ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ชป.ชวนแกล้งข้าว ทำนา“เปียกสลับแห้ง”ช่วยประหยัดน้ำ เพิ่มผลผลิต ทางรอดภัยแล้ง

 


โครงการชลประทานเชียงใหม่ ต่อยอดงานวิจัยการทำนาแบบเปียกสลับแห้ง แกล้งข้าว ชวนชาวนาเปลี่ยนวิธีการทำนา หวังลดต้นทุนการผลิต และช่วยประหยัดน้ำจากการทำนาได้มากกว่าร้อยละ 30 - 40 ทั้งยังเพิ่มผลผลิตและเพิ่มรายได้ให้กับชาวนา ช่วยเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น


นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ในช่วงฤดูแล้งปี 2565 ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำต่างๆ มีอยู่ในเกณฑ์จำกัด โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือ และลุ่มน้ำเจ้าพระยา จำเป็นต้องวางแผนการใช้น้ำอย่างเคร่งครัด ควบคู่ไปกับการรณรงค์ให้มีการใช้น้ำอย่างประหยัดในทุกภาคส่วน โดยเฉพาะน้ำเพื่อการเกษตรที่มีสัดส่วนการใช้น้ำค่อนข้างมาก เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาการขาดแคลนน้ำ จึงได้วางแผนบริหารจัดการน้ำในอ่างเก็บน้ำต่างๆ ที่มีปริมาณน้ำในอ่างฯไม่ถึงร้อยละ 30 ของความจุอ่างฯ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งนี้ กรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์ว่าในช่วงปลายปี 2564 - ต้นปี 2565 อาจจะเกิดภัยแล้งได้ในบางพื้นที่ กรมชลประทาน ได้รณรงค์ให้พี่น้องเกษตรกรและทุกภาคส่วนร่วมกันใช้น้ำที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเพียงพอต่อการอุปโภคบริโภคตลอดฤดูแล้งนี้ไปจนถึงต้นฤดูฝนปีหน้า


จากสถานการณ์น้ำข้างต้น โครงการชลประทานเชียงใหม่ ได้ต่อยอดงานวิจัยการบริหารจัดการน้ำในการทำนา แบบเปียกสลับแห้ง โดยสมาชิกกลุ่มบริหารการใช้น้ำชลประทานอ่างเก็บน้ำห้วยแม่ออน ได้ร่วมกันทำแปลงสาธิตทดลองการทำนาเปียกสลับแห้งแกล้งข้าว ในพื้นที่หัวงานอ่างเก็บน้ำห้วยแม่ออน ตำบลออนเหนือ อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ พื้นที่ประมาณ 10 ไร่ เพื่อส่งเสริมการใช้น้ำเพาะปลูกข้าวโดยวิธีประหยัดน้ำในช่วงวิกฤติ เนื่องด้วยอ่างเก็บน้ำห้วยแม่ออน มีปริมาณน้ำเก็บกักในเกณฑ์น้ำน้อย จึงรณรงค์ให้มีการทำนาปลูกข้าวแบบประหยัดน้ำ แต่ได้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้นกว่าการปล่อยน้ำท่วมขังในแปลงนา ด้วยวิธีการทำนาเปียกสลับแห้งแกล้งข้าว โดยจะเรียกว่า“ทฤษฎี เปียก 5 แห้ง 15” 


โดยสรุปผลการทำนาแบบเปียกสลับแห้งในพื้นที่ของโครงการชลประทานเชียงใหม่ 
💧ใช้ปริมาณน้ำเพียง 480 ลูกบาศก์เมตร/ไร่ จากปกติใช้น้ำฤดูแล้งประมาณ 800 ลบ.ม./ไร่ และฤดูฝน 1,200 ลบ.ม./ไร่ 
🌾 สามารถทำผลผลิตได้ถึง 770  กก./ไร่ เพิ่มขึ้นจากปกติประมาณ 170 กก./ไร่ 
ถือเป็นการทดลองที่ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างมาก และสามารถเป็นต้นแบบให้กับพื้นที่อื่นๆ นำไปขยายผลได้อีกด้วย ทำให้เกษตรกรมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่ต้นทุนการผลิตลดลง ช่วยเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้ดีขึ้นได้พอสมควร 

ด้านนายดำรง เล็กดี รองประธานกลุ่มบริหารการใช้น้ำชลประทานอ่างเก็บน้ำห้วยแม่ออน กล่าวว่า “ผลผลิตที่ได้เกินคาดเป็นที่น่าพอใจและก็รู้สึกประหลาดใจ ตนเองจะได้เอาวิธีการปลูกข้าวแบบเปียกสลับแห้งนี้สร้างการรับรู้และนำไปต่อยอดให้เกษตรกรสมาชิกผู้ใช้น้ำทดลองทำในแปลงนาตนเอง เพื่อเพิ่มผลผลิต อีกทั้งยังได้ประหยัดน้ำต้นทุน มีน้ำอุปโภคบริโภคตลอดฤดูกาลต่อไป” 

สำหรับการขยายผลโครงการฯ ในช่วงฤดูแล้งปี 2564/65 นี้ โครงการชลประทานเชียงใหม่ ได้มีการเผยแพร่และส่งเสริมการทำนาแบบเปียกสลับแห้ง ไปยังพื้นที่ชลประทานอ่างเก็บน้ำแม่โก๋นอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลป่าไหน่ อำเภอพร้าว  จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 5000 ไร่ ทั้งนี้ หากเกษตรกรในพื้นที่ใด สนใจเรื่องการทำนาแบบเปียกสลับแห้ง สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สถานีทดลองการใช้น้ำชลประทาน โครงการชลประทานใกล้บ้านได้ในวันเวลาราชการ


