ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

โครงการสานฝันสร้างอาชีพ ยกระดับรายได้เกษตรกร"ส่งเสริมอาชีพ ด้านปศุสัตว์ หวังสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้กระตุ้นเศรษฐกิจ

 


"ประภัตร" หนุน เกษตรฯจับมือ ธ.ก.ส. ลงนามMOU ดัน"โครงการสานฝันสร้างอาชีพ ยกระดับรายได้เกษตรกร"ส่งเสริมอาชีพ ด้านปศุสัตว์ หวังสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้กระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ

8 ธันวาคม 2564 นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ โครงการสานฝันสร้างอาชีพ และยกระดับรายได้เกษตรกร ระหว่างกรมปศุสัตว์ และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) ณ ห้องประชุมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์) โดยมีนายสัตวแพทย์สรวิศ  ธานีโต อธิบดี กรมปศุสัตว์ นายสุรชัย รัศมี รองผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ( ธ.ก.ส ) สำนักงานใหญ่ เข้าร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ และมีนายนายสุรเดช สมิเปรม รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ และนายพงษ์พันธ์ จงรักษ์ ผู้ช่วยผู้จัดการธนาคาร ธกส. นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าร่วมพิธีเป็นสักขีพยานในการลงนามในครั้งนี้ด้วย


ทั้งนี้ประภัตร เปิดเผยว่าการลงนามในครั้งนีถือเป็นทิศทางที่ดี ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กับธกส. ร่วมกันทำ โครงการสานฝันสร้างอาชีพ และยกระดับรายได้เกษตรกร เพราะที่ผ่านมาเกษตรกรประสบปัญหาน้ำท่วม แล้ง โควิด - 19 มาอย่างต่อเนื่องดังนั้นการเข้าถึงเเหล่งเงินทุนเป็นสิ่งสำคัญซึ่งการทำเกษตรด้านปศุสัตว์ ใช้เวลาสั้น ใช้น้ำน้อย ได้รับผลตอบแทนเร็ว ถือเป็นทางออกของวิกฤตต่างๆ  โดย ที่ผ่านมาพลเอกประยุทธ์ จันทรโอชา นายกรัฐมนตรี ได้เน้นและกำชับมายังกระทรวงเกษตรฯ ให้เร่งแก้ปัญหาให้กับเกษตรกร จึงได้เกิด"โครงการสานฝันสร้างอาชีพ ยกระดับรายได้เกษตรกร"ขึ้นมา เพื่อเป็นโครงการเงินกู้ตั้งต้นอาชีพ หรือลงทุน ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ จะเร่งประชาสัมพันธ์โครงการ สร้างการรับรู้ให้กับเกษตรกร ให้ความรู้เกษตรกรในการประกอบอาชีพเกษตร ตลอดจนการรวมกลุ่มหาตลาดรับซื้อผลผลิต และการประกอบอาชีพเกษตร ตลอดจนสนับสนุนด้านต่างๆ ครบวงจรต่อไป



อย่างไรก็ตาม"โครงการสานฝันสร้างอาชีพ และยกระดับรายได้เกษตรกร" ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ถือเป็นโครงการที่กรมปศุสัตว์ และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรได้งานทำร่วมกัน ในการผลักดันโครงการเพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้กระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศให้ฟื้นตัวจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด – 19 โดยจะสนับสนุนเงินกู้เป็นเงินทุนหมุนเวียนให้กับเกษตรกร เป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมการประกอบอาชีพ ด้านการเกษตรให้กับเกษตรกร และหรือ ลูกหลานของเกษตรกร ด้านปศุสัตว์ เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้และกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งได้รับความร่วมมือกับ ธ.ก.ส ปล่อยสินเชื่อให้เป็นทุนหมุนเวียนแก่เกษตรกร สำหรับใช้ประกอบอาชีพการเกษตรด้านปศุสัตว์ เน้นอาชีพที่มีตลาดรองรับ มีการประกันราคารับซื้อผลผลิต ให้สามารถสร้างรายได้ในระยะสั้น 4-6 เดือน ซึ่งจะ มีผลตอบแทนเบื้องต้นเพียงพอต่อการดำรงชีพ และสามารถต่อยอดเป็นอาชีพที่มั่นคงต่อไปได้ในอนาคต ซึ่งธ.ก.ส. ได้รับการอนุมัติวงเงินกว่า 30,000 ล้านบาท

โดยโครงการดังกล่าวจะเริ่มจ่ายเงินตั้งแต่วันที่ 1 กรกฏาคม 2564 - วันที่ 31 มีนาคม 2567 ปล่อยกู้เป็นรายบุคคล หนี้เสียสามารถกู้ได้  สามารถใช้บุคคลหรือหลักทรัพย์ค้ำประกันได้ โดยจะปล่อยกู้สูงสุดรายละ 100,000 บาท/1-3 ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4 และปีที่ 4 - 5 ดอกเบี้ยตามปกติของธนาคาร 

ขณะที่นายสัตวแพทย์สรวิศ  ธานีโต  อธิบดีกรมปศุสัตว์  กล่าวว่า  กรมปศุสัตว์ พร้อมที่จะถ่ายทอดความรู้  ให้คำแนะนำ และให้บริการในด้านการเลี้ยงสัตว์ การควบคุมป้องกันโรคสัตว์  การดูแลสุขภาพสัตว์ การควบคุมมาตรฐานฟาร์ม  การควบคุมการใช้สารต้องห้ามตามกฎหมาย  โดยตะมีการจัดทำฐานข้อมูล  การเคลื่อนย้ายสัตว์ การแปรรูป  งานการตลาด  และบริการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งประสานงานและให้การสนับสนุน ตลอดห่วงโซ่การผลิตและการตลาด  เกษตรกรที่สนใจสามารถติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  สำนักงานปศุสัตว์ใกล้บ้านท่าน  หรือที่ ธนาคาร ธ.ก.ส 


