ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

วว.ถ่ายทอดเทคโนโลยีเครื่องลดความชื้นข้าวกล้องงอกต้นแบบ ช่วยแก้ปัญหาลานตากข้าวเปลือกหลังการเก็บเกี่ยวไม่เพียงพอ เพิ่มมูลค่าผลผลิตข้าวว

 

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)  โดย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)  นำ วทน.แก้ปัญหาลานตากข้าวเปลือกไม่เพียงพอ / เพิ่มมูลค่าผลผลิตข้าวให้แก่เกษตรกรในพื้นที่จังหวัดแพร่  ผ่านการถ่ายทอดเทคโนโลยีผลงานวิจัยพัฒนาต่อยอด “เครื่องลดความชื้นข้าวกล้องงอกต้นแบบ” ที่มีประสิทธิภาพลดความชื้นข้าวเปลือกหลังการเก็บเกี่ยว จากความชื้นเริ่มต้น 23% ให้ลดลงเหลือ 14% โดยใช้เวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมงต่อครั้ง พร้อมใช้แก๊ส LPG ขนาดถังบรรจุ 15 กิโลกรัม เป็นเชื้อเพลิง สามารถลดความชื้นข้าวเปลือกได้สูงสุด 2 ตัน/วัน

ศ. (วิจัย) ดร.ชุติมา  เอี่ยมโชติชวลิต  ผู้ว่าการ วว.  กล่าวว่า  ในช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวเปลือกชาวนาจะเก็บเกี่ยวพร้อมๆ กัน  ส่งผลให้เกิดปัญหาไม่มีพื้นที่ตากข้าว ถึงแม้หน่วยงานราชการจะเข้ามาช่วยเหลือโดยการจัดหาพื้นที่ลานตากข้าวให้กับชาวนา เช่น ลานวัด โรงเรียน หรือหน่วยงานราชการ เป็นต้น ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของชาวนา ทำให้ชาวนาบางรายต้องนำข้าวเปลือกมาตากเพื่อลดความชื้นบนถนนทางหลวง บางครั้งส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุถึงแก่ชีวิต  ซึ่งเป็นคดีความให้เห็นอยู่เป็นประจำทุกๆ ปี  ด้วยตระหนักและเห็นความสำคัญของปัญหานี้  วว. โดย ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมอาหารเพื่อสุขภาพ  นำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม  (วทน.) ที่วิจัยและพัฒนาสำเร็จ คือ เครื่องลดความชื้นข้าวกล้องงอกต้นแบบ  เข้าไปช่วยแก้ปัญหาดังกล่าว  โดยการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนข้าวกล้องอินทรีย์บ้านนาไผ่  หมู่ที่ 13 ตำบลห้วยอ้อ  อำเภอลอง จังหวัดแพร่ ซึ่งเป็นกลุ่มที่เน้นการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์คุณภาพสูง (Organic premium set) ได้แก่  ข้าวกล้องอินทรีย์หอมมะลิ ข้าวกล้องอินทรีย์ไรซ์เบอร์รี่ ข้าวกล้องอินทรีย์หอม 3 สี และข้าวกล้องงอก เป็นต้น โดยทำการตลาดภายใต้ชื่อ บ้านไร่ต้นฝัน มีเป้าหมายหลักเพื่อส่งเสริมและผลักดันให้สมาชิกผลิตข้าวอินทรีย์ และยกระดับจากมาตรฐานออร์แกนิคไทยแลนด์ เพื่อให้ได้ใบรับรอง IFOAM (โครงการรับรองระบบงานเกษตรอินทรีย์)


“เครื่องลดความชื้นข้าวกล้องงอกต้นแบบ”  วว. พัฒนาต่อยอดจาก “เครื่องลดความชื้นข้าวเปลือกระดับเกษตรกร”  มีประสิทธิภาพในการลดความชื้นข้าวเปลือกได้หลากหลายสายพันธุ์มากขึ้น ประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก 2 ส่วน คือ 1.ถังบรรจุข้าวเปลือกออกแบบเป็นถังทรงกระบอกกลม สามารถบรรจุข้าวเปลือกได้สูงสุด 400 กิโลกรัม/ครั้ง พร้อมติดตั้งชุดใบกวนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการลดความชื้น 2.ชุดจ่ายลมร้อน ออกแบบด้วยหลักการ Cyclone ช่วยให้มีการกระจายลมร้อนได้อย่างสม่ำเสมอ ระบบให้ความร้อนด้วยแก๊ส LPG สามารถปรับตั้งอุณหภูมิในการลดความชื้นข้าวเปลือกได้ ตั้งแต่ 40-80 องศาเซลเซียส (ตามแต่ละชนิดของพันธุ์ข้าว) โดยสามารถลดความชื้นข้าวเปลือกหลังการเก็บเกี่ยว จากความชื้นเริ่มต้นประมาณ 23% ให้ลดลงเหลือ 14% ใช้เวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมงต่อครั้ง เชื้อเพลิงจากแก๊ส LPG ขนาดถังบรรจุ 15 กิโลกรัม สามารถลดความชื้นข้าวเปลือกได้สูงสุด 2 ตัน/วัน

ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มเกษตรอินทรีย์แพร่





“...เครื่องลดความชื้นข้าวกล้องงอกต้นแบบ ที่ วว. นำไปช่วยแก้ปัญหาให้กับพี่น้องเกษตรกรจังหวัดแพร่ และพื้นที่อื่นๆ ในอนาคต อยู่ภายใต้การดำเนินงานที่มุ่งถ่ายทอดเทคโนโลยี และนวัตกรรม สู่ภาคอุตสาหกรรม  วิสาหกิจชุมชน และผลักดันให้เกิดการนําไปใช้ประโยชน์ทั้งเชิงเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม วว. ให้ความสำคัญและมีความพร้อมทั้งด้านเทคโนโลยี บุคลากร ที่จะเข้าไปรับโจทย์และตอบโจทย์ให้แก่ทุกๆ ท่าน เพื่อความเข้มแข็งของประเทศต่อไป” ผู้ว่าการ วว. กล่าว

