ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ศูนย์ฉีดวัคซีนมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เร่งปูพรมฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19​ตั้งเป้าเดือนกรกฎาคมนี้ ฉีดวัคซีนให้ได้ 80,000 - 100,000 คน

 


ศูนย์บริการฉีดวัคซีน KU สู้ COVID-19 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยการสนับสนุนของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เอไอเอส และกรุงเทพมหานคร เปิดเผยข้อมูลการฉีดวัคซีนสะสม เริ่มตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายน 2564 จนถึงวันที่ 12 กรกฎาคม 2564 สามารถฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ได้จำนวนถึง 88,488 คน ตั้งเป้าเดือนกรกฎาคมนี้ จะเร่งฉีดวัคซีนให้ได้จำนวน 80,000 - 100,000 คน นอกจากนี้มหาวิทยาลัยยังสนับสนุนพื้นที่โครงการจัดตั้งวิทยาเขตสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นที่ตั้งของโรงพยาบาลสนาม จำนวน 120 เตียง เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 อีกด้วย


ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  เปิดเผยว่า หลังจากที่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับมอบหมายให้เป็นศูนย์ฉีดวัคซีนถาวร 1 ใน  11 หน่วยฉีด ของกระทรวง อว.ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล เริ่มตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายน 2564 ที่ผ่านมา ตามวาระแห่งชาติ สร้างภูมิคุ้มกันหมู่พร้อมกันทั่วประเทศ นั้น ศูนย์บริการฉีดวัคซีน KU สู้ COVID-19 ได้ฉีดวัคซีนไปแล้ว จำนวน 88,488 คน และจะฉีดวัคซีนครบ 100,000 คน ในวันเสาร์ที่17 กรกฎาคมที่จะถึงนี้ รวมถึง วิทยาเขตกำแพงแสน วิทยาเขตศรีราชา วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร บางส่วนก็ได้รับการสนับสนุนวัคซีนภายใต้กระทรวง อว. และ กรมควบคุมโรค ทำให้ได้มีการฉีดวัคซีนให้แก่บุคลากรและนิสิต จำนวนมาก ตั้งเป้าหมายว่าบุคลากร ร้อยละ 90 ของทุกวิทยาเขต นิสิตร้อยละ 70 ที่บางเขน จะได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว และกว่า 50% จะได้รับการฉีดวัคซีนอย่างน้อย 1 เข็ม เมื่อสิ้นสุดเดือนกรกฎาคม 2564 นี้ ทำให้ บรรยากาศของการฉีดวัคซีน ณ ศูนย์บริการฉีดวัคซีน KU สู้ COVID-19 เป็นไปอย่างเข้มข้นควบคู่ไปกับการเรียนการสอน online ในปัจจุบัน


