วช.หนุนทีมวิจัย ม.เกษตร ถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปกล้วยเพิ่มมูลค่า ช่วยแก้ปัญหากล้วยล้นตลาด พร้อมต่อยอดขยายผลสร้างอาชีพและรายได้ให้แก่ชุมชนอย่างยั่งยืน*
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่ งชาติ กล่าวว่า วช.ได้ให้ความสำคัญต่อการขั บเคลื่อนและผลักดันให้เกิ ดการนำผลงานวิจัยและนวั ตกรรมไปใช้ให้เกิดประโยชน์เพื่ อการพัฒนาประเทศได้อย่างยั่งยืน ผ่านกลไกรูปแบบการจัดการความรู้ การวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาให้แก่ กลุ่มเป้าหมายหรือกลุ่มผู้ใช้ ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จึงสนับสนุนทุนวิจัยภายใต้ โครงการจัดการความรู้การวิจั ยเพื่อการใช้ประโยชน์ ประจําปี 2562 ให้กับโครงการ “ การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตผลิ ตภัณฑ์ คุกกี้กล้วยและขนมกล้วยกึ่งสํ าเร็จรูปในพื้นที่ตํ าบลคลองนกกระทุง อําเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม” โดยมี “นางจันทร์เพ็ญ แสงประกาย” จากสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภั ณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นหัวหน้าโครงการ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้จากเจ้ าของผลงานวิจัยโดยตรง เพื่อให้สามารถนำไปต่อยอดขยายผล สร้างอาชีพและรายได้กับชุมชน
ทางคณะผู้วิจัยทำงานร่วมกั บมหาวิทยาลัยศิลปากร จัดทำโครงการเรื่อง “การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตผลิ ตภัณฑ์ คุกกี้กล้วยและขนมกล้วยกึ่งสํ าเร็จรูปในพื้นที่ตํ าบลคลองนกกระทุง อําเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม” เพื่อเปิดโอกาสให้ชุ มชนในตำบลคลองนกกระทุง สามารถเข้าถึงองค์ความรู้ และเทคโนโลยีจากคณะผู้วิจัยที่ เป็นเจ้าของผลงานวิจัยโดยตรง และสามารถนำไปต่อยอดขยายผลเพื่ อสร้างอาชีพและรายได้ให้แก่ชุ มชน
โดยคณะผู้วิจัยคัดเลือกองค์ ความรู้จากงานวิจัยและเทคโนโลยี ที่เหมาะสมมาถ่ายทอดให้แก่ชาวชุ มชน 2 ผลงาน คือ 1.ผลิตภัณฑ์คุกกี้กล้วยที่ไม่มี ส่วนผสมของไขมันทรานส์ ซึ่งเป็นผลงานที่ได้รับการจดอนุ สิทธิบัตร เมื่อปี 2558 และ 2.ผลิตภัณฑ์ขนมกล้วยผงกึ่งสำเร็ จรูป ซึ่งเป็นผลงานจากงานวิจัยที่ได้ รับทุนจาก วช. เมื่อปีงบประมาณ 2552 ผลงานผลิตภัณฑ์จากกล้วยทั้ง 2 ผลงานนี้เป็นการผลิตที่ใช้อุ ปกรณ์ เครื่องมือและเทคโนโลยีระดับพื้ นฐาน เพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์กล้ วยในรูปแบบใหม่ ๆ ออกสู่ตลาด และช่วยแก้ปัญหาเมื่อเกิ ดภาวะกล้วยล้นตลาดภายในชุมชน เพื่อให้ชุมชนสามารถทำการผลิ ตเพื่อจำหน่ายในระดับท้องถิ่ นและระดับจังหวัดได้
สำหรับเครื่องมืออื่น ๆ ที่เข้าไปสนับสนุนชุมชนได้แก่ เครื่องตีผสมอาหาร เครื่องปั่นแห้งรอบความเร็วสู งสำหรับบดแป้งกล้วย ตู้อบลมร้อน เตาอบแก๊สควบคุมด้วยไฟฟ้า เครื่องซีลภาชนะบรรจุอาหาร นอกจากนี้ คณะผู้วิจัยยังได้จัดทำคู่มื อเรื่องการถ่ายทอดเทคโนโลยี การผลิต ผลิตภัณฑ์คุกกี้กล้วยและขนมกล้ วยกึ่งสำเร็จรูป โดยอธิบายกรรมวิธีการทำในแต่ ละขั้นตอน จนได้เป็นผลิตภัณฑ์คุกกี้กล้วย และผลิตภัณฑ์ ขนมกล้วยกึ่งสำเร็จรูปที่ถูกสุ ขลักษณะ มีคุณค่าทางโภชนาการบรรจุอยู่ ในซองอะลูมิเนียมฟอยล์พร้อมบริ โภค
นางจันทร์เพ็ญ กล่าวว่า โครงการนี้มีจุดเด่นอยู่ที่ คณะวิจัยมีองค์ความรู้ และความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยี การผลิตอาหาร และแปรรูปอาหารจากวัตถุดิบท้ องถิ่นเพื่อการเก็บรักษาที่ ยาวนานขึ้น อีกทั้งยังคงคุณสมบัติ ทางโภชนาการของวัตถุดิบได้เป็ นอย่างดี ผลงานวิจัยที่นำมาถ่ ายทอดในโครงการ ทั้ง ผลิตภัณฑ์คุกกี้กล้วย และผลิตภัณฑ์ขนมกล้วยผงกึ่ งสำเร็จรูป ถือเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ไม่ เคยมีวางจำหน่ายมาก่อน และเป็นเทคนิคที่ชาวบ้ านสามารถผลิตได้ด้วยตนเอง นอกจากนี้ยังมีอายุการเก็บรั กษาได้นาน
คณะผู้วิจัย คาดหวังว่าชาวชุ มชนจะสามารถนำความรู้ ทักษะที่เรียนและการฝึกอบรมปฏิ บัติไปใช้ในการแปรรูปกล้วยน้ำว้ าให้เป็นผลิตภัณฑ์ประจำชุมชน เพื่อสร้างรายได้และอาชีพที่มั่ นคงต่อไป
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น