นักวิจัย คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผลิตเครื่องกะเทาะเมล็ ดแมคคาเดเมีย ช่วยสร้างศักยภาพผลผลิ ตและรายได้ แก่เกษตรกรในพื้นที่สูง โดยการสนับสนุนของ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
การพั ฒนาการกะเทาะผลกะลาแมคคาเดเมี ยในปัจจุบัน นิยมใช้แบบใบมีดกระแทก โดยใช้แรงงานคนที่มี ความชำนาญและใช้เวลานาน สามารถกะเทาะได้ครั้งละ 1 ผล เท่านั้น โดยแมคคาเดเมีย 1 กิโลกรัม จะใช้เวลา 2-3 ชั่วโมง ในการกะเทาะ จึงอาจส่งผลให้การผลิตล่าช้าหรื อผลผลิตเสียหาย
รองศาสตราจารย์ ดร.ธานี ศรีวงศ์ชัย หัวหน้าโครงการวิจัยจาก ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า ได้คิดค้นเครื่องกะเทาะเมล็ ดแมคคาเดเมีย จากโครงการพัฒนามาตรฐานการผลิ ตแมคคาเดเมียอบแห้งสำหรับชุมชน โดยการสนับสนุนงบประมาณจากสำนั กงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในการดำเนินการพัฒนาเครื่ องกะเทาะแมคคาเดเมียที่สถานีวิ จัยเพชรบูรณ์ ของคณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในเขตพื้นที่ บ้านทับเบิก อำเภอหล่มเก่า และ บ้านเข็กน้อย อำเภอเขาค้อ โดยร่วมกับห้างหุ้นส่วนจำกัด อาทิตย์ เวนติเลเตอร์ เพื่อนำมาใช้ ในกระบวนการการแปรรูปแมคคาเดเมี ยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ลักษณะการใช้งาน คือ เมื่อนำผลกะลาแมคคาเดเมียใส่เข้ าด้านบนของเครื่องกะเทาะ ผลกะลาแมคคาเดเมี ยจะตกลงไปภายในเครื่องมีแกนหมุ นเพื่อให้ผลกะลาที่ ตกลงไปกระทบกับชุดใบมีดสำหรั บการกะเทาะผลกะลาให้แตก จากนั้นกะลาและเนื้อในที่ แยกออกจากกัน ตกลงสู่ถาดรองรับภายนอกเครื่ องกะเทาะและนำไปสู่กระบวนการอื่ นต่อไป
รศ. ดร.ธานี กล่าวต่อว่า นวัตกรรมชุดนี้สามารถช่วยย่ นเวลาการผลิต ตอบโจทย์ในระดับวิสาหกิจชุมชน อีกทั้ง ได้ผลเมล็ดเต็มของแมคคาเดเมีย ถึงร้อยละ 60 โดยแมคคาเดเมีย 1 กิโลกรัม จะใช้เวลาการกะเทาะประมาณ 30 นาที ซึ่งอยู่ระหว่างการพัฒนาวิธี การที่จะทำให้ได้เมล็ดเต็มมากขึ้ น โดยมีการวางเป้าหมายการขยายผล ไปสู่การสร้างศูนย์เรียนรู้ การแปรรูปแมคคาเดเมียสำหรับชุ มชน เพื่อส่งเสริมและถ่ายทอดองค์ ความรู้การแปรรูปการผลิ ตแมคคาเดเมียโดยใช้เครื่ องกะเทาะแมคคาเดเมีย ให้แก่ ชุมชนและเกษตรกร ให้เกิดรายได้มากขึ้น มีอาชีพใหม่รองรับ และเกิดการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิ จชุมชนสำหรับการแปรรู ปแมคคาเดเมีย และขยายผลต่อไปยังเขตพื้นที่สู งต่าง ๆ
ด้าน ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่ งชาติ เปิดเผยว่า วช. มีนโยบายสนับสนุนให้สถาบันการศึ กษาของไทยพัฒนานวัตกรรมในด้านต่ างๆ ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยหลายแห่งสามารถผลิ ตนวัตกรรมเพื่อตอบสนองการแก้ปั ญหาด้านต่างๆ เช่น การแพทย์ การเกษตร สิ่งแวดล้อม และอื่นๆ ตามความเร่งด่วนของปัญหาที่เกิ ดขึ้น นวัตกรรมหลายประเภทสามารถผลิ ตออกมาจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ และอีกหลายโครงการเป็ นการวางรากฐานงานวิจัยของไทยให้ เกิดความเข้มแข็งในระยะยาว
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น