วช.เสริมแกร่งประมงพื้นบ้านหนุน ม.บูรพา ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเลี้ยงหอยแครงในบ่อดินระบบปิด ด้วยแพลงก์ตอนพืช ช่วยลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต หอยแครงโตเต็มที่ เกษตรกรปลื้ม!
การเลี้ยงหอยแครงในพื้นที่บริ เวณชายฝั่งทะเลของไทย ประสบปัญหาด้านคุณภาพน้ำเสียที่ ถูกปล่อยลงสู่ทะเลมาอย่างต่อเนื่ อง เกษตรกรได้ปรับมาใช้วิธีการเลี้ ยงหอยแครงในบ่อดิน แต่ยังคงต้องใช้เวลาเลี้ ยงหอยแครงนาน และการเจริญเติบโตยังไม่เต็มที่
แพลงก์ตอนพืชหรือสาหร่ายเซลล์เดียวที่นำมาเพาะขยายเพิ่มจำนวนเพื่อใช้เป็นอาหารเลี้ยงหอยแครงในบ่อดินระบบปิด
ดร.ไพฑูรย์ มกกงไผ่ นักวิจัยจาก ม.บูรพา
คณะนักวิจัย นำโดย ดร.ไพฑูรย์ มกกงไผ่ แห่งสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา ศึกษาวิจัยและดำเนินการถ่ายทอด โครงการพัฒนาบ่อดินให้เป็นบ่ อเลี้ยงหอยแครงในระบบปิดแบบพั ฒนาด้วยการผลิตแพลงก์ตอนพืช (สาหร่ายเซลล์เดียว) ร่วมกับเกษตรกรกลุ่มเพาะเลี้ ยงหอยแครง ตำบลคลองโคน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม โดยการสนับสนุนทุนวิจัย จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เพื่อช่วยเกษตรกร ลดผลกระทบจากปัญหาสภาพสิ่งแวดล้ อมเสื่อมโทรม คุณภาพน้ำไม่เหมาะสม หรือน้ำเสียได้สำเร็จ
บ่อดินระบบปิดที่ทำการทดลองเลี้ยงหอยแครงด้วยแพลงก์ตอนพืชเสริมกับอาหารตามธรรมชาติ มีการติดตั้งกังหันนำ้เพื่อเติมออกซิเจนช่วยอีกทางโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์
ดร.ไพฑูรย์ มกกงไผ่ เปิดเผยว่า การเลี้ยงหอยแครงโดยวิธีนี้ สามารถทำตามได้ไม่ยาก ไม่ได้ใช้เทคโนโลยีซับซ้อน แต่ตอบโจทย์และสร้างประโยชน์ได้ มาก แก่เกษตรกร ชุมชนและเศรษฐกิจของประเทศ เป็นการนำความรู้จากงานวิจั ยลงสู่ฐานรากการเกษตรอย่างแท้ จริง โดยได้เตรียมขยายผลองค์ความรู้ ต่อไปยังเครือข่ายผู้เลี้ ยงหอยแครงในจังหวัดตราด และกลุ่มเครือข่ายอื่นที่สนใจ
โดยนำหอยแครง มาเลี้ยงในบ่อดินให้เป็นระบบปิด ทำการกักน้ำทะเล ที่ระดับความลึกไม่น้อยกว่า 80 เซนติเมตร /บ่อขนาด 6 ไร่ เพื่อป้องกันอุณหภูมิน้ำที่สู งขึ้น สร้างการหมุนเวียนของกระแสน้ำ และเพิ่มระบบการเติมออกซิเจนด้ วยกังหันลมพลังงานแสงอาทิตย์ พร้อมกับเสริมการเพาะเลี้ ยงแพลงก์ตอนพืช (สาหร่ายเซลล์เดียว) ให้มีปริมาณมากกว่าที่มีอยู่ ตามธรรมชาติ เพื่อใช้เป็นแหล่งอาหารให้กั บหอยแครง โดยเน้นใช้ในช่วงการปิดบ่อเพื่ อเลี่ยงน้ำเสียหรือในฤดูฝนที่น้ำ มีความเค็มต่ำกว่า 21 ส่วนในพันส่วน ในกรณีการเร่งการเจริญเติ บโตของหอยแครง จะปล่อยแพลงก์ตอนในอัตรา 45,000 ลิตร/บ่อขนาด 6 ไร่/ครั้ง ในทุก 3 วัน หรือหากต้องการให้มีการเจริญเติ บโตตามปกติ จะปล่อยแพลงก์ตอน ทุก 9 วัน โดยมีการสลับช่วงให้หอยแครงได้ รับอาหารตามธรรมชาติอีกด้วย
“เกษตรกรผู้เลี้ยงหอยแครงด้วยบ่ อดินระบบปิด แบบใช้แพลงก์ตอนพืชเป็นอาหาร ต่างได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าการเลี้ ยงแบบเดิม โดยหอยแครงมีการเจริญเติบโตอย่ างสมบูรณ์ รสชาติอร่อย ขนาดตัวใหญ่ตามความต้ องการของตลาด จึงขายได้ในราคาที่ดี ช่วยส่งเสริมให้อาชีพการเลี้ ยงหอยแครงมีความมั่นคง และสร้างแหล่งอาหารที่มีคุ ณภาพให้แก่ผู้บริโภค” ดร.ไพฑูรย์ มกกงไผ่ กล่าว
ด้าน ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่ งชาติ กล่าวว่า วช.ส่งเสริมและสนับสนุนการใช้ ประโยชน์ องค์ความรู้จากผลงานวิจัยและนวั ตกรรม เพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และชุ มชน โดยความร่วมมือของภาคส่วนวิจั ยที่มีความพร้อมในการสนับสนุ นองค์ความรู้ไปพั ฒนากระบวนการผลิต การพัฒนาอาชีพ พัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับชุมชน ปราชญ์ชุมชน ปราชญ์เพื่อความมั่ นคงและประชาชน ให้เป็นชุมชนที่เข้มแข็งและยั่ งยืน สร้างฐานรากของการพัฒนาเศรษฐกิ จโดยรวมของประเทศ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น