของช่องว่ างที่จะสามารถใส่เสี ยงบรรยายภาพลงไปได้ ต่อมาซึ่งมีการเขียนบทเสี ยงบรรยายภาพ เมื่อได้บทเสียงบรรยายภาพเรี ยบร้อยแล้ว จึงทดลองลงเสียงและอาจมีการปรั บการใช้คำหรือประโยคให้พอดีกั บช่องว่างของเวลา ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ต้องมีการพิ จารณาการใช้คำที่เหมาะสม และผู้พิการทางสายตาสามารถที่ จะเข้าใจได้ รวมถึงการใช้ประโยคที่มี ความพอดีกับช่องว่างของเวลา ให้ได้ประโยคที่มี ความหลากหลายและผู้ฟังเข้าใจ หลังจากนั้นทำการบันทึกเสียง และเข้าสู่โปรแกรมตัดต่อเพื่ อให้ภาพและเสียงบรรยายให้มี ความสัมพันธ์กัน และทำการตรวจสอบความเรียบร้อยอี กครั้งจนเป็นผลงานที่เสร็จสมบู รณ์
ในภาควิชาเทคโนโลยีภาพและเสียง มีผลงานที่ผลิตโดยฝีมือของนักศึ กษาเป็นจำนวนมาก และมีความน่าสนใจ สื่อวีดีโอชิ้นนี้เป็ นผลงานของนักศึกษา สาขาเทคโนโลยีการถ่ ายภาพและภาพยนตร์ ได้นำมาต่อยอดเพื่อสร้างคุณค่ าให้กับผลงาน สื่อดังกล่าว ไม่ได้เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่ งของการสร้างสรรค์และศึกษางานวิ จัย แต่ยังเป็นส่วนหนึ่งในการนำมาฝึ กฝนให้กับนักศึกษาในสาขาวิชาได้ เห็นว่า ยังมีอีกหนึ่งอาชีพที่นอกจาก ช่างภาพ นักตัดต่อ
ผู้ประกาศ และนักข่าวเท่านั้น ผู้ผลิตเสียงบรรยายที่เป็นอี กหนึ่งอาชีพที่มีความน่าสนใจ และทำประโยชน์ให้กับสังคมได้เช่ นกัน
ด้าน ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัย กล่าวว่า วช. ได้ส่งเสริมและสนับสนุนนักวิจั ยและนักประดิษฐ์ ไทยในการนำผลงานที่มีคุ ณภาพและมีศักยภาพด้านการวิจั ยและด้านการประดิษฐ์คิดค้น เข้าร่วมการประกวดผลงานในเวที ระดับนานาชาติต่อเนื่อง ทำให้ผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมของคนไทยที่ ไปเผยแพร่ เป็นที่รู้จักสามารถนำไปสู่ การพัฒนาต่อยอดผลงาน และเปิดโอกาสให้มีการสร้างเครื อข่ายความร่วมมือระหว่างหน่ วยงานในประเทศและต่างประเทศ นอกจากนี้ยังเป็นช่องทางให้นั กวิจัยและนักประดิษฐ์ไทยเป็นที่ ยอมรับของนานาชาติ อันจะนำไปสู่ผลงานที่ได้ มาตราฐานเกิดการยอมรับจากผู้ใช้ งาน และเป็นที่ต้ องการทางการตลาดและก้าวสู่เชิ งพาณิชย์ต่อไป
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น