จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่ Covid-19 ที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย
คนว่างงาน อีกทั้งสภาพการณ์ของการใช้ชีวิตประจำวัน ที่ต้องคอยระวังป้องกันการติดเชื้อ
ภายใต้มาตรการ Social Distancing ด้วยยิ่งทำให้ การใช้ชีวิตบนวิถีปกติใหม่จำเป็นต้องพึ่งพานวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์
มาประยุกต์ใช้เพื่อช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น
รู้จัก มหัศจรรย์ “ฟองอากาศขนาดเล็กจิ๋ว” เกษตรกรรมบนวิถีปกติใหม่ โดย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์
ดร.ธนกร ราชพิลา นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ให้ข้อมูลว่า
ฟองอากาศขนาดเล็กจิ๋ว (fine bubble) หรือ
ไมโครนาโนบับเบิ้ล (micro/nano bubble) เป็นเทคโนโลยีการสร้างฟองอากาศที่มีอนุภาคขนาดเล็กมากระดับไมโครเมตรหรือระดับนาโนเมตร
ฟองอากาศระดับนาโนเมตร หรือไมโครบับเบิ้ล มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 10-50 ไมโครเมตร
สามารถมองเห็นด้วยน้ำที่ผ่านการสร้างฟองอากาศมีลักษณะคล้ายสีของนมและฟองอากาศค่อยๆ
ลอยขึ้นสู่ผิวน้ำ ส่วนฟองอากาศระดับนาโนเมตร หรือ นาโนบับเบิ้ล
มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 200 นาโนเมตร
ซึ่งมีขนาดเล็กมากไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าและคงอยู่ในน้ำได้นานกว่าฟองอากาศทั่วไป
จากคุณสมบัติดังกล่าว
ทีมวิจัยได้มีการพัฒนาหัวฉีดสร้างฟองอากาศขนาดจิ๋วราคาประหยัด ต้นทุนเพียง 100 บาท สามารถสร้างฟองอากาศขนาดเล็กจิ๋วที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ยในช่วง
10-50 ไมโครเมตร การผสมอากาศเข้าไปในปั๊มของเหลวใบพัดของปั๊มจะหมุนอย่างรวดเร็วสร้างแรงเฉือนตัดย่อยฟองให้มีขนาดเล็กจิ๋ว
ยิ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการถ่ายโอนก๊าซกับของเหลว นำไปใช้กับระบบ “อควาโปนิกส์” การปลูกผักร่วมกับเลี้ยงปลา
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตอบโจทย์สำหรับคนเมือง อยู่กับบ้านต้องการจะสร้างความมั่นคงทางอาหารไว้บริโภคเองในครัวเรือน
ยุคโควิด 19 สามารถใช้พื้นที่ไม่มากนักบริเวณข้างบ้านเพื่อเป็นฟาร์ม “อควาโปนิกส์”
ขนาดย่อมได้ อีกวัตถุประสงค์ก็คือการล้างทำความสะอาดผลผลิตเกษตร
ซึ่งมีการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคทางระบบทางเดินอาหาร ตามมาจากในแปลงแต่ผู้บริโภคไม่ต้องการใช้สารเคมีกำจัด
มีการนำฟองอากาศขนาดเล็กจิ๋วไปจัดการในการล้างด้วยระบบโอโซน โดยแช่ผลผลิตทิ้งเอาไว้ในถังแช่นาน 5 นาทีขึ้นไป นอกจากนี้ยังได้นำ ฟองอากาศขนาดเล็กจิ๋ว
ไปช่วยแก้ปัญหาให้กลุ่มเกษตรกรปลูกพืชผักสวนครัว ที่ใช้น้ำบาดาลในการเพาะปลูก
มีปัญหาเรื่องคุณภาพน้ำทำให้พืชไม่เจริญงอกงามดีอย่างที่ควรจะเป็น
“หลักการก็คือว่า
เราจะให้ฟองอากาศขนาดเล็กจิ๋วซึ่งสามารถทำให้แก๊สตัวนำ ละลายในน้ำได้ ไม่ว่าจะเป็น
แก๊สตัวนำของการปลูกผักร่วมกับการเลี้ยงปลาก็คือ ออกซิเจน
หรือแก๊สตัวนำของการล้างผัก ที่นิยมใช้กันก็คือ โอโซน ดังนั้น
ปลาถ้ามีออกซิเจนในน้ำเยอะ ปลาก็เจริญเติบโตได้ดี พืชผักก็เช่นเดียวกัน
ก็ต้องการออกซิเจนเหมือนกัน ซึ่งระบบอควาโปนิกส์จะเป็นการใช้น้ำแบบหมุนเวียน
น้ำเลี้ยงปลาจะไปรดผักด้วยซึ่งฟองอากาศขนาดเล็กจิ๋วจะไปช่วยทำให้ค่าออกซิเจนที่ละลายในน้ำ
ได้ถึง 10 ppm เป็นการเติมออกซิเจน ส่วนกรณีของการล้างก็ช่วยเพิ่มโอโซนให้ทำงานได้ดีขึ้นเช่นเดียวกัน
และสำหรับการแก้เรื่องน้ำบาดาล ออกซิเจนใต้ดินจะไม่ค่อยมี ทำให้พืชดูดซึมสารอาหารได้ไม่ค่อยดี
ก็ช่วยเติมออกซิเจนให้พืชดูดซึมไปใช้ได้ดีขึ้น”
ทั้งนี้
นักวิจัยได้มีการดำเนินการวิจัยมาตั้งแต่ปี 2561 โดยได้มีการดำเนินงานผ่านโครงการวิจัยและโครงการพัฒนาต่างๆ
ในด้านการเกษตร 3 กิจกรรม ประกอบด้วย 1.