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่ ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมอาหารเพื่อสุขภาพ วว. โทร. 0 2577 9000 โทรสาร 0 2577 9009  อีเมล  tistr@tistr.or.th








ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

นวัตกรรมการผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ส่งเสริมรายได้สู่ชุมชน

  วช. เสริมแกร่ง มรภ.อุตรดิตถ์ ผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 IN 1 จากวัสดุเหลือทิ้ง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นักวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ นำองค์ความรู้ และนวัตกรรมการผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ส่งเสริมรายได้พื้นที่เป้าหมาย สร้างเกษตรกรต้นแบบ จ.อุตรดิตถ์ และ จ.สุรินทร์ กว่า 100 ราย แนะใช้ถ่านดูดซับกลิ่น ความชื้น ยกระดับคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้ อมให้ยั่งยืน โดยการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนั กงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จากปัญหาเศษวัสดุเหลือทิ้ งทางการเกษตร อาทิ เปลือกทุเรียน เหง้ามันสำปะหลัง แกนข้าวโพด ข้อไม้ไผ่ รวมถึงเศษกิ่งไม้ริมทาง ยังไม่ได้ถูกนำมาใช้ให้เกิ ดประโยชน์มากนัก  อีกทั้งการจัดการโดยเผาเศษวัสดุ เหลือทิ้งในที่โล่ง ยังเป็นการปล่อยก๊าซเรื อนกระจกและมลสารเข้าสู่ชั้ นบรรยากาศ องค์ความรู้และนวัตกรรมการผลิ ตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 ด้วยวิธีไพโรไลซิส จึงนับเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ ไขประเด็นปัญหาดังกล่าวได้ ขณะนี้นักวิจัยได้ถ่ายทอดองค์ ความรู้และติดตั้งนวัตกรรมแล้ว ประกอบด้วย เตาผลิตถ่านดูดกลิ่นแบบไพโรไลซิ ส เครื่...

เอ็นไอเอ โหมโรง “นิลมังกร” อัดฉีดผลงานนวัตกรรมเด่นพลิกฟื้นเศรษฐกิจหลังโควิด 19 โค้งสุดท้ายก่อนเฟ้นหาสุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยภายใต้ “นิลมังกรแคมเปญ”

  สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายจำนวน 18 หน่วยงาน ได้แก่ ศูนย์แบรนด์เคยู คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค 14 มหาวิทยาลัย หอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย จัดประกาศผลและมอบรางวัล “ สุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยประจำปี 2564 รอบภูมิภาค ( Thailand INNO BIZ Champion 2021 Regional Round) ภายใต้ “ นิลมังกรแคมเปญ ” ให้กับ 20 ธุรกิจนวัตกรรมจาก 4 ภูมิภาค ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ NIA กล่าวว่า “NIA มีหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุน และสร้างความสามารถการแข่งขันของประเทศด้วยการใช้นวัตกรรม ดังนั้นจึงได้ริเริ่มโครงการสุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยระดับภูมิภาค ภายใต้ “ นิลมังกรแคมเปญ ” ขึ้น เพื่อสร้างตัวอย่างการทำธุรกิจนวัตกรรมในภูมิภาคให้คนในพื้นที่ได้เห็นถึงความสำคัญในการพัฒนานวัตกรรมและได้เรียนรู้กระบวนการสร้างธุรกิจนวัตกรรม ผ่านการสื่อสารในรูปแบบของ Edutainment เพื่อให้เป็นที่น่าสนใจ เข้าถึง และเข้าใจกระบวนการสร้างธุรกิ...

2-4 ธันวาคมนี้ พบกันที่ งานสัตว์น้ำไทย 2024 (Thai Aqua Expo 2024)

สมาคมกุ้งตะวันออกไทย ร่วมกับ พันธมิตรในภาคตะวันออก และภาครัฐ ร่วมจัดงานสัตว์น้ำเศรษฐกิจยิ่งใหญ่ประจำปี 2567 งานสัตว์น้ำไทย 2024 (Thai Aqua Expo 2024) ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-3-4 ธันวาคม 2567 ณ โรงแรมซันไรส์ ลากูน โฮเทลแอนด์กอล์ฟ จ.ฉะเชิงเทรา ภายใต้แนวความคิด “ปรับกลยุทธ์สัตว์น้ำไทย สร้างกำไรทุกภาคส่วน” โดยสมาคมกุ้งตะวันออกไทย ร่วมกับ สมาคม สหกรณ์ ชมรม กลุ่มแปลงใหญ่ ในภาคตะวันออกก รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐ และบริษัทเอกชนผู้ร่วมสนับสนุน ภายใต้มีวัตถุประสงค์ของการจัดงาน เพื่อเผยแพร่ความรู้ นวัตกรรม การส่งต่อข้อมูลเพื่อให้เกษตรกร สามารถวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางการตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศ ถ่ายทอดแนวทางการลดต้นทุนตลอดห่วงโซ่ในอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และกระตุ้นให้มีการส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศมากขึ้น ภายในงานมีการเสวนา และสัมมนาให้ความรู้กับเกษตรกรและผู้ที่สนใจ ตลอดระยะเวลาการจัดงาน ทั้ง 3 วัน รวมถึงมีการจัดแสดงสินค้าของบริษัทและผู้ค้าปัจจัยการผลิตที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยมีพื้นที่จัดแสดงสินค้ามากกว่า 70 บูท และมีบริษัทสนใจเข้าร่วม...