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

นวัตกรรมการผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ส่งเสริมรายได้สู่ชุมชน

  วช. เสริมแกร่ง มรภ.อุตรดิตถ์ ผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 IN 1 จากวัสดุเหลือทิ้ง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นักวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ นำองค์ความรู้ และนวัตกรรมการผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ส่งเสริมรายได้พื้นที่เป้าหมาย สร้างเกษตรกรต้นแบบ จ.อุตรดิตถ์ และ จ.สุรินทร์ กว่า 100 ราย แนะใช้ถ่านดูดซับกลิ่น ความชื้น ยกระดับคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้ อมให้ยั่งยืน โดยการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนั กงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จากปัญหาเศษวัสดุเหลือทิ้ งทางการเกษตร อาทิ เปลือกทุเรียน เหง้ามันสำปะหลัง แกนข้าวโพด ข้อไม้ไผ่ รวมถึงเศษกิ่งไม้ริมทาง ยังไม่ได้ถูกนำมาใช้ให้เกิ ดประโยชน์มากนัก  อีกทั้งการจัดการโดยเผาเศษวัสดุ เหลือทิ้งในที่โล่ง ยังเป็นการปล่อยก๊าซเรื อนกระจกและมลสารเข้าสู่ชั้ นบรรยากาศ องค์ความรู้และนวัตกรรมการผลิ ตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 ด้วยวิธีไพโรไลซิส จึงนับเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ ไขประเด็นปัญหาดังกล่าวได้ ขณะนี้นักวิจัยได้ถ่ายทอดองค์ ความรู้และติดตั้งนวัตกรรมแล้ว ประกอบด้วย เตาผลิตถ่านดูดกลิ่นแบบไพโรไลซิ ส เครื่...

เอ็นไอเอ โหมโรง “นิลมังกร” อัดฉีดผลงานนวัตกรรมเด่นพลิกฟื้นเศรษฐกิจหลังโควิด 19 โค้งสุดท้ายก่อนเฟ้นหาสุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยภายใต้ “นิลมังกรแคมเปญ”

  สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายจำนวน 18 หน่วยงาน ได้แก่ ศูนย์แบรนด์เคยู คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค 14 มหาวิทยาลัย หอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย จัดประกาศผลและมอบรางวัล “ สุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยประจำปี 2564 รอบภูมิภาค ( Thailand INNO BIZ Champion 2021 Regional Round) ภายใต้ “ นิลมังกรแคมเปญ ” ให้กับ 20 ธุรกิจนวัตกรรมจาก 4 ภูมิภาค ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ NIA กล่าวว่า “NIA มีหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุน และสร้างความสามารถการแข่งขันของประเทศด้วยการใช้นวัตกรรม ดังนั้นจึงได้ริเริ่มโครงการสุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยระดับภูมิภาค ภายใต้ “ นิลมังกรแคมเปญ ” ขึ้น เพื่อสร้างตัวอย่างการทำธุรกิจนวัตกรรมในภูมิภาคให้คนในพื้นที่ได้เห็นถึงความสำคัญในการพัฒนานวัตกรรมและได้เรียนรู้กระบวนการสร้างธุรกิจนวัตกรรม ผ่านการสื่อสารในรูปแบบของ Edutainment เพื่อให้เป็นที่น่าสนใจ เข้าถึง และเข้าใจกระบวนการสร้างธุรกิ...

2-4 ธันวาคมนี้ พบกันที่ งานสัตว์น้ำไทย 2024 (Thai Aqua Expo 2024)

สมาคมกุ้งตะวันออกไทย ร่วมกับ พันธมิตรในภาคตะวันออก และภาครัฐ ร่วมจัดงานสัตว์น้ำเศรษฐกิจยิ่งใหญ่ประจำปี 2567 งานสัตว์น้ำไทย 2024 (Thai Aqua Expo 2024) ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-3-4 ธันวาคม 2567 ณ โรงแรมซันไรส์ ลากูน โฮเทลแอนด์กอล์ฟ จ.ฉะเชิงเทรา ภายใต้แนวความคิด “ปรับกลยุทธ์สัตว์น้ำไทย สร้างกำไรทุกภาคส่วน” โดยสมาคมกุ้งตะวันออกไทย ร่วมกับ สมาคม สหกรณ์ ชมรม กลุ่มแปลงใหญ่ ในภาคตะวันออกก รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐ และบริษัทเอกชนผู้ร่วมสนับสนุน ภายใต้มีวัตถุประสงค์ของการจัดงาน เพื่อเผยแพร่ความรู้ นวัตกรรม การส่งต่อข้อมูลเพื่อให้เกษตรกร สามารถวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางการตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศ ถ่ายทอดแนวทางการลดต้นทุนตลอดห่วงโซ่ในอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และกระตุ้นให้มีการส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศมากขึ้น ภายในงานมีการเสวนา และสัมมนาให้ความรู้กับเกษตรกรและผู้ที่สนใจ ตลอดระยะเวลาการจัดงาน ทั้ง 3 วัน รวมถึงมีการจัดแสดงสินค้าของบริษัทและผู้ค้าปัจจัยการผลิตที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยมีพื้นที่จัดแสดงสินค้ามากกว่า 70 บูท และมีบริษัทสนใจเข้าร่วม...