อธิการบดี มก. กล่าวต่ออีกว่า ในเดือน กรกฎาคม 2564 คาดว่าการบริการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่ศูนย์ฉีด KU จะสามารถบริการบุคลากร นิสิต นักศึกษา นิสิตเก่า หน่วยงานพันธมิตร กระทรวง กรม       กองต่างๆ รวมถึงบริษัทหน่วยงานเอกชน และภาคประชาชน อยู่ระหว่าง 80,000 ถึง 100,000 คน แต่ก็ขึ้นอยู่กับว่าวัคซีนจะได้รับการจัดสรรอย่างเพียงพอจากรัฐบาลหรือไม่อย่างไร ต่อไปก็จะมีนิสิต และบุคลากรของทุกส่วนงาน ที่ได้รับการฉีดวัคซีน มาเป็นจิตอาสาเพิ่มมากขึ้นอีก นับเป็นการเริ่มต้น new and next ในการขับเคลื่อนและเป็น passion ในการรวมพลังช่วยเหลือสังคมของชาวมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ และเห็นเชิงประจักษ์ อย่างชัดเจน ในการบริการฉีดวัคซีนเมื่อวันเสาร์ที่ 10 กรกฎาคม 2564ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวันที่มีการฉีดวัคซีนได้สูงมากจำนวน 11,878 คน กว่ากระบวนการต่าง ๆจะแล้วเสร็จ และ การบริหารจัดการเรียบร้อย ก็ใกล้เวลาเกือบเที่ยงคืน ผู้ปฎิบัติงานในศูนย์ KU ตั้งแต่คนบริการลงทะเบียน แม่บ้าน คนธง จิตอาสาวัดความดัน คุณหมอ พยาบาล ผู้บริหารที่เป็นคุณหมอของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ผู้บริหารมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บุคลากร นิสิต เจ้าหน้าที่จากเอไอเอส ทำงานโดยแทบไม่พักตั้งแต่ 7.00 น จนถึง 23.00 น. เป้าหมายเดียวที่อยากเห็นก็คือได้เร่งฉีดวัคซีนให้ประชาชนให้มากที่สุดเท่าจะทำได้ กิจกรรมเหล่านี้ ถือเป็น จิตอาสา และเป็นจิตวิญญาณ ที่อยู่ในใจ ของคนเกษตรศาสตร์ คนราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และ คนไทย เป็น CRA spirit KU spirit และผมคิดว่าเป็น Thai spirit ด้วย ทั้งนี้ การดำเนินงานจัดการต่างๆ ภายในศูนย์บริการฉีดวัคซีน KU สู้ COVID-19 เป็นไปอย่างราบรื่น สามารถฉีดวัคซีนได้อย่างต่อเนื่อง และไม่พบว่าผู้ได้รับการฉีดวัคซีนมีอาการข้างเคียงรุนแรงแต่อย่างใด  โดยศูนย์บริการฉีดวัคซีน KU สู้ COVID-19 จะดำเนินการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19อย่างต่อเนื่องไปตลอดถึงสิ้นปี หรือจนกว่าจะฉีดครบถ้วนตามที่กระทรวงอว. มอบหมายมา


อธิการบดี มก. กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ในขณะที่บรรยากาศของการเตรียมตัว เพื่อจะออกจากวิกฤติ เป็นไปอย่างเต็มที่ อีกด้านหนึ่ง สถานการณ์ประเทศ กลับยิ่งหนักขึ้น จากสถานการณ์การระบาดของโควิด -19 ดังนั้น จังหวัดสุพรรณบุรีได้ขอให้โครงการจัดตั้งวิทยาเขตสุพรรณบุรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่มีอาคาร และนิสิตไม่มากนัก ให้การสนับสนุนการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม จำนวน 120 เตียง เมื่อวานนี้ได้รับทราบว่ามีจำนวนเตียงว่าง 19 เตียง คาดว่าไม่เกิน 3 วัน ก็จะเต็มจำนวน อาจจะต้องมีการเพิ่มเตียงให้ได้มากที่สุด 150 เตียง นอกจากนี้ยังมี วิทยาเขตอื่นๆ ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งเป็น ทั้ง local quarantine ศูนย์พักคอย และเป็นโรงพยาบาลสนามสำรอง

       “ แม้จะอยู่ในสถานการณ์ ให้ความช่วยเหลือประชาชนในยามลำบาก แต่ผมคิดว่าทุกคนในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีความภาคภูมิใจ ที่ได้ช่วยเหลือสังคม และเป็นส่วนหนึ่งที่ ทำ KU together for Thai together พลังของคนไทยไม่ทิ้งกันครับ ” ดร. จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดี มก. กล่าว

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

นวัตกรรมการผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ส่งเสริมรายได้สู่ชุมชน

  วช. เสริมแกร่ง มรภ.อุตรดิตถ์ ผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 IN 1 จากวัสดุเหลือทิ้ง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นักวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ นำองค์ความรู้ และนวัตกรรมการผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ส่งเสริมรายได้พื้นที่เป้าหมาย สร้างเกษตรกรต้นแบบ จ.อุตรดิตถ์ และ จ.สุรินทร์ กว่า 100 ราย แนะใช้ถ่านดูดซับกลิ่น ความชื้น ยกระดับคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้ อมให้ยั่งยืน โดยการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนั กงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จากปัญหาเศษวัสดุเหลือทิ้ งทางการเกษตร อาทิ เปลือกทุเรียน เหง้ามันสำปะหลัง แกนข้าวโพด ข้อไม้ไผ่ รวมถึงเศษกิ่งไม้ริมทาง ยังไม่ได้ถูกนำมาใช้ให้เกิ ดประโยชน์มากนัก  อีกทั้งการจัดการโดยเผาเศษวัสดุ เหลือทิ้งในที่โล่ง ยังเป็นการปล่อยก๊าซเรื อนกระจกและมลสารเข้าสู่ชั้ นบรรยากาศ องค์ความรู้และนวัตกรรมการผลิ ตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 ด้วยวิธีไพโรไลซิส จึงนับเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ ไขประเด็นปัญหาดังกล่าวได้ ขณะนี้นักวิจัยได้ถ่ายทอดองค์ ความรู้และติดตั้งนวัตกรรมแล้ว ประกอบด้วย เตาผลิตถ่านดูดกลิ่นแบบไพโรไลซิ ส เครื่...

