ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

วช. โชว์รางวัลวิจัยดีเด่นแห่งชาติ 2565 สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ สืบแหล่งกำเนิดน้ำเสีย ลด“มลพิษทางน้ำ”อย่างยั่งยืน

 


นักวิจัย สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ พัฒนาเทคโนโลยีกลุ่มจุลินทรีย์ ระบุแหล่งกำเนิดน้ำเสียในประเทศไทย (Microbial Source Tracking) แก้ปัญหามลพิษและโรคทางน้ำ ฟื้นฟูและจัดการคุณภาพแหล่งน้ำธรรมชาติ เป็นที่ยอมรับระดับนานาชาติ ร่วมมือกับการประปาฯ กรมปศุสัตว์ กรมควบคุมมลพิษ ใช้ประโยชน์งานวิจัย สอดรับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เร็วนี้ ๆ เตรียมรับรางวัลผลงานวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ปี 2565 ในงานวันนักประดิษฐ์แห่งชาติ ประจำปี 2564 - 2565 ที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา


ปัจจุบัน แหล่งน้ำธรรมชาติ ได้แก่ น้ำฝน น้ำแม่น้ำ ลำคลอง น้ำใต้ดินและน้ำทะเล เกิดความเสื่อมโทรมเป็นอย่างมาก ผลมาจากการปล่อยมลพิษจากแหล่งกำเนิดต่าง ๆ ทั้งแบบที่ทราบจุดแน่นอน และแบบไม่ทราบจุดแน่นอน เช่น การรั่วไหลของท่อรวบรวมน้ำเสียใต้ดิน น้ำฝนที่ชะพาสิ่งสกปรกลงสู่ดินและแหล่งน้ำ ตลอดจนสิ่งปฏิกูลจากสัตว์ป่าและนกน้ำ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม มลพิษทางน้ำแบบไม่ทราบแหล่งกำเนิดแน่ชัด กลับมีปริมาณที่หลากหลายและส่งผลกระทบต่อภาวะมลพิษที่ลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติได้มากกว่า ซึ่งยังคงไม่มีระบบบริหารจัดการ หรือระบบติดตาม ตรวจสอบ ที่เป็นรูปธรรม ทำให้ประเทศไทยสูญเสียงบประมาณในการจัดการคุณภาพน้ำและน้ำเสียในปี พ.ศ. 2562 สูงถึง 2,154 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 50 ของงบประมาณทั้งหมดที่ใช้ในการบริหารจัดการมลพิษและสิ่งแวดล้อม 



ดร.ขวัญรวี สิริกาญจน นักวิจัยเชี่ยวชาญ จากสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ในฐานะหัวหน้าโครงการ กล่าวว่า จากผลของโครงการวิจัย โดยได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจาก สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ทำให้ได้ข้อมูลเชิงลึกที่มีผลกระทบสูงต่อประเทศ ช่วยสนับสนุนการแก้ปัญหามลพิษทางน้ำ คุณภาพน้ำเสื่อมโทรม และลดปัญหาข้อขัดแย้งจากการลักลอบปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ  ซึ่งประเทศไทยได้ประสบปัญหานี้มาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน ผลการวิจัยได้รับการต่อยอดร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การประปานครหลวง และกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อใช้ประโยชน์งานวิจัยในการระบุแหล่งปนเปื้อนมลพิษ พร้อมกำหนดแผนจัดการฟื้นฟูคุณภาพน้ำให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน แผนแม่บทบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี ได้อย่างเมาะสมกับงบประมาณและความรุนแรงของปัญหาในพื้นที่ต่าง ๆ 



