ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ขอรับรองพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย จ.พัทลุง เป็นพื้นที่มรดกทางการเกษตรโลก

 


เกษตรฯ เตรียมความพร้อมรับคณะกรรมการ GIAHS เพื่อขอรับรองพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย จ.พัทลุง เป็นพื้นที่มรดกทางการเกษตรโลก

นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมเตรียมความพร้อมพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง เพื่อขอรับรองเป็นพื้นที่มรดกทางการเกษตรโลก (Globally Important Agricultural Heritage System หรือ GIAHS) ผ่านระบบ Zoom Meetingภายหลังจากนำคณะลงพื้นที่จังหวัดพัทลุงเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยมี นายธนวรรษ เทียนสิน อัครราชทูต (ฝ่ายเกษตร) และผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ FAO/IFAD/WFP ที่ปรึกษา (ฝ่ายเกษตร) ประจำกรุงโรม นายณฤทธิ์ บุญชัย เกษตรและสหกรณ์จังหวัดพัทลุง นายเชิดศักดิ์ เกื้อรักษ์ ที่ปรึกษา EU ประจำประเทศไทย และเลขาธิการมูลนิธิพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย นางสาวนวรัตน์ เฉลิมเผ่า ผู้ช่วยผู้แทนเอฟเอโอประจำประเทศไทย (ฝ่ายโครงการ) สำนักงานเอฟเอโอประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก นายกฤษณ์ หาญสวัสดิ์ หัวหน้ากลุ่มความร่วมมือกับต่างประเทศ 1 สำนักการเกษตรต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมการประชุมฯ



นายระพีภัทร์  เปิดเผยว่าการประชุมในครั้งนี้เพื่อติดตามความคืบหน้าการขอรับรองระบบการเลี้ยงควายปลักในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง เพื่อขอรับรองเป็นพื้นที่มรดกทางการเกษตรโลก (GIAHS)โดยที่ประชุมได้รายงานความคืบหน้าในการดำเนินการขอรับรองระบบการเลี้ยงควายปลักในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย ให้เป็นมรดกทางการเกษตรโลก ซึ่งขณะนี้ ฝ่ายเลขานุการ GIAHS อยู่ระหว่างการตรวจสอบความถูกต้องและครบถ้วนของข้อเสนอของไทย โดยจะจัดส่งข้อมูลต่อคณะที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์ (SAG) ชุดใหม่ของ GIAHS และจะมีการแต่งตั้งแล้วเสร็จในปี 2564 ดังนั้น เพื่อจัดการและประสานงานข้อมูลทางวิชาการที่จำเป็น สำหรับเอกสารข้อเสนอ และการชี้แจงข้อมูลต่อคณะกรรมการ GIAHS เป็นไปด้วยความสะดวกและรวดเร็ว และเพื่อให้ได้รับการรับรองเป็นมรดกทางการเกษตรโลกโดยเร็วที่สุด ที่ประชุมฯ จึงได้มีมติให้แต่งตั้งคณะทำงาน
ด้านวิชาการเพื่อติดตามและปรับปรุงเอกสารข้อเสนอระบบการเลี้ยงควายปลักในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย โดยมีอำนาจหน้าที่ติดตาม ปรับปรุงเอกสารข้อเสนอระบบการเลี้ยงควายปลักในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย และจัดสรรข้อมูลและสารสนเทศเพิ่มเติม ตามที่คณะกรรมการตรวจประเมินของฝ่ายเลขาฯ GIAHS กำหนด เพื่อให้ได้รับการรับรองเป็นพื้นที่มรดกทางการเกษตรโลก


นอกจากนี้รองปลัดฯ กษ. ได้สั่งการให้ผู้รับผิดชอบในพื้นที่จัดเตรียมแผนงาน โครงการ และงบประมาณ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการรับรองเป็นพื้นที่มรดกทางการเกษตรโลก โดยมอบหมายให้สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดพัทลุง และสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดพัทลุง พิจารณาจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เพื่อรองรับการดำเนินงานดังกล่าว โดยเน้นการมีส่วนร่วมในพื้นที่ และให้ความสำคัญกับการสร้างการรับรู้ในประเด็นผลประโยชน์ที่ชุมชนจะได้รับหลังจากพื้นที่ได้รับการรับรอง ทั้งนี้ ในด้านการท่องเที่ยว เลขาธิการมูลนิธิพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย ได้รายงานว่า พื้นที่ที่ประเทศไทยเสนอขอรับการรับรองเป็นมรดกทางการเกษตรโลก เป็นส่วนหนึ่งของโครงการจัดทำแผนขับเคลื่อนการพัฒนาการท่องเที่ยวพื้นที่พิเศษลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ขององค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตร อีกทั้ง สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงโรม แจ้งว่า ฝ่ายเลขานุการ GIAHS อยู่ระหว่างจัดทำข้อเสนอโครงการฝึกอบรม National Webinar on GIAHS สำหรับประเทศไทย คาดว่าจะแล้วเสร็จในต้นปี 2565 เพื่อสร้างการรับรู้ในเรื่องมรดกทางการเกษตรโลกและเตรียมความพร้อมขอรับการรับรองในพื้นที่อื่น ๆ ของประเทศไทย ต่อไป