เอ็นไอเอ โหมโรง “นิลมังกร” อัดฉีดผลงานนวัตกรรมเด่นพลิกฟื้นเศรษฐกิจหลังโควิด 19 โค้งสุดท้ายก่อนเฟ้นหาสุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยภายใต้ “นิลมังกรแคมเปญ”

  สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายจำนวน 18 หน่วยงาน ได้แก่ ศูนย์แบรนด์เคยู คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค 14 มหาวิทยาลัย หอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย จัดประกาศผลและมอบรางวัล “ สุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยประจำปี 2564 รอบภูมิภาค ( Thailand INNO BIZ Champion 2021 Regional Round) ภายใต้ “ นิลมังกรแคมเปญ ” ให้กับ 20 ธุรกิจนวัตกรรมจาก 4 ภูมิภาค ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ NIA กล่าวว่า “NIA มีหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุน และสร้างความสามารถการแข่งขันของประเทศด้วยการใช้นวัตกรรม ดังนั้นจึงได้ริเริ่มโครงการสุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยระดับภูมิภาค ภายใต้ “ นิลมังกรแคมเปญ ” ขึ้น เพื่อสร้างตัวอย่างการทำธุรกิจนวัตกรรมในภูมิภาคให้คนในพื้นที่ได้เห็นถึงความสำคัญในการพัฒนานวัตกรรมและได้เรียนรู้กระบวนการสร้างธุรกิจนวัตกรรม ผ่านการสื่อสารในรูปแบบของ Edutainment เพื่อให้เป็นที่น่าสนใจ เข้าถึง และเข้าใจกระบวนการสร้างธุรกิ...

2-4 ธันวาคมนี้ พบกันที่ งานสัตว์น้ำไทย 2024 (Thai Aqua Expo 2024)

สมาคมกุ้งตะวันออกไทย ร่วมกับ พันธมิตรในภาคตะวันออก และภาครัฐ ร่วมจัดงานสัตว์น้ำเศรษฐกิจยิ่งใหญ่ประจำปี 2567 งานสัตว์น้ำไทย 2024 (Thai Aqua Expo 2024) ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-3-4 ธันวาคม 2567 ณ โรงแรมซันไรส์ ลากูน โฮเทลแอนด์กอล์ฟ จ.ฉะเชิงเทรา ภายใต้แนวความคิด “ปรับกลยุทธ์สัตว์น้ำไทย สร้างกำไรทุกภาคส่วน” โดยสมาคมกุ้งตะวันออกไทย ร่วมกับ สมาคม สหกรณ์ ชมรม กลุ่มแปลงใหญ่ ในภาคตะวันออกก รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐ และบริษัทเอกชนผู้ร่วมสนับสนุน ภายใต้มีวัตถุประสงค์ของการจัดงาน เพื่อเผยแพร่ความรู้ นวัตกรรม การส่งต่อข้อมูลเพื่อให้เกษตรกร สามารถวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางการตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศ ถ่ายทอดแนวทางการลดต้นทุนตลอดห่วงโซ่ในอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และกระตุ้นให้มีการส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศมากขึ้น ภายในงานมีการเสวนา และสัมมนาให้ความรู้กับเกษตรกรและผู้ที่สนใจ ตลอดระยะเวลาการจัดงาน ทั้ง 3 วัน รวมถึงมีการจัดแสดงสินค้าของบริษัทและผู้ค้าปัจจัยการผลิตที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยมีพื้นที่จัดแสดงสินค้ามากกว่า 70 บูท และมีบริษัทสนใจเข้าร่วม...