ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ศูนย์เกษตรวิถีเมือง พร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้พื้นที่ปลูกพืชในเมือง และการใช้ประโยชน์จากแอลกอฮอล์


 

เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2565 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดกิจกรรมฝึกอบรมการการถ่ายทอดองค์ความรู้พื้นที่ปลูกพืชในเมือง และการใช้ประโยชน์จากแอลกอฮอล์ ในงานวันคล้ายวันสถาปนา วช. ครบรอบ 63 ปี 63 ปี วช. มุ่งสู่สังคมอุดมปัญญา พัฒนาไทยด้วยวิจัยและนวัตกรรม ระหว่างวันที่ 25 - 28 ตุลาคม 2565 ณ ศูนย์เกษตรวิถีเมือง สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้เทคโนโลยีในการเพาะปลูกพืชอาหารที่ไม่ซับซ้อน สามารถหาซื้อหรือดัดแปลงได้โดยง่าย รวมถึงสอนการเพิ่มมูลค่าจากขยะที่ไม่ใช้แล้ว โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมฯ



ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ภายใต้กระทรวง อว. ได้จัดงานวันคล้ายวันสถาปนา วช. ครบรอบ 63 ปี เพื่อประชาสัมพันธ์เผยแพร่ผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีศักยภาพพร้อมใช้ประโยชน์ต่อสาธารณชน และเพื่อให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของการจัดงาน วช. จึงเปิดศูนย์เกษตรวิถีเมือง ซึ่งโครงการในการปรับเปลี่ยนและพัฒนาพื้นที่ตั้งเดิม ภายในพื้นที่ วช. ให้เกิดประโยชน์และมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย เพื่อใช้ในการทดลอง รวบรวม และสาธิต การใช้ประโยชน์นวัตกรรมและองค์ความรู้ในการเพาะปลูกพืชอาหาร โดยโครงการได้มีการดัดแปลงพื้นที่รกร้าง ปรับเปลี่ยนให้เกิดประโยชน์ด้วยการออกแบบดัดแปลงพื้นที่ดั้งเดิมภายในโครงการด้วยแนวคิด Adaptive Reuse ซึ่งเป็นการใช้อุปกรณ์การเพาะปลูกที่ไม่ซับซ้อน สามารถหาซื้อหรือดัดแปลงได้โดยง่าย รวมถึงเพื่อแสดงถึงแนวคิดที่สามารถปรับใช้ได้จริงกับพื้นที่รกร้างที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ในหลากหลายรูปแบบ นอกจากนี้ โครงการยังได้รับการสนับสนุนวัสดุก่อสร้างบางส่วนจาก สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ที่ได้คัดสรรวัสดุที่เกิดจากแนวคิดการนำกลับมาใช้ และการเพิ่มมูลค่าจากขยะอุตสาหกรรม Recycle Upcycle อาทิเช่น อิฐบล็อก จากขยะโรงไฟฟ้าฯ ยางมะตอยพื้นถนนจากพลาสติกเหลือใช้ รวมถึงนวัตกรรมทางด้านการประหยัดพลังงานด้วยการใช้พลังงานลม และพลังงานแสงอาทิตย์อย่างเหมาะสม เพื่อเป็นตัวอย่างในการลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานด้วยนวัตกรรมพลังงานสะอาด ตลอดจนการศึกษาและคัดสรรพันธุ์พืชอาหาร ที่เหมาะสมกับพื้นที่และสภาพอากาศในเมือง 





ทั้งนี้ ภายในศูนย์เกษตรวิถีเมือง ได้มีการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการแปรรูปและเพิ่มมูลค่าผลผลิตจากโครงการปลูกผักในเมือง โดย คุณนฤพนธ์ น้อยประสาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, การฝึกอบรมเรื่อง “เชื้อเพลิงก้อนจากแอลกอฮอล์ง่ายนิดเดียว”โดย คุณสิริธรรม สิงโต ศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ (ศคช.) วว”, การสาธิตการจัดสวนสวยในขวดแก้ว โดย ดร.อนันต์ พิริยะภัทรกิจ ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ (ศนก.) วว., การ Workshop นักปรุงน้ำหอมมือใหม่ และการ D.I.Y สเปรย์แอลกอฮอล์กลิ่นสมุนไพรไทย, การอบรมพื้นฐานการปลูกผักในดินและการประยุกต์สู่การปลูกผักในเมือง โดย ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร (ศนส.) วว. 




การปรับปรุงอาคารให้เหมาะสมกับการปลูกพืชในเมือง โดย คุณมนสินี อรรถวานิช พระจอมเกล้าฯ ลาดกระบัง ,การปลูกไม้ผลในกระถางเพื่อควบคุมขนาดทรงพุ่มและยังให้ผลตามปกติ โดย คุณรัฐพล ฉัตรบรรยงค์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, และการอบรมระบบบำบัดน้ำเสียชนิดบึงประดิษฐ์ สำหรับบ้านพักอาศัย และการปรุงดินและปลูกผักสลัดในกระถาง โดย ดร.ลักขณา เบ็ญจวรรณ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีนิทรรศการโรงกลั่นแอลกอฮอล์ อีกด้วย

















ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

นวัตกรรมการผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ส่งเสริมรายได้สู่ชุมชน

  วช. เสริมแกร่ง มรภ.อุตรดิตถ์ ผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 IN 1 จากวัสดุเหลือทิ้ง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นักวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ นำองค์ความรู้ และนวัตกรรมการผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ส่งเสริมรายได้พื้นที่เป้าหมาย สร้างเกษตรกรต้นแบบ จ.อุตรดิตถ์ และ จ.สุรินทร์ กว่า 100 ราย แนะใช้ถ่านดูดซับกลิ่น ความชื้น ยกระดับคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้ อมให้ยั่งยืน โดยการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนั กงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จากปัญหาเศษวัสดุเหลือทิ้ งทางการเกษตร อาทิ เปลือกทุเรียน เหง้ามันสำปะหลัง แกนข้าวโพด ข้อไม้ไผ่ รวมถึงเศษกิ่งไม้ริมทาง ยังไม่ได้ถูกนำมาใช้ให้เกิ ดประโยชน์มากนัก  อีกทั้งการจัดการโดยเผาเศษวัสดุ เหลือทิ้งในที่โล่ง ยังเป็นการปล่อยก๊าซเรื อนกระจกและมลสารเข้าสู่ชั้ นบรรยากาศ องค์ความรู้และนวัตกรรมการผลิ ตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 ด้วยวิธีไพโรไลซิส จึงนับเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ ไขประเด็นปัญหาดังกล่าวได้ ขณะนี้นักวิจัยได้ถ่ายทอดองค์ ความรู้และติดตั้งนวัตกรรมแล้ว ประกอบด้วย เตาผลิตถ่านดูดกลิ่นแบบไพโรไลซิ ส เครื่...

เอ็นไอเอ โหมโรง “นิลมังกร” อัดฉีดผลงานนวัตกรรมเด่นพลิกฟื้นเศรษฐกิจหลังโควิด 19 โค้งสุดท้ายก่อนเฟ้นหาสุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยภายใต้ “นิลมังกรแคมเปญ”

  สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายจำนวน 18 หน่วยงาน ได้แก่ ศูนย์แบรนด์เคยู คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค 14 มหาวิทยาลัย หอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย จัดประกาศผลและมอบรางวัล “ สุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยประจำปี 2564 รอบภูมิภาค ( Thailand INNO BIZ Champion 2021 Regional Round) ภายใต้ “ นิลมังกรแคมเปญ ” ให้กับ 20 ธุรกิจนวัตกรรมจาก 4 ภูมิภาค ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ NIA กล่าวว่า “NIA มีหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุน และสร้างความสามารถการแข่งขันของประเทศด้วยการใช้นวัตกรรม ดังนั้นจึงได้ริเริ่มโครงการสุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยระดับภูมิภาค ภายใต้ “ นิลมังกรแคมเปญ ” ขึ้น เพื่อสร้างตัวอย่างการทำธุรกิจนวัตกรรมในภูมิภาคให้คนในพื้นที่ได้เห็นถึงความสำคัญในการพัฒนานวัตกรรมและได้เรียนรู้กระบวนการสร้างธุรกิจนวัตกรรม ผ่านการสื่อสารในรูปแบบของ Edutainment เพื่อให้เป็นที่น่าสนใจ เข้าถึง และเข้าใจกระบวนการสร้างธุรกิ...

2-4 ธันวาคมนี้ พบกันที่ งานสัตว์น้ำไทย 2024 (Thai Aqua Expo 2024)

สมาคมกุ้งตะวันออกไทย ร่วมกับ พันธมิตรในภาคตะวันออก และภาครัฐ ร่วมจัดงานสัตว์น้ำเศรษฐกิจยิ่งใหญ่ประจำปี 2567 งานสัตว์น้ำไทย 2024 (Thai Aqua Expo 2024) ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-3-4 ธันวาคม 2567 ณ โรงแรมซันไรส์ ลากูน โฮเทลแอนด์กอล์ฟ จ.ฉะเชิงเทรา ภายใต้แนวความคิด “ปรับกลยุทธ์สัตว์น้ำไทย สร้างกำไรทุกภาคส่วน” โดยสมาคมกุ้งตะวันออกไทย ร่วมกับ สมาคม สหกรณ์ ชมรม กลุ่มแปลงใหญ่ ในภาคตะวันออกก รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐ และบริษัทเอกชนผู้ร่วมสนับสนุน ภายใต้มีวัตถุประสงค์ของการจัดงาน เพื่อเผยแพร่ความรู้ นวัตกรรม การส่งต่อข้อมูลเพื่อให้เกษตรกร สามารถวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางการตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศ ถ่ายทอดแนวทางการลดต้นทุนตลอดห่วงโซ่ในอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และกระตุ้นให้มีการส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศมากขึ้น ภายในงานมีการเสวนา และสัมมนาให้ความรู้กับเกษตรกรและผู้ที่สนใจ ตลอดระยะเวลาการจัดงาน ทั้ง 3 วัน รวมถึงมีการจัดแสดงสินค้าของบริษัทและผู้ค้าปัจจัยการผลิตที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยมีพื้นที่จัดแสดงสินค้ามากกว่า 70 บูท และมีบริษัทสนใจเข้าร่วม...