ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

พัฒนาแพลตฟอร์ม NQI มุ่งส่งเสริมศักยภาพ พัฒนาเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูง

 


กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม  (อว.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) โดย ศูนย์ทดสอบมาตรฐานระบบขนส่งทางราง (ศทร.) ร่วมกับ China Railway Construction Cooperation International Limited (CRCCI) และ Southwest Jiaotong University (SWJTU) หารือกำหนดกรอบการจัดทำความร่วมมือ 3 ฝ่าย ในการส่งเสริมศักยภาพและพัฒนาเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงของประเทศไทย เพื่อรองรับโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน  ภายใต้สัญญา 3-3 และ 3-5 พร้อมพัฒนาแพลตฟอร์ม NQI ที่สามารถใช้ร่วมกันได้ในระดับนานาชาติ สนับสนุนการเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟ 3 ฝ่าย ประเทศไทย-ลาว-จีน


โดยเมื่อเร็วๆ นี้  ดร.อาณัติ    หาทรัพย์ ผู้อำนวยการศูนย์ทดสอบมาตรฐานระบบขนส่งทางราง  วว. พร้อมด้วย นายภณสินธุ์  ไพทีกุล ผู้อำนวยการ ห้องปฏิบัติการทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีขนส่งทางรางและยานยนต์ขนส่ง ศทร. วว. และคณะนักวิชาการ  ร่วมประชุมทางไกลผ่านระบบ Video Conference กับคณะผู้แทน China Railway Construction Cooperation International Limited (CRCCI) ซึ่งเป็นบริษัทก่อสร้างและวิศวกรรมชั้นนำของโลกจากสาธารณรัฐประชาชนจีน  นำโดย Mr. Zheng Tianli รองหัวหน้าแผนกวิศวกรรมและผู้จัดการทั่วไป ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพร้อมคณะ รวมทั้งคณะผู้แทนจาก Southwest Jiaotong University (SWJTU) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยชั้นแนวหน้าของสาธารณรัฐประชาชนจีน นำโดย Mr. Wang   Jian รองประธานและหัวหน้าแผนกวิศวกรรม สถาบันเทคโนโลยีเพื่อความปลอดภัยในการขนส่งประจำ SWJTU และคณะ ร่วมหารือกรอบข้อตกลงความร่วมมือ 3 ฝ่าย สำหรับการส่งเสริมศักยภาพและพัฒนาเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูง ภายใต้สัญญางานก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ที่ 3-3 ช่วงบันไดม้า-ลำตะคอง และที่ 3-5 ช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา ในด้านงานทาง (Track work) ระบบจ่ายไฟฟ้า (Electrification) และงานซ่อมบำรุง (Maintenance) ของรถไฟความเร็วสูง


ดร.อาณัติ   หาทรัพย์   กล่าวว่า  รายละเอียดของสัญญาความร่วมมือที่จะเกิดขึ้นในระยะเวลาอันใกล้นี้  จะมีเนื้อหาครอบคลุมถึงการทดสอบและรับรอง (Testing and Certification) การจัดทำร่างมาตรฐาน (Standardization) งานวิจัยและพัฒนา (Research  and Development) และงานด้านการอบรม (Training) นอกจากนี้ CRCCI และ SWJTU ยังได้เสนอความร่วมมือในการจัดทำโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ (National  Quality Infrastructure หรือ NQI) ด้านระบบราง โดยมุ่งเน้นการสร้างมาตรฐาน การทดสอบรับรอง การวิจัยและนวัตกรรม รวมถึงการกำหนดยุทธศาสตร์ต่างๆ ผ่านการเชื่อมต่อและขนส่งด้วยรถไฟความเร็วสูง โดยจะทำการพัฒนาให้เป็นแพลตฟอร์ม NQI ที่สามารถใช้ร่วมกันได้ในระดับนานาชาติ  เบื้องต้นทั้ง 3 ฝ่ายจะเสนอให้ใช้แพลตฟอร์มดังกล่าวในประเทศไทย ลาว และจีน มีเป้าหมายเพื่อเชื่อมเส้นทางรถไฟความเร็วสูงจากคุนหมิง เวียงจันทร์และกรุงเทพมหานคร เพื่อให้มีระบบการใช้งานและบริหารจัดการที่สอดคล้องกัน


“...ทั้งนี้  3 หน่วยงาน จะมีการประชุมทางไกลร่วมกันอีกครั้ง เพื่อพิจารณารายละเอียดเชิงลึกในด้านต่างๆ ความร่วมมือด้านระบบรางและรถไฟความเร็วสูงร่วมกับหน่วยงานจากประเทศจีนที่จะเกิดขึ้นเป็นรูปธรรมนั้น ศูนย์ทดสอบมาตรฐานระบบขนส่งทางราง  วว. จะมุ่งเน้นสนับสนุนการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านระบบราง โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประเทศไทยเป็นที่ตั้ง ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม ความปลอดภัยของประชาชนและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม...” ดร.อาณัติ หาทรัพย์ ผู้อำนวยการศูนย์ทดสอบมาตรฐานระบบขนส่งทางราง วว. กล่าวสรุป





ทั้งนี้ China  Railway Construction  Cooperation International  Limited หรือ CRCCI เป็นรัฐวิสาหกิจรายใหญ่ของประเทศจีน ประกอบกิจการก่อสร้าง ผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์ ทดสอบและรับรองงานด้านระบบราง ทั้งภายในและภายนอกประเทศจีน เป็นบริษัทผู้ก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงรายแรกของประเทศจีน  ครองสัดส่วนของการก่อสร้างและผลิตชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ในงานด้านระบบรางกว่า 50% ของตลาดภายในประเทศจีน รวมทั้งยังเป็นบริษัทที่ดำเนินงานก่อสร้าง หรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับเส้นทางรถไฟหลายสายในประเทศไทย เช่น เส้นทางรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา  เส้นทางรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินและเส้นทางรถไฟทางคู่อีกหลายสายภายในประเทศไทย ในส่วนของ Southwest Jiaotong University หรือ SWJTU เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของประเทศจีนในด้านวิชาการ ที่เกี่ยวข้องกับการคมนาคมขนส่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานด้านระบบราง
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและรับบริการจาก ศูนย์ทดสอบมาตรฐานระบบขนส่งทางราง  วว. ได้ที่ โทร.0 2577 9000, 02577 9143 ต่อ 201 และ 304 E-mail : patcharee_a@tistr.or.th  https://www.tistr.or.th/rttc/  Facebook Page : https://www.facebook.com/RTTC.TISTR


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

นวัตกรรมการผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ส่งเสริมรายได้สู่ชุมชน

  วช. เสริมแกร่ง มรภ.อุตรดิตถ์ ผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 IN 1 จากวัสดุเหลือทิ้ง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นักวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ นำองค์ความรู้ และนวัตกรรมการผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ส่งเสริมรายได้พื้นที่เป้าหมาย สร้างเกษตรกรต้นแบบ จ.อุตรดิตถ์ และ จ.สุรินทร์ กว่า 100 ราย แนะใช้ถ่านดูดซับกลิ่น ความชื้น ยกระดับคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้ อมให้ยั่งยืน โดยการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนั กงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จากปัญหาเศษวัสดุเหลือทิ้ งทางการเกษตร อาทิ เปลือกทุเรียน เหง้ามันสำปะหลัง แกนข้าวโพด ข้อไม้ไผ่ รวมถึงเศษกิ่งไม้ริมทาง ยังไม่ได้ถูกนำมาใช้ให้เกิ ดประโยชน์มากนัก  อีกทั้งการจัดการโดยเผาเศษวัสดุ เหลือทิ้งในที่โล่ง ยังเป็นการปล่อยก๊าซเรื อนกระจกและมลสารเข้าสู่ชั้ นบรรยากาศ องค์ความรู้และนวัตกรรมการผลิ ตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 ด้วยวิธีไพโรไลซิส จึงนับเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ ไขประเด็นปัญหาดังกล่าวได้ ขณะนี้นักวิจัยได้ถ่ายทอดองค์ ความรู้และติดตั้งนวัตกรรมแล้ว ประกอบด้วย เตาผลิตถ่านดูดกลิ่นแบบไพโรไลซิ ส เครื่...

เอ็นไอเอ โหมโรง “นิลมังกร” อัดฉีดผลงานนวัตกรรมเด่นพลิกฟื้นเศรษฐกิจหลังโควิด 19 โค้งสุดท้ายก่อนเฟ้นหาสุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยภายใต้ “นิลมังกรแคมเปญ”

  สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายจำนวน 18 หน่วยงาน ได้แก่ ศูนย์แบรนด์เคยู คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค 14 มหาวิทยาลัย หอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย จัดประกาศผลและมอบรางวัล “ สุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยประจำปี 2564 รอบภูมิภาค ( Thailand INNO BIZ Champion 2021 Regional Round) ภายใต้ “ นิลมังกรแคมเปญ ” ให้กับ 20 ธุรกิจนวัตกรรมจาก 4 ภูมิภาค ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ NIA กล่าวว่า “NIA มีหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุน และสร้างความสามารถการแข่งขันของประเทศด้วยการใช้นวัตกรรม ดังนั้นจึงได้ริเริ่มโครงการสุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยระดับภูมิภาค ภายใต้ “ นิลมังกรแคมเปญ ” ขึ้น เพื่อสร้างตัวอย่างการทำธุรกิจนวัตกรรมในภูมิภาคให้คนในพื้นที่ได้เห็นถึงความสำคัญในการพัฒนานวัตกรรมและได้เรียนรู้กระบวนการสร้างธุรกิจนวัตกรรม ผ่านการสื่อสารในรูปแบบของ Edutainment เพื่อให้เป็นที่น่าสนใจ เข้าถึง และเข้าใจกระบวนการสร้างธุรกิ...

2-4 ธันวาคมนี้ พบกันที่ งานสัตว์น้ำไทย 2024 (Thai Aqua Expo 2024)

สมาคมกุ้งตะวันออกไทย ร่วมกับ พันธมิตรในภาคตะวันออก และภาครัฐ ร่วมจัดงานสัตว์น้ำเศรษฐกิจยิ่งใหญ่ประจำปี 2567 งานสัตว์น้ำไทย 2024 (Thai Aqua Expo 2024) ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-3-4 ธันวาคม 2567 ณ โรงแรมซันไรส์ ลากูน โฮเทลแอนด์กอล์ฟ จ.ฉะเชิงเทรา ภายใต้แนวความคิด “ปรับกลยุทธ์สัตว์น้ำไทย สร้างกำไรทุกภาคส่วน” โดยสมาคมกุ้งตะวันออกไทย ร่วมกับ สมาคม สหกรณ์ ชมรม กลุ่มแปลงใหญ่ ในภาคตะวันออกก รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐ และบริษัทเอกชนผู้ร่วมสนับสนุน ภายใต้มีวัตถุประสงค์ของการจัดงาน เพื่อเผยแพร่ความรู้ นวัตกรรม การส่งต่อข้อมูลเพื่อให้เกษตรกร สามารถวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางการตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศ ถ่ายทอดแนวทางการลดต้นทุนตลอดห่วงโซ่ในอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และกระตุ้นให้มีการส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศมากขึ้น ภายในงานมีการเสวนา และสัมมนาให้ความรู้กับเกษตรกรและผู้ที่สนใจ ตลอดระยะเวลาการจัดงาน ทั้ง 3 วัน รวมถึงมีการจัดแสดงสินค้าของบริษัทและผู้ค้าปัจจัยการผลิตที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยมีพื้นที่จัดแสดงสินค้ามากกว่า 70 บูท และมีบริษัทสนใจเข้าร่วม...