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

นวัตกรรมการผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ส่งเสริมรายได้สู่ชุมชน

  วช. เสริมแกร่ง มรภ.อุตรดิตถ์ ผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 IN 1 จากวัสดุเหลือทิ้ง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นักวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ นำองค์ความรู้ และนวัตกรรมการผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ส่งเสริมรายได้พื้นที่เป้าหมาย สร้างเกษตรกรต้นแบบ จ.อุตรดิตถ์ และ จ.สุรินทร์ กว่า 100 ราย แนะใช้ถ่านดูดซับกลิ่น ความชื้น ยกระดับคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้ อมให้ยั่งยืน โดยการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนั กงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จากปัญหาเศษวัสดุเหลือทิ้ งทางการเกษตร อาทิ เปลือกทุเรียน เหง้ามันสำปะหลัง แกนข้าวโพด ข้อไม้ไผ่ รวมถึงเศษกิ่งไม้ริมทาง ยังไม่ได้ถูกนำมาใช้ให้เกิ ดประโยชน์มากนัก  อีกทั้งการจัดการโดยเผาเศษวัสดุ เหลือทิ้งในที่โล่ง ยังเป็นการปล่อยก๊าซเรื อนกระจกและมลสารเข้าสู่ชั้ นบรรยากาศ องค์ความรู้และนวัตกรรมการผลิ ตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 ด้วยวิธีไพโรไลซิส จึงนับเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ ไขประเด็นปัญหาดังกล่าวได้ ขณะนี้นักวิจัยได้ถ่ายทอดองค์ ความรู้และติดตั้งนวัตกรรมแล้ว ประกอบด้วย เตาผลิตถ่านดูดกลิ่นแบบไพโรไลซิ ส เครื่...

เอ็นไอเอ โหมโรง “นิลมังกร” อัดฉีดผลงานนวัตกรรมเด่นพลิกฟื้นเศรษฐกิจหลังโควิด 19 โค้งสุดท้ายก่อนเฟ้นหาสุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยภายใต้ “นิลมังกรแคมเปญ”

  สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายจำนวน 18 หน่วยงาน ได้แก่ ศูนย์แบรนด์เคยู คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค 14 มหาวิทยาลัย หอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย จัดประกาศผลและมอบรางวัล “ สุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยประจำปี 2564 รอบภูมิภาค ( Thailand INNO BIZ Champion 2021 Regional Round) ภายใต้ “ นิลมังกรแคมเปญ ” ให้กับ 20 ธุรกิจนวัตกรรมจาก 4 ภูมิภาค ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ NIA กล่าวว่า “NIA มีหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุน และสร้างความสามารถการแข่งขันของประเทศด้วยการใช้นวัตกรรม ดังนั้นจึงได้ริเริ่มโครงการสุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยระดับภูมิภาค ภายใต้ “ นิลมังกรแคมเปญ ” ขึ้น เพื่อสร้างตัวอย่างการทำธุรกิจนวัตกรรมในภูมิภาคให้คนในพื้นที่ได้เห็นถึงความสำคัญในการพัฒนานวัตกรรมและได้เรียนรู้กระบวนการสร้างธุรกิจนวัตกรรม ผ่านการสื่อสารในรูปแบบของ Edutainment เพื่อให้เป็นที่น่าสนใจ เข้าถึง และเข้าใจกระบวนการสร้างธุรกิ...

2-4 ธันวาคมนี้ พบกันที่ งานสัตว์น้ำไทย 2024 (Thai Aqua Expo 2024)

สมาคมกุ้งตะวันออกไทย ร่วมกับ พันธมิตรในภาคตะวันออก และภาครัฐ ร่วมจัดงานสัตว์น้ำเศรษฐกิจยิ่งใหญ่ประจำปี 2567 งานสัตว์น้ำไทย 2024 (Thai Aqua Expo 2024) ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-3-4 ธันวาคม 2567 ณ โรงแรมซันไรส์ ลากูน โฮเทลแอนด์กอล์ฟ จ.ฉะเชิงเทรา ภายใต้แนวความคิด “ปรับกลยุทธ์สัตว์น้ำไทย สร้างกำไรทุกภาคส่วน” โดยสมาคมกุ้งตะวันออกไทย ร่วมกับ สมาคม สหกรณ์ ชมรม กลุ่มแปลงใหญ่ ในภาคตะวันออกก รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐ และบริษัทเอกชนผู้ร่วมสนับสนุน ภายใต้มีวัตถุประสงค์ของการจัดงาน เพื่อเผยแพร่ความรู้ นวัตกรรม การส่งต่อข้อมูลเพื่อให้เกษตรกร สามารถวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางการตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศ ถ่ายทอดแนวทางการลดต้นทุนตลอดห่วงโซ่ในอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และกระตุ้นให้มีการส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศมากขึ้น ภายในงานมีการเสวนา และสัมมนาให้ความรู้กับเกษตรกรและผู้ที่สนใจ ตลอดระยะเวลาการจัดงาน ทั้ง 3 วัน รวมถึงมีการจัดแสดงสินค้าของบริษัทและผู้ค้าปัจจัยการผลิตที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยมีพื้นที่จัดแสดงสินค้ามากกว่า 70 บูท และมีบริษัทสนใจเข้าร่วม...