ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

วช.พาดูความสำเร็จ งานวิจัย”เลี้ยงผึ้งชันโรง” วิสาหกิจชุมชน จ.สงขลา


สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) นำสื่อมวลชน ลงพื้นที่ วิสาหกิจชุมชน อำเภอรัตภูมิ และอำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา ดูความสำเร็จโครงการวิจัย “การพัฒนาชุมชนเพาะเลี้ยงชันโรงสู่การเป็นชุมชนนวัตกรรมอย่างยั่งยืนจังหวัดสงขลา” เพื่อส่งเสริมการเลี้ยงผึ้งชันโรง การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ การตลาด ตลอดจนผลักดันจากอาชีพเสริมสู่อาชีพหลัก สร้างรายได้มั่นคง



ผศ.ดร.ปกรณ์ ลิ้มโยธิน คณบดีคณะรัฐศาสตร์ ในฐานะผู้อำนวยการแผนโครงการฯ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ มีองค์ความรู้ด้านการเลี้ยงผึ้งชันโรงอยู่แล้ว ผนวกกับความอุดมสมบูรณ์ของป่าชายเลนในพื้นที่ต่าง ๆ จากการทำงานวิจัย จึงได้นำองค์ความรู้ที่เรามีมาถ่ายทอดแก่เกษตรกร ตั้งแต่การเริ่มต้นเลี้ยง การเก็บผลผลิต การสร้างผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ชุมชนสามารถสร้างอาชีพและรายได้ พร้อมผลักดันให้จังหวัดสงขลาเป็นเมืองแห่งชันโรง โดยพยายามจะลดความเหลื่อมล้ำของสังคมเมืองและสังคมชนบทให้ได้



ผศ.ดร.นุกูล ชิ้นฟัก ผู้ช่วยคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ในฐานะหัวหน้าโครงการย่อย เล่าว่า จากความสำเร็จ ภายใต้โครงการการจัดการความรู้ข้อเสนอเชิงนโยบายสู่การปฏิบัติในการฟื้นฟูป่าชายเลนในบริเวณลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา และการจัดตั้งศูนย์วิจัยชุมชนตำบลชะแล้ (อุง) สร้างอาหารปลอดภัย ตำบลชะแล้ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา โดยการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ และชุมชนเกิดความรู้ความเข้มแข็งจากการเรียนรู้งานวิจัยเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมป่าชายเลน จนเกิดผลพวงที่สำคัญ คือ แหล่งเพาะเลี้ยงชันโรงที่เหมาะสมตามธรรมชาติ และสามารถขยายผลสร้างอาชีพให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ได้ จึงต่อยอดเป็นโครงการ “การพัฒนาชุมชนเพาะเลี้ยงผึ้งชันโรงสู่การเป็นชุมชนนวัตกรรมอย่างยั่งยืนจังหวัดสงขลา” ปัจจุบันได้ดำเนินการไปแล้ว 8 อำเภอ 10 วิสาหกิจชุมชน ภายใต้การสนับสนุนทุนวิจัยจากหน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ หรือ บพท.



กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพาะเลี้ยงชันโรงบ้านคลองต่อ อ.รัตภูมิ และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนอุงและญิงยวน อ.บางกล่ำ จ.สงขลา เล่าว่า กลุ่มวิสาหกิจฯ ได้ริเริ่มเลี้ยงผึ้งชันโรงโดยเชื่อมโยงการเกษตรอินทรีย์อย่างสมบูรณ์ ปัจจุบัน มีการเลี้ยงชันโรงจำนวนหลายพันรัง ใน 3 สายพันธุ์ ได้แก่ ขนเงิน ทูราซิก้า และอีตาม่า โดยขับเคลื่อนร่วมกับเครือข่ายรายย่อยในพื้นที่  พร้อมส่งเสริมให้โรงเรียนและชุมชน มาเรียนรู้การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ สร้างมูลค่าเพิ่ม ภายหลังที่มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ได้เข้ามาช่วยสนับสนุนข้อมูลเชิงวิชาการ เพื่อวิเคราะห์คุณค่าและคุณภาพทางโภชนาการของน้ำผึ้งชันโรง การสร้างผลิตภัณฑ์ จึงสามารถสร้างความเชื่อมั่นใจให้กับผู้บริโภคและเกษตรกรในการพัฒนาต่อไปได้มากยิ่งขึ้น


ผึ้งชันโรงมีความพิเศษกว่าผึ้งชนิดอื่น ๆ คือ จะมีการนำยางจากต้นไม้ชนิดต่าง ๆ มาต่อเติมสร้างรังของตัวเอง ทำให้น้ำผึ้งมีสรรพคุณทางยาที่ดี และยังเป็นเครื่องบ่งชี้ความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้และการทำเกษตรกรรมได้ว่ามีความเป็นเกษตรอินทรีย์เกือบทั้งหมด ช่วยส่งเสริมให้พืชพรรณ โดยเฉพาะผลไม้ให้เกิดผลผลิตมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด อีกทั้ง น้ำผึ้งชันโรงมีสารต้านอนุมูลอิสระ จึงสามารถต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์เสริมความงามและผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เพื่อสุขภาพได้ เช่น ยาหม่องขี้ผึ้งชันโรง พิมเสน ครีมบำรุงผิว สบู่ และเร็ว ๆ นี้จะพัฒนาเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพผสมคอลลาเจนจากสาหร่ายพวงองุ่นอีกด้วย ด้านรสชาติน้ำผึ้งยังให้ความแตกต่างจากน้ำผึ้งอื่น ๆ ตรงรสเปรี้ยวอมหวาน ราคาซื้อขายปัจจุบันอยู่ที่ 2 บาทต่อ 1 มิลลิลิตร โดยผึ้ง 2-3 รังให้ผลผลิตน้ำผึ้งประมาณ 1 กิโลกรัม สร้างรายได้หลักแสนถึงหลักล้านบาทต่อปี และมีแนวโน้มจะสูงขึ้นได้อีก


นับเป็นการเดินหน้าสร้างสัตว์เศรษฐกิจใหม่ ที่ผู้บริโภคและเกษตรกรให้ความสนใจกันมากขึ้น ผลผลิตมีไม่เพียงพอต่อความต้องการ หน่วยงานและมหาวิทยาลัยในท้องถิ่น จึงพยายามผลักดันให้เลี้ยงเป็นอาชีพ เพื่อส่งเสริมรายได้ที่มั่นคงมากขึ้น ทั้งยังสนับสนุนให้เยาวชนคนรุ่นใหม่มาเรียนรู้ธรรมชาติ เพื่อสร้างทางเลือกอาชีพ และหวงแหนบ้านเกิดได้ต่อไป สำหรับผู้ที่สนใจเรียนรู้หรือเลี้ยงชันโรงสามารถติดต่อมายังวิสาหกิจชุมชนได้ทุกเมื่อ


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

นวัตกรรมการผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ส่งเสริมรายได้สู่ชุมชน

  วช. เสริมแกร่ง มรภ.อุตรดิตถ์ ผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 IN 1 จากวัสดุเหลือทิ้ง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นักวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ นำองค์ความรู้ และนวัตกรรมการผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ส่งเสริมรายได้พื้นที่เป้าหมาย สร้างเกษตรกรต้นแบบ จ.อุตรดิตถ์ และ จ.สุรินทร์ กว่า 100 ราย แนะใช้ถ่านดูดซับกลิ่น ความชื้น ยกระดับคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้ อมให้ยั่งยืน โดยการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนั กงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จากปัญหาเศษวัสดุเหลือทิ้ งทางการเกษตร อาทิ เปลือกทุเรียน เหง้ามันสำปะหลัง แกนข้าวโพด ข้อไม้ไผ่ รวมถึงเศษกิ่งไม้ริมทาง ยังไม่ได้ถูกนำมาใช้ให้เกิ ดประโยชน์มากนัก  อีกทั้งการจัดการโดยเผาเศษวัสดุ เหลือทิ้งในที่โล่ง ยังเป็นการปล่อยก๊าซเรื อนกระจกและมลสารเข้าสู่ชั้ นบรรยากาศ องค์ความรู้และนวัตกรรมการผลิ ตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 ด้วยวิธีไพโรไลซิส จึงนับเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ ไขประเด็นปัญหาดังกล่าวได้ ขณะนี้นักวิจัยได้ถ่ายทอดองค์ ความรู้และติดตั้งนวัตกรรมแล้ว ประกอบด้วย เตาผลิตถ่านดูดกลิ่นแบบไพโรไลซิ ส เครื่...

เอ็นไอเอ โหมโรง “นิลมังกร” อัดฉีดผลงานนวัตกรรมเด่นพลิกฟื้นเศรษฐกิจหลังโควิด 19 โค้งสุดท้ายก่อนเฟ้นหาสุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยภายใต้ “นิลมังกรแคมเปญ”

  สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายจำนวน 18 หน่วยงาน ได้แก่ ศูนย์แบรนด์เคยู คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค 14 มหาวิทยาลัย หอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย จัดประกาศผลและมอบรางวัล “ สุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยประจำปี 2564 รอบภูมิภาค ( Thailand INNO BIZ Champion 2021 Regional Round) ภายใต้ “ นิลมังกรแคมเปญ ” ให้กับ 20 ธุรกิจนวัตกรรมจาก 4 ภูมิภาค ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ NIA กล่าวว่า “NIA มีหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุน และสร้างความสามารถการแข่งขันของประเทศด้วยการใช้นวัตกรรม ดังนั้นจึงได้ริเริ่มโครงการสุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยระดับภูมิภาค ภายใต้ “ นิลมังกรแคมเปญ ” ขึ้น เพื่อสร้างตัวอย่างการทำธุรกิจนวัตกรรมในภูมิภาคให้คนในพื้นที่ได้เห็นถึงความสำคัญในการพัฒนานวัตกรรมและได้เรียนรู้กระบวนการสร้างธุรกิจนวัตกรรม ผ่านการสื่อสารในรูปแบบของ Edutainment เพื่อให้เป็นที่น่าสนใจ เข้าถึง และเข้าใจกระบวนการสร้างธุรกิ...

2-4 ธันวาคมนี้ พบกันที่ งานสัตว์น้ำไทย 2024 (Thai Aqua Expo 2024)

สมาคมกุ้งตะวันออกไทย ร่วมกับ พันธมิตรในภาคตะวันออก และภาครัฐ ร่วมจัดงานสัตว์น้ำเศรษฐกิจยิ่งใหญ่ประจำปี 2567 งานสัตว์น้ำไทย 2024 (Thai Aqua Expo 2024) ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-3-4 ธันวาคม 2567 ณ โรงแรมซันไรส์ ลากูน โฮเทลแอนด์กอล์ฟ จ.ฉะเชิงเทรา ภายใต้แนวความคิด “ปรับกลยุทธ์สัตว์น้ำไทย สร้างกำไรทุกภาคส่วน” โดยสมาคมกุ้งตะวันออกไทย ร่วมกับ สมาคม สหกรณ์ ชมรม กลุ่มแปลงใหญ่ ในภาคตะวันออกก รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐ และบริษัทเอกชนผู้ร่วมสนับสนุน ภายใต้มีวัตถุประสงค์ของการจัดงาน เพื่อเผยแพร่ความรู้ นวัตกรรม การส่งต่อข้อมูลเพื่อให้เกษตรกร สามารถวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางการตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศ ถ่ายทอดแนวทางการลดต้นทุนตลอดห่วงโซ่ในอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และกระตุ้นให้มีการส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศมากขึ้น ภายในงานมีการเสวนา และสัมมนาให้ความรู้กับเกษตรกรและผู้ที่สนใจ ตลอดระยะเวลาการจัดงาน ทั้ง 3 วัน รวมถึงมีการจัดแสดงสินค้าของบริษัทและผู้ค้าปัจจัยการผลิตที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยมีพื้นที่จัดแสดงสินค้ามากกว่า 70 บูท และมีบริษัทสนใจเข้าร่วม...