ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

แก้ปัญหาและเพิ่มประสิทธิภาพตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำให้แก่ภาคการเกษตร อย่าพลาดโอกาสที่จะเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ AgTech Connext 2022 เชื่อมโยงและเร่งสร้างการขยายธุรกิจให้เป็นที่รู้จักอย่างก้าวกระโดด พร้อมเรียนรู้ และทดสอบการใช้งานจริง



สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA 
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ในฐานะที่เป็นหน่วยงานในการพัฒนาและเร่งสร้างผู้ประกอบการนวัตกรรม รวมถึงการสร้างระบบนิเวศให้เอื้อต่อการเติบโตของสตาร์ทอัพ ได้ริเริ่มโครงการแพลตฟอร์มเชื่อมโยงเกษตรกรกับสตาร์ทอัพด้านการเกษตรสู่การเป็นเกษตรกรที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยี มีชื่อเรียกโครงการสั้นๆ ว่า AgTech Connext โดยมีความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อสนับสนุนให้สตาร์ทอัพเกิดการเติบโตและเปลี่ยนเกษตรกรให้เป็นเกษตรอัจฉริยะ โดยใช้เทคโนโลยีของสตาร์ทอั


ดร.กริชผกา  บุญเฟื่อง  รองผู้อำนวยการด้านระบบนวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า NIA ได้ริเริ่มโครงการพัฒนาสตาร์ทอัพรายสาขา เพื่อสร้างการเติบโตในสาขาเศรษฐกิจเป้าหมายของประเทศ โดยได้สร้างแพลตฟอร์มพัฒนาการเติบโตและลงทุนสำหรับวิสาหกิจเริ่มต้น ที่มีกิจกรรมการพัฒนาและบ่มเพาะความเป็นผู้ประกอบการกับทุกภาคส่วนในระบบนิเวศฯ ทั้งนี้ สตาร์ทอัพด้านการเกษตร (AgTech Startups) เป็นหนึ่งในสาขาธุรกิจสำคัญตามแผนการพัฒนาสตาร์ทอัพรายสาขาของ สนช. เนื่องจากภาคเกษตรมีความสําคัญต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยอย่างสูง โดย สนช. ได้ดำเนินงานการพัฒนาและเร่งสร้างสตาร์ทอัพด้านการเกษตรให้เป็นผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงในภาคการเกษตรของประเทศไทย ผ่านการยกระดับความสามารถในการแก้ไขปัญหาทางการเกษตรด้วยเทคโนโลยีรูปแบบใหม่ตลอดห่วงโซ่มูลค่าทางการเกษตร และขับเคลื่อนการพัฒนาภาคการเกษตรด้วยแนวคิดแบบวิสาหกิจเริ่มต้น ดังนั้น การสร้างสะพานเชื่อมเพื่อพัฒนาวิสาหกิจเริ่มต้นด้านเกษตรได้มีโอกาสในการทำงานร่วมกับทุกภาคส่วน อีกทั้งสร้างโอกาสให้เกษตรกรได้เข้าใจและเข้าถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมของสตาร์ทอัพ จึงมีความสำคัญยิ่ง

โดยได้สร้างความร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตรประกอบด้วยหน่วยงานภายใต้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ได้แก่ กรมส่งเสริมการเกษตร กรมการข้าว กรมประมง กรมปศุสัตว์ ในการเชื่อมโยงกับกลุ่มเกษตรกรที่ต้องการเทคโนโลยี หน่วยงานให้การสนับสนุนเงินทุนกับเกษตรกร ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หน่วยงานพร้อมสนับสนุนเงินร่วมลงทุนให้กับสตาร์ทอัพอย่างบริษัท อินโนสเปรซ (ประเทศไทย) จำกัด รวมทั้งภาคเอกชนทั้งจากบริษัท อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด ที่ได้มอบเครดิต AWS Cloud ให้แก่สตาร์ทอัพที่ผ่านการคัดเลือกมูลค่า 300,000 บาท ให้กับสตาร์ทอัพที่นำเสนอผลงานการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมพร้อมไปใช้งานจริงกับเกษตรกร

จากผลการดำเนินงานในปีที่ผ่านมา ได้มีสตาร์ทอัพเกษตร 14 รายนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่สามารถแก้ปัญหาในภาคเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพมาร่วมแสดงฝีมือผ่านเวที AgTech Connext และเกิดการจับคู่ถ่ายทอดเทคโนโลยีจากสตาร์ทอัพสู่เกษตรกร ทั้งเพิ่มประสิทธิภาพเป็นเกษตรแม่นยำ สร้างตลาดออนไลน์ใหม่ให้กับสินค้าเกษตร รวมถึงสร้างความร่วมมือระหว่างสตาร์ทอัพในการต่อยอดและเชื่มโยงการทำงานร่วมกัน ที่มีความท้าทายด้านระยะเวลา และการแพร่ระบาดของโควิด-19 ตัวอย่างที่สำคัญ ได้แก่ #SpermSpeed น้ำเชื้อว่องไว “ผลิตภัณฑ์พลาสเตอร์กระตุ้นความเป็นสัดของโคและน้ำเชื้อโคคัดเพศที่มีความแม่นยำสูงด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ, # อีเด็น อะกริเทค “สารเคลือบยืดอายุผัก ผลไม้ และผลไม้ตกแต่ง” และอัลจิบา “เครื่องนับลูกสัตว์น้ำ รวดเร็ว แม่นยำ และมีหลักฐานการนับ”

ดร. กริชผกา กล่าวเพิ่มเติมว่า “โครงการ AgTech Connext 2022 ที่ปีนี้จะเพิ่มหน่วยงานพันธมิตรจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและสภาหอการค้าไทย เพื่อเชื่อมต่อไปยังกลุ่มธุรกิจเกษตรให้ขยายการใช้งานให้มากขึ้น นับได้ว่า เป็นก้าวสำคัญสำหรับการเปลี่ยนแปลงและกระตุ้นภาคการเกษตรให้หันมาใช้เทคโนโลยีในการแก้ปัญหามากขึ้น โดยการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้สอดคล้องกับวาระแห่งชาติ “BCG Model” และจะนำไปสู่การสร้างระบบเศรษฐกิจทางการเกษตรรูปแบบใหม่ที่สามารถเจริญเติบโตอย่างทั่วถึงบนการพัฒนาอย่างยั่งยืน”

มาร่วมเป็นพลังการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อพลิกโฉมการเกษตรไทย...เปิดรับสมัครสตาร์ทอัพด้านการเกษตรที่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการพร้อมขยายตลาดให้เติบโตไปด้วยกัน โดยสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการได้ ตั้งแต่วันนี้ – 30 เมษายน 2565 อย่ารอช้าจนพลาดโครงการดีๆ สมัคได้ที่ http://agtechconnext.nia.or.th/
หรือติดต่อเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมที่คุณกุลิสรา บุตรพุฒ (เบลล์)- โทรศัพท์ : 02-017 5555 ต่อ 552- มือถือ : 084-2294994
- อีเมล : Kulisara.b@nia.or.th

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

นวัตกรรมการผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ส่งเสริมรายได้สู่ชุมชน

  วช. เสริมแกร่ง มรภ.อุตรดิตถ์ ผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 IN 1 จากวัสดุเหลือทิ้ง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นักวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ นำองค์ความรู้ และนวัตกรรมการผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ส่งเสริมรายได้พื้นที่เป้าหมาย สร้างเกษตรกรต้นแบบ จ.อุตรดิตถ์ และ จ.สุรินทร์ กว่า 100 ราย แนะใช้ถ่านดูดซับกลิ่น ความชื้น ยกระดับคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้ อมให้ยั่งยืน โดยการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนั กงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จากปัญหาเศษวัสดุเหลือทิ้ งทางการเกษตร อาทิ เปลือกทุเรียน เหง้ามันสำปะหลัง แกนข้าวโพด ข้อไม้ไผ่ รวมถึงเศษกิ่งไม้ริมทาง ยังไม่ได้ถูกนำมาใช้ให้เกิ ดประโยชน์มากนัก  อีกทั้งการจัดการโดยเผาเศษวัสดุ เหลือทิ้งในที่โล่ง ยังเป็นการปล่อยก๊าซเรื อนกระจกและมลสารเข้าสู่ชั้ นบรรยากาศ องค์ความรู้และนวัตกรรมการผลิ ตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 ด้วยวิธีไพโรไลซิส จึงนับเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ ไขประเด็นปัญหาดังกล่าวได้ ขณะนี้นักวิจัยได้ถ่ายทอดองค์ ความรู้และติดตั้งนวัตกรรมแล้ว ประกอบด้วย เตาผลิตถ่านดูดกลิ่นแบบไพโรไลซิ ส เครื่...

เอ็นไอเอ โหมโรง “นิลมังกร” อัดฉีดผลงานนวัตกรรมเด่นพลิกฟื้นเศรษฐกิจหลังโควิด 19 โค้งสุดท้ายก่อนเฟ้นหาสุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยภายใต้ “นิลมังกรแคมเปญ”

  สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายจำนวน 18 หน่วยงาน ได้แก่ ศูนย์แบรนด์เคยู คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค 14 มหาวิทยาลัย หอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย จัดประกาศผลและมอบรางวัล “ สุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยประจำปี 2564 รอบภูมิภาค ( Thailand INNO BIZ Champion 2021 Regional Round) ภายใต้ “ นิลมังกรแคมเปญ ” ให้กับ 20 ธุรกิจนวัตกรรมจาก 4 ภูมิภาค ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ NIA กล่าวว่า “NIA มีหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุน และสร้างความสามารถการแข่งขันของประเทศด้วยการใช้นวัตกรรม ดังนั้นจึงได้ริเริ่มโครงการสุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยระดับภูมิภาค ภายใต้ “ นิลมังกรแคมเปญ ” ขึ้น เพื่อสร้างตัวอย่างการทำธุรกิจนวัตกรรมในภูมิภาคให้คนในพื้นที่ได้เห็นถึงความสำคัญในการพัฒนานวัตกรรมและได้เรียนรู้กระบวนการสร้างธุรกิจนวัตกรรม ผ่านการสื่อสารในรูปแบบของ Edutainment เพื่อให้เป็นที่น่าสนใจ เข้าถึง และเข้าใจกระบวนการสร้างธุรกิ...

2-4 ธันวาคมนี้ พบกันที่ งานสัตว์น้ำไทย 2024 (Thai Aqua Expo 2024)

สมาคมกุ้งตะวันออกไทย ร่วมกับ พันธมิตรในภาคตะวันออก และภาครัฐ ร่วมจัดงานสัตว์น้ำเศรษฐกิจยิ่งใหญ่ประจำปี 2567 งานสัตว์น้ำไทย 2024 (Thai Aqua Expo 2024) ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-3-4 ธันวาคม 2567 ณ โรงแรมซันไรส์ ลากูน โฮเทลแอนด์กอล์ฟ จ.ฉะเชิงเทรา ภายใต้แนวความคิด “ปรับกลยุทธ์สัตว์น้ำไทย สร้างกำไรทุกภาคส่วน” โดยสมาคมกุ้งตะวันออกไทย ร่วมกับ สมาคม สหกรณ์ ชมรม กลุ่มแปลงใหญ่ ในภาคตะวันออกก รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐ และบริษัทเอกชนผู้ร่วมสนับสนุน ภายใต้มีวัตถุประสงค์ของการจัดงาน เพื่อเผยแพร่ความรู้ นวัตกรรม การส่งต่อข้อมูลเพื่อให้เกษตรกร สามารถวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางการตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศ ถ่ายทอดแนวทางการลดต้นทุนตลอดห่วงโซ่ในอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และกระตุ้นให้มีการส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศมากขึ้น ภายในงานมีการเสวนา และสัมมนาให้ความรู้กับเกษตรกรและผู้ที่สนใจ ตลอดระยะเวลาการจัดงาน ทั้ง 3 วัน รวมถึงมีการจัดแสดงสินค้าของบริษัทและผู้ค้าปัจจัยการผลิตที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยมีพื้นที่จัดแสดงสินค้ามากกว่า 70 บูท และมีบริษัทสนใจเข้าร่วม...