ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

สกสว. จับมือภาคี ร่วมขับเคลื่อนระบบ ววน. สนับสนุนการเกษตรไทย

 


สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)  จัดการประชุมเสวนา “เส้นทางสู่ตำแหน่งใหม่ของระบบเกษตรไทย”  เพื่อเป็นเวทีในการนำเสนอข้อมูสำคัญจากการ โครงการวิจัยเชิงระบบเพื่อการปฏิรูป และปรับโครงสร้างภาคการเกษตรไทย (RETA) ต่อผู้ใช้ประโยชน์จากงานวิจัยด้านการเกษตรที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ฯลฯ ตลอดจนเปิดพื้นที่ให้ผู้ทรงคุณวุฒิ ร่วมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะเพื่อประโยชน์สำหรับการพัฒนาโครงการวิจัยต่อไป โดยหนึ่งในประเด็นสำคัญที่มีการนำเสนอผลงานวิจัยและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นคือ เรื่องบทบาทของระบบ วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ระบบ ววน.) ในภาพใหญ่เพื่อการสนับสนุนการพัฒนาเกษตรไทย


โอกาสนี้ รศ.ดร.พีรเดช ทองอำไพ ผู้อำนวยการสถาบันคลังสมองของชาติ หนึ่งในนักวิจัยชุดโครงการดังกล่าว ได้ให้แนวทางและข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลว่า ควรมีการ  1.สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีในการผลิตที่เหมาะสมกับกลุ่มเกษตรกรแต่ละกลุ่ม  โดยในที่นี้แบ่งกลุ่มเกษตรเป็น 3 กลุ่มคือ            1) เกษตรกรกลุ่มหัวก้าวหน้า ซึ่งพร้อมรับเทคโนโลยีได้ ควรต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อรองรับเกษตรยุคใหม่ เช่น การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี IoT (Internet of Things) หรือ “อินเทอร์เน็ตเพื่อสรรพสิ่ง” เข้ามาช่วยในกระบวนการผลิต การพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงต่างๆ ทั้งในเรื่องของเครื่องจักรกลเกษตร เครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ การพัฒนาโรงเรือนอัจฉริยะ ไปจนถึงการพัฒนาเกษตรอัจฉริยะ เป็นต้น 2) เกษตรกรกลุ่มที่ยังรีรอและไม่กล้าลงทุน ซึ่งจัดเป็นกลุ่มที่มีความรู้ปานกลาง และพร้อมรับเทคโนโลยีบางอย่างได้ อย่างมีข้อจำกัด เกษตรกรกลุ่มนี้มักพึ่งพิงตลาดภายในประเทศ หรือขายส่งเพื่อตลาดส่งออก โดยผ่านพ่อค้าคนกลางรับซื้อทั่วไป ซึ่งเป้าหมายของการลงทุนพัฒนาเทคโนโลยีด้านนี้คือการลดต้นทุน และเพิ่มผลผลิตเป็นหลัก รวมทั้งการพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่าย เทคโนโลยีที่ต้องการสำหรับเกษตรกรกลุ่มนี้คือ เครื่องมือหรืออุปกรณ์ขนาดเล็กถึงปานกลาง ที่ต้นทุนไม่สูงเกินไป และไม่จำเป็นต้องเป็นเทคโน โลยีขั้นสูง โดยหน่วยงานที่จะสามารถสร้างหรือพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับเกษตรกรกลุ่มนี้คือ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม  (อว.) และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นหลัก 3) เกษตรกรระดับฐานราก เป็นเกษตรกรที่ยังต้องพึ่งพิงมาตรการของภาครัฐและเป็นเกษตรกรกลุ่มใหญ่ที่สุดของประเทศ เกษตรกรกลุ่มนี้ยังไม่พร้อมรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีใดๆ และมักใช้กระบวนการตามอย่างผู้ที่ประสบความสำเร็จ ผลผลิตจากเกษตรกรกลุ่มนี้มักจะเป็นกลุ่มพืชไร่ที่มีปัญหาเรื่องราคา เช่นข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา เป็นต้น ดังนั้นเทคโนโลยีที่จะถ่ายทอดไปถึงเกษตรกรกลุ่มนี้ จะต้องเป็นเทคโนโลยีอย่างง่าย ไม่ซับซ้อน ราคาไม่แพง ดังนั้นหน่วยงานที่จะเป็นผู้พัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับเกษตรกรกลุ่มนี้คือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นหลัก