"โดยเฉพาะการส่งเสริมแนวคิดใหม่ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลและชายฝั่ง หรือ Blue Economy ให้เกิดการกระตุ้นการท่องเที่ยวทางน้ำ และเพื่อเตรียมพร้อมให้ไทยเป็นผู้นำด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุดในอาเซียน อันเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ โดยเฉพาะด้านสุขภาพของประชาชนชาวไทย โดยลดการพึ่งพาเทคโนโลยีและผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ ผลสำเร็จของโครงการเป็นที่ยอมรับในระดับสากล โดยได้เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ กว่า 13 ผลงาน อ้างอิงผลกระทบเชิงวิชาการในระดับนานาชาติ 95 ครั้ง และคว้ารางวัลผลงานวิจัยระดับนานาชาติ จำนวน 6 รางวัล รวมทั้ง เป็นผลงานเดียวที่ได้รับรางวัลผลงานวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2565 จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมจัดแสดงผลงานในงานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2565 ที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ นับว่าเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ฐานทรัพยากรวิจัย และการแข่งขันเชิงวิชาการของประเทศ” ดร.ขวัญรวี กล่าวเสริม 



สำหรับการใช้เทคโนโลยีกลุ่มจุลินทรีย์ในการตรวจระบุแหล่งกำเนิดน้ำเสียในประเทศไทย (Microbial Source Tracking ; MST) มีกรอบการทำงานครอบคลุมตั้งแต่ การพัฒนาวิธีการตรวจวัดจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารที่จำเพาะกับมนุษย์และสัตว์แต่ละชนิด โดยอาศัยการตรวจวัดเชื้อไวรัสที่จำเพาะกับแบคทีเรีย หรือเรียกว่า แบคเทอริโอเฟจ และการตรวจทางอณูชีวโมเลกุลของสารพันธุกรรมด้วยวิธีพีซีอาร์ และพีซีอาร์เชิงปริมาณ การศึกษาลักษณะเฉพาะต่าง ๆ เช่น ความคงทนในสิ่งแวดล้อม ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการวิเคราะห์ จนได้เป็นเทคโนโลยีการตรวจแหล่งปนเปื้อนในห้องปฏิบัติการที่มีความพร้อม ทดสอบวิธีที่พัฒนาใหม่ในพื้นที่จริงของประเทศ พัฒนาเทคนิคตัวอย่าง ประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพของผู้สัมผัสน้ำปนเปื้อน


และต่อยอดองค์ความรู้พัฒนาเครื่องมือแบพกพาสำหรับตรวจวัดจุลินทรีย์เพื่อระบุการปนเปื้อนในภาคสนาม  การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านห้องปฏิบัติการวิจัยขั้นสูง ที่สามารถรองรับการแก้ไขปัญหาในโจทย์ใหม่ที่มีความท้าทายสูง เช่น การเฝ้าระวังเชื้อก่อโรคอุบัติใหม่โควิด-19 ในน้ำเสีย ทำให้ไทยสามารถตอบสนองปัญหาได้อย่างรวดเร็ว และเท่าทันต่อสถานการณ์ 


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

นวัตกรรมการผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ส่งเสริมรายได้สู่ชุมชน

  วช. เสริมแกร่ง มรภ.อุตรดิตถ์ ผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 IN 1 จากวัสดุเหลือทิ้ง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นักวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ นำองค์ความรู้ และนวัตกรรมการผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ส่งเสริมรายได้พื้นที่เป้าหมาย สร้างเกษตรกรต้นแบบ จ.อุตรดิตถ์ และ จ.สุรินทร์ กว่า 100 ราย แนะใช้ถ่านดูดซับกลิ่น ความชื้น ยกระดับคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้ อมให้ยั่งยืน โดยการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนั กงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จากปัญหาเศษวัสดุเหลือทิ้ งทางการเกษตร อาทิ เปลือกทุเรียน เหง้ามันสำปะหลัง แกนข้าวโพด ข้อไม้ไผ่ รวมถึงเศษกิ่งไม้ริมทาง ยังไม่ได้ถูกนำมาใช้ให้เกิ ดประโยชน์มากนัก  อีกทั้งการจัดการโดยเผาเศษวัสดุ เหลือทิ้งในที่โล่ง ยังเป็นการปล่อยก๊าซเรื อนกระจกและมลสารเข้าสู่ชั้ นบรรยากาศ องค์ความรู้และนวัตกรรมการผลิ ตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 ด้วยวิธีไพโรไลซิส จึงนับเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ ไขประเด็นปัญหาดังกล่าวได้ ขณะนี้นักวิจัยได้ถ่ายทอดองค์ ความรู้และติดตั้งนวัตกรรมแล้ว ประกอบด้วย เตาผลิตถ่านดูดกลิ่นแบบไพโรไลซิ ส เครื่...