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

นวัตกรรมการผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ส่งเสริมรายได้สู่ชุมชน

  วช. เสริมแกร่ง มรภ.อุตรดิตถ์ ผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 IN 1 จากวัสดุเหลือทิ้ง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นักวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ นำองค์ความรู้ และนวัตกรรมการผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ส่งเสริมรายได้พื้นที่เป้าหมาย สร้างเกษตรกรต้นแบบ จ.อุตรดิตถ์ และ จ.สุรินทร์ กว่า 100 ราย แนะใช้ถ่านดูดซับกลิ่น ความชื้น ยกระดับคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้ อมให้ยั่งยืน โดยการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนั กงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จากปัญหาเศษวัสดุเหลือทิ้ งทางการเกษตร อาทิ เปลือกทุเรียน เหง้ามันสำปะหลัง แกนข้าวโพด ข้อไม้ไผ่ รวมถึงเศษกิ่งไม้ริมทาง ยังไม่ได้ถูกนำมาใช้ให้เกิ ดประโยชน์มากนัก  อีกทั้งการจัดการโดยเผาเศษวัสดุ เหลือทิ้งในที่โล่ง ยังเป็นการปล่อยก๊าซเรื อนกระจกและมลสารเข้าสู่ชั้ นบรรยากาศ องค์ความรู้และนวัตกรรมการผลิ ตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 ด้วยวิธีไพโรไลซิส จึงนับเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ ไขประเด็นปัญหาดังกล่าวได้ ขณะนี้นักวิจัยได้ถ่ายทอดองค์ ความรู้และติดตั้งนวัตกรรมแล้ว ประกอบด้วย เตาผลิตถ่านดูดกลิ่นแบบไพโรไลซิ ส เครื่...

เอ็นไอเอ โหมโรง “นิลมังกร” อัดฉีดผลงานนวัตกรรมเด่นพลิกฟื้นเศรษฐกิจหลังโควิด 19 โค้งสุดท้ายก่อนเฟ้นหาสุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยภายใต้ “นิลมังกรแคมเปญ”

  สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายจำนวน 18 หน่วยงาน ได้แก่ ศูนย์แบรนด์เคยู คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค 14 มหาวิทยาลัย หอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย จัดประกาศผลและมอบรางวัล “ สุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยประจำปี 2564 รอบภูมิภาค ( Thailand INNO BIZ Champion 2021 Regional Round) ภายใต้ “ นิลมังกรแคมเปญ ” ให้กับ 20 ธุรกิจนวัตกรรมจาก 4 ภูมิภาค ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ NIA กล่าวว่า “NIA มีหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุน และสร้างความสามารถการแข่งขันของประเทศด้วยการใช้นวัตกรรม ดังนั้นจึงได้ริเริ่มโครงการสุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยระดับภูมิภาค ภายใต้ “ นิลมังกรแคมเปญ ” ขึ้น เพื่อสร้างตัวอย่างการทำธุรกิจนวัตกรรมในภูมิภาคให้คนในพื้นที่ได้เห็นถึงความสำคัญในการพัฒนานวัตกรรมและได้เรียนรู้กระบวนการสร้างธุรกิจนวัตกรรม ผ่านการสื่อสารในรูปแบบของ Edutainment เพื่อให้เป็นที่น่าสนใจ เข้าถึง และเข้าใจกระบวนการสร้างธุรกิ...

2-4 ธันวาคมนี้ พบกันที่ งานสัตว์น้ำไทย 2024 (Thai Aqua Expo 2024)

สมาคมกุ้งตะวันออกไทย ร่วมกับ พันธมิตรในภาคตะวันออก และภาครัฐ ร่วมจัดงานสัตว์น้ำเศรษฐกิจยิ่งใหญ่ประจำปี 2567 งานสัตว์น้ำไทย 2024 (Thai Aqua Expo 2024) ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-3-4 ธันวาคม 2567 ณ โรงแรมซันไรส์ ลากูน โฮเทลแอนด์กอล์ฟ จ.ฉะเชิงเทรา ภายใต้แนวความคิด “ปรับกลยุทธ์สัตว์น้ำไทย สร้างกำไรทุกภาคส่วน” โดยสมาคมกุ้งตะวันออกไทย ร่วมกับ สมาคม สหกรณ์ ชมรม กลุ่มแปลงใหญ่ ในภาคตะวันออกก รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐ และบริษัทเอกชนผู้ร่วมสนับสนุน ภายใต้มีวัตถุประสงค์ของการจัดงาน เพื่อเผยแพร่ความรู้ นวัตกรรม การส่งต่อข้อมูลเพื่อให้เกษตรกร สามารถวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางการตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศ ถ่ายทอดแนวทางการลดต้นทุนตลอดห่วงโซ่ในอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และกระตุ้นให้มีการส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศมากขึ้น ภายในงานมีการเสวนา และสัมมนาให้ความรู้กับเกษตรกรและผู้ที่สนใจ ตลอดระยะเวลาการจัดงาน ทั้ง 3 วัน รวมถึงมีการจัดแสดงสินค้าของบริษัทและผู้ค้าปัจจัยการผลิตที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยมีพื้นที่จัดแสดงสินค้ามากกว่า 70 บูท และมีบริษัทสนใจเข้าร่วม...