วช. จับมือ GISTDA และกรมโรงงานฯ ลงนาม MOU ชูศักยภาพเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ รับมือสถานการณ์ฉุกเฉิน และโรคอุบัติใหม่
7 ธันวาคม 2564 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยี อวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA และกรมโรงงานอุตสาหกรรม(กรอ.) ลงนามบันทึกความเข้าใจ ว่าด้วยความร่วมมือเพื่อการบริ หารจัดการ การผลิตการลดผลกระทบด้านภัยพิบัติ สิ่งแวดล้อม รวมถึงการบริหารสถานการณ์ต่าง ๆ และโรคอุบัติใหม่ในโรงงานอุ ตสาหกรรม โดยมี รศ.ดร.พาสิทธิ์ หล่อธีรพงศ์ รองปลัดกระทรวง อว. และนายวันชัย พนมชัย อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม ร่วมเป็นประธานในพิธี ณ โรงแรมพูลแมน คิงเพาเวอร์ ถนนรางนา กรุงเทพฯ
ในโอกาสนี้ รศ.ดร.พาสิทธิ์ หล่อธีรพงศ์ รองปลัดกระทรวง อว. ได้กล่าวแสดงความยินดีว่า การตัดสินใจบนภาวะวิกฤติ ของประเทศ ข้อมูลถือเป็นสิ่งที่สำคัญ ซึ่งข้อมูลจากอวกาศจะช่วยให้ เราเห็นภาพกว้าง ภาพใหญ่ ที่สามารถช่วยบริหารภาวะวิกฤติ ให้ดียิ่งขึ้นโดยไทยได้ประสบกั บภาวะการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้ อไวรัสโคโรนามาตลอดสองปี อีกทั้งเหตุระเบิ ดของโรงงานสารเคมี ที่จังหวัดสมุทรปราการ ยังทำให้เกิดวิกฤติซ้ำซ้อน ภาคแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมได้ รับผลกระทบ ซึ่งเป็นหน้าที่ของทุกหน่ วยงานที่จะบูรณาการการทำงานร่ วมกัน ด้วย อว.ประกอบไปด้วยหน่วยงานสนับสนุ นงานวิจัยและนวัตกรรมที่ ตอบโจทย์ประเทศในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะสำนักงานการวิจัยแห่ งชาติ และหวังว่าจะเกิดความร่วมมือเช่ นนี้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ต่อจากนี้
นายวันชัย พนมชัย อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม กล่าวว่า กรมโรงงานฯ ตระหนักและให้ความสำคัญเป็นอย่ างมากกับสถานการณ์การแพร่ ระบาดของโรคโควิด 19 รวมถึงเหตุการณ์ภัยพิบัติต่าง ๆ ด้วยข้อมูลจากGISTDA จะเป็นการแจ้งเตือนให้กั บกรมโรงงานฯในการรับมือกั บสถานการณ์ต่าง ๆ เนื่องจากโรงงานจะตั้งอยู่ ในเขตชุมชน เช่น การวางแผนอพยพหากเกิดสารเคมีรั่ วไหลในโรงงาน การใช้ฐานข้อมูลด้านผู้ติดเชื้ อโควิด-19 สถานการณ์น้ำท่วมโรงงานและชุมชน เป็นต้น ซึ่งความร่วมมือกันในครั้งนี้ จะช่วยในการบริหารจั ดการโรงงานอุตสาหกรรมทางทั้งด้ านสิ่งแวดล้อม อุตสาหกรรม สารเคมีและวัตถุอันตราย ให้เกิดความปลอดภัย และลดผลกระทบด้านภัยพิบัติสิ่ งแวดล้อมทั้งทางบก ทางน้ำและทางอากาศ รวมถึงการบริหารสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งโรคอุบัติใหม่ที่มีต่ อโรงงานอุตสาหกรรมทั่วประเทศได้ ทันต่อเหตุการณ์ สามารถวางแผน พัฒนา ติดตามและแก้ไขปัญหาให้สอดคล้ องกับยุทธศาสตร์ของกรมโรงงานฯ ที่วางไว้ สามารถยกระดับขี ดความสามารถทางการแข่งขั นของภาคอุตสาหกรรม ตามกรอบความร่วมมือที่เราจั ดทำในวันนี้
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่ งชาติ กล่าวเสริมว่า วช.ภายใต้กระทรวง อว. ได้ให้ความสำคัญกับการสนับสนุ นการพัฒนาเชิง platform โดยความร่วมมือในครั้งนี้ของทั้ ง 3 หน่วยงาน GISTDA จะได้วางโครงสร้างของระบบ ในการเป็นต้นแบบ Demand site ตอบโจทย์ความต้ องการของกรมโรงงานอุตสาหกรรม เมื่อแล้วเสร็จจะมี การขยายผลออกมาในเชิงประจักษ์ เพื่อสร้างความเชื่อมั่ นในมาตรฐานของระบบ ในอนาคตจะได้เห็ นภาพของการทำงานที่ใหญ่ขึ้น ทางกรมโรงงานฯจะได้รับ Role model ไปขยายผลในพื้นที่ได้อย่างกว้ างขวาง ความร่วมมือกันในครั้งนี้ เราจะระดมสรรพกำลังที่มีอยู่ เพื่อส่งเสริมและ สนับสนุนให้ภารกิจบรรลุตามเป้ าหมาย
ขณะที่ ดร.ปกรณ์ อาภาพันธุ์ ผู้อำนวยการ GISTDA กล่าวทิ้งท้ายว่า ที่ผ่านมา GISTDA ได้ร่วมมือกับกรมโรงงานอุ ตสาหกรรม และ วช. ในการติดตามสถานการณ์การแพร่ ระบาดของโรคโควิด 19 และเหตุการณ์ไฟไหม้โรงงาน ย่านกิ่งแก้ว เมื่อช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เป็นต้น โดยครั้งนี้ทั้ง 3 หน่วยงานจะร่วมกันประยุกต์ใช้ เทคโนโลยี อวกาศและภูมิสารสนเทศในการศึกษา วิจัย พัฒนา และจัดทำฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ รวมถึงส่งเสริม และพัฒนาองค์ความรู้ในการใช้ ประโยชน์จากเทคโนโลยีดังกล่าว เพื่อการพัฒนาต้นแบบการเฝ้าระวั งและลดผลกระทบการแพร่ ระบาดโรคโควิด-19 และการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิ นจากภัยพิบัติที่อาจจะเกิดขึ้ นในอนาคตกับโรงงานขนาดใหญ่ ที่มีแรงงานจำนวนมาก โดยการพัฒนาต้นแบบดังกล่าว จะสามารถตรวจสอบข้อมูลย้อนกลั บได้ และมีความทันสมัยเป็นปัจจุบัน เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ ใช้งานอย่างทันท่วงที อีกทั้งยังใช้กำหนดมาตรการ ป้องกันการควบคุมสถานการณ์ การแพร่กระจายและลดผลกระทบได้ อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิ ผลสูงสุด
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น