วช. ลงพื้นที่ จ.สงขลา สนับสนุนแผนงานวิจัย พัฒนา และขับเคลื่อนการเลี้
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) นำโดย รศ.ดร.สุชน ตั้งทวีวิพัฒน์ ประธานคณะทำงานดำเนินการขับเคลื่ อนการวิจัยและนวั ตกรรมของประเทศด้านสัตว์เศรษฐกิ จ : ยกระดับเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะ และคณะทำงานฯ ลงพื้นที่ ตรวจเยี่ยมและสนับสนุนการดำเนิ นกิจกรรมการวิจัย ภายใต้แผนงานวิจัย พัฒนา และขับเคลื่อนการเลี้ ยงแพะภาคใต้ พ.ศ. 2563- 2565 ของคณะนักวิจัย คณะทรัพยากรธรรมชาติ แห่งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คาดการณ์งานวิจัยสามารถตอบโจทย์ ปัญหาการเลี้ยงแพะภาคใต้ได้ ด้วยองค์ความรู้ด้านรูปแบบการจั ดการการเลี้ยงแพะ ระบบอาหาร การปรับปรุงและการผสมพันธุ์ รวมทั้ง การจัดการโรคในแพะ “เมลิออยโดสิส” บุกเบิกผู้เลี้ยงรายใหม่เพิ่มขึ้ นอย่างน้อย 200 ราย เพื่อบรรเทาปัญหาการว่างงาน จากสถานการณ์โรคโควิด-19 พร้อมกระตุ้นการบริ โภคแพะในภาคใต้เพิ่มมากขึ้น โดยเร่งขยายประชากรแพะในพื้นที่ มากกว่า 2,000 ตัว เพื่อลดการนำเข้าแพะจากภูมิ ภาคอื่น และเพิ่มโอกาสการส่งออกแพะไปต่ างประเทศ โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้าน
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่ งชาติ กล่าวว่า วช.ในฐานะหน่วยงานบริหารทุนวิจั ย ซึ่งได้สนับสนุนแผนงานวิจั ยในครั้งนี้ เชื่อว่าจะช่วยตอบโจทย์ปัญหาต่ าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ ยงแพะในภาคใต้ได้ ช่วยให้เกษตรกรผู้เลี้ยงแพะได้ รับความรู้จากโครงการวิจัย ที่ครอบคลุมการพัฒนาทั้งด้านจั ดการระบบเลี้ยง ระบบอาหาร เกิดการพัฒนาสูตรอาหารที่ เหมาะสมกับแพะโดยใช้ผลพลอยได้ ทางการเกษตร อันเป็นการลดต้นทุน การปรับปรุงและผสมพันธุ์ เพื่อให้เกษตรกรมีพันธุ์แพะที่ ดี และการจัดการเรื่องโรคในแพะ อีกทั้ง การส่งเสริมให้เกิดผลิตภัณฑ์ อาทิ เนื้อแพะ นมแพะ น้ำหอมจากขนแพะ ซึ่ง วช. และหน่วยงานมหาวิทยาลัยชั้ นนำของภาคใต้ ได้ปักหมุดหมายการยกระดั บเศรษฐกิจภาคใต้ด้วยวิจัยและนวั ตกรรมมาระยะหนึ่งแล้ว ตั้งเป้าหมายทั้งด้านผลผลิต อาทิ องค์ความรู้พร้อมใช้ การสนับสนุนระบบ IT และการสร้างนักวิจัยชุมชน ด้านผลลัพธ์ ในการเกิดต้นแบบชุมชนเข้มแข็ง หรือ Role Model และด้านผลกระทบ คือ ความคุ้มค่าเชิงเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและสังคม เช่นเดียวกับ ผลงานการวิจัยเพื่อยกระดั บเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะในครั้งนี้ ที่จะช่วยหนุนเสริมให้เกิ ดการยกระดับเศรษฐกิจภาคใต้ และประเทศได้อย่างมั่นคงต่อไป
ผศ.ดร.ไชยวรรณ วัฒนจันทร์ คณบดีคณะทรัพยากรธรรมชาติ ม.อ.ในฐานะผู้อำนวยการชุ ดโครงการวิจัยฯ เปิดเผยว่า แพะนับว่าเป็นสัตว์เศรษฐกิ จทางเลือกของเกษตรกร เป็นส่วนหนึ่งในศาสนาและวั ฒนธรรมของคนในภาคใต้ แต่ปัจจุบันการบริโภคไม่ได้จำกั ดอยู่เฉพาะกลุ่มผู้นับถื อศาสนาอิสลามอีกต่อไป หลายพื้นที่เปิดรับและต้ องการบริโภคผลิตภัณฑ์ จากแพะมากขึ้น งานวิจัยได้ตอบโจทย์ปัญหาอุ ตสาหกรรมแพะที่เกิดขึ้นอย่างชั ดเจน ได้แก่ แพะที่เลี้ยงมีจำนวนไม่เพียงพอ ขาดการรับรองคุณภาพ เกษตรกรใช้วิธีการการเลี้ ยงแบบดั้งเดิม ขาดข้อมูลทางการตลาดและการประยุ กต์นำผลพลอยได้ทางการเกษตรมาใช้ ยังมีน้อย อีกทั้งการเผชิญกับโรคที่ติ ดจากแพะสู่คน คือ โรคเมลิออยโดสิส การขาดพันธุ์แพะพื้นฐานที่ เหมาะสมกับผู้เลี้ยงรายย่อย ซึ่งจำเป็นต้องใช้ความรู้ และเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ เพื่อเพิ่มศักยภาพการเลี้ ยงและขยายพันธุ์ กระทบไปยังการแปรรูปผลิตภัณฑ์น้ำ นมแพะที่ไม่ได้มาตรฐานเป็นที่น่ าพอใจ นอกจากนี้ การส่งเสริมเฉพาะด้านการเลี้ ยงแพะเพียงอย่างเดียว ยังไม่ครอบคลุมต่อการพัฒนาอุ ตสาหกรรมแพะภาคใต้
อย่างไรก็ตาม รศ.ดร.สุชน ตั้งทวีวิพัฒน์ ประธานคณะทำงานด้านสัตว์เศรษฐกิ จ วช. กล่าวเสริมว่า ในภาพรวมของสัตว์เศรษฐกิ จของประเทศ ตามมติคณะรัฐบาล ชี้ให้เห็นสัตว์เศรษฐกิจสำคัญ 5 ชนิด คือ ปูม้า จิ้งหรีด ปลาสวยงาม ไก่พื้นเมืองและลูกผสม และแพะ วช.ได้รับภารกิจเพื่อส่งเสริ มและขับเคลื่อนการเลี้ยงแพะมู ลค่าสูงให้มีมากขึ้น โดยแผนงาน พัฒนา และขับเคลื่อนการเลี้ ยงแพะภาคใต้ ของ ม.อ.ในครั้งนี้ ได้ดำเนินงานให้เห็นตั้งแต่ต้ นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ วช.มองว่าจะเกิดผลกระทบในเชิ งเศรษฐกิจ ให้เกิดจำนวนแพะเพิ่มขึ้นกว่า 400,000ตัว คิดเป็น 40% ในภาคใต้ โดยเกษตรกรกว่า 75%ของประเทศอยู่ที่ภาคใต้ ตั้งเป้าการสร้างมูลค่าการซื้ อขายให้ได้ราว 900 ล้านบาท และให้เกษตรกรได้รับองค์ความรู้ กว่า 5,000ราย
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น