2. สนับสนุนการวิจัยเชิงพื้นที่ตามความต้องการของกลุ่มเกษตรกรเฉพาะที่ โดยใช้กลไกของมหาวิทยาลัยในพื้นที่และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นหลัก

3. ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนารูปแบบการรวมกลุ่มของเกษตรกรที่เข้มแข็ง

4. ควรสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเครื่องจักรกลการเกษตรขนาดเล็ก เพื่อทดแทนการนำเข้า และลดต้นทุนการผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องจักรกลที่เหมาะสำหรับกลุ่มเกษตรกรระดับกลาง ตลอดจนสนับสนุนการพัฒนาการเกษตรในเชิงของ การสร้างนวัตกรรม และสนับสนุนการพัฒนาการเกษตรในเชิงนโยบายและกลไกการขับเคลื่อน


สำหรับข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อการลงทุนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.)  คือ ควรกำหนดสัดส่วนการสนับสนุนทุนวิจัยด้านการวิจัยประยุกต์ และการวิจัยเชิงทดลองให้มากขึ้น และลดการสนับสนุนการวิจัยพื้นฐานลง โดยการ 1) สนับสนุนภาคเอกชนลงทุนหรือร่วมลงทุนวิจัย 2) การเตรียมเกษตรกรรุ่นใหม่เพื่อพร้อมรับการผลิตแบบทันสมัย 3) กำหนดทิศทางการพัฒนาเทคโนโลยีการเกษตรสำหรับยุคใหม่ที่ชัดเจน 4) การแก้ไขกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคการพัฒนานวัตกรรมและการใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยในประเทศเช่น แนวทางการจัดทำผลงานเพื่อการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของนักวิจัย 5) การวิจัยเพื่อสร้างข้อมูลเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ รวมถึงการพัฒนาระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big data) ทางการเกษตร เพื่อนำมาใช้สนับสนุนการตัดสินใจเชิงนโยบาย และ 6)  ลงทุนการวิจัยให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 2 ของ ค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาโดยรวม (GERD) หรือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) โดยผ่านกลไกของกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุนส่งเสริม ววน.)


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

นวัตกรรมการผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ส่งเสริมรายได้สู่ชุมชน

  วช. เสริมแกร่ง มรภ.อุตรดิตถ์ ผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 IN 1 จากวัสดุเหลือทิ้ง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นักวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ นำองค์ความรู้ และนวัตกรรมการผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ส่งเสริมรายได้พื้นที่เป้าหมาย สร้างเกษตรกรต้นแบบ จ.อุตรดิตถ์ และ จ.สุรินทร์ กว่า 100 ราย แนะใช้ถ่านดูดซับกลิ่น ความชื้น ยกระดับคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้ อมให้ยั่งยืน โดยการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนั กงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จากปัญหาเศษวัสดุเหลือทิ้ งทางการเกษตร อาทิ เปลือกทุเรียน เหง้ามันสำปะหลัง แกนข้าวโพด ข้อไม้ไผ่ รวมถึงเศษกิ่งไม้ริมทาง ยังไม่ได้ถูกนำมาใช้ให้เกิ ดประโยชน์มากนัก  อีกทั้งการจัดการโดยเผาเศษวัสดุ เหลือทิ้งในที่โล่ง ยังเป็นการปล่อยก๊าซเรื อนกระจกและมลสารเข้าสู่ชั้ นบรรยากาศ องค์ความรู้และนวัตกรรมการผลิ ตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 ด้วยวิธีไพโรไลซิส จึงนับเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ ไขประเด็นปัญหาดังกล่าวได้ ขณะนี้นักวิจัยได้ถ่ายทอดองค์ ความรู้และติดตั้งนวัตกรรมแล้ว ประกอบด้วย เตาผลิตถ่านดูดกลิ่นแบบไพโรไลซิ ส เครื่...

