ทีมนักศึกษา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้
ปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพกำลังเป็
รองศาสตราจารย์ ดร.ปิ่นมณี ขวัญเมือง รองคณบดีกำกับดูแลงานด้านประกั นคุณภาพการศึกษาและวิจัย ภาควิชา
ครุศาสตร์เกษตร ในฐานะที่ปรึกษาโครงการหลัก เปิดเผยว่า ทีมวิจัยเล็งเห็นว่า “อ้อย” เป็นพืชที่มีราคาถูก หาได้โดยทั่วไป และยังไม่พบการนำมาแปรรูปให้เป็ นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพอย่างจริ งจัง ทั้งที่มีคุณประโยชน์อยู่มาก จึงได้คิดค้นน้ำอ้อยซินไบโอติ กขึ้น โดยมีลักษณะคล้ายกับนมเปรี้ยว จุดเด่น คือ เป็นเครื่องดื่มที่มาจากพืชแท้ ๆ ผสมพรีไบโอติก (อาหารของจุลินทรีย์ฯ) เข้าไว้ด้วยกัน และหมักด้วยโพรไบโอติก (จุลินทรีย์แลคโทบาซิลลัส) ทำให้จุลินทรีย์สามารถดำรงชีวิ ตอยู่ได้นาน และเข้าไปช่วยปรั บสภาพของระบบทางเดินอาหารให้มี สุขภาพที่ดี โดยใช้น้ำอ้อยแท้เป็นส่ วนประกอบถึง 50% โดยไม่เติมน้ำตาล อีกทั้งยังมีส่วนผสมจากพืชอื่น ๆ ได้แก่ น้ำแครอท น้ำมันแกว และน้ำสับปะรด นอกจากนี้ยังปราศจากน้ำ ตาลแลคโตส ดังนั้น ผู้ที่แพ้นมวัวจึงสามารถทานได้ อีกทั้งยังผสมคอลลาเจนและแคลเซี ยม ทำให้เครื่องดื่มมีคุณประโยชน์ สูงสุด โดยน้ำอ้อยซินไบโอติก 1 ขวด ในปริมาณ 100 มิลลิลิตร ประกอบด้วยสารอาหารที่ควรได้รั บต่อวันอย่างเพียงพอ สามารถช่วยเรื่องระบบขับถ่าย และ Detox ลำไส้ เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่ างกาย พร้อมทั้ง เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้ าทางการเกษตรได้เป็นอย่างดี ซึ่งเกษตรกรชาวไร่อ้อย และภาคเอกชนมีความสนใจให้ทีมวิ จัยถ่ายทอดนวัตกรรมให้อีกด้วย
นางสาวกานต์พิชชา สกุนตศรี หนึ่งในสมาชิกทีมวิจัย กล่าวเสริมว่า สำหรับรางวัลระดับดีมาก ในการประกวดนวัตกรรมสายอุดมศึ กษา ด้านการเกษตรและอุ ตสาหกรรมการเกษตร รางวัลเหรียญเงิน ที่ได้รับจากสำนักงานการวิจั ยแห่งชาติ (วช.) เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2564 ในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2564 ที่ผ่านมา ทีมนักวิจัยภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง ในการนำเสนอผลงานออกสู่ สาธารณะแก่ผู้ที่สนใจนำนวั ตกรรมไปต่อยอดเชิงพาณิชย์ และอนาคตยังมองหาวัตถุดิบอื่น ๆ มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเพื่ อสุขภาพ เพื่อเพิ่มทางเลือกในการแปรรูป ให้สามารถยืดอายุการเก็บรั กษาผลิตภัณฑ์ให้นานยิ่งขึ้น เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับวัตถุ ดิบทางการเกษตรในคราวเดียวกัน อย่างไรก็ตาม น้ำอ้อยซินไบโอติก ถือเป็นเครื่องดื่มแนวใหม่ในกลุ่ มอาหารเพื่อสุขภาพ (functional beverage) ที่กำลังได้รับความนิ ยมในสายคนรักสุขภาพ สามารถต่อยอดสู่ภาคอุตสาหกรรม และส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่ วมได้ นอกจากนี้ ทีมวิจัยยังได้รับรางวัลเหรี ยญเงิน (ระดับดี) จากผลงานสแน็คกรอบโภชนาการสู งจากผลพลอยได้ของขนุน ซึ่งเป็นการต่อยอดผลิตภัณฑ์ ขนมขบเคี้ยวโดยใช้เมล็ดและซั งขนุน มาเสริมด้วยโปรตีนจากถั่วเหลือง และเมล็ดพืชอื่น ๆ เพื่อเป็นขนมที่ให้สารอาหารอย่ างครบถ้วนอีกด้วย
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่ งชาติ กล่าวว่า สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ให้ความสำคัญต่อการสร้างนักวิจั ยและนักประดิษฐ์ เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาศั กยภาพขีดความสามารถด้านการวิจั ยและพัฒนานวัตกรรมในสถาบันการศึ กษา โดยส่งเสริมและถ่ายทอดองค์ ความรู้ ทักษะและเทคนิคด้านนวัตกรรม กระตุ้นและสร้างแรงจูงใจให้เกิ ดความเข้าใจและเห็นความสำคั ญของการวิจัยและพัฒนา อันเป็นการสร้างและพั ฒนาเยาวชนให้เป็นนักวิจัยและนั กประดิษฐ์ที่มีคุณภาพ มีศักยภาพในการเติบโตเป็นบุ คลากรทางการวิจัยของประเทศต่ อไปได้ สำหรับน้ำอ้อยซินไบโอติก ผสมคอลลาเจนและแคลเซียม นับเป็นผลงานสร้างสรรค์ โดยนักเรียน นักศึกษารุ่นใหม่ ที่มีความสนใจแก้ไขปั ญหาของประเทศด้วยวิจัยและนวั ตกรรม วช.จึงได้มอบรางวัลแก่ทีมวิจั ยในครั้งนี้
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น