เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2564 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จัดเสวนาความสำคัญของระบบข้อมู
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่
ด้าน ศ.กิตติคุณ นพ.สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ ประธาน ววน. กล่าวว่า การมี Big Data ของประเทศในงานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จะช่วยลดความซ้ำซ้อน เกิดกลไกที่เป็นระบบมากขึ้น และเกิดการจั ดทำแผนงบประมาณและบูรณาการการวิ จัยของประเทศเป็นครั้งแรก ซึ่งปัจจุบันมีความสมบูรณ์แล้ว ร้อยละ 90 และคาดว่าจะสมบูรณ์มากขึ้น ซึ่งจะช่วยทำให้ผู้ใช้ งานสามารถใช้งานได้ในส่วนกลาง และสามารถเข้าถึงง่าย ทันสมัย มีมาตรฐานเชื่อถือได้ และสามารถเชื่อมโยงกับหน่ วยงานต่าง ๆ ที่มีผลงานวิจัยได้ดี เมื่อมีการจัดทำฐานข้อมูลจะช่ วยให้ผู้ใช้งานได้ใช้ประโยชน์ร่ วมกันมากที่สุด
ขณะที่ ผศ.ดร.สุภาภรณ์ เกียรติสิน มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ข้อมูลสารสนเทศทางการวิจัย เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่ อนประเทศที่ดีที่สุด ขณะนี้การจัดทำข้อมูล Big Data วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่ วช.ดำเนินการ ยังต้องการงานวิจัยจากหน่ วยงานต่าง ๆ มารวมกันเป็น Big Data จึงจะตอบได้อย่างชัดเจนว่า งบวิจัยของประเทศต่อ GDP มีมากน้อยแค่ไหน ขณะนี้เรามีนักวิจัย ประมาณ 140,000 คน และมีงานวิจัยอีกจำนวนมาก แต่ถ้าไม่มีการนำมารวมไว้ในที่ เดียว ก็จะมองไม่เห็นภาพรวมทั้งหมด แต่เชื่อว่าถ้าทำข้อมูลนี้เสร็ จสมบูรณ์ จะสามารถระบุได้ว่าประเทศไทยใช้ งบวิจัยต่อ GDP เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้หรื อไม่ ที่ผ่านมาได้พยายามพัฒนาระบบนี้ ให้สมบูรณ์ตามที่ ศ.กิตติคุณ นพ.สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ ได้ริเริ่มไว้
การเสวนาในครั้งนี้ จะชี้ให้ทุกภาคส่วน อาทิ ภาคประชาคมวิจัย ภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน เห็นความสำคัญของระบบข้อมู ลสารสนเทศ ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ พร้อมการให้บริการสืบค้นข้อมู ลและใช้ประโยชน์ ซึ่งจะเป็นการเปลี่ยนโฉมหน้ าการวิจัยของประเทศ และทำให้ประชาชนเห็นว่า การลงทุนกับงานวิจัยมีความคุ้ มค่าต่อการพัฒนาประเทศ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น