เอ็นไอเอ โหมโรง “นิลมังกร” อัดฉีดผลงานนวัตกรรมเด่นพลิกฟื้นเศรษฐกิจหลังโควิด 19 โค้งสุดท้ายก่อนเฟ้นหาสุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยภายใต้ “นิลมังกรแคมเปญ”

  สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายจำนวน 18 หน่วยงาน ได้แก่ ศูนย์แบรนด์เคยู คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค 14 มหาวิทยาลัย หอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย จัดประกาศผลและมอบรางวัล “ สุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยประจำปี 2564 รอบภูมิภาค ( Thailand INNO BIZ Champion 2021 Regional Round) ภายใต้ “ นิลมังกรแคมเปญ ” ให้กับ 20 ธุรกิจนวัตกรรมจาก 4 ภูมิภาค ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ NIA กล่าวว่า “NIA มีหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุน และสร้างความสามารถการแข่งขันของประเทศด้วยการใช้นวัตกรรม ดังนั้นจึงได้ริเริ่มโครงการสุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยระดับภูมิภาค ภายใต้ “ นิลมังกรแคมเปญ ” ขึ้น เพื่อสร้างตัวอย่างการทำธุรกิจนวัตกรรมในภูมิภาคให้คนในพื้นที่ได้เห็นถึงความสำคัญในการพัฒนานวัตกรรมและได้เรียนรู้กระบวนการสร้างธุรกิจนวัตกรรม ผ่านการสื่อสารในรูปแบบของ Edutainment เพื่อให้เป็นที่น่าสนใจ เข้าถึง และเข้าใจกระบวนการสร้างธุรกิ...

2-4 ธันวาคมนี้ พบกันที่ งานสัตว์น้ำไทย 2024 (Thai Aqua Expo 2024)

สมาคมกุ้งตะวันออกไทย ร่วมกับ พันธมิตรในภาคตะวันออก และภาครัฐ ร่วมจัดงานสัตว์น้ำเศรษฐกิจยิ่งใหญ่ประจำปี 2567 งานสัตว์น้ำไทย 2024 (Thai Aqua Expo 2024) ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-3-4 ธันวาคม 2567 ณ โรงแรมซันไรส์ ลากูน โฮเทลแอนด์กอล์ฟ จ.ฉะเชิงเทรา ภายใต้แนวความคิด “ปรับกลยุทธ์สัตว์น้ำไทย สร้างกำไรทุกภาคส่วน” โดยสมาคมกุ้งตะวันออกไทย ร่วมกับ สมาคม สหกรณ์ ชมรม กลุ่มแปลงใหญ่ ในภาคตะวันออกก รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐ และบริษัทเอกชนผู้ร่วมสนับสนุน ภายใต้มีวัตถุประสงค์ของการจัดงาน เพื่อเผยแพร่ความรู้ นวัตกรรม การส่งต่อข้อมูลเพื่อให้เกษตรกร สามารถวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางการตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศ ถ่ายทอดแนวทางการลดต้นทุนตลอดห่วงโซ่ในอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และกระตุ้นให้มีการส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศมากขึ้น ภายในงานมีการเสวนา และสัมมนาให้ความรู้กับเกษตรกรและผู้ที่สนใจ ตลอดระยะเวลาการจัดงาน ทั้ง 3 วัน รวมถึงมีการจัดแสดงสินค้าของบริษัทและผู้ค้าปัจจัยการผลิตที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยมีพื้นที่จัดแสดงสินค้ามากกว่า 70 บูท และมีบริษัทสนใจเข้าร่วม...