ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

NIA ผนึกกำลัง 9 พันธมิตร เชื่อมสตาร์ทอัพเกษตรสู่เกษตรกรไทย ร่วมพลิกโฉม “ภาคการเกษตรไทย” อย่างยั่งยืน


สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ผนึกกำลัง 9 เครือข่ายพันธมิตรทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่สนับสนุนการสร้างแพลตฟอร์มเชื่อมโยงสตาร์ทอัพสู่เกษตรกรและผู้ประกอบธุรกิจการเกษตร จัดกิจกรรม Demo Day ภายใต้โครงการ AgTech Connext 2022 


โดยเป็นการทำงานร่วมกับหน่วยงานเชื่อมโยงเกษตรกรภายใต้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แก่ 1) กรมส่งเสริมการเกษตร 2) กรมการข้าว 3) กรมประมง 4) กรมปศุสัตว์ หน่วยงานสนับสนุนด้านเงินทุน 5) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) 6) บริษัท อินโนสเปรซ (ประเทศไทย) จำกัด หน่วยงานเชื่อมต่อกับกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร 7) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 8) สภาหอการค้าไทย และหน่วยงานสนับสนุน 9) บริษัท อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด ที่ได้มอบเครดิต AWS Cloud ให้แก่สตาร์ทอัพที่ผ่านการคัดเลือก อีกทั้งยังได้รับการสนับสนุนจาก ธ.ก.ส. มอบเงินรางวัลมูลค่า 50,000 บาท ให้กับสตาร์ทอัพที่นำผลงานเทคโนโลยีและนวัตกรรรมไปใช้ยกระดับภาคการเกษตรไทยได้อย่างยอดเยี่ยม

ดร. พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ NIA เปิดเผยว่า สตาร์ทอัพเทคโนโลยีการเกษตร (AgTech startup) เป็นหนึ่งในสาขาที่มีโอกาสเติบโตสูง เนื่องจากเป็นตลาดสากลที่มีขนาดใหญ่ โดยในปี 2564 มีมูลค่าการลงทุนทั่วโลก 3.7 แสนล้านบาท และมีแนวโน้มการเติบโตสูงขึ้นจากความต้องการความมั่นคงทางอาหาร สำหรับประเทศไทยพบว่าปี 2565 สตาร์ทอัพเทคโนโลยีการเกษตรมีเงินลงทุนรวมประมาณ 1,200 ล้านบาท ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับมูลค่าการลงทุนทั่วโลก คิดเป็นเพียงร้อยละ 0.32 เท่านั้น จึงเป็นสิ่งที่ท้าทายและมีความเป็นไปได้สูงที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ด้วยการเร่งสนับสนุนและผลักดันให้เกิดการเติบโตของสตาร์ทอัพเทคโนโลยีการเกษตรไทย เพื่อดึงดูดการลงทุนในภาคส่วนนี้มากขึ้น



“NIA ในฐานะหน่วยงานอำนวยความสะดวกทางนวัตกรรม (Focal facilitator) จึงมุ่งพัฒนาและเร่งสร้างสตาร์ทอัพเทคโนโลยีการเกษตรและระบบนิเวศที่เหมาะสม โดยอาศัยความร่วมมือกับเครือข่ายพันธมิตร เพื่อให้สตาร์ทอัพเทคโนโลยีการเกษตรไทยได้มีโอกาสทำงานร่วมกับทุกภาคส่วนของระบบ สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน เช่น โครงการ “AgTech Connext” ที่เชื่อมสตาร์ทอัพเทคโนโลยีการเกษตรสู่การขยายตลาดไปยังเกษตรกรและผู้ประกอบธุรกิจการเกษตร ด้วยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตรจากสตาร์ทอัพถ่ายทอดสู่กลุ่มเกษตรกร เพื่อทดสอบการใช้งานจริงร่วมกัน และสร้างการรับรู้ให้เกษตรกรเข้าถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมของสตาร์ทอัพ โดยตั้งเป้าให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางธุรกิจที่สำคัญของสตาร์ทอัพเทคโนโลยีการเกษตรในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”

จากผลการดำเนินงานโครงการนี้พบว่า ตลอดระยะเวลาสามเดือนสตาร์ทอัพที่เข้าร่วมโครงการต่างมีกลยุทธ์ในการแก้ไขและปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานไม่ว่าจะเป็นด้านเทคนิคหรือกลยุทธ์การตลาดจนสามารถขยายเครือข่ายผู้ใช้บริการจากสตาร์ทอัพเพิ่มขึ้นถึง 25 เท่า สร้างเป็นรายได้ 15 ล้านบาท ซึ่งนับว่าเป็นความพิเศษของสตาร์ทอัพที่มีศักยภาพในการเติบโต และเป็นอีกหนึ่งผลสัมฤทธิ์ที่เกิดจากการสนับสนุนของเครือข่ายพันธมิตรทุกท่าน

ด้าน ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง รองผู้อำนวยการด้านระบบนวัตกรรม NIA กล่าวว่า “โครงการ AgTech Connext เป็นเสมือนสะพานเชื่อมให้สตาร์ทอัพได้มีโอกาสขยายเครือข่ายกับผู้ใช้งานจริง และสนับสนุนการปรับเปลี่ยนเชิงกลยุทธ์เพื่อให้สตาร์ทอัพเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งกิจกรรมวันนี้ สตาร์ทอัพที่ผ่านการคัดเลือกทั้ง 12 ราย ได้นำเสนอผลงานที่ใช้งานจริงร่วมกับเกษตรกรและผู้ประกอบการธุรกิจเกษตรต่อคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านธุรกิจเกษตร เพื่อสร้างโอกาสการเติบโตและขยายธุรกิจทั้งในประเทศและประเทศเพื่อนบ้านกลุ่มอาเซียน ดังนี้


- การแก้ไขปัญหากลุ่มปศุสัตว์โคเนื้อ โคนม ในส่วนของผสมเทียมจากน้ำเชื้อแช่แข็งเพื่อให้ได้โคติดลูกและได้ลูกโคเพศเมียตามที่ต้องการร้อยละ 70 จากการพัฒนาของ 1) สยามโนวาส ที่ต่อยอดมาจากผลงานวิจัยมามากกว่า 10 ปี เมื่อได้ลูกโคที่ดี 2) เซียนวัว ช่วยบริหารจัดการข้อมูลโคเนื้อโคนมด้วยแพลตฟอร์มที่ทำให้รู้จักโคทุกตัว สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ ไม่ต้องใช้กระดาษจด และเป็นพื้นที่ตลาดการซื้อขายออนไลน์

- การแก้ไขปัญหาสำหรับพืชเศรษฐกิจ เช่น ข้าว และ อ้อย บนพื้นฐานของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ 3) อีซี่ไรซ์ สร้างเครื่องตรวจสอบคุณภาพข้าวด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ที่จะประกันการปลอมปนและตรวจสอบคุณภาพข้าวได้อย่างรวดเร็วขึ้น เป็นธุรกิจพร้อมขยายผลสู่กลุ่มธัญพืช อีกปัญหาการประเมินราคารับซื้อหน้าโรงงานอ้อย ที่เป็นที่ถกเถียงการแยกเกรดระหว่างโรงงานและชาวไร่ 4) ออนเนียนแชค ระบบประมวลผลภาพและปัญญาประดิษฐ์ที่พิสูจน์กันได้อย่างชัดเจน

- การเพาะเห็ด เป็นแหล่งอาหารที่มีคุณค่าโภชนาสูง มีมูลค่าตลาดในประเทศ 9 พันล้านบาท และตลาดโลกในปี 2021 สูงถึง 1,940 พันล้านบาท 5) โซมัส พัฒนาระบบการเพาะเห็ดให้มีประสิทธิภาพสูงที่มีผลผลิตเพิ่มขึ้น 2-3 เท่า พร้อมรับซื้อผลผลิตเพื่อแปรรูปและสร้างตลาดสำหรับกลุ่มบริโภคไม่ทานเนื้อสัตว์ และ 6) ฟิวเจอร์ฟาร์ม เอไอ ใช้เทคโนโลยี IoT ควบคุมระบบโรงเรือนผลิตเห็ดโคนญี่ปุ่นที่ตลาดมีความต้องการสูง และราคาดี


- การบริหารจัดการฟาร์มให้มีประสิทธิภาพด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล 7) เมอร์ลิเนียม ฟาร์ม แก้ไขปัญหาการทำเกษตรอัจฉริยะด้วยเทคโนโลยีผลิตพลังงานในตัวด้วยแสงความเข้มต่ำ มีแดดเพียงน้อยนิดก็ใช้งานได้ สร้างให้เกิดฟาร์มอัจฉริยะไร้สายประหยัดพลังงาน และ 8) ฟาร์มคอนเน็ค เอเชีย ที่ต่อยอดความเชี่ยวชาญการทำฟาร์มเมล่อนเงินล้านที่ปลูกกลางทุ่งนา มีการนำระบบ IoT และเซ็นเซอร์มาออกแบบระบบควบคุมการปลูกพืชด้วยข้อมูล สำหรับใช้ดูแลการให้น้ำให้ปุ๋ยในแปลงกลางแจ้งและโรงเรือนได้อย่างแม่นยำ

- การทำการเกษตรและประมงที่มีการใช้ไฟฟ้าในการควบคุมระบบต่าง ๆ ทำให้ 9) เอ็นเนอร์ยี่ออฟติงส์ ได้พัฒนาระบบประหยัดพลังงานอัจฉริยะ ที่ติดตั้งแบบทะยอยจ่ายเป็นค่าไฟฟ้าที่ลดลงในแต่ละเดือน คุ้มยิ่งกว่าคุ้ม

- การสร้างช่องทางตลาดรูปแบบใหม่ๆ ให้กับเกษตรกร โดย 10) ฟาร์มบุ๊คเฟรช มาตอบโจทย์ด้านตลาดนำการผลิตเป็นแพลตฟอร์มที่เข้ามาช่วยเกษตรกรเพื่อจัดการฟาร์มตั้งแต่การผลิตสู่ตลาดล่วงหน้า อีกหนึ่งแนวทางในการหาคนมาจ่ายตลาดแทนอย่าง 11) ส่งสด ให้ได้ของสด ของดี มีคุณภาพครบส่งตรงถึงครัวคุณ ร้านอาหาร และทุกธุรกิจที่ต้องการสินค้าเกษตร และปิดท้ายด้วย 12) วาริชธ์ ที่มีบริการด้านการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรที่มีครบถ้วนทุกมาตรฐานการผลิต ในการสร้างช่องทางตลาดออนไลน์ จนถึงการส่งออกไปต่างประเทศ


นายจิรศักดิ์ สุยาคำ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาเอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพ ธ.ก.ส. กล่าวเพิ่มเติมว่า ธ.ก.ส. เป็นธนาคารพัฒนาชนบทที่ยั่งยืน โดยมีบทบาทสำคัญในการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน เพื่อส่งเสริมอาชีพหรือการดำเนินงานของเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร หรือสหกรณ์การเกษตร ตลอดจนมีเป้าหมายสอดคล้องตามนโยบายของรัฐบาลด้าน BCG (Bio-Circular-Green) Economy หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว เพื่อบรรลุเป้าการยกระดับภาคการเกษตรดังกล่าวข้างต้น ดังนั้น ธ.ก.ส. มีกลไกการพัฒนาและร่วมลงทุนไปยังสตาร์ทอัพที่มีเทคโนโลยีและนวัตกรรมพร้อมใช้ที่สามารถตอบโจทย์ปัญหาของเกษตรกรได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงร่วมเป็นเครือข่ายพันธมิตรและสนับสนุนการดำเนินงานในโครงการ AgTech Connext นี้ เพื่อเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างสตาร์ทอัพและเกษตรกรให้มีโอกาสในการทำงานร่วมกัน อีกทั้งสร้างโอกาสให้เกษตรกรเข้าใจและเข้าถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมของสตาร์ทอัพในการเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต และสร้างแนวทางตลาดใหม่ๆ ส่งผลให้เกิดการขยายผลการใช้งานและเติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน

สำหรับผลการตัดสินในวันนี้ สตาร์ทอัพเกษตรผู้ชนะเลิศที่มีผลงานโดนเด่นในการพลิกโฉมธุรกิจการเกษตร รางวัล The Best Performance AgTech Connext 2022 Award โดยการตัดสินจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ พร้อมรับเงินรางวัล 50,000 บาท จาก ธ.ก.ส. และทางโครงการจัดให้มีรางวัล The Popular AgTech Connext 2022 Award ตัดสินจากผลการโหวตของผู้เข้าร่วมงาน พร้อมรับเงินรางวัล 10,000 บาท ซึ่งทั้งสองรางวัลได้แก่ ทีม ส่งสด

สำหรับผู้ที่สนใจรายละเอียด สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) โทรศัพท์ 02-017 5555 ต่อ 552 (กุลิสรา) มือถือ 084-229 4994 อีเมล Kulisara.b@nia.or.th เว็บไซต์ https://agtechconnext.nia.or.th/ และ https://www.facebook.com/agtechconnext



 



 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

นวัตกรรมการผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ส่งเสริมรายได้สู่ชุมชน

  วช. เสริมแกร่ง มรภ.อุตรดิตถ์ ผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 IN 1 จากวัสดุเหลือทิ้ง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นักวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ นำองค์ความรู้ และนวัตกรรมการผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ส่งเสริมรายได้พื้นที่เป้าหมาย สร้างเกษตรกรต้นแบบ จ.อุตรดิตถ์ และ จ.สุรินทร์ กว่า 100 ราย แนะใช้ถ่านดูดซับกลิ่น ความชื้น ยกระดับคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้ อมให้ยั่งยืน โดยการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนั กงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จากปัญหาเศษวัสดุเหลือทิ้ งทางการเกษตร อาทิ เปลือกทุเรียน เหง้ามันสำปะหลัง แกนข้าวโพด ข้อไม้ไผ่ รวมถึงเศษกิ่งไม้ริมทาง ยังไม่ได้ถูกนำมาใช้ให้เกิ ดประโยชน์มากนัก  อีกทั้งการจัดการโดยเผาเศษวัสดุ เหลือทิ้งในที่โล่ง ยังเป็นการปล่อยก๊าซเรื อนกระจกและมลสารเข้าสู่ชั้ นบรรยากาศ องค์ความรู้และนวัตกรรมการผลิ ตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 ด้วยวิธีไพโรไลซิส จึงนับเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ ไขประเด็นปัญหาดังกล่าวได้ ขณะนี้นักวิจัยได้ถ่ายทอดองค์ ความรู้และติดตั้งนวัตกรรมแล้ว ประกอบด้วย เตาผลิตถ่านดูดกลิ่นแบบไพโรไลซิ ส เครื่...

เอ็นไอเอ โหมโรง “นิลมังกร” อัดฉีดผลงานนวัตกรรมเด่นพลิกฟื้นเศรษฐกิจหลังโควิด 19 โค้งสุดท้ายก่อนเฟ้นหาสุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยภายใต้ “นิลมังกรแคมเปญ”

  สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายจำนวน 18 หน่วยงาน ได้แก่ ศูนย์แบรนด์เคยู คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค 14 มหาวิทยาลัย หอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย จัดประกาศผลและมอบรางวัล “ สุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยประจำปี 2564 รอบภูมิภาค ( Thailand INNO BIZ Champion 2021 Regional Round) ภายใต้ “ นิลมังกรแคมเปญ ” ให้กับ 20 ธุรกิจนวัตกรรมจาก 4 ภูมิภาค ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ NIA กล่าวว่า “NIA มีหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุน และสร้างความสามารถการแข่งขันของประเทศด้วยการใช้นวัตกรรม ดังนั้นจึงได้ริเริ่มโครงการสุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยระดับภูมิภาค ภายใต้ “ นิลมังกรแคมเปญ ” ขึ้น เพื่อสร้างตัวอย่างการทำธุรกิจนวัตกรรมในภูมิภาคให้คนในพื้นที่ได้เห็นถึงความสำคัญในการพัฒนานวัตกรรมและได้เรียนรู้กระบวนการสร้างธุรกิจนวัตกรรม ผ่านการสื่อสารในรูปแบบของ Edutainment เพื่อให้เป็นที่น่าสนใจ เข้าถึง และเข้าใจกระบวนการสร้างธุรกิ...

2-4 ธันวาคมนี้ พบกันที่ งานสัตว์น้ำไทย 2024 (Thai Aqua Expo 2024)

สมาคมกุ้งตะวันออกไทย ร่วมกับ พันธมิตรในภาคตะวันออก และภาครัฐ ร่วมจัดงานสัตว์น้ำเศรษฐกิจยิ่งใหญ่ประจำปี 2567 งานสัตว์น้ำไทย 2024 (Thai Aqua Expo 2024) ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-3-4 ธันวาคม 2567 ณ โรงแรมซันไรส์ ลากูน โฮเทลแอนด์กอล์ฟ จ.ฉะเชิงเทรา ภายใต้แนวความคิด “ปรับกลยุทธ์สัตว์น้ำไทย สร้างกำไรทุกภาคส่วน” โดยสมาคมกุ้งตะวันออกไทย ร่วมกับ สมาคม สหกรณ์ ชมรม กลุ่มแปลงใหญ่ ในภาคตะวันออกก รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐ และบริษัทเอกชนผู้ร่วมสนับสนุน ภายใต้มีวัตถุประสงค์ของการจัดงาน เพื่อเผยแพร่ความรู้ นวัตกรรม การส่งต่อข้อมูลเพื่อให้เกษตรกร สามารถวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางการตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศ ถ่ายทอดแนวทางการลดต้นทุนตลอดห่วงโซ่ในอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และกระตุ้นให้มีการส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศมากขึ้น ภายในงานมีการเสวนา และสัมมนาให้ความรู้กับเกษตรกรและผู้ที่สนใจ ตลอดระยะเวลาการจัดงาน ทั้ง 3 วัน รวมถึงมีการจัดแสดงสินค้าของบริษัทและผู้ค้าปัจจัยการผลิตที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยมีพื้นที่จัดแสดงสินค้ามากกว่า 70 บูท และมีบริษัทสนใจเข้าร่วม...