เอ็นไอเอ โหมโรง “นิลมังกร” อัดฉีดผลงานนวัตกรรมเด่นพลิกฟื้นเศรษฐกิจหลังโควิด 19 โค้งสุดท้ายก่อนเฟ้นหาสุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยภายใต้ “นิลมังกรแคมเปญ”

  สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายจำนวน 18 หน่วยงาน ได้แก่ ศูนย์แบรนด์เคยู คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค 14 มหาวิทยาลัย หอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย จัดประกาศผลและมอบรางวัล “ สุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยประจำปี 2564 รอบภูมิภาค ( Thailand INNO BIZ Champion 2021 Regional Round) ภายใต้ “ นิลมังกรแคมเปญ ” ให้กับ 20 ธุรกิจนวัตกรรมจาก 4 ภูมิภาค ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ NIA กล่าวว่า “NIA มีหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุน และสร้างความสามารถการแข่งขันของประเทศด้วยการใช้นวัตกรรม ดังนั้นจึงได้ริเริ่มโครงการสุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยระดับภูมิภาค ภายใต้ “ นิลมังกรแคมเปญ ” ขึ้น เพื่อสร้างตัวอย่างการทำธุรกิจนวัตกรรมในภูมิภาคให้คนในพื้นที่ได้เห็นถึงความสำคัญในการพัฒนานวัตกรรมและได้เรียนรู้กระบวนการสร้างธุรกิจนวัตกรรม ผ่านการสื่อสารในรูปแบบของ Edutainment เพื่อให้เป็นที่น่าสนใจ เข้าถึง และเข้าใจกระบวนการสร้างธุรกิ...

2-4 ธันวาคมนี้ พบกันที่ งานสัตว์น้ำไทย 2024 (Thai Aqua Expo 2024)

สมาคมกุ้งตะวันออกไทย ร่วมกับ พันธมิตรในภาคตะวันออก และภาครัฐ ร่วมจัดงานสัตว์น้ำเศรษฐกิจยิ่งใหญ่ประจำปี 2567 งานสัตว์น้ำไทย 2024 (Thai Aqua Expo 2024) ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-3-4 ธันวาคม 2567 ณ โรงแรมซันไรส์ ลากูน โฮเทลแอนด์กอล์ฟ จ.ฉะเชิงเทรา ภายใต้แนวความคิด “ปรับกลยุทธ์สัตว์น้ำไทย สร้างกำไรทุกภาคส่วน” โดยสมาคมกุ้งตะวันออกไทย ร่วมกับ สมาคม สหกรณ์ ชมรม กลุ่มแปลงใหญ่ ในภาคตะวันออกก รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐ และบริษัทเอกชนผู้ร่วมสนับสนุน ภายใต้มีวัตถุประสงค์ของการจัดงาน เพื่อเผยแพร่ความรู้ นวัตกรรม การส่งต่อข้อมูลเพื่อให้เกษตรกร สามารถวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางการตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศ ถ่ายทอดแนวทางการลดต้นทุนตลอดห่วงโซ่ในอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และกระตุ้นให้มีการส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศมากขึ้น ภายในงานมีการเสวนา และสัมมนาให้ความรู้กับเกษตรกรและผู้ที่สนใจ ตลอดระยะเวลาการจัดงาน ทั้ง 3 วัน รวมถึงมีการจัดแสดงสินค้าของบริษัทและผู้ค้าปัจจัยการผลิตที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยมีพื้นที่จัดแสดงสินค้ามากกว่า 70 บูท และมีบริษัทสนใจเข้าร่วม...