ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

วช. ผลักดันเศรษฐกิจสร้างสรรค์ จัดตั้งศูนย์วิจัยชุมชน “อารยะศิลป์ ชัยภูมิ” ณ พิพิธภัณฑ์ผ้าโบราณเฮือนคำมุ จ.ชัยภูมิ

 เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2565 ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ พร้อมด้วย นายชาญชัย ศรศรีวิชัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ และเครือข่ายวิจัยภูมิภาค: ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ร่วมประชุมเตรียมการจัดตั้งศูนย์วิจัยชุมชน “อารยะศิลป์ ชัยภูมิ”พิพิธภัณฑ์ผ้าโบราณ (เฮือนคำมุ) ณ ศาลากลางจังหวัดชัยภูมิ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุน เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ด้านศิลปวัฒนธรรมล้านช้างในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย



ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า การจัดตั้งศูนย์วิจัยชุมชน เป็นการดำเนินงานของ วช. ร่วมกับเครือข่ายวิจัยภูมิภาคทั้ง 4 ภูมิภาค เพื่อเป็นกลไกในการสร้างความยั่งยืนในการนำองค์ความรู้จากงานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ของชุมชนและคุณภาพชีวิตให้กับท้องถิ่น บูรณาการความร่วมมือในการจัดตั้ง “ศูนย์วิจัยชุมชน”ในภูมิภาคต่าง ๆโดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อให้ชุมชน หรือสังคม ได้เข้าถึงงานวิจัยและนวัตกรรม และสามารถนำไปใช้งานได้จริง เชื่อมโยงพัฒนาการประกอบอาชีพ และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น



การประชุมเพื่อประชุมหารือจัดตั้งศูนย์วิจัยชุมชนฯ “อารยะศิลป์ ชัยภูมิ” พิพิธภัณฑ์ผ้าโบราณ(เฮือนคำมุ)จังหวัดชัยภูมิ ดำเนินการโดยเครือข่ายวิจัยภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยนำเสนอผ้าซิ่นชัยภูมิ ที่ได้ศึกษาวิจัยและพัฒนา จากการสืบทอดทางวัฒนธรรมของวิถีชีวิตอารยธรรมล้านช้างในประเทศไทย ศิลปะลวดลายบนผืนผ้าที่บอกเล่าประวัติศาสตร์และความเป็นมาของคนในแต่ละยุคสมัย โดยมี ดร.คมกฤช ฤทธิ์ขจร เป็นหัวหน้าโครงการจัดตั้งศูนย์วิจัยชุมชน สำหรับเป็นสถานที่รวบรวมวัตถุและผ้าโบราณ เพื่อเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ทางศิลปวัฒนธรรมของอาณาจักรล้านช้างในแผ่นดินภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย


เครือข่ายความร่วมมือในการดำเนินงาน จะประกอบด้วย หน่วยงานสนับสนุนการบริหารทุนวิจัยและนวัตกรรม โดย วช. พร้อมด้วย หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และสถาบันการศึกษาในพื้นที่ โดย วช.มีเป้าหมายให้ความร่วมมือจากภาคส่วนต่าง ๆ ได้สร้างความยั่งยืนให้กับพื้นที่และท้องถิ่น ในการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยและนวัตกรรม ให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง และมีการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

นวัตกรรมการผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ส่งเสริมรายได้สู่ชุมชน

  วช. เสริมแกร่ง มรภ.อุตรดิตถ์ ผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 IN 1 จากวัสดุเหลือทิ้ง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นักวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ นำองค์ความรู้ และนวัตกรรมการผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ส่งเสริมรายได้พื้นที่เป้าหมาย สร้างเกษตรกรต้นแบบ จ.อุตรดิตถ์ และ จ.สุรินทร์ กว่า 100 ราย แนะใช้ถ่านดูดซับกลิ่น ความชื้น ยกระดับคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้ อมให้ยั่งยืน โดยการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนั กงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จากปัญหาเศษวัสดุเหลือทิ้ งทางการเกษตร อาทิ เปลือกทุเรียน เหง้ามันสำปะหลัง แกนข้าวโพด ข้อไม้ไผ่ รวมถึงเศษกิ่งไม้ริมทาง ยังไม่ได้ถูกนำมาใช้ให้เกิ ดประโยชน์มากนัก  อีกทั้งการจัดการโดยเผาเศษวัสดุ เหลือทิ้งในที่โล่ง ยังเป็นการปล่อยก๊าซเรื อนกระจกและมลสารเข้าสู่ชั้ นบรรยากาศ องค์ความรู้และนวัตกรรมการผลิ ตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 ด้วยวิธีไพโรไลซิส จึงนับเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ ไขประเด็นปัญหาดังกล่าวได้ ขณะนี้นักวิจัยได้ถ่ายทอดองค์ ความรู้และติดตั้งนวัตกรรมแล้ว ประกอบด้วย เตาผลิตถ่านดูดกลิ่นแบบไพโรไลซิ ส เครื่องบดถ่าน

เอ็นไอเอ โหมโรง “นิลมังกร” อัดฉีดผลงานนวัตกรรมเด่นพลิกฟื้นเศรษฐกิจหลังโควิด 19 โค้งสุดท้ายก่อนเฟ้นหาสุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยภายใต้ “นิลมังกรแคมเปญ”

  สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายจำนวน 18 หน่วยงาน ได้แก่ ศูนย์แบรนด์เคยู คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค 14 มหาวิทยาลัย หอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย จัดประกาศผลและมอบรางวัล “ สุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยประจำปี 2564 รอบภูมิภาค ( Thailand INNO BIZ Champion 2021 Regional Round) ภายใต้ “ นิลมังกรแคมเปญ ” ให้กับ 20 ธุรกิจนวัตกรรมจาก 4 ภูมิภาค ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ NIA กล่าวว่า “NIA มีหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุน และสร้างความสามารถการแข่งขันของประเทศด้วยการใช้นวัตกรรม ดังนั้นจึงได้ริเริ่มโครงการสุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยระดับภูมิภาค ภายใต้ “ นิลมังกรแคมเปญ ” ขึ้น เพื่อสร้างตัวอย่างการทำธุรกิจนวัตกรรมในภูมิภาคให้คนในพื้นที่ได้เห็นถึงความสำคัญในการพัฒนานวัตกรรมและได้เรียนรู้กระบวนการสร้างธุรกิจนวัตกรรม ผ่านการสื่อสารในรูปแบบของ Edutainment เพื่อให้เป็นที่น่าสนใจ เข้าถึง และเข้าใจกระบวนการสร้างธุรกิจนวั

งานมหกรรมในหลวงรักเรา​ "ภูมิพลังแผ่นดิน"พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯชวนเที่ยว​งาน 3-6​ ธันวาคมนี้

  พลอากาศเอก เสนาะ  พรรณพิกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์ เกษตรเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เปิดเผยว่า “การจัดงานมหกรรมในหลวงรักเรา “ภูมิพลังแผ่นดิน” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 3 – 6 ธันวาคม 2564 นี้เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิ คุณพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิ เบศร    มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และเผยแพร่พระราชกรณียกิจด้ านการพัฒนาทรัพยากรดิน เพื่อการเกษตร พระองค์ท่านทรงตระหนักถึงปั ญหาและความเสื่อมโทรมของดิน ไม่ว่าจะเป็นดินเปรี้ยว ดินเค็ม   ทำอย่างไรถึงจะคืนความอุ ดมสมบูรณ์สู่ “ผืนดิน” อันเป็นพื้นฐานสำคั ญในการทำการเกษตรเพื่อสร้ างความมั่นคงด้านคลังอาหาร จึงเห็นได้ว่าโครงการพระราชดำริ ที่เกี่ยวกับการเกษตรกว่า 4,000 โครงการ ล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับการพั ฒนา ปรับปรุงดิน และด้านการเกษตร ด้วยพระปรี ชาสามารถและสายพระเนตรอั นยาวไกลของพระองค์ทำให้ราษฎรได้ มีความอยู่ดี กินดี มากยิ่งขึ้น” ด้าน นายอร่าม  แก้วนิล ผู้อำนวยการสำนักนวั ตกรรมเกษตรเศรษฐกิจพอเพียง กล่าวเพิ่มเติมถึงนิ ทรรศการภายในงานว่า “ขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนเข้ ามาร่วมเรียนรู้ นิทรรศการผู้น้ อมนำหลักปรัชญ