โครงการผลิตปลานิลคุณภาพสูงที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
เป็นโครงการที่ดำเนินงานภายใต้การสนับสนุนงบประมาณจากกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
2 เป็นโครงการที่เป็นจุดเริ่มต้นของการเล็งเห็นความสำคัญของฟองอากาศขนาดเล็กจิ๋ว
โดยเริ่มการเลี้ยงปลานิลความหนาแน่นสูงด้วยตะกอนจุลินทรีย์ซึ่งเป็นระบบที่ต้องการปริมาณออกซิเจนในน้ำสูง
จากนั้นจึงมีการบูรณาการ เลี้ยงปลาร่วมกับการปลูกผักแบบผสมผสานในระบบอควาโปนิกส์ร่วมกับฟองอากาศขนาดเล็กจิ๋ว
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดปริมาณไนโตรเจนในน้ำ เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2561
2.โครงการสร้างนวัตกรรมชุมชนเพื่อพัฒนาเกษตรกรกลุ่มพืชสวนครัวภายใต้ชุดโครงการสร้างนวัตกรรมชุมชนเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก
และบรรเทาผลกระทบจากโควิด 19 พื้นที่จังหวัดสกลนคร (สกลนครโมเดล) 3. โครงการความร่วมมือทางวิชาการกับบริษัท
ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัดเพื่อพัฒนานวัตกรการเกษตรและนวัตกรรมการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีใหม่และเทคโนโลยีสะอาดเพื่อใช้กับโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่
3 (เต่างอย) และเกษตรกรในโครงการส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่รอบโรงงานหลวง
มหัศจรรย์ฟองอากาศขนาดเล็กจิ๋วกับการพัฒนาเกษตรกรรมบนวิถีปกติใหม่
: ปี 2561 การผลิตปลานิลคุณภาพสูงที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ปี 2562 การเลี้ยงและแปรรูปปลานิลคุณภาพสูงระบบอควาโปนิกส์ ปี
2563 การสร้างนวัตกรรมชุมชนเพื่อพัฒนาเกษตรกรโครงการสร้างนวัตกรรมชุมชนเพื่อพัฒนาเกษตรกรกลุ่มพืชสวนครัวภายใต้ชุดโครงการสร้างนวัตกรรมชุมชนเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและบรรเทาผลกระทบจากโควิด
19 พื้นที่จังหวัดสกลนคร (สกลนครโมเดล),
การพัฒนาการล้างทำความสะอาดผลไม้โดยไม่ใช้สารเคมีและการปลูกไม่ใช้ดินร่วมกับบริษัท
ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด ปี 2564 การสร้างนวัตกรรมชุมชนเพื่อพัฒนาเกษตรกรกลุ่มพืชสวนครัว,
โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล
ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีการเกษตรและนวัตกรรมจังหวัดสกลนคร
มหัศจรรย์
“ฟองอากาศขนาดเล็กจิ๋ว” เกษตรกรรมบนวิถีปกติใหม่ เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีการเกษตรจากงานวิจัย
กว่า 500 ผลงานที่นำมาจัดแสดงในงาน มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ
ประจำปี 2564 (Thailand Research Expo 2021) ซึ่งจัดขึ้น ระหว่างวันที่
22-26 พฤศจิกายน ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์
เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ ทั้งนี้ผู้สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
โทร. 081-872-2091
นักวิจัย
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น