ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

“กบจำศีล” เบื้องหลัง OptiBreath® แพคเกจจิ้งมหัศจรรย์ยืดอายุผักผลไม้ ตอบโจทย์สิ่งแวดล้อม

 


ใครจะคิดว่าแค่ “ถุง” จะช่วยยืดอายุความสดใหม่ของมะพร้าวบนชั้นวางสินค้าได้นานถึง 60 วัน นอกจากลดการเน่าเสียของขยะ (Food Waste) นั่นหมายถึง “โอกาส” ของผลไม้ไทยในการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้น

วันนี้เราอาจจะเริ่มคุ้นหน้าคุ้นตากับถุงยืดอายุผักผลไม้ สินค้าประเภทบรรจุภัณฑ์น้องใหม่บนชั้นวาง
ตามซุปเปอร์มาร์เก็ต หรือบนตลาดสินค้าออนไลน์ OptiBreath ® เป็นหนึ่งในนวัตกรรมจาก SCGP ที่มุ่งพัฒนานวัตกรรมเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ให้ผู้บริโภค รวมถึงเจ้าของแบรนด์มีส่วนร่วมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และลดการใช้ทรัพยากรตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนไปด้วยกัน  ตามแนวทาง ESG 4 Plus เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ได้แก่ “1.มุ่ง Net Zero  2.Go Green 3.Lean เหลื่อมล้ำ 4.ย้ำร่วมมือ Plus เป็นธรรม โปร่งใส”

บรรจุภัณฑ์ Go Green ยืดอายุได้ สวยงามด้วย

  เบื้องหลังของถุงยืดอายุผักผลไม้ OptiBreath® คุณชญานิษฐ์ วงศ์ประดิษฐ์ นักวิจัยด้านเทคโนโลยี
บรรจุภัณฑ์ SCGP บอกว่ามาจากโจทย์ที่ คุณณรงค์ศักดิ์ ชื่นสุชน เจ้าของสวนมะพร้าวที่อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี ต้องการยืดอายุมะพร้าวเจีย (มะพร้าวที่ปอกเปลือกนอกออกเหลือชั้นกะลา) เพื่อรองรับการส่งออกทางเรือที่ต้องใช้เวลาขนส่งนานกว่าปกติ

ปกติมะพร้าวส่งออกมีทั้งมะพร้าวควั่น ซึ่งผลสดมีอายุการเก็บรักษา 60 วัน และมะพร้าวเจียมีอายุ 30 วัน ความที่ต้องการขยายตลาดเพิ่มปริมาณการส่งออก โดยเน้นมะพร้าวเจียเนื่องจากใน 1 ตู้คอนเทนเนอร์สามารถบรรจุมะพร้าวเจียได้มากกว่ามะพร้าวควั่นถึง 4 เท่า SCGP และลูกค้าจึงร่วมกันพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อยืดอายุมะพร้าวดังกล่าว โดยได้พัฒนาออกมา 2 เวอร์ชั่น


เวอร์ชั่นแรกสามารถยืดอายุมะพร้าวสดได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ คือยืดอายุมะพร้าวเจียจาก 30 วันเป็น 60 วัน ช่วยลดความกังวลในการส่งออกได้มาก โดยเฉพาะกับการขนส่งทางเรือ เพราะกว่าสินค้าจะผ่านด่านศุลกากรใช้เวลานาน ถ้าเกิดความเสียหายสินค้าจะถูกเคลมทั้งตู้คอนเทนเนอร์ การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้สามารถยืดอายุมากขึ้นจึงเป็นการลดความกังวลใจของผู้ส่งออกซึ่งประเมินค่าไม่ได้

อย่างไรก็ตาม บรรจุภัณฑ์ในเวอร์ชั่นแรกมีข้อจำกัดในด้านการพิมพ์ จึงมีการพัฒนาเวอร์ชั่น 2 ร่วมกับบริษัทในเครือของ SCGP ได้แก่ โรงงานบาติโก ประเทศเวียดนาม บริษัท พรีแพคประเทศไทย และทีมดีไซเนอร์ได้ออกมาเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ไม่เพียงยืดอายุมะพร้าวไม่ให้เน่าเสีย เพื่อโอกาสในการขายและลดขยะอาหาร แต่ยังสามารถพิมพ์ลวดลายสีสันสวยงาม นอกจากนี้ในเวอร์ชั่น 2 ยังสามารถต่อยอดการยืดอายุมะพร้าวสดแบบควั่นจาก 60 วัน เป็น 90 วัน จนได้ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ของคุณณรงค์ศักดิ์ได้อีกด้วย

จาก “มะพร้าวสด” ถึง “ผักสลัด”

คุณชญานิษฐ์ เล่าว่าจากโจทย์การพัฒนาถุงบรรจุภัณฑ์เพื่อยืดอายุความสดให้กับมะพร้าว ได้พัฒนาต่อยอดไปยังมะม่วงน้ำดอกไม้ส่งออก ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด19 ที่ส่งผลกระทบให้สายการบินหยุดบินเป็นการชั่วคราว การส่งออกสินค้าต้องอาศัยทางเรือเป็นหลัก ผู้ส่งออกมะม่วงน้ำดอกไม้จึงติดต่อมาที่ SCGP ให้ช่วยพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ซึ่งมะม่วงมีเปลือกบาง ไม่แข็งเหมือนมะพร้าว จึงต้องการความแข็งแรงของบรรจุภัณฑ์ที่ไม่เพียงแต่ต้องช่วยยืดอายุ แต่ยังต้องสามารถบรรจุมะม่วงน้ำดอกไม้สำหรับขนส่งครั้งละ 5-10 กิโลกรัมได้ซึ่งบรรจุภัณฑ์ที่ SCGP พัฒนาขึ้นสำหรับมะพร้าวสามารถนำมาต่อยอดพัฒนาบรรจุภัณฑ์สำหรับผักและผลไม้อื่น ๆ ที่ตอบโจทย์ลูกค้าได้อย่างดี และเป็นที่ยอมรับในคุณภาพของลูกค้าปลายทาง

ปัจจุบันไม่เพียงการพัฒนาบรรจุภัณฑ์สำหรับมะม่วงน้ำดอกไม้ส่งออกเท่านั้น แต่ OptiBreath® ยังสามารถใช้กับผักและผลไม้ชนิดอื่น อย่างแก้วมังกร เงาะ และลิ้นจี่ ยังช่วยส่งเสริมการตลาดจากเจ้าของธุรกิจสู่เจ้าของธุรกิจ เป็นเจ้าของธุรกิจสู่ผู้บริโภค มีการวางจำหน่ายตามซุปเปอร์มาร์เก็ตและตลาดออนไลน์ โดยที่ถุงยืดอายุ OptiBreath® สามารถใช้กับผักบุ้ง คะน้า กวางตุ้ง ผักชี โหระพา ฯลฯ ทั้งผู้ประกอบการรายย่อยยังนำไปใช้บรรจุผักสลัดจำหน่าย
เมื่อถึงมือผู้บริโภคสามารถยืดอายุการเก็บรักษาในตู้เย็นได้อีก 7 วัน นับเป็นก้าวสำคัญของผู้พัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อยืดอายุผักผลไม้“เชื่อว่าอนาคตการขนส่งทั่วโลกจะเปลี่ยนไป ทั้งค่าระวางสินค้าก็ดีจากจำนวนรอบบินที่ลดลงทำให้การขนส่งทางเรือมีมากขึ้น หรือถ้าส่งไปจีนตอนนี้มีสายรถยนต์และรถไฟ ถุงยืดอายุจะเป็นสิ่งจำเป็นมากขึ้น เพราะมันเปลี่ยนวิถีชีวิตของเขา” คุณชญานิษฐ์บอก


ทำไมต้อง “กบจำศีล”

 ย้อนกลับมาที่ความลับของ OptiBreath®  ด้วยรูปลักษณ์ภายนอกที่ไม่แตกต่างจากถุงทั่วไป แต่ซ่อนความมหัศจรรย์ สามารถยืดอายุผักผลไม้ให้สดใหม่ได้นานวัน อะไรคือความพิเศษนั้น?

คุณทศพล เจริญเอม นักวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพ SCGP บอกว่า OptiBreath®  ใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า Modified Atmosphere Packaging (MAP) เป็นเทคนิคการถนอมอาหารเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาอาหารสด
ด้วยบรรจุภัณฑ์ที่มีการปรับสัดส่วนสภาพบรรยากาศภายในให้มีอัตราส่วนของก๊าซชนิดต่าง ๆ แตกต่างไปจากสภาพบรรยากาศปกติ อาศัยหลักการการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวและสรีรวิทยา เรารู้ว่ามะพร้าวเมื่อเก็บมาจากต้น
ลูกมะพร้าวสดยังมีชีวิตอยู่ด้วยอัตราการหายใจที่เป็นอิสระ ถ้าสามารถชะลอการสุก/แก่จะทำให้มะพร้าวมีอายุนานขึ้น

คุณทศพลกล่าวว่า การควบคุมบรรยากาศร่วมกับอุณหภูมิจะควบคุมการเน่าเสีย ความสุก/แก่ได้ เพราะจุลินทรีย์ต้องการอากาศในการหายใจ ฉะนั้นการยืดอายุผักผลไม้สดจึงทำได้เมื่อมีการสร้างสมดุลของสภาพก๊าซ
เป็นการชะลอการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ไม่ให้อยู่ในจุดที่เกิดความเสียหาย

    Modified Atmosphere Packaging เหมือนกับภาวะกบจำศีล หรือเวลาที่ร่างกายมนุษย์เมื่อเข้าสู่ภาวะหลับลึก อุณหภูมิร่างกายจะลดลง หายใจช้าลง ทำให้ลดความเสื่อมของสภาพร่างกาย มะพร้าวก็เช่นกัน ทำให้การสุก/แก่ช้าลงด้วย การขนส่งที่ใช้เวลานานจึงไม่เป็นอุปสรรค เท่ากับลดการสูญเสียต้นทุนสินค้า ช่วยลดขยะ และเมื่อขยะลดลงนั่นหมายความว่าก๊าซมีเทน ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกที่จะปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศก็ลดลงด้วย” คุณทศพลกล่าว

นี่คือตัวอย่างจากความตั้งใจของทีมนักวิจัยจาก SCGP ถือเป็นแรงบันดาลใจในการคิดค้น สร้างนวัตกรรม เพื่อช่วยแก้ปัญหาให้กับลูกค้าทั้งเชิงธุรกิจและยังช่วยแก้วิกฤตขยะล้นโลกเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนไปพร้อมกัน



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

นวัตกรรมการผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ส่งเสริมรายได้สู่ชุมชน

  วช. เสริมแกร่ง มรภ.อุตรดิตถ์ ผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 IN 1 จากวัสดุเหลือทิ้ง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นักวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ นำองค์ความรู้ และนวัตกรรมการผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ส่งเสริมรายได้พื้นที่เป้าหมาย สร้างเกษตรกรต้นแบบ จ.อุตรดิตถ์ และ จ.สุรินทร์ กว่า 100 ราย แนะใช้ถ่านดูดซับกลิ่น ความชื้น ยกระดับคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้ อมให้ยั่งยืน โดยการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนั กงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จากปัญหาเศษวัสดุเหลือทิ้ งทางการเกษตร อาทิ เปลือกทุเรียน เหง้ามันสำปะหลัง แกนข้าวโพด ข้อไม้ไผ่ รวมถึงเศษกิ่งไม้ริมทาง ยังไม่ได้ถูกนำมาใช้ให้เกิ ดประโยชน์มากนัก  อีกทั้งการจัดการโดยเผาเศษวัสดุ เหลือทิ้งในที่โล่ง ยังเป็นการปล่อยก๊าซเรื อนกระจกและมลสารเข้าสู่ชั้ นบรรยากาศ องค์ความรู้และนวัตกรรมการผลิ ตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 ด้วยวิธีไพโรไลซิส จึงนับเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ ไขประเด็นปัญหาดังกล่าวได้ ขณะนี้นักวิจัยได้ถ่ายทอดองค์ ความรู้และติดตั้งนวัตกรรมแล้ว ประกอบด้วย เตาผลิตถ่านดูดกลิ่นแบบไพโรไลซิ ส เครื่...

เอ็นไอเอ โหมโรง “นิลมังกร” อัดฉีดผลงานนวัตกรรมเด่นพลิกฟื้นเศรษฐกิจหลังโควิด 19 โค้งสุดท้ายก่อนเฟ้นหาสุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยภายใต้ “นิลมังกรแคมเปญ”

  สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายจำนวน 18 หน่วยงาน ได้แก่ ศูนย์แบรนด์เคยู คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค 14 มหาวิทยาลัย หอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย จัดประกาศผลและมอบรางวัล “ สุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยประจำปี 2564 รอบภูมิภาค ( Thailand INNO BIZ Champion 2021 Regional Round) ภายใต้ “ นิลมังกรแคมเปญ ” ให้กับ 20 ธุรกิจนวัตกรรมจาก 4 ภูมิภาค ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ NIA กล่าวว่า “NIA มีหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุน และสร้างความสามารถการแข่งขันของประเทศด้วยการใช้นวัตกรรม ดังนั้นจึงได้ริเริ่มโครงการสุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยระดับภูมิภาค ภายใต้ “ นิลมังกรแคมเปญ ” ขึ้น เพื่อสร้างตัวอย่างการทำธุรกิจนวัตกรรมในภูมิภาคให้คนในพื้นที่ได้เห็นถึงความสำคัญในการพัฒนานวัตกรรมและได้เรียนรู้กระบวนการสร้างธุรกิจนวัตกรรม ผ่านการสื่อสารในรูปแบบของ Edutainment เพื่อให้เป็นที่น่าสนใจ เข้าถึง และเข้าใจกระบวนการสร้างธุรกิ...

2-4 ธันวาคมนี้ พบกันที่ งานสัตว์น้ำไทย 2024 (Thai Aqua Expo 2024)

สมาคมกุ้งตะวันออกไทย ร่วมกับ พันธมิตรในภาคตะวันออก และภาครัฐ ร่วมจัดงานสัตว์น้ำเศรษฐกิจยิ่งใหญ่ประจำปี 2567 งานสัตว์น้ำไทย 2024 (Thai Aqua Expo 2024) ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-3-4 ธันวาคม 2567 ณ โรงแรมซันไรส์ ลากูน โฮเทลแอนด์กอล์ฟ จ.ฉะเชิงเทรา ภายใต้แนวความคิด “ปรับกลยุทธ์สัตว์น้ำไทย สร้างกำไรทุกภาคส่วน” โดยสมาคมกุ้งตะวันออกไทย ร่วมกับ สมาคม สหกรณ์ ชมรม กลุ่มแปลงใหญ่ ในภาคตะวันออกก รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐ และบริษัทเอกชนผู้ร่วมสนับสนุน ภายใต้มีวัตถุประสงค์ของการจัดงาน เพื่อเผยแพร่ความรู้ นวัตกรรม การส่งต่อข้อมูลเพื่อให้เกษตรกร สามารถวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางการตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศ ถ่ายทอดแนวทางการลดต้นทุนตลอดห่วงโซ่ในอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และกระตุ้นให้มีการส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศมากขึ้น ภายในงานมีการเสวนา และสัมมนาให้ความรู้กับเกษตรกรและผู้ที่สนใจ ตลอดระยะเวลาการจัดงาน ทั้ง 3 วัน รวมถึงมีการจัดแสดงสินค้าของบริษัทและผู้ค้าปัจจัยการผลิตที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยมีพื้นที่จัดแสดงสินค้ามากกว่า 70 บูท และมีบริษัทสนใจเข้าร่วม...