ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

สยามคูโบต้า รุกขยาย “ฟาร์มสร้างประสบการณ์เกษตรสมัยใหม่” แห่งแรกใน จ.มหาสารคาม ภายใต้ชื่อ ณ นา ฟาร์ม นำองค์ความรู้ โซลูชั่น และเทคโนโลยีการเกษตร สู่พี่น้องภาคอีสาน ยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สู่รายได้ที่ยั่งยืนของเกษตรกรไทย


บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด เดินหน้าขยาย “ฟาร์มสร้างประสบการณ์เกษตรสมัยใหม่ โดยผู้แทนจำหน่ายสยามคูโบต้า” เปิดแห่งแรกใน จ.มหาสารคาม ภายใต้ชื่อ ณ นา ฟาร์ม สนับสนุนผู้แทนจำหน่าย คูโบต้า มหาสารคาม ยก “คูโบต้า ฟาร์ม” ต้นแบบ มาเนรมิตเป็นฟาร์มสร้างประสบการณ์เกษตรสมัยใหม่ในระดับจังหวัด เพื่อนำองค์ความรู้ และโซลูชั่น พร้อมเทคโนโลยีการเกษตร สู่การยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ตลอดจนมีรายได้ที่ยั่งยืน ชูจุดเด่นด้วย 6โซน ตั้งเป้าขยายฟาร์มสร้างประสบการณ์เกษตรสมัยใหม่ให้ครบ 40 แห่งทั่วประเทศในอีก 5 ปีข้างหน้า


นางวราภรณ์ โอสถาพันธุ์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวว่า หลังจากสยามคูโบต้าได้เปิดคูโบต้า ฟาร์มอย่างเป็นทางการ เมื่อเดือนสิงหาคม 2563 เพื่อเป็น Innovative Farming Experience Center ฟาร์มสร้างประสบการณ์การเกษตรสมัยใหม่ของคูโบต้าในภูมิภาคอาเซียน ที่ออกแบบภายใต้แนวคิด End to End Solutions จากต้นน้ำถึงปลายน้ำ โดยนำเอาองค์ความรู้ KUBOTA (Agri) Solutions หรือนวัตกรรมเกษตรครบวงจร เอกลักษณ์เฉพาะของคูโบต้ามาประยุกต์ใช้จริง ให้เกษตรกร หรือผู้สนใจ ได้เรียนรู้ ศึกษาวิถีการทำเกษตรที่ช่วยให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่ง “คูโบต้า ฟาร์ม” ได้รับการตอบรับอย่างดีทั้งจากเกษตรกรทั่วประเทศไทย องค์กรภาครัฐ และ เอกชน ที่เข้ามาชมคูโบต้าฟาร์มแล้วกว่า 17,500 คน


“สยามคูโบต้า ได้เล็งเห็นว่าเรามีเครือข่ายผู้แทนจำหน่ายสยามคูโบต้าครอบคลุมทุกจังหวัดทั่วประเทศไทย ซึ่งมีศักยภาพในการร่วมกันขับเคลื่อนและขยายผลแนวคิดการทำเกษตรสมัยใหม่ จึงได้ริเริ่ม “โครงการฟาร์มสร้างประสบการณ์เกษตรสมัยใหม่ โดยผู้แทนจำหน่ายสยามคูโบต้า” โดยส่งเสริมให้ผู้แทนจำหน่ายสยามคูโบต้าเข้าร่วมโครงการฯ ซึ่งผู้แทนจำหน่ายจะเป็นเจ้าของฟาร์มและดำเนินกิจกรรมธุรกิจฟาร์มสร้างประสบการณ์เกษตรสมัยใหม่ด้วยตนเอง โดยทางสยามคูโบต้าฯ จะเข้ามาช่วยเป็นพี่เลี้ยง พร้อมทั้งสนับสนุนให้องค์ความรู้ โซลูชั่นและการใช้เทคโนโลยีเครื่องจักรกลการเกษตรควบคู่ไปกับเทคโนโลยี IoT โดยวางแผนในอีก 5 ปีข้างหน้าจะขยายโครงการนี้อีกกว่า 40 แห่งทั่วประเทศ


“สำหรับ “ณ นา ฟาร์ม” เราได้มีการวิเคราะห์ในเรื่องปริมาณน้ำฝน สภาพดิน รายได้ของเกษตรกรส่วนใหญ่และข้อมูลเกี่ยวกับภาคเกษตรในจังหวัด วางแผนนำองค์ความรู้ โซลูชั่น และเทคโนโลยีการเกษตรที่มีมากกว่า 20 โซลูชั่น พร้อมทั้งการออกแบบฟาร์มตั้งแต่เรื่องต้นทุนน้ำ เพื่อมาประกอบพิจารณาว่าควรปลูกพืชอะไรได้บ้างในแต่ละช่วงของปี เพื่อทำให้เกษตรกรสามารถสร้างรายได้เป็นรายสัปดาห์ รายเดือน รายไตรมาส รายปี ซึ่งทำให้เกษตรกรมีความมั่นคงในการทำการเกษตรมากขึ้น” นางวราภรณ์ กล่าว


นายเกียรติศักดิ์ ตรงศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม กล่าวว่า “จังหวัดมหาสารคาม ให้ความสำคัญกับการพัฒนาภาคการเกษตรให้เกิดความเข้มแข็ง ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของประชากร และผลักดันเศรษฐกิจของจังหวัดให้เติบโตอย่างสมดุลและยั่งยืน โดยการก่อตั้งฟาร์มสร้างประสบการณ์เกษตรสมัยใหม่แห่งนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติและแผนพัฒนาจังหวัดสู่ “เกษตรกรรมยั่งยืน นำภูมิปัญญาสร้างคุณค่า พัฒนาการค้าการลงทุน สู่สังคมมีสุข ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่ดี”


นอกจากนี้ นางสุนิษา พรรักษมณี กรรมการผู้จัดการ บริษัท คูโบต้ามหาสารคาม จำกัด กล่าวว่า “ในฐานะร้านค้าผู้แทนจำหน่ายสยามคูโบต้าที่อยู่เคียงข้างพี่น้องเกษตรกรชาวมหาสารคาม เรามีเจตนารมณ์ที่มุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร โดยคาดหวังในการสร้าง ณ นา ฟาร์ม เพื่อเป็น Smart Farm ต้นแบบที่สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้แก่เกษตรกรในพื้นที่ ให้สามารถปลูกพืชได้หลากหลาย ช่วยลดต้นทุนการเพาะปลูก รวมทั้งลดความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอกที่เข้ามากระทบต่อผลผลิต เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้ที่ดีขึ้น อีกทั้งหวังสร้างแรงจูงใจให้คนรุ่นใหม่หันมาประกอบอาชีพเกษตรกรรมมากขึ้น ตลอดจนส่งเสริมการผลิตสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ด้านการเกษตรต่างๆ ของเกษตรกรในจังหวัดมหาสารคามให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น”



ณ นา ฟาร์ม (NANA FARM) ถือเป็นฟาร์มสร้างประสบการณ์เกษตรสมัยใหม่ที่แรกในโครงการฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกษตรกรและผู้ที่สนใจด้านการทำการเกษตร ได้เรียนรู้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรทฤษฎีใหม่ โคกหนองนาโมเดล ตามรูปแบบของ “คูโบต้า ฟาร์ม” แบ่งออกเป็น 6 โซนสร้างประสบการณ์ ประกอบด้วย 1.โซนแกลอรี่น้ำ : ให้ความรู้เกี่ยวกับระบบน้ำ ภายในฟาร์ม ได้แก่ การคำนวณต้นทุนน้ำ การบริหารจัดการน้ำผิวดิน การใช้นวัตกรรม Cement Fabric การให้น้ำพืชแบบอัจฉริยะด้วยโทรศัพท์มือถือ การใช้ข้อมูลจากสถานีตรวจวัดอากาศ การขุดสระน้ำเพื่อการเกษตร 2.โซนมีนาแล้ว เมื่อไหร่จะมีใจ (เกษตรแม่นยำข้าวและพืชหลังนา) : เป็นโซนปลูกข้าว กข43 เพื่อนำเสนอพันธุ์ข้าวที่ดีต่อสุขภาพ และข้าวหอมใบเตย 3.โซนเกษตรทฤษฎีใหม่ : เป็นการปลูกพืชผสมผสาน ทั้งพื้นผักสวนครัวตามรั้ว ผลไม้ยืนต้นและพืชสมุนไพรแซม การใช้เครื่องจักรกลการเกษตรในการใส่ปุ๋ยและกำจัดวัชพืช 4.โซนแกลอรี่ดิน : เป็นอาคารที่ให้ความรู้เกี่ยวกับดินชนิดต่างๆ การปรับปรุงคุณภาพดินเค็ม การเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้กับดินทรายด้วยการปลูกปอเทือง การไถกลบตอซังและใช้เป็นพื้นที่รองรับการจัดงานสัมมนา 5. โซนเกษตรรายได้สูง : มีโรงเรือนที่เป็นระบบอัจฉริยะ การปลูกพืช ผัก ผลไม้ ที่มีราคาสูง 6. โซน ผักก่อนไหม ถ้าใจเหนื่อยล้า (พืชสลัด พริก และมะเขือ) : เป็นโซนปลูกผักชนิดต่างๆ โดยการใช้เทคโนโลยีต่างๆ ของคูโบต้า ด้วยการนำนวัตกรรมเครื่องยกร่องผัก และเครื่องปลูกผักที่มาช่วยลดต้นทุนแรงงาน อีกทั้งมีอาคารนิทรรศการและร้านอาหาร เป็นพื้นที่จำหน่ายอาหาร เครื่องดื่ม และผลิตภัณฑ์ของ ณ นา ฟาร์มและจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม



ณ นา ฟาร์ม ตั้งอยู่ที่ อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม สำหรับการเข้าเยี่ยมชม จะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ แบบรายบุคคล สามารถ Walk in เข้ามาเยี่ยมชม ใช้บริการร้านอาหาร รวมถึงอุดหนุนผลิตภัณฑ์ของชุมชนเกษตรกรได้ทุกวัน และแบบหมู่คณะ เช่น กลุ่มเกษตรกร กลุ่มราชการ กลุ่มนักศึกษา สามารถเข้าเยี่ยมชมโดยมีวิทยากรร่วมบรรยายได้สัปดาห์ละ 2 วัน ได้แก่​ วันอังคารและวันพฤหัสบดี โดยสามารถติดต่อได้ทางช่องทาง Facebook Nana Farm (ณ นา ฟาร์ม)  และ Official line : @nanafarm






ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

นวัตกรรมการผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ส่งเสริมรายได้สู่ชุมชน

  วช. เสริมแกร่ง มรภ.อุตรดิตถ์ ผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 IN 1 จากวัสดุเหลือทิ้ง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นักวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ นำองค์ความรู้ และนวัตกรรมการผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ส่งเสริมรายได้พื้นที่เป้าหมาย สร้างเกษตรกรต้นแบบ จ.อุตรดิตถ์ และ จ.สุรินทร์ กว่า 100 ราย แนะใช้ถ่านดูดซับกลิ่น ความชื้น ยกระดับคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้ อมให้ยั่งยืน โดยการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนั กงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จากปัญหาเศษวัสดุเหลือทิ้ งทางการเกษตร อาทิ เปลือกทุเรียน เหง้ามันสำปะหลัง แกนข้าวโพด ข้อไม้ไผ่ รวมถึงเศษกิ่งไม้ริมทาง ยังไม่ได้ถูกนำมาใช้ให้เกิ ดประโยชน์มากนัก  อีกทั้งการจัดการโดยเผาเศษวัสดุ เหลือทิ้งในที่โล่ง ยังเป็นการปล่อยก๊าซเรื อนกระจกและมลสารเข้าสู่ชั้ นบรรยากาศ องค์ความรู้และนวัตกรรมการผลิ ตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 ด้วยวิธีไพโรไลซิส จึงนับเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ ไขประเด็นปัญหาดังกล่าวได้ ขณะนี้นักวิจัยได้ถ่ายทอดองค์ ความรู้และติดตั้งนวัตกรรมแล้ว ประกอบด้วย เตาผลิตถ่านดูดกลิ่นแบบไพโรไลซิ ส เครื่...

เอ็นไอเอ โหมโรง “นิลมังกร” อัดฉีดผลงานนวัตกรรมเด่นพลิกฟื้นเศรษฐกิจหลังโควิด 19 โค้งสุดท้ายก่อนเฟ้นหาสุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยภายใต้ “นิลมังกรแคมเปญ”

  สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายจำนวน 18 หน่วยงาน ได้แก่ ศูนย์แบรนด์เคยู คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค 14 มหาวิทยาลัย หอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย จัดประกาศผลและมอบรางวัล “ สุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยประจำปี 2564 รอบภูมิภาค ( Thailand INNO BIZ Champion 2021 Regional Round) ภายใต้ “ นิลมังกรแคมเปญ ” ให้กับ 20 ธุรกิจนวัตกรรมจาก 4 ภูมิภาค ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ NIA กล่าวว่า “NIA มีหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุน และสร้างความสามารถการแข่งขันของประเทศด้วยการใช้นวัตกรรม ดังนั้นจึงได้ริเริ่มโครงการสุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยระดับภูมิภาค ภายใต้ “ นิลมังกรแคมเปญ ” ขึ้น เพื่อสร้างตัวอย่างการทำธุรกิจนวัตกรรมในภูมิภาคให้คนในพื้นที่ได้เห็นถึงความสำคัญในการพัฒนานวัตกรรมและได้เรียนรู้กระบวนการสร้างธุรกิจนวัตกรรม ผ่านการสื่อสารในรูปแบบของ Edutainment เพื่อให้เป็นที่น่าสนใจ เข้าถึง และเข้าใจกระบวนการสร้างธุรกิ...

2-4 ธันวาคมนี้ พบกันที่ งานสัตว์น้ำไทย 2024 (Thai Aqua Expo 2024)

สมาคมกุ้งตะวันออกไทย ร่วมกับ พันธมิตรในภาคตะวันออก และภาครัฐ ร่วมจัดงานสัตว์น้ำเศรษฐกิจยิ่งใหญ่ประจำปี 2567 งานสัตว์น้ำไทย 2024 (Thai Aqua Expo 2024) ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-3-4 ธันวาคม 2567 ณ โรงแรมซันไรส์ ลากูน โฮเทลแอนด์กอล์ฟ จ.ฉะเชิงเทรา ภายใต้แนวความคิด “ปรับกลยุทธ์สัตว์น้ำไทย สร้างกำไรทุกภาคส่วน” โดยสมาคมกุ้งตะวันออกไทย ร่วมกับ สมาคม สหกรณ์ ชมรม กลุ่มแปลงใหญ่ ในภาคตะวันออกก รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐ และบริษัทเอกชนผู้ร่วมสนับสนุน ภายใต้มีวัตถุประสงค์ของการจัดงาน เพื่อเผยแพร่ความรู้ นวัตกรรม การส่งต่อข้อมูลเพื่อให้เกษตรกร สามารถวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางการตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศ ถ่ายทอดแนวทางการลดต้นทุนตลอดห่วงโซ่ในอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และกระตุ้นให้มีการส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศมากขึ้น ภายในงานมีการเสวนา และสัมมนาให้ความรู้กับเกษตรกรและผู้ที่สนใจ ตลอดระยะเวลาการจัดงาน ทั้ง 3 วัน รวมถึงมีการจัดแสดงสินค้าของบริษัทและผู้ค้าปัจจัยการผลิตที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยมีพื้นที่จัดแสดงสินค้ามากกว่า 70 บูท และมีบริษัทสนใจเข้าร่วม...