วันนี้ 31 ตุลาคม 2564 ที่ชุมชนบ้านบุญแจ่ม ต.น้ำเลา อ.ร้องกวาง จ.แพร่ ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่ งชาติ ร่วมกับ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) และมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ ลงพื้นที่ ถ่ายทอดเทคโนโลยี และนวัตกรรม การปลูกพืชเศรษฐกิจร่วมกั บการเพาะเห็ดไมคอร์ไรซา พร้อมเปิดศูนย์เรียนรู้พื้นที่ ต้นแบบ “ชุมชนไม้มีค่า” เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่ งยืน
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่ งชาติ กล่าวว่า วช.ได้รับมอบหมายให้เป็นหน่ วยงานหลัก ในการบูรณาการการขับเคลื่อน โครงการชุมชนไม้มีค่า ตามมติคณะรัฐมนตรี ในการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกไม้ มีค่า เพื่อสร้างแหล่งอาหารและพั ฒนาเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืน โดย วช. ได้สนับสนุนการดําเนิ นงานโครงการ ส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี นวัตกรรม การปลูกพืช เศรษฐกิจร่วมกับการเพาะเห็ ดไมคอร์ไรซา เพื่อพัฒนา เศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืน ให้กับ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ซึ่งผลการดําเนินงานได้มีการจั ดกิจกรรมส่งเสริม อบรม ถ่ายทอดการปลูกพืชเศรษฐกิจร่ วมกับการเพาะเห็ดไมคอร์ไรซา และการผลิตหัวเชื้อ อีกทั้ง ได้จัดทําพื้นที่ ต้นแบบและพัฒนาให้เป็นศูนย์เรี ยนรู้ ทัศนศึกษา และท่องเที่ยวเชิงวนเกษตรอินทรี ย์ด้านการเพาะเห็ดไมคอร์ไรซา ร่วมกับการปลูกพืชเศรษฐกิจ ในวันนี้ จึงขอเปิดศูนย์เรียนรู้พื้นที่ ต้นแบบ “ชุมชนไม้มีค่า” บ้านบุญแจ่ม เพื่อการใช้ประโยชน์เป็นแหล่ งเรียนรู้และ พัฒนาทักษะอาชีพให้กับเกษตรกรต่ อไปในอนาคต
ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิ ทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า วว.มีประสบการณ์ด้านการวิจัยเห็ ดมานานกว่า 20 ปี เมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความสำคัญกั บป่าชุมชน ในการส่งเสริมการปลูกไม้มีค่า ให้ชุมชนเกษตรกรรักษาและอาศั ยประโยชน์จากป่า ทำให้งานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ของ วว.ได้ลงสู่ชุมชนอย่างเป็นรู ปธรรม เกิดความร่วมมือระหว่างนักวิจั ยและชุมชนเป็นอย่างดี นับเป็นการขับเคลื่อน BCG Model ของประเทศ เพื่อให้คนไทยได้มีแหล่งอาหารที่ ปลอดภัยและป่าที่อุดมสมบูรณ์
นายสุรพล วงศ์สุขพิศาล ปลัดจังหวัดแพร่ กล่าวว่า นวัตกรรมการปลูกพืชเศรษฐกิจร่ วมกับการเพาะเห็ดไมคอร์ไรซา เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่ งยืน ที่ได้รับการสนับสนุนทุนวิจั ยจาก วช. ได้ส่งผลให้ชาวบ้านในชุมชนเกิ ดการเรียนรู้และใช้ประโยชน์ จากทรัพยากรป่าไม้ในท้องถิ่นได้ อย่างเหมาะสม สร้างแหล่งอาหาร โดยการปลูกไม้เศรษฐกิจร่วมกั บการเพาะเห็ดป่า เข้ามาหนุนเสริมให้ชุมชนเกิ ดความเข้มแข็ง และสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่ งยืน จนได้เป็นชุมชนแบบอย่างด้ านการพัฒนา ด้วยป่าชุมชนบ้านบุญแจ่มที่มี ความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยน้ำและป่ าไม้เป็นอันดับต้น ๆ ของจังหวัดแพร่ นำมาสู่การเปิดศูนย์เรียนรู้พื้ นที่ต้นแบบ “ชุมชนไม้มีค่า” บ้านบุญแจ่ม ในวันนี้ นับเป็นความสำเร็จของการบู รณาการความร่วมมือระหว่าง วช. วว. มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกไม้มีค่า สร้างแหล่งอาหารและพัฒนาทั กษะอาชีพให้กับชุมชน
พร้อมกันนี้ ดร.สุจิตรา โกศล ในฐานะหัวหน้าโครงการฯ จากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) เปิดเผยว่า พืชผักในพื้นที่ป่าเป็นแหล่ งอาหาร และสร้างรายได้ให้กับชาวบ้าน โดยเฉพาะเห็ดไมคอร์ไรซา เช่น เห็ดเผาะ เห็ดระโงก เห็ดตะไคล เห็ดน้ำหมาก เห็ดน้ำแป้ง เห็ดถ่าน ที่เจริญและเกิดดอกโดยอาศั ยความสัมพันธ์ระหว่างรากั บระบบรากของพืชชั้นสูงแบบเกื้ อกูลกัน แต่เมื่อพื้นที่ป่าบนภูเขาซึ่ งเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารถูกบุกรุก แผ้วถาง และเผาป่าเพื่อทำการเกษตรเชิ งเดี่ยวจนถึงขั้นวิกฤต จึงกระทบไปถึงการให้ผลผลิ ตของอาหารป่า โดยเฉพาะเห็ด ลดทอนความมั่นคงด้ านอาหารและรายได้ของชุมชนเป็ นทอด ๆ ดังนั้น การส่งเสริมการปลูกพืชไม้มีค่า หรือพืชเศรษฐกิจ ไปพร้อม ๆ กับการเพาะเห็ดไมคอร์ไรซา ในรูปแบบของวนเกษตร จึงเป็นวิธีการที่น่าสนใจ ชุมชนสามารถสร้างรายได้ได้ทั้ งระยะยาว และระยะสั้น จากการเก็บเกี่ยวผลผลิตจากทั้ งสองประเภท สร้างความมั่นคง ด้านอาหารชุมชนและระบบนิเวศ
เห็ดป่าไมคอร์ไรซา ประกอบด้วย 2 ประเภท คือ เอนโดไมคอร์ไรซา และ เอคโตไมคอร์ไรซา โดยมีทั้ง กลุ่มเห็ดกินได้ กลุ่มเห็ดกินไม่ได้ และกลุ่มเห็ดพิษ ความหลากหลายของเห็ดจะแตกต่างกั นไปตามปัจจัยสภาพสิ่งแวดล้อม หรือ ระบบนิเวศป่าไม้ ซึ่งไมคอร์ไรซาสามารถเจริญอยู่ ร่วมกับรากพืชชั้นสูงในลักษณะพึ่ งพาอาศัยกัน เส้นใยของราทำหน้าที่ช่ วยระบบรากพืชในการดูดน้ำและธาตุ อาหารจากดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดูดซับธาตุ ฟอสเฟตให้แก่พืช ส่วนราจะได้รับสารอาหารจากพื ชเพื่อการดำรงชีวิต
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น