ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

“นวัตกรรมเส้นใยจากผักตบชวา” สร้างมูลค่าเพิ่มสู่อุตสาหกรรมเชิงพาณิชย์

 

ทีมวิจัย "นวัตกรรมเส้นใยจากผักตบชวา" แห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี


ในปี 2562 ผักตบชวาเป็นกระแสที่ถูกพูดถึงและเป็นวัสดุเหลือทิ้งเยอะมาก ทีมวิจัยได้ของบประมาณจาก วช.สำหรับดำเนินการในปีแรก ผลิตเป็นเส้นด้ายและผ้าจากผักตบชวาขึ้นมาก่อน พอปี 2563 ได้งบจาก ปตท. สนับสนุนให้มีการนำองค์ความรู้ลงไปสู่ชุมชนให้ชุมชนได้ใช้ ตอนนั้นมีผ้าแล้ว ก็นำผ้านี้ไปถ่ายทอดให้เขาเพื่อเป็นอีกทางเลือกที่นอกจากผ้าไทยที่เขาจะหาซื้อได้ทั่วไปแล้ว ให้เขาสามารถใช้ผ้าผักตบไปผลิตเป็นรูปแบบผลิตภัณฑ์ชุมชนของเขาได้


ดร.ศุภนิชา ศรีวรเดชไพศาล นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี พูดถึงจุดเริ่มต้นของการพัฒนา “นวัตกรรมเส้นใยจากผักตบชวา” โดยทีมวิจัยได้มีการต่อยอดองค์ความรู้ลงไปสู่ชุมชน เกิดการสร้างงานสร้างรายได้ ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันมีชุมชนต่างๆ รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อไปประยุกต์ใช้แล้ว อาทิ ชุมชนผลิตเสื้อผ้า ชุมชนผลิตพวกเก้าอี้ (เคหะสิ่งทอ) ผลิตพรมจากผักตบชวา โดยการผลิตพรมจะมีทีมนักวิจัยจากคณะวิศวฯ คอยช่วยดูแล เรื่องของเทคนิคการผลิตที่ไม่เกิดปัญหาเชื้อรา ส่วนผ้าทอที่ใช้ผลิตเป็นเสื้อผ้าทั่วไปการผลิตจะทำในเชิงอุตสาหกรรมโดยมี บริษัทก้องเกียรติเท็กซ์ไทล์ เข้ามาช่วยในเรื่องของการผลิตผ้า ผลิตเส้นด้ายขึ้นมา จากนั้นการพัฒนาก็คือจะต่อยอดในเรื่องของการทำสู่เชิงพาณิชย์ เพื่อให้ชาวบ้านนำรูปแบบไปใช้ นำผ้าไปใช้ แล้วเขาเกิดรายได้ขึ้นมา



นอกเหนือจากที่ต่อยอดให้กับชุมชนแล้ว ยังได้นำความรู้เรื่องการผลิตเส้นด้าย ลงไปสอนให้กับพัฒนาชุมชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งปัจจุบันสามารถผลิตเส้นด้ายได้เอง ผลิตตั้งแต่กระบวนการเส้นใย-เส้นด้าย จนเกิดการสร้างแบรนด์เป็นแบรนด์ผักตบของอยุธยาได้อีกด้วย และมีการจำหน่ายสู่เชิงพาณิชย์แล้วโดย บริษัทก้องเกียรติเท็กซ์ไทล์จำกัด นำเส้นด้ายจากการพัฒนาส่งออกไปจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น ,SMEs และสมาคมของใช้ของขวัญ ของชำร่วยไทย และของตกแต่งบ้าน โดยคุณวิลาสินี ชูรัตน์ นำผ้าไปใช้ในสมาคมฯ OTOP บ้านหัตถศิลป์ และนิกรเครื่องหนัง นำผ้าไปใช้สร้างจุดเด่นผลิตภัณฑ์ที่แตกต่าง สร้างโอกาสทางการตลาดเพิ่มมากขึ้น 


ทั้งนี้ ย้อนไปในปี 2563 นักวิจัยเล่าว่า ขณะนั้นงานวิจัยมีการพัฒนาเรื่อยๆ จากเดิมที่มองว่าผ้าอาจจะมี ผิวสัมผัส ที่ยังไม่ได้ถูกใจผู้บริโภคมากนัก ก็มีการพัฒนาใหม่ โดยการที่ผลิตให้เป็นผักตบชวาเส้นใยละเอียด จากที่เคยใช้เครื่องเป็นแบบเครื่องผลิตทั่วไปสามารถผลิตได้ ถ้าเส้นใยนั้นไม่ได้มีความสะอาดมาก แต่หากอยากจะผลิตให้ต้นทุนต่ำลง ก็ต้องใช้เครื่องที่มีกระบวนการในการเตรียมเรื่องเส้นใยให้มีความสะอาด มีความพร้อมในการจะนำเข้าเครื่อง จึงมีการวิจัยร่วมกัน จนได้เป็นตัวอย่างผ้าออกมา ว่าถ้าเป็นเส้นใยละเอียดเราจะได้เป็นลักษณะผ้าเนื้อไหน และมีตัวอย่างแล้ว โดยสัดส่วนที่ใช้ผสมก็จะมี ผักตบชวา 40% : ฝ้าย 60% หรือไม่ก็จะเป็น ผักตบชวา 20%  : ฝ้าย 80% เน้นใช้แค่ 2 ชนิดเส้นใยในการผสม พยายามทำให้ ECO มากที่สุด เพราะอยากทำเส้นใยที่เป็นธรรมชาติ ซึ่งความแตกต่างของผิวสัมผัสระหว่าง 40% ที่ได้คือ จะเป็นผิวสัมผัสแบบจับต้องได้ รู้สึกถึงความเป็นผักตบชวาอยู่ กับแบบ 20% ก็คือ ทำให้ผิวมันนุ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม จากอัตราส่วนที่ทีมวิจัยทำได้ 40% ก็ถือเป็นอัตราส่วนที่เยอะที่สุดแล้ว


จากผักตบชวาสด 100 กก. โดยเลือกต้นมีความยาวตั้งแต่ 40-50 ซม.ขึ้นไป เพื่อให้ได้เส้นใยที่เหมาะสมกับการผลิต จะได้เป็นเส้นใยแห้ง (ตากแห้งแล้ว) ประมาณ 5 กก. เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มจากวัสดุเหลือทิ้ง เส้นใยผักตบชวาแห้งกิโลกรัมละ 400 บาท นำผ้าไปใช้สร้างเอกลักษณ์ (เสื้อผ้าสำเร็จรูป) ต้นทุน 1,400 บาท นำไปจำหน่ายราคาตัวละ 2,400 บาท มีรายได้เพิ่มขึ้น 1,000 บาท/ชุด นอกจากนี้ยังมีการ ผลิตกระเป๋า หมวก หน้ากากอนามัย และรองเท้า (เครื่องประกอบการแต่งกาย) เก้าอี้ (เคหะสิ่งทอ) เป็นต้น

“ตอนนี้เราเปิดกว้างมากใครอยากได้องค์ความรู้แบบไหน อยากได้วิธีการผลิตเส้นใย ต่อให้ไปผลิตเส้นใยอื่น เราก็ถ่ายทอดให้ อย่างอยากได้วิธีการผลิตเส้นใยผักตบชวา เรามีกลุ่มของพัฒนาชุมชนที่อยุธยา เขาก็ขอองค์ความรู้เราไป เราก็ไปสอนยกเครื่องของเราเองไปให้ถึงกลุ่มเลย ว่าทำแบบนี้ ชาวบ้านเขาไปตัดต้นผักตบมาแบบนี้ๆ สอนทุกสิ่งอย่าง สอนแหล่งการผลิตเส้นด้าย สอนให้หาวิธีการหากลุ่มทอผ้า หรือทอโรงงานแบบไหน จนปัจจุบันเขาทำเองได้อย่างเข้มแข็ง พอเข้มแข็งปุ๊บเราก็ปล่อยมือเขา คือแล้วแต่ว่าชุมชนจะขับเคลื่อนไปทางไหน” นักวิจัยกล่าวในที่สุด

สำหรับชุมชนที่สนใจต้องการขอรับการถ่ายทอดเทคโนโลยี โทร.062-351-6396 พบกับ “นวัตกรรมเส้นใยจากผักตบชวา” และเทคโนโลยีจากงานวิจัยที่น่าสนใจอื่นๆ ได้ที่ มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2564 (Thailand Research Expo 2021) วันนี้ -26 พฤศจิกายน ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ  

  





ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

นวัตกรรมการผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ส่งเสริมรายได้สู่ชุมชน

  วช. เสริมแกร่ง มรภ.อุตรดิตถ์ ผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 IN 1 จากวัสดุเหลือทิ้ง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นักวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ นำองค์ความรู้ และนวัตกรรมการผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ส่งเสริมรายได้พื้นที่เป้าหมาย สร้างเกษตรกรต้นแบบ จ.อุตรดิตถ์ และ จ.สุรินทร์ กว่า 100 ราย แนะใช้ถ่านดูดซับกลิ่น ความชื้น ยกระดับคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้ อมให้ยั่งยืน โดยการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนั กงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จากปัญหาเศษวัสดุเหลือทิ้ งทางการเกษตร อาทิ เปลือกทุเรียน เหง้ามันสำปะหลัง แกนข้าวโพด ข้อไม้ไผ่ รวมถึงเศษกิ่งไม้ริมทาง ยังไม่ได้ถูกนำมาใช้ให้เกิ ดประโยชน์มากนัก  อีกทั้งการจัดการโดยเผาเศษวัสดุ เหลือทิ้งในที่โล่ง ยังเป็นการปล่อยก๊าซเรื อนกระจกและมลสารเข้าสู่ชั้ นบรรยากาศ องค์ความรู้และนวัตกรรมการผลิ ตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 ด้วยวิธีไพโรไลซิส จึงนับเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ ไขประเด็นปัญหาดังกล่าวได้ ขณะนี้นักวิจัยได้ถ่ายทอดองค์ ความรู้และติดตั้งนวัตกรรมแล้ว ประกอบด้วย เตาผลิตถ่านดูดกลิ่นแบบไพโรไลซิ ส เครื่...

เอ็นไอเอ โหมโรง “นิลมังกร” อัดฉีดผลงานนวัตกรรมเด่นพลิกฟื้นเศรษฐกิจหลังโควิด 19 โค้งสุดท้ายก่อนเฟ้นหาสุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยภายใต้ “นิลมังกรแคมเปญ”

  สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายจำนวน 18 หน่วยงาน ได้แก่ ศูนย์แบรนด์เคยู คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค 14 มหาวิทยาลัย หอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย จัดประกาศผลและมอบรางวัล “ สุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยประจำปี 2564 รอบภูมิภาค ( Thailand INNO BIZ Champion 2021 Regional Round) ภายใต้ “ นิลมังกรแคมเปญ ” ให้กับ 20 ธุรกิจนวัตกรรมจาก 4 ภูมิภาค ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ NIA กล่าวว่า “NIA มีหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุน และสร้างความสามารถการแข่งขันของประเทศด้วยการใช้นวัตกรรม ดังนั้นจึงได้ริเริ่มโครงการสุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยระดับภูมิภาค ภายใต้ “ นิลมังกรแคมเปญ ” ขึ้น เพื่อสร้างตัวอย่างการทำธุรกิจนวัตกรรมในภูมิภาคให้คนในพื้นที่ได้เห็นถึงความสำคัญในการพัฒนานวัตกรรมและได้เรียนรู้กระบวนการสร้างธุรกิจนวัตกรรม ผ่านการสื่อสารในรูปแบบของ Edutainment เพื่อให้เป็นที่น่าสนใจ เข้าถึง และเข้าใจกระบวนการสร้างธุรกิ...

2-4 ธันวาคมนี้ พบกันที่ งานสัตว์น้ำไทย 2024 (Thai Aqua Expo 2024)

สมาคมกุ้งตะวันออกไทย ร่วมกับ พันธมิตรในภาคตะวันออก และภาครัฐ ร่วมจัดงานสัตว์น้ำเศรษฐกิจยิ่งใหญ่ประจำปี 2567 งานสัตว์น้ำไทย 2024 (Thai Aqua Expo 2024) ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-3-4 ธันวาคม 2567 ณ โรงแรมซันไรส์ ลากูน โฮเทลแอนด์กอล์ฟ จ.ฉะเชิงเทรา ภายใต้แนวความคิด “ปรับกลยุทธ์สัตว์น้ำไทย สร้างกำไรทุกภาคส่วน” โดยสมาคมกุ้งตะวันออกไทย ร่วมกับ สมาคม สหกรณ์ ชมรม กลุ่มแปลงใหญ่ ในภาคตะวันออกก รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐ และบริษัทเอกชนผู้ร่วมสนับสนุน ภายใต้มีวัตถุประสงค์ของการจัดงาน เพื่อเผยแพร่ความรู้ นวัตกรรม การส่งต่อข้อมูลเพื่อให้เกษตรกร สามารถวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางการตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศ ถ่ายทอดแนวทางการลดต้นทุนตลอดห่วงโซ่ในอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และกระตุ้นให้มีการส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศมากขึ้น ภายในงานมีการเสวนา และสัมมนาให้ความรู้กับเกษตรกรและผู้ที่สนใจ ตลอดระยะเวลาการจัดงาน ทั้ง 3 วัน รวมถึงมีการจัดแสดงสินค้าของบริษัทและผู้ค้าปัจจัยการผลิตที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยมีพื้นที่จัดแสดงสินค้ามากกว่า 70 บูท และมีบริษัทสนใจเข